ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน: บทบรรเลงแห่งความตาย
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน: บทบรรเลงแห่งความตาย | |
---|---|
ใบปิดภาพยนตร์ | |
กำกับ | ยามาโมโตะ ยาสุอิจิโร่ |
เขียนบท | โกโช อาโอยามะ |
เนื้อเรื่อง | โคอุจิ คาซึนาริ |
สร้างจาก | ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน โดย โกโช อาโอยามะ |
วันฉาย | 19 เมษายน พ.ศ. 2551 |
ความยาว | 115 นาที |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภาษา | ญี่ปุ่น |
ทำเงิน | 2.42 พันล้านเยน[1] (24.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) |
ก่อนหน้านี้ | ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน: ปริศนามหาขุมทรัพย์โจรสลัด |
ต่อจากนี้ | ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน: ปริศนานักล่าทรชนทมิฬ |
ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน: บทบรรเลงแห่งความตาย (ญี่ปุ่น: 名探偵コナン 戦慄の楽譜(フルスコア); โรมาจิ: Meitantei Conan Senritsu no Furu Sukoa (FULL SCORE)) ; (อังกฤษ: Detective Conan: Full Score of Fear) เป็นภาพยนตร์ยอดนักสืบจิ๋วโคนันลำดับที่ 12 ออกฉายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2551 ทำรายได้ 2.42 พันล้านเยน และออกฉายในประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551[2] ภาพยนตร์เรื่องนี้มีตอนพิเศษหรือโอวีเวที่เกี่ยวข้อง ออกอากาศเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2551[3] และมีการเผยแพร่ในรูปแบบดีวีดีของเมจิกไฟล์ลำดับที่ 2
เนื้อเรื่อง
[แก้]เหตุการณ์ในตอนนี้เริ่มขึ้นที่คดีฆาตกรรมต่อเนื่องที่จ้องเล่นงานเฉพาะนักดนตรี และเหยื่อเคราะห์ร้ายในคดีนี้ก็ล้วนแต่เคยเรียนในสถาบันดนตรีของอดีตนักเปียโนชื่อดังคนหนึ่งทั้งนั้น ระหว่างนั้นพวกโคนันได้รับเชิญไปในงานคอนเสิร์ตเปิดมิวสิคฮอลล์ ซึ่งสร้างขึ้นโดยนักเปียโนคนนั้น จุดเด่นของงานคอนเสิร์ตครั้งนี้ก็คือ "ไปป์ออร์แกน" ที่มีประวัติอันยาวนาน, ไวโอลิน "สตราดิวาเรียส" ที่มีชื่อเสียงระดับโลก และเสียงของนักร้องโอเปราผู้มีพรสวรรค์ แต่เบื้องหลังงานคอนเสิร์ตนี้ดูมีเรื่องเคลือบแคลงน่าสงสัยหลายอย่าง เมื่อถึงวันงานจู่ๆก็เกิดเหตุระเบิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน มุมหนึ่งของมิวสิกฮอลล์กลายเป็นทะเลเพลิงไปในพริบตา นักร้องนำอากิบะ เรย์โกะถูกปองร้าย และนำไปสู่อันตรายที่เกิดขึ้นกับโคนัน
ตัวละคร
[แก้]ตัวละครหลัก
[แก้]- เอโดงาวะ โคนัน
- โมริ โคโกโร่
- โมริ รัน
- ซึซึกิ โซโนโกะ
- ดร.อากาสะ ฮิโรชิ
- ไฮบาระ ไอ
- โยชิดะ อายูมิ
- ซึบุรายะ มิซึฮิโกะ
- โคจิมะ เก็นตะ
- สารวัตรเมงูเระ จูโซ
- สารวัตรชิราโทริ นินซาบุโร่
- หมวดทาคางิ วาตารุ
- หมวดซาโต้ มิวาโกะ
- หมวดชิบะ คาซึโนบุ
ตัวละครในตอนนี้
[แก้]- โดโมโตะ คาซึกิ (ญี่ปุ่น: 堂本 一揮; โรมาจิ: Doumoto Kazuki; พากษ์โดยโนบุโอะ ทานากะ (ญี่ปุ่น: 田中 信夫; โรมาจิ: Tanaka Nobuo)) นักออร์แกนชั้นนำของญี่ปุ่น และอดีตนักเปียโน รวมทั้งเป็นเจ้าของสถาบันดนตรีโดโมโตะ
- โดโมโตะ เก็นยะ (ญี่ปุ่น: 堂本 弦也; โรมาจิ: Doumoto Genya; พากษ์โดยโคสุเกะ เมกุโระ (ญี่ปุ่น: 目黒 光祐; โรมาจิ: Meguro Kousuke)) บุตรชายของโดโมโตะ คาซึกิ เป็นนักเปียโนและผู้ควบคุมการแสดง
- อากิบะ เรย์โกะ (ญี่ปุ่น: 秋庭 怜子; โรมาจิ: Akiba Reiko; พากษ์โดยโฮโกะ คุวาชิมะ (ญี่ปุ่น: 桑島法子; โรมาจิ: Kuwashima Hōko)) นักร้องเสียงโซปราโนที่มีความสามารถในการแยกเสียงดนตรี (Perfect Pitch) และยังเป็นศิษย์เก่าของโรงเรียนประถมเทย์ตันที่โคนันเรียนอยู่
