นราพร จันทร์โอชา
รองศาสตราจารย์ นราพร จันทร์โอชา | |
---|---|
![]() นราพรในปี 2558 | |
เกิด | นราพร โรจนจันทร์ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2497 ประเทศไทย |
ศิษย์เก่า | คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
อาชีพ | อาจารย์ |
คู่สมรส | ประยุทธ์ จันทร์โอชา (2527–ปัจจุบัน) |
บุตร | ธัญญา จันทร์โอชา นิฏฐา จันทร์โอชา |
บิดามารดา | จำรัส โรจนจันทร์ สุทิน โรจนจันทร์ |
รองศาสตราจารย์ นราพร จันทร์โอชา (สกุลเดิม: โรจนจันทร์; เกิด 20 มิถุนายน พ.ศ. 2497) มีชื่อเล่นที่เรียกโดยทั่วไปว่าอาจารย์น้อง ดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 3 ในคณะกรรมการมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ตามพระบรมราชโองการ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว[1] อดีตนายกสมาคมแม่บ้านทหารบก[2] อดีตอาจารย์ประจำสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นภรรยาของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ประวัติ[แก้]
รศ. นราพร จันทร์โอชา ชื่อเล่น น้อง เกิดเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2497 มีบิดาชื่อ พันตำรวจเอก จำรัส โรจนจันทร์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส (ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2497) และมารดาชื่อ นางสุทิน โรจนจันทร์ ด้วยเหตุนี้จึงตั้งนามให้บุตรสาวนี้ว่า "นราพร" มีพี่สาวฝาแฝดชื่อ สุวรรณา โรจนจันทร์ ชื่อเล่น หมู[3] หลังจาก รศ.นราพร เกิดได้ไม่กี่เดือน บิดาก็ย้ายเข้ากรุงเทพฯ ระหว่างที่บุตรสาวทั้งสองเรียนอยู่ที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟ คอนแวนต์ มารดาดูแลเอาใจใส่อย่างดีจนเป็นที่ชินตาของเพื่อนในโรงเรียน[4]
รศ. นราพร สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ ระดับปริญญาตรีทางด้านภาษาอังกฤษ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโททางด้านการสอนภาษาอังกฤษจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล[4][5]
ชีวิตส่วนตัว[แก้]
รศ. นราพร พบรักกับพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เข้ามาเรียนภาษาอังกฤษหลักสูตรระยะสั้นที่สถาบันภาษา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานสมรสเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2527[4] มีบุตรสาวฝาแฝด[6] คือ ธัญญา และนิฏฐา จันทร์โอชา[5] ซึ่งทั้งสองเป็นสมาชิกวงแบดซ์ สังกัดอาร์เอส[7]
รศ. นราพร ได้รับคำกล่าวถึงว่า "เป็นอาจารย์ที่ขยันทำงาน เป็นคนฉลาด คนเก่ง คนตรง และมีความชัดเจนในการทำงาน..." แต่ก็เป็นคนที่ยากจะเข้าถึง[4] ทั้งยังเป็นคนที่เงียบขรึม ค่อนข้างเก็บตัว และจะออกงานสังคมที่มีบทบาทโดยตรงเท่านั้น[5]
การทำงาน[แก้]
รศ. นราพร จันทร์โอชา เริ่มเข้ารับราชการเป็นอาจารย์สอนวิชาภาษาอังกฤษ ประจำสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[8] ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดสอนวิชาภาษาอังกฤษให้กับคณะต่าง ๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างนั้นเคยเป็นนายกสมาคมครูผู้สอนภาษาอังกฤษแห่งประเทศไทย[5] จนกระทั่งลาออกจากราชการใน พ.ศ. 2549[4] และเริ่มเข้าช่วยงานในมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในตำแหน่งรองประธานกรรมการบริหารตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ต่อมาใน พ.ศ. 2554 ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมแม่บ้านทหารบก และเคยเป็นรองประธานกรรมการมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการบริหาร คนที่ 3 ของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตามพระบรมราชโองการ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2553 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2547 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2547 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[11]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
- ↑ 2.0 2.1 "สมาคมแม่บ้านทหารบก" (PDF). สมาคมแม่บ้านทหารบก. สืบค้นเมื่อ 31 Aug 2014.
- ↑ บุญโชค พานิชศิลป์ (5 Jun 2019). "บทบาทความห้าวหาญและหวานจ๋อยของ 'พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา' นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของไทย". The MOMENTUM. สืบค้นเมื่อ 17 Jun 2022.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย (24 Aug 2014). "สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง "รศ.นราพร จันทร์โอชา"". โพสต์ทูเดย์. สืบค้นเมื่อ 31 Aug 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 ดุษฎี สนเทศ (28 Aug 2014). ""นราพร จันทร์โอชา" แม่บ้านนายกฯ ตู่". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 31 Aug 2014.
- ↑ "เปิดใจ 'ทส.ผบ.ทบ.' เงาสะท้อนตัวตน 'บิ๊กตู่'". คมชัดลึก. 21 Mar 2014. สืบค้นเมื่อ 31 Aug 2014.
- ↑ "รู้จัก 'รศ.นราพร จันทร์โอชา' ว่าที่สตรีหมายเลข1ของไทย". เอ็มไทย. 22 Aug 2014. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2014-08-25. สืบค้นเมื่อ 31 Aug 2014.
- ↑ "ลมใต้ปีก "ประยุทธ์" นราพร จันทร์โอชา". ข่าวสด. 29 Aug 2014. สืบค้นเมื่อ 31 Aug 2014.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไย ประจำปี 2553, เล่ม 127 ตอนที่ 14 ข หน้า 10, 8 ธันวาคม 2553
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม 121 ตอนที่ 23 ข หน้า 30, 26 พฤศจิกายน 2547
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม 122 ตอนที่ 11 ข หน้า 128, 23 กรกฎาคม 2548
ก่อนหน้า | นราพร จันทร์โอชา | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
อนุสรณ์ อมรฉัตร | ![]() |
คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย (24 สิงหาคม 2557 – ปัจจุบัน) |
![]() |
อยู่ในตำแหน่ง |
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2497
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- รองศาสตราจารย์
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- คู่สมรสของนายกรัฐมนตรีไทย
- อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ - ศิลปศาสตร์ - มนุษยศาสตร์
- บุคคลจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- บุคคลฝาแฝดจากประเทศไทย
- บุคคลจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์
- ประยุทธ์ จันทร์โอชา
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์