พระยาไชยวงศ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระยาไชยวงศ์
เจ้ามหาขนานไชยวงศ์
พระยานครลำปาง[1]
ครองราชย์พ.ศ. 2369 - 2380
รัชสมัย12 ปี
ก่อนหน้าพระเจ้าดวงทิพย์
ถัดไปพระยาขัติยะ
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
อุปราชพระยาขัติยะ
ประสูติพ.ศ. 2313
พิราลัยพ.ศ. 2380 (67 ปี)[2]
พระบุตร
  • เจ้าหนานยศ
  • เจ้าบุรีรัตน์ (เมืองแก้ว)
ราชวงศ์ทิพย์จักร
ราชสกุลไชยวงศ์
พระบิดาพระยาคำโสม
ศาสนาเถรวาท

เจ้าหลวงไชยวงศ์ (ไทยถิ่นเหนือ: ) (เจ้ามหาขนานไชยวงศ์) เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 6 ในระหว่างปี พ.ศ. 2369 - พ.ศ. 2380 เป็นราชบุตรองค์โต ในพระยาคำโสม เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 4 เป็นราชนัดดาในเจ้าฟ้าสิงหาราชธานีเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว และเป็นราชปนัดดาในพระยาสุละวะลือไชยสงคราม

สิ้นพระชนม์[แก้]

เจ้าหลวงไชยวงศ์ สิ้นชีพพิตักษัยในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 7 พ.ศ. 2380 ตรงกับในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาพิพิธไอศูรย์ เป็นผู้แทนพระองค์มาพระราชทานเพลิงศพ[2]

เชื้อสายในปัจจุบัน[แก้]

ตระกูลไชยวงศ์ หรือ ต้นตระกูล ไชยวงศ์บุตร หลังจากที่เจ้าหลวงไชยวงศ์ สิ้นชีพิตักษัยเชื้อสายทางราชวงศ์ไชยวงศ์ได้แตกขยายแบ่งออกออกและปรับเปลี่ยน ตามความหมายของนามสกุลที่มีความหมายว่า"ชัยชนะของลูกหลาน"จน มาเป็น ไชยวงศ์ /ชัยวงค์บุตร(ตามบรรดาศักดิ์ของเจ้าหลวงไชยวงศ์) ส่วนชัยวงศ์ /ชัยวงษ์ /ชัยวงค์บุตร หรือ ไชยวงศ์บุตร นั้นมาจาก การเขียน อักษร ของนายทะเบียนสมัยนั้น โดยรวมแล้วความหมายที่แท้จริงคือ"ลูกหลานผู้มีชัย หรือ ชัยชนะของบุตรหลาน" นั้นเอง.

โดยจะสังเกตได้จากที่ตั้งบ้านเรือนในเขต เมืองเก่าในสมัยนั่นนั้นเอง.

ราชโอรส-ธิดา[แก้]

เจ้าหลวงไชยวงศ์ มีพระราชโอรสเท่าที่สืบค้นข้อมูลได้คือ

  1. เจ้าหนานยศ
  2. เจ้าเมืองแก้ว เจ้าบุรีรัตน์เมืองงาว

ราชตระกูล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. รุ่งพงษ์ ชัยนาม. ประวัติศาสตร์ล้านนา : ประวัติศาสตร์ไทยที่คนไทยไม่ค่อยมีโกาสได้ศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  2. 2.0 2.1 มงคล ถูกนึก. ไทยวน คนเมือง แห่งลุ่มแม่น้ำวัง. ลำปาง : ลำปางบรรณกิจ. 2555
ก่อนหน้า พระยาไชยวงศ์ ถัดไป
พระเจ้าดวงทิพย์ เจ้าผู้ครองนครลำปาง
(พ.ศ. 2369 - พ.ศ. 2380)
พระเจ้าขัตติยะ

[หมวดหมู่:ราชโอรสในเจ้าผู้ครองนครฝ่ายเหนือ]]