- ชิงุสะ ราระ (ญี่ปุ่น: 千草 らら; โรมาจิ: Chigusa Rara; พากษ์โดยยูโกะ มิซึทานิ (ญี่ปุ่น: 水谷 優子; โรมาจิ: Mizutani Yūko)) ผู้ช่วยของโดโมโตะ คาซึกิ และนักร้องเสียงโซปราโน่ที่เป็นผู้แสดงแทนอากิบะ เรย์โกะ
- ฟูวะ ทาคุมิ (ญี่ปุ่น: 譜和 匠; โรมาจิ: Fuwa Takumi; พากษ์โดยเอย์สึเกะ โยดะ (ญี่ปุ่น: 依田 英助; โรมาจิ: Yoda Eisuke)) ผู้จัดการของโดโมโตะ คอนเสิร์ต ฮอลล์ รับหน้าที่ปรับแต่งเสียงเปียโนให้กับครอบครัวโดโมโตะ มีความสามารถในการแยกเสียงจากการฝึกฝน
- ฮานส์ มุลเลอร์(พากษ์โดยฟรานซิส โปล) ช่างปรับแต่งเสียงออร์แกนจากประเทศเยอรมนี
- คาวาเบะ โซโกะ (ญี่ปุ่น: 河辺 奏子; โรมาจิ: Kawabe Souko; พากษ์โดยมามิ คินเก็ตสึ (ญี่ปุ่น: 金月 真美; โรมาจิ: Kingetsu Mami)) นักไวโอลินที่มี "สตราดิวาเรียส" และเป็นคนหนึ่งที่มีความสามารถในการแยกเสียงดนตรี
- ยามาเนะ ชิอง (ญี่ปุ่น: 山根 紫音; โรมาจิ: Yamane Shion) นักไวโอลิน และผู้แสดงแทนคาวาเบะ โซโกะ
โอวีเอ
[แก้]โอวีเวซึ่งมีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับภาพยนตร์ภาคนี้ ออกอากาศเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2551[3]
เนื้อเรื่องในตอนนี้เป็นเนื้อเรื่องที่ดำเนินเรื่องก่อนเหตุการณ์ที่โดโมโตะฮอลล์ 3 ปี คุโด้ ชินอิจิ ได้พบกับอะคิโมโตะ โคอิชิ ระหว่างโชว์ฟุตบอลให้เด็กดู เขาตกเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีฆาตกรรมยายของเขา ซึ่งเงินสองล้านเยนก็หายไปด้วย เขาจึงมาถามหาพยาน ข้อเท็จจริงปรากฏว่าคืนก่อนที่จะเกิดฆาตกรรมเขาดึ่มเหล้าจนหลับไปบนสวน แต่เขาไม่มีพยานอ้างอิงและให้การกลับไปมา ชินอิจิจึงอาสาช่วยสืบเรื่องนี้ แต่ก็เกิดความเห็นไม่ตรงกันกับรันในเรื่องเกี่ยวกับสุนัขที่นายอะคิโมโตะเห็นในระหว่างที่หลับไปและเกิดเหตุฆาตกรรม แต่ในความเป็นจริงแล้วสุนัขตัวนั้นเดินอยู่หลังกำแพง สุดท้ายแล้วด้วยความช่วยเหลือของพ่อและแม่ (ยูซากุและยูกิโกะ) ชินอิจิสามารถไขปริศนานั้นได้ แต่ก็ยังขัดแย้งกับรันอยู่ ระหว่างทางที่ทั้งสองเดินกลับบ้าน ทั้งสองเห็นผู้หญิงคนหนึ่งร้องเพลง "อะเมซิงเกรซ" (Amazing Grace) ให้กับโซมะ ฮิคารุ อดีตคู่หมั้นของเธอที่เสียชีวิตไปแล้วอยู่ริมแม่น้ำ ซึ่งผู้หญิงคนนั้นก็คืออากิบะ เรย์โกะ ผู้แสดงหลักที่โดโมโตะฮอลล์ในวันเกิดเหตุ 3 ปีให้หลังนั่นเอง ซึ่งในเรื่องภาค 12 นี้มีการหวนรำลึกถึงฉากร้องเพลงริมแม่น้ำนี้อยู่บ่อยครั้ง
เพลงประกอบ
[แก้]เพลงประกอบประจำภาคนี้คือ "สึบาซะโวะฮิโรเงเตะ" (ญี่ปุ่น: 翼を広げて; โรมาจิ: Tsubasa Wo Hirogete; กางปีกออกไป) ขับร้องโดยวงซาร์ด แต่งเนื้อและเรียบเรียงโดยอิซุมิ ซะกะอิ, เท็ตสึโระ โอดะ และมาซาโอะ อาคาชิ เผยแพร่เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2551[4] นับเป็นภาพยนตร์ยอดนักสืบจิ๋วโคนันเรื่องที่สามที่มีเพลงประกอบขับร้องโดยซาร์ด ต่อจาก คดีฆาตกรรมไพ่ปริศนา และ ยุทธการเหนือห้วงทะเลลึก ส่วนอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2551[5]
- เพลงประกอบอื่น ๆ
- "Ellens dritter Gesang" (อาเว มารีอา (Ave Maria) ฉบับชูเบิร์ต) ประพันธ์โดย ฟรานซ์ ปีเตอร์ ชูเบิร์ต
- "อาเว มารีอา" (Ave Maria) ฉบับบาค/กูโน ประพันธ์ทำนองโดย โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค คำร้องโดย ชาร์ล กูโน
- "Herz und Mund und Tat und Leben" Movement ที่ 10 Jesu, Joy of Man's Desiring ประพันธ์โดย โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค
- "อะเมซิงเกรซ" (Amazing Grace) ประพันธ์โดย จอห์น นิวตัน
