ข้ามไปเนื้อหา

ชนชาติอารยัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชนชาติอารยัน (อังกฤษ: Aryan race) เป็นแนวคิดเชื้อชาติในอดีตแบบวิทยาศาสตร์เทียมที่ปรากฏขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เพื่ออธิบายผู้ที่สืบเชื้อสายจากชาวอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิมเป็นกลุ่มเชื้อชาติ[1][2] คำศัพท์ดังกล่าวได้รับมาจากการใช้คำว่าอารยันตามประวัติศาสตร์ที่ชาวอินโด-อิเรเนียนสมัยใหม่ใช้เป็นฉายาของ "ผู้สูงศักดิ์" หลักฐานทางมานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ และโบราณคดีไม่สนับสนุนความถูกต้องของแนวคิดนี้[3][4]

แนวคิดนี้มีที่มาจากความคิดที่ว่า ผู้พูดภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิมเป็นบรรพบุรุษของมนุษยชาติชั้นสูงที่โดดเด่น[5][6] และลูกหลานของพวกเขาจนถึงปัจจุบันนี้ประกอบขึ้นเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีลักษณะเฉพาะหรือเผ่าพันธุ์ย่อยของคอเคเซียน ร่วมกับเชื้อชาติเซมิติกและฮามิติก[7] แนวทางทางการแบ่งประเภทกลุ่มประชากรมนุษย์ตามอนุกรมวิธานในปัจจุบันถือว่าเข้าใจผิดและไม่มีความหมายทางชีววิทยา เนื่องจากความคล้ายคลึงทางพันธุกรรมที่ใกล้ชิดและความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างกลุ่มเหล่านี้[8][9][10]

คำนี้ถูกใช้งานโดยนักเขียนที่เหยียดเชื้อชาติและต่อต้านยิวหลายคนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 เช่น อาร์ตูร์ เดอ กอบีโน ริชาร์ด วากเนอร์ และฮิวสตัน สจวต แชมเบอร์เลน[11] ที่แนวคิดการเหยียดเชื้อชาติทางวิทยาศาสตร์ (scientific racism) ภายหลังส่งอิทธิพลต่อแนวคิดเชื้อชาตินาซี[12] ในคริสต์ทศวรรษ 1930 แนวคิดนี้ถูกเชื่อมโยงเข้ากับลัทธินาซีและลัทธินอร์ดิก[13] และใช้สนับสนุนอุดมการณ์คนผิวขาวสูงส่งในลัทธิอารยันที่มองชนชาติอารยันเป็น "ชนชาติปกครอง"[14] ส่วนผู้มิใช่อารยันถือเป็นเชื้อชาติต่ำ (Untermensch, แปลว่า ต่ำกว่ามนุษย์) และเป็นภัยคุกคามต่อการดำรงอยู่ที่ต้องถูกกำจัด[15] ในนาซีเยอรมนี ความคิดเหล่านี้ถือเป็นส่วนสำคัญในอุดมการณ์ของรัฐที่นำไปสู่ฮอโลคอสต์[16][17]

ประวัติ

[แก้]

การโต้แย้งเรื่องบ้านเกิดทางภาษาศาสตร์

[แก้]

ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิมถูกสร้างขึ้นใหม่ให้เป็นภาษาดั้งเดิมตามสันนิษฐานโดยทั่วไปของกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน[18][19] เซอร์ วิลเลียม โจนส์ ผู้ได้รับการยกย่องเป็น "นักภาษาศาสตร์ผู้ได้รับความเคารพนับถือมากที่สุดในยุโรป" จากผลงาน ไวยากรณ์ภาษาเปอร์เซีย (1771) ได้รับการแต่งตั้งเป็นหนึ่งในผู้พิพากษาสามท่านแห่งศาลสูงสุดเบงกอล[20] หลังเดินทางมาที่โกลกาตาและเริ่มศึกษาภาษาสันสกฤตและฤคเวท เขาตกตะลึงถึงความคล้ายคลึงของคำศัพท์ระหว่างภาษาสันสกฤตและภาษาอินโด-ยูโรเปียนอื่น ๆ เช่น เปอร์เซีย กอทิก กรีก และละติน และสรุปว่าภาษาสันสกฤตอยู่ในตระกูลภาษาเดียวกับกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียนอื่น ๆ ในฐานะภาษาลูกหลาน (descendant language) ที่มีภาษาพ่อแม่หรือภาษาดั้งเดิม (proto- or parent-language) เดียวกัน[21]ไว้ในหนังสือ Third Anniversary Discourse on the Hindus (1786)[22] อย่างไรก็ตาม บ้านเกิดทางภาษาศาสตร์ (linguistic homeland) ของบรรพบุรุษที่พูดภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิมได้รับการถกเถียงเชิงการเมืองในหมู่นักโบราณคดีและนักภาษาศาสตร์ด้านประวัติศาสตร์เปรียบเทียบตั้งแต่ต้น พัวพันกับสาเหตุที่เป็นความคลั่งชาติ[19][23][24] ภายหลังนักชาตินิยมและเผด็จการชาวยุโรปบางส่วน โดยเฉพาะพวกนาซี พยายามระบุบ้านเกิดของชาวอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิมในประเทศหรือภูมิภาคของตนว่าเป็นเชื้อชาติที่เหนือกว่า[25][26]

เลออน โปลียาคอฟกล่าวว่า แนวคิดชนชาติอารยันหยั่งรากลึกมากในนิรุกติศาสตร์ ซึ่งอิงจากผลงานของเซอร์ วิลเลียม โจมส์ที่อ้างว่าภาษาสันสกฤตมีความเกี่ยวข้องกับภาษากรีก-โรมัน (ยุโรป) นักคิดคนอื่น ๆ ประดิษฐ์ต้นกำเนิดอารยธรรมยุโรปทางฆราวาสที่ไม่อิงจากลำดับวงศ์ตระกูลในพระคัมภีร์ที่ขุนนางยุโรปสืบเชื้อสายมาเป็นเวลานาