เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต
เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต | |||||
---|---|---|---|---|---|
เจ้าผู้ครองนครลำปาง | |||||
ครองราชย์ | 3 มกราคม พ.ศ. 2441 - 5 ตุลาคม พ.ศ. 2465 | ||||
รัชสมัย | 24 ปี | ||||
ก่อนหน้า | เจ้านรนันทไชยชวลิต | ||||
ถัดไป | เจ้าราชบุตร (ผู้รั้งตำแหน่ง) | ||||
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว | ||||
อุปราช | เจ้าอุปราชทิพจักร | ||||
เจ้าอุปราชนครลำปาง | |||||
ดำรงพระยศ | พ.ศ. 2438 - 3 มกราคม พ.ศ. 2441 | ||||
ก่อนหน้า | เจ้าอุปราชธนัญไชย | ||||
ถัดไป | เจ้าอุปราชทิพจักร | ||||
เจ้าหลวง | เจ้านรนันทไชยชวลิต | ||||
ประสูติ | 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2400 เจ้าหนานบุญทวงศ์ ณ ลำปาง | ||||
พิราลัย | 5 ตุลาคม พ.ศ. 2465 (64 ปี) | ||||
พระราชทานเพลิง | 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 เมรุชั่วคราวสนามเสือป่า | ||||
ราชเทวี | แม่เจ้าเมืองชื่น | ||||
สนม |
| ||||
| |||||
พระบุตร | 15 องค์ | ||||
ราชสกุล | ณ ลำปาง | ||||
ราชวงศ์ | ทิพย์จักร | ||||
พระบิดา | เจ้านรนันทไชยชวลิต | ||||
พระมารดา | แม่เจ้าฟองแก้ว | ||||
ศาสนา | เถรวาท | ||||
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |||||
รับใช้ | สยาม | ||||
แผนก/ | กองทัพบกสยาม | ||||
ชั้นยศ | พลตรี | ||||
มหาอำมาตย์โท นายพลตรี เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต (ไทยถิ่นเหนือ: ) (6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2400 - 5 ตุลาคม พ.ศ. 2465) [1] ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 13 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร (ครองราชย์ พ.ศ. 2441 - 2465) ตลอดรัชสมัย เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิตดำรงความมั่นคงสุจริตและความจงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรี พระองค์ได้ทรงพัฒนานครลำปางและเมืองบริวารในด้านต่าง ๆ ให้ทันกับการพัฒนาในส่วนกลาง ได้ทรงประทานที่ดินและทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อจัดสร้างถาวรวัตถุในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และการก่อสร้างสถานศึกษา ตลอดจนสถานที่ราชการต่าง ๆ เพื่อความผาสุกแก่ประชาชนลำปางอย่างแท้จริง
พระประวัติ
[แก้]เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต มีนามเดิมว่า เจ้าบุญทวงศ์ ณ ลำปาง ประสูติเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2400 เป็นเจ้าราชโอรสในเจ้านรนันทไชยชวลิต เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 12 กับแม่เจ้าฟองแก้ว ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าอุปราช ในปี พ.ศ. 2438[2]
เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิตมีราชเชษฐา ราชภคินี ราชอนุชา และราชขนิษฐา ร่วมพระราชบิดา 23 พระองค์ มีพระนามตามลำดับ ดังนี้
- เจ้าหญิงหอม ณ ลำปาง
- เจ้าน้อยคำแสน ณ ลำปาง
- มหาอำมาตย์โท พลตรี เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต, เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 13
- เจ้าน้อยกิ ณ ลำปาง
- เจ้าชวลิตวงศ์วรวุฒิ (น้อยแก้วเมืองมูล เป็นเจ้าราชภาคินัยแล้วเลื่อนเป็นเจ้าราชบุตรนครลำปาง เลื่อนเป็นเจ้าชวลิต วงศ์วรวุฒิ เมื่อ 27 เมษายน 2455) ตำแหน่งที่ปฤกษาราชการเมืองนครลำปาง - พระบิดาใน "เจ้าราชสัมพันธวงศ์ คำผาย สุยะราช, เจ้าราชสัมพันธ์วงศ์นครลำปาง" ซึ่งสมรสกับ "เจ้าหญิงอุษาวดี ศีติสาร" ราชธิดาองค์ใหญ่ในเจ้าหลวงอินต๊ะชมภู พระญาประเทศอุดรทิศ เจ้าเมืองพะเยา องค์ที่ 4 เจ้านายราชวงศ์เชียงแสนเก่า
- เจ้าน้อยพึ่ง ณ ลำปาง
- เจ้าน้อยเมือง ณ ลำปาง
- เจ้าน้อยหม่อม ณ ลำปาง