สื่อ
[แก้]ดีวีดีของภาพยนตร์วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551[6] มีสองรูปแบบคือแบบธรรมดาและแบบพิเศษ ดีวีดีทั้งสองรูปแบบแสดงภาพยนตร์จอกว้างในระบบเสียงดอลบีดิจิตัล 5.1 แต่ดีวีดีรูปแบบพิเศษจะมีตัวอย่างภาพยนตร์และโฆษณาประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์เพิ่มเข้ามาด้วย[7] นอกจากนี้ ยังมีแผ่นบลูเรย์ซึ่งวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554[8] โดยมีส่วนเสริมเป็นหนังสือแนะนำภาพยนตร์และระบบบีดีไลฟ์[8]
รายได้
[แก้]ภาพยนตร์ขึ้นอันดับที่หนึ่งของบ็อกซ์ออฟฟิศญี่ปุ่นในวันแรกที่เข้าฉาย[9][10][11] ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ภาพยนตร์ทำรายได้กว่า 420.03 ล้านเยน[10] และในบ็อกซ์ออฟฟิศญี่ปุ่น ภาพยนตร์เรื่องนี้อยู่อันดับที่ 12 จากภาพยนตร์ที่ทำรายได้ในประเทศมากที่สุดประจำปี 2551 โดยทำรายได้ถึง 2.42 พันล้านเยน[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "2008's Top Domestic Movies at Japanese Box Office". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ February 27, 2009.
- ↑ "ไทก้าเปิดจองตั๋วหนัง ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน เดอะมู่วี่ 12". TigaTime.com. 31 October 2008. สืบค้นเมื่อ 31 October 2008.
- ↑ 3.0 3.1 "名探偵コナンMagic File 2 〜工藤新一 謎の壁と黒ラブ事件〜" (ภาษาญี่ปุ่น). Aga-Search.com. สืบค้นเมื่อ August 24, 2009.
- ↑ "Official Zard Site - singles" (ภาษาญี่ปุ่น). Zard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-14. สืบค้นเมื่อ February 7, 2010.
- ↑ "Detective Conan Full Score of Fear Official Soundtrack" (ภาษาญี่ปุ่น). Amazon.co.jp. สืบค้นเมื่อ February 7, 2010.
- ↑ "Detective Conan Full Score of Fear Regular DVD version" (ภาษาญี่ปุ่น). Amazon.co.jp. สืบค้นเมื่อ February 7, 2010.
- ↑ "Detective Conan Full Score of Fear Special DVD version" (ภาษาญี่ปุ่น). Amazon.co.jp. สืบค้นเมื่อ February 7, 2010.
- ↑ 8.0 8.1 "Detective Conan: Full Score of Fear" (ภาษาญี่ปุ่น). Being Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 19, 2011. สืบค้นเมื่อ April 5, 2011.
- ↑ "Next Detective Conan Film to Use Unreleased Zard Song". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ April 21, 2008.
- ↑ 10.0 10.1 "Japanese Box Office: April 19–20". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ April 21, 2008.
- ↑ "Detective Conan Movie 12 : Full Score Of Fear Begins In Japan Cinemas Today". furuanimepanikku.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-23. สืบค้นเมื่อ May 15, 2010.
- ↑ "2008's Top Domestic Movies at Japanese Box Office". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ February 27, 2009.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
- Official TMS website เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Official NTV website เก็บถาวร 2016-04-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Official TMS website เก็บถาวร 2020-06-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน: บทบรรเลงแห่งความตาย (ภาพยนตร์) ที่เครือข่ายข่าวอนิเมะ
- ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน: บทบรรเลงแห่งความตาย ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส