ข้ามไปเนื้อหา

อิมรอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิมรอน
عمران
อัมราม/โยอาคิม
เกิดนาซาเรธ
เสียชีวิตเยรูซาเล็ม
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนอุซัยร์
ผู้สืบตำแหน่งซะกะรียา
คู่สมรสฮันนะฮ์
บุตรมัรยัม


อิมรอน (อาหรับ: عمران, อักษรโรมัน: Imrān) ถูกกล่าวถึงในอัลกุรอาน 3 ครั้ง ครั้งแรกในอัลกุรอาน:

แท้จริงอัลลอฮฺได้ทรงคัดเลือก อาดัมและนูหฺ และวงศ์วานของอิบรอฮีม และวงศ์วานของอิมรอนให้เหนือกว่าประชาชาติทั้งหลาย เป็นเผ่าพันธ์ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากกันและกัน และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้

— ซูเราะฮ์ อาลิ อิมรอน อายะฮ์ที่ 33-34[1]

ครั้งที่สอง กล่าวถึงภรรยาของอิมรอน และ บุตรสาวของอิมรอน ในอัลกุรอาน:

จงรำลึกถึงขณะที่ภรรยาของอิมรอน กล่าวว่า โอ้พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์! แท้จริงข้าพระองค์ได้บนไว้ว่าให้สิ่งที่อยู่ในครรภ์ของข้าพระองค์ถูกเจาะจงอยู่ในฐานะผู้เคารพอิบาดะฮ์ต่อพระองค์และรับใช้พระองค์เท่านั้น ดังนั้นขอพระองค์ได้โปรดรับจากข้าพระองค์ด้วยเถิด แท้จริงพระองค์ท่านเป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้

— ซูเราะฮ์ อาลิ อิมรอน อายะฮ์ที่ 35[2]

และครั้งที่สาม คือบุตรของอิมรอนที่กล่าวถึงในอัลกุรอาน:

และมัรยัมบุตรีอิมรอน ผู้ซึ่งรักษาพรหมจารีของนาง แล้วเราได้เป่าวิญญาณของเราเข้าไปในนาง และนางได้ศรัทธาต่อบัญญัติต่าง ๆ แห่งพระเจ้าของนาง และ (ได้ศรัทธาต่อ) คัมภีร์ต่าง ๆ ของพระองค์ และนางจึงอยู่ในหมู่ผู้นอบน้อมภักดีทั้งหลาย

— ซูเราะฮ์ อัตตะห์รีม อายะฮ์ที่ 12[3]


ชาวยิวกล่าวถึงชื่อของอิมรอนและครอบครัวของท่าน ในพระธรรมอพยพ และท่านเป็นบิดาของนบีมูซา นบีฮารูน และนางมิเรียม ใน พันธสัญญาเดิม [4] และท่านเป็นหนึ่งในแรบไบของชาวยิวและเป็นผู้ชอบธรรมของพวกเขา และชื่อกำเนิดของท่านในภาษาฮีบรูคือ อิมรอม (อัมราม) โดยมีมีมต่อท้าย และในคัมภีร์ของชาวคริสต์ ชื่อของท่านคือ ยูฮากีม (โยอาคิม) ดังนั้น บางทีท่านอาจมีสองชื่อ และความคล้ายคลึงกันนี้ทำให้ท่านเป็นชาวยิวและคริสเตียนที่เป็นจุดเริ่มต้นในการท้าทายความถูกต้องของอัลกุรอาน [5]

ใครคือ อิมรอน?

[แก้]

มีสองคนจากลูกหลานของอิสราเอลซึ่งแต่ละคนมีชื่อว่า อิมรอนและมีระยะเวลาระหว่างพวกเขาเป็นระยะเวลานานซึ่งขยายออกไปหลายศตวรรษ นักตัฟซีร กล่าวว่า: ระยะห่างระหว่างทั้งสองคนคือ 1,800 ปี

อิมรอน บิดาของมูซา

[แก้]

คนแรกคือ อิมรอน ซึ่งอาศัยอยู่ในอียิปต์ในช่วงเวลาของฟาโรห์ในตอนต้นของประวัติศาสตร์ของชาวอิสราเอล และท่านเป็นบิดาของนบีของอัลลอฮ์ มูซาและฮารูน (อะลัยฮิมัสสะลาม) และนั่นเป็นเพราะท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “มูซา อิบน์ อิมรอน (เศาะฟียุลลอฮ์)”[6] และท่านเราะซูล (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “ในคืนอิสรออ์ ข้าได้ผ่าน มูซา อิบน์ อิมรอน (อ.)“[7] มีการกล่าวถึงในอัลกุรอานถึงเรื่องราวของสมาชิกในครอบครัวนี้ คือ อิมรอน, อะยารเคาะฮ์, มิเรียม, นบีฮารูน และนบีมูซา รวมแล้วได้ 5 คน[8]