- เจ้าหญิงนวล ณ ลำปาง
- เจ้าหญิงซุ่ย ณ ลำปาง
- เจ้าหญิงหวัน ณ ลำปาง
- เจ้าน้อยแก้ว ณ ลำปาง
- เจ้าหญิงหยิ่น ณ ลำปาง
- เจ้าไชยสงคราม น้อยโท่น ณ ลำปาง, เจ้าไชยสงครามนครลำปาง
- เจ้าหญิงบัวเกษร ณ ลำปาง
- เจ้าหญิงบัวเทพ ณ ลำปาง - พระอัยยิกา (เจ้ายาย) ใน "เจ้าอินทเดชสุวรรณบท ณ ลำพูน"
- เจ้าหญิงแก้วมาลา ณ ลำปาง
- เจ้าน้อยปั๋นแก้ว ณ ลำปาง
- เจ้าหญิงฟอง ณ ลำปาง
- เจ้าน้อยอ้น ณ ลำปาง
- เจ้าอุปราช ทิพจักร ณ ลำปาง, เจ้าอุปราชนครลำปาง - พระบิดาใน "เจ้าเทพธำรงค์ ณ ลำปาง", "เจ้าหญิงอัตถ์ ณ ลำปาง", "เจ้าหญิงต่วน ณ ลำปาง"
- เจ้าน้อยหมวก ณ ลำปาง
- เจ้าหญิงบัวทิพย์ ณ ลำปาง
เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2440 (นับแบบปัจจุบันเป็นปี พ.ศ. 2441) เจ้าอุปราช (บุญทวงษ์) ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น เจ้าบุญวาทยวงษ์มานิต ลามันตวิชิตประเทศราช บริสัษยนารถทิพยจักราธิวงษ์ ดำรงโยนวิไศย อภัยรัษฎารักษ์ อุดมศักดิสัตยาธิวรางค์ ลำปางคมหานคราธิปตัย เจ้านครลำปาง[3]
ถึงแก่พิราลัย
[แก้]เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต ถึงแก่พิราลัยด้วยโรควัณโรคภายในเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2465[4][5] สิริชันษา 65 ปี รวมระยะเวลาที่ทรงครองนคร 25 ปี และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ณ เมรุชั่วคราวสนามเสือป่า (ปัจจุบันคือ โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโกศโถประกอบศพ มีฐานตั้ง 1 ชั้น พร้อมด้วยเครื่องอิสริยยศ ฉัตรเบญจาตั้ง 4 คัน เมื่อพระราชทานเพลิงมีเครื่องประโคมจ่าปี่ 1 กลองเป็นของสำหรับเมืองลำปาง[6] เหตุที่มีการพระราชทานเพลิงศพหลังจากถึงแก่พิราลัยไปแล้วกว่า 5 ปี เนื่องจากในขณะนั้นไม่มีทายาทองค์ใด ที่มีทรัพย์มากเพียงพอที่จะจัดการถวายเพลิงพระศพ จนความทราบถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ[5] จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชหัตถเลขาไปยังเจ้าดารารัศมี พระราชชายา ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะเจ้านายฝ่ายเหนือ ขอให้เสด็จมาเป็นองค์ประธานในการจัดการพระศพ และถวายเพลิงพระศพอย่างสมเกียรติ พร้อมกับขอให้เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ลำพูน และน่าน ร่วมเป็นกรรมการด้วย[7]
ราชโอรส ราชธิดา
[แก้]เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต มีราชโอรสและราชธิดา รวม 13 องค์ อยู่ในราชตระกูล ณ ลำปาง มีพระนามตามลำดับ ดังนี้
- ใน แม่เจ้าเมืองชื่น - ราชธิดาในเจ้าวรญาณรังษี เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 6 (มีราชธิดา 5) ถึงแก่กรรมปีพ.ศ. 2447
- เจ้าสำเภาแก้ว ณ ลำปาง - สมรสกับ เจ้าอุปราช (ทิพจักร ณ ลำปาง), เจ้าอุปราชนครลำปาง
- เจ้าศรีนวล ณ ลำปาง - สมรสกับเจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพวน ณ ลำปาง) เจ้าราชบุตรนครลำปาง ผู้รั้งตำแหน่งเจ้านครลำปางที่ 11
- เจ้าฝนห่าแก้ว ณ ลำปาง - สมรสกับ เจ้าไชยสงคราม (น้อยเบี้ย ณ ลำปาง), เจ้าไชยสงครามนครลำปาง พระมารดาใน แม่เจ้าทิพวรรณ (ณ ลำปาง) ณ เชียงตุง ชายาในเจ้าฟ้าสิริสุวรรณราชยสสรพรหมลือ เจ้าฟ้านครเชียงตุง องค์ที่ 10
- เจ้าดาวบิน ณ ลำปาง - สมรสกับ "เจ้าคำลือ ณ ลำปาง"
- เจ้าอ้ม ณ ลำปาง - สมรสกับ "พันตรี หลวงไกรเทพสงคราม (แถม จารุจินดา) "
- ใน หม่อมวาทย์ (มีราชธิดา 2)
- เจ้าบุษบา ณ ลำปาง (พ.ศ. 2444 - ?) สมรสกับเจ้าดรุณดารา ณ ลำพูน
- เจ้าบุษบาร ณ ลำปาง
- ใน หม่อมจิ๋น (มีราชธิดา 1)
- เจ้าจ๋อม ณ ลำปาง
- ใน หม่อมน้อย (มีราชธิดา 1)
- ใน หม่อมใย (มีราชธิดา 1)
- ใน หม่อมเล็ก (มีราชธิดา 1)
- เจ้าบุษบง ณ ลำปาง (พ.ศ. 2456 - พ.ศ. 2546)
- ใน หม่อมเจียกน้อย (มีราชโอรส 1)
