ข้ามไปเนื้อหา

ศานตนุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ท้าวศานตนุ)
ศานตนุ
ธฤษฏัทยุมนะ
ท้าวศานตนุและนางสัตยวดี, ผลงานภาพวาดของ ราชา รวิ วรรมา
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง
คู่สมรสพระแม่คงคา
พระนางสัตยวดี
บุตรภีษมะ
จิตรางคทะ
วิจิตรวีรยะ
ญาติเทวาปิ(พี่ชาย)
ท้าวพาหลีกะ

ท้าวศานตนุ เป็นโอรสของราชาประตีปะ ซึ่งครองกรุงหัสตินาปุระ แคว้นกุรุ ส่วนตัวของท้าวศานตนุ มีพี่น้องรวมอุทร 3 คน คือ เทวาปิ (ภายหลังได้รับพรให้เป็นอมตะไป) พี่คนโต พาหลีกะ หรือ วาหลีกะ น้องชายคนสุดท้าย และท้าวศานตนุเป็นคนกลาง ซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ ในขณะนั้นได้เป็นผู้ให้กำเนิดบุคคลสำคัญของเรื่องมหากาพย์มหาภารตะอีกคนหนึ่ง นั่นก็คือ เจ้าชายเทวพรต หรือตอนหลังถูกขนานนามว่า ภีษมะ นั่นเอง ซึ่งเป็นพระโอรสของท้าวศานตนุและพระแม่คงคา หลังจากอยู่กินกับพระแม่คงคาได้ไม่นาน ก็ได้พระโอรสออกมาหนึ่งพระองค์ ท้าวศานตนุดีใจมาก แต่เมื่อจะเสด็จไปหาพระแม่คงคา ปรากฏว่าพระนางนั้นไม่อยู่กับที่ประทับ และกลับทิ้งพระโอรสลงไปในแม่น้ำ โดยทำอย่างนี้กับพระโอรสถึงเจ็ดพระองค์ด้วยกัน (เมื่อครั้งที่ท้าวศานตนุได้เจอกับพระแม่คงคานั้น ได้ให้สัญญาไว้ว่า จะไม่โกรธไม่เกลียดและจะไม่ซักถามเกี่ยวกับสิ่งที่พระแม่คงคาทำทั้งสิ้น) แต่เมื่อพระแม่คงคาได้ให้ประสูติพระโอรสองค์ที่แปดออกมาท้าวศานตนุก็ทนไม่ไหวและซักถามพระแม่คงคา พระนางจึงตรัสบอกกับพระองค์ว่าจะนำพระโอรสองค์ที่ 8 (ซึ่งก็คือเจ้าชายเทวพรตหรือภีษมะ) ไปเลี้ยงดูเอง

หลังจากนั้น 16 ปีพระแม่คงคาก็นำพระโอรสองค์ที่ 8 มาคืนกับท้าวศานตนุ ท้าวศานตนุอยู่กับเจ้าชายเทวพรตอย่างมีความสุขมาประมาณ 4 ปี และตั้งให้เจ้าชายเทวพรตเป็นพระยุพราช (ผู้มีตำแหน่งจะได้ครอบครองบัลลังก์ต่อจากกษัตริย์) พระองค์ก็เจอกับลูกสาวชาวประมงซึ่งมีกลิ่นกายหอมมาก ชื่อว่า สัตยวดี จึงไปสู่ขอนางกับพ่อของนาง แต่พ่อของนางกลับบอกว่าต้องให้ลูกที่เกิดจากนางสัตยวดีเป็นกษัตริย์ต่อจากท้าวศานตนุแทนเจ้าชายเทวพรต ท้าวศานตนุไม่ตรัสอะไรและกลับไปยังพระราชวัง จากนั้นก็ซึมเศร้าตลอดมา เจ้าชายเทวพรตจึงไปไถ่ถามกับสารถีของพระบิดาว่าเหตุใดหลังจากกลับมาแล้วพระองค์ดูเศร้าโศกผิดปกติ สารถีจึงตอบไปตามความ

เจ้าชายเทวพรตเมื่อเห็นพระบิดาเศร้าโศกเสียพระทัยก็ไม่สบายใจจึงไปที่บ้านของชาวประมงและตกลงว่าพระองค์จะให้ตำแหน่งพระยุพราชแก่น้องชายที่เกิดจากท้าวศานตนุและนางสัตยวดี แต่พ่อของนางกลับไม่พอใจแค่นั้น กลับพูดทำนองที่ว่า "ข้าจะมั่นใจได้อย่างไรว่าลูกหลานที่เกิดจากท่าน เจ้าชายเทวพรต จะไม่มาชิงบัลลังก์ของหลานชายข้า" เจ้าชายเทวพรตก็ค่อนข้างหงุดหงิดแต่ก็ต้องการทำตามพระประสงค์ของพระบิดาจึงให้คำสาบานต่อฟ้าดินว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับบัลลังก์พระราชาและจะไม่แต่งงานมีลูกกับผู้หญิงคนใดอีกตลอดชีวิตอย่างหนักแน่น จึงเป็นที่มาของชื่อที่รู้จักกันดีคือ ภีษมะ

เมื่อท้าวศานตนุอภิเษกสมรสกับนางสัตยวดีไม่นานก็มีพระโอรสสองพระองค์คือ จิตรางคทะ และ วิจิตรวีรยะ จากนั้นไม่นานพระองค์ก็สิ้นพระชนม์