อิมรอน บิดาของมัรยัม

[แก้]

คนทีสองคือ อิมรอน ซึ่งอาศัยอยู่ในกรุงเยรูซาเล็มในช่วงท้ายของประวัติศาสตร์ของชาวอิสราเอล[9] และท่านเป็นบิดาของมัรยัม และภรรยาของอิมรอนคือ ฮันนะฮ์ บินต์ ฟะกูซ มารดาของมัรยัม และมัรยัมเป็นแม่ของนบีอีซา ดังนั้นอิมรอน จึงเป็นปู่นบีอีซา และภรรยาของอิมรอนคือย่าของท่าน อิมรอนเป็นอิมามนำละหมาดของชาวอิสราเอลในสมัยของท่าน[10] อัลลอฮ์ทรงให้กำเนิดหญิงหนึ่งชื่อมัรยัม และอัลลอฮ์ทรงมอบหมายให้นางถูกอุปการะ และ ดูแลโดย นบีซะกะรียา ซึ่งเป็นสามีของน้องสาวมารดาของนาง และอิบน์ กะษีร กล่าวว่า: "อิมรอนคือคนที่เป็นบิดาของมัรยัม บินต์ อิมรอน มารดาของนบีอีซา อิบน์ มัรยัม (อะลัยฮิมัสสะลาม)”[11]

เชื้อสายของท่าน

[แก้]

อัฏเฏาะบารีกล่าวถึงในการตีความอายะฮ์: {เมื่อภรรยาของอิมรอนกล่าวว่า…} [อาลิ อิมรอน: 35] ว่าเชื้อสายของอิมรอนคือ: อิมรอน สืบเชื้อสายจาก ยาชฮุม อิบน์ อะมูน อิบน์ มันชา อิบน์ ฮิซกียา อิบน์ อะห์ซีก อิบน์ ยูษัม อิบน์ อะซารียา อิบน์ อัมซียา อิบน์ ยาวุช อิบน์ อะห์ซีฮู ​​อิบน์ ยาร็อม อิบน์ ยะฮ์ชาฟาฏ อิบน์ อะซาบิร อิบน์ อะบียา อิบน์ เราะห์บะอาม อิบน์ สุลัยมาน อิบน์ ดาวูด อิบน์ อัยชา และเชื้อสายนี้คล้ายกับสายเลือดของโยเซฟในพระกิตติคุณมาก ซึ่งเขาคือ โยเซฟ บุตรยาโคบ บุตรมัตตาน ตามมัทธิว หรือบุตรเฮลี ตามลูกา สองคนที่อยู่เผ่าเดียวกับนบีดาวูดผ่านทางสายเลือดเดียวกันที่อัฏเฏาะบารีกล่าวถึงตามพันธสัญญาเดิม[12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. อัลกุรอาน 3:33–34
  2. อัลกุรอาน 3:35
  3. อัลกุรอาน 66:12
  4. سفر الخروج 6: 20
  5. "هل أخطأ القرآن في اسم والد مريم كما يزعم المتخرصون ؟". 2021-05-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 مايو 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-05-29. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |archive-date= (help)CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  6. أخرجه الحاكم عن أنس بن مالك
  7. أخرجه مسلم عن ابن عباس
  8. "النكت والعيون" للماوردي (1/386) ، "مفاتيح الغيب للرازي" (8/20-21)
  9. يذكر الطبري في تفسير آية: {إذ قالت امرأت عمران...}[آل عمران: 35]، أن نسب عمران هو: عمران بن ياشهم بن أمون بن منشا بن حزقيا بن أحزيق بن يوثم بن عزاريا بن أمصيا بن ياوش بن أحزيهو بن يارم بن يهفاشاط بن أسابر بن أبيا بن رحبعم بن سليمان بن داود بن إيشا، وهذا النسب مشابه بقدر كبير جدًّا لنسب يوسف في الأناجيل، حيث هو يوسف بن يعقوب بن متان -وفقًا لمتَّى- أو ابن هالي -وفقًا للوقا-، الواصلَيْن لداود عبر ذات النسب الذي يذكره الطبري وفقًا للعهد القديم. انظر: جامع البيان عن تأويل آي القرآن، الطبري، طبعة هجر، (5/ 331).
  10. "من هم آل عمران". اسلام سؤال وجواب. 25 مايو 2021. สืบค้นเมื่อ 29 مايو 2021. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |تاريخ الأرشيف= ถูกละเว้น (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |مسار الأرشيف= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. " تفسير القرآن العظيم " (2/33)
  12. جامع البيان عن تأويل آي القرآن، الطبري، طبعة هجر، (5/ 331).