- เจ้าบุญส่ง ณ ลำปาง (พ.ศ. 2464 - ?) - รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) สืบตระกูลเจ้าบิดา
- ใน หม่อมเมฆ (มีราชโอรส 1)
- เจ้าบุญสารเสวตร์ ณ ลำปาง (พ.ศ. 2449 - ?) - ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับไว้ในพระบรมราชูปถัมป์
- ใน หม่อมช้อย (มีราชธิดา 1)
- เจ้าเนียม ณ ลำปาง
- ใน หม่อมโถ (มีราชธิดา 1)
- เจ้าจันทร์หอม ณ ลำปาง
- หม่อมจ้อน ไม่มีโอรส-ธิดา
- หม่อมผัน ไม่มีโอรส-ธิดา
- หม่อมชื่น บุตรตายตั้งแต่เกิด
พระกรณียกิจสำคัญ
[แก้]เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต ได้ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจอันทรงคุณูปการต่อนครลำปางและประเทศชาติเป็นอเนกประการ มีรายละเอียดพอสังเขป ดังนี้
ด้านงานราชการ
[แก้]เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต ได้อุทิศที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของคุ้มหลวงให้ทางราชการเพื่อก่อสร้างศาลากลางจังหวัดลำปาง[8]
ด้านการทหารและการป้องกันนคร
[แก้]พระองค์ทรงเป็นผู้ริเริ่มและวางรากฐานด้านการทหารให้แก่นครลำปาง ได้ทรงระดมชาวเมืองต่อสู้ป้องกันนครจากพวกเงี้ยวที่ก่อการจลาจล ยกกำลังเข้าตีนครลำปางเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2445 และสามารถปราบปรามเงี้ยวราบคาบ การที่ทรงระดมพลเมืองเป็นทหารเพื่อรบพุ่งทำสงครามดังกล่าว ทำให้เกิดมีกองทหารนครลำปางขึ้น และเพื่อความเป็นปึกแผ่นมั่นคงของกิจการทหาร พระองค์ได้ประทานที่ดินส่วนพระองค์สร้างโรงทหาร โรงพยาบาลทหาร และค่ายทหาร[8]
เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นราชองครักษ์พิเศษ เมื่อปี พ.ศ. 2458[9]
ด้านการศึกษา
[แก้]เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต ทรงได้รับการศึกษาหนังสือไทยเหนือในสำนักอภิไชย วัดเชียงมั่น นครลำปาง และหนังสือไทยกลางที่คุ้มหลวง เนื่องจากขณะนั้นยังไม่มีโรงเรียน พระองค์ทรงตระหนักดีว่าการศึกษาของประชาชนลำปางที่มีอยู่ในวัดนั้นไม่เพียงพอต่อการพัฒนานคร เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต ทรงสนพระทัยติดตามความเคลื่อนไหวด้านการจัดการศึกษาของส่วนกลาง แล้วทรงนำมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาของนครลำปาง ทรงนำการศึกษาแบบสอนภายในโรงเรียนเข้ามาแทนการศึกษาในวัดเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2447 ณ สถานที่ตั้งโรงเรียนเทศบาล 3 (บุญทวงศ์อนุกูล) ในปัจจุบัน
พระองค์ทรงเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาว่าจำเป็นยิ่งต่อการพัฒนานครลำปาง พระองค์ได้สนับสนุนส่งเจ้านายบุตรหลานและประชาชนลำปาง ที่ทรงคัดเลือกว่ามีสติปัญญาความสามารถไปศึกษาต่อที่กรุงเทพมหานคร โดยให้อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งบุคคลเหล่านั้นก็ได้กลับมาทำงานสร้างคุณประโยชน์ให้แก่นครลำปางและประเทศชาติหลายท่าน นอกจากนั้น พระองค์ยั่งได้ทรงสละราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อที่ดินและอาคารของห้างเซ่งหลี สร้างโรงเรียนขึ้นอีกแห่งหนึ่งแล้วประทานให้เป็นของรัฐ[10][8] ซึ่งในปี พ.ศ. 2448 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงอิสริยยศเป็นสยามมกุฎราชกุมารได้เสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือ และทรงพระกรุณาเสด็จทรงเปิดโรงเรียนใหม่แห่งนี้เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน และพระราชทานนามว่า "โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย" เพื่อถวายเป็นพระอนุสรณ์แด่ เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต
ด้านการศาสนา
[แก้]เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต ทรงเคยเข้ารับการอุปสมบท ณ สำนักพระปัญญา วัดสวนดอก (จังหวัดลำปาง) พระองค์ทรงมีราชศรัทธาอย่างแรงกล้าในทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ได้ทรงพระราชทานพระอุปถัมภ์แก่วัดต่าง ๆ โดยในนครลำปางและเมืองบริวารอย่างทั่วถึง ทรงสละราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยความศรัทธาเลื่อมใสอย่างแท้จริง อนึ่ง เพื่อให้พระสงฆ์ในจังหวัดลำปาง ได้มีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องพระศาสนาดียิ่งขึ้น พระองค์ยังได้ทรงสนับสนุนส่งพระสงฆ์ให้เข้ารับศึกษาพระปริวัติธรรม ณ วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร อีกด้วย
ด้านการอุตสาหกรรมและการคมนาคม
[แก้]เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต ทรงมีสายพระเนตรยาวไกล ทรงเล็งเห็นว่าการอุตสาหกรรมต่อไปจักเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของบ้านเมือง ได้ทรงจัดตั้งโรงงานทอผ้าและโรงงานฟอกหนังขึ้นในนครลำปาง ซึ่งนับเป็น โรงงานฟอกหนังแห่งแรกของประเทศไทย นอกจากนั้น พระองค์ยังทรงส่งเสริมกิจการด้านการคมนาคม ทรงมีราชดำริให้มีการก่อสร้างปรับปรุงถนนต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงนครลำปางและเมืองบริวารใกล้เคียง รวมทั้ง ได้ประทานที่ดินส่วนพระองค์เพื่อก่อตั้งที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข[8] เพื่อเป็นศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสารของประชาชน
การขอพระราชทานนามสกุล
[แก้]เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต ได้รับพระราชทานนามสกุล ณ ลำปาง (อักษรโรมัน: na Lampang) ซึ่งเป็นนามสกุลพระราชทาน ลำดับที่ 1,166 จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2457[11] โดยพระราชทานให้แก่ผู้สืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษที่มีนิวาสสถานตั้งอยู่ในที่แห่งนั้นเป็นเวลานานมาก มีผู้คนรู้จัก และนับถือโดยมาก โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการห้ามไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้รับพระบรมราชานุญาตใช้คำว่า "ณ" นำหน้าสกุลเป็นอันขาด[12] ต่อมาภายหลังตระกูล ณ ลำปาง เป็นหนึ่งในสิบตระกูลที่ได้เข้าเฝ้าในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช[13]
สถานที่สำคัญ
[แก้]- อนุสาวรีย์เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2521
- กู่เจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต เป็นสถานที่บรรจุอัฐิของเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าวัดพระบาท ตำบลพระบาท อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
สถานที่อันเนื่องมาจากพระนาม
[แก้]- โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย โรงเรียนประจำจังหวัดลำปาง[10]
- วัดบุญวาทย์วิหาร
พระยศ
[แก้]พระยศทหาร
[แก้]- นายพลตรี[14]
พระยศพลเรือน
[แก้]- มหาอำมาตย์โท[15]
พระยศเสือป่า
[แก้]- – นายหมู่เอก
- 13 ตุลาคม 2456 – นายกองตรี[16]
ตำแหน่ง
[แก้]- 2 มกราคม 2458 – ราชองครักษ์พิเศษ[17]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2449 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[18]
- พ.ศ. 2446 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[19]
- พ.ศ. 2443 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[20]
- พ.ศ. 2442 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.(ผ))[21]
- พ.ศ. 2463 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[22]
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 3 (จ.ป.ร.3)[23]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)[24]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- 29 พฤษภาคม 2463 – เข็มข้าหลวงเดิม[25]
ลำดับสาแหรก
[แก้]พงศาวลีของเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-08. สืบค้นเมื่อ 2009-02-02.
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานหิรัญบัตรแลสัญญาบัตร, เล่ม ๑๔, ตอน ๔๑, ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๐, หน้า๗๐๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตาย, เล่ม ๓๙, ตอน ง, ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๕, หน้า ๒๐๐๓
- ↑ 5.0 5.1 วรชาติ มีชูบท, เจ้านายฝ่ายเหนือ และตำนานรักมะเมียะ, กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, หน้า 119
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเพลิงศพ, เล่ม ๔๔, ตอน ง, ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๐, หน้า ๗๑๔
- ↑ ไพโรจน์ ไชยเมืองชื่น (บรรณาธิการ), 2 ฟากแม่น้ำวัง 2 ฝั่งนครลำปาง, ลำปาง : เทศบาลนครลำปาง, 2551
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. เชียงใหม่: ผู้จัดการ, พิมพ์ครั้งที่ 2. 2538, หน้า 48
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงกลาโหม ตั้งราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ 10.0 10.1 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งคณะกรรมการป้องกันการค้ากำไรเกินควร ประจำจังหวัดลำปาง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๑๔ (ลำดับที่ ๑๑๕๖ ถึงลำดับที่ ๑๑๘๒), เล่ม 31 วันที่ 5 เมษายน 2457 หน้า 10
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ ห้ามมิให้ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานนามสกุลใช้ "ณ" นำหน้านามสกุล, เล่ม ๓๒, ตอน ๐ ก, ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๓๙๕
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-04. สืบค้นเมื่อ 2013-02-07.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ตั้งตำแหน่งนายทหารบก เก็บถาวร 2022-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๖๘๖, ๒๓ มิถุนายน ๑๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย เก็บถาวร 2022-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๐๐, ๒๐ สิงหาคม ๑๓๐
- ↑ ส่งสัญญาบัตรเสือป่าไปพระราชทาน
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ตั้งราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์, เล่ม ๒๓ ตอนที่ ๕๑ หน้า ๑๒๙๕, ๑๗ มีนาคม ๑๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์, เล่ม ๒๐ ตอนที่ ๔๑ หน้า ๗๑๐, ๑๐ มกราคม ๑๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๗ ตอนที่ ๔๓ หน้า ๖๑๘, ๒๐ มกราคม ๑๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเหรียญดุษฎีมาลาไปพระราชทาน, เล่ม ๑๖ ตอนที่ ๔๔ หน้า ๖๒๙, ๒๘ มกราคม ๒๔๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเหรียญจักรพรรดิมาลาไปพระราชทาน, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๙๔๐, ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๕๕, ๓ ธันวาคม ๑๓๐
- ↑ พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ปราณี ศิริธร ณ พัทลุง. เพ็ชร์ล้านนา. (ครั้งที่ 2) เชียงใหม่ :ผู้จัดการ ศูนย์ภาคเหนือ, 2538.
- ศักดิ์ รัตนชัย. พงศาวดารสุวรรณหอคำนครลำปาง (ตำนานเจ้าเจ็ดพระองค์กับหอคำมงคล ฉบับสอบทานกับเอกสารสืบค้น สรสว.ลำปาง) .
- คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์, นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. [1] เก็บถาวร 2021-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เจ้านรนันทไชยชวลิต | เจ้าผู้ครองนครลำปาง (3 มกราคม พ.ศ. 2440 - 5 ตุลาคม พ.ศ. 2465) |
เจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพวน ณ ลำปาง) |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2400
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2465
- เจ้าผู้ครองนครลำปาง
- ราชวงศ์ทิพย์จักร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.2
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ผ)
- ราชองครักษ์พิเศษ
- ราชโอรสในเจ้าผู้ครองนครฝ่ายเหนือ
- เสียชีวิตจากวัณโรค
- สมาชิกกองเสือป่า
- สกุล ณ ลำปาง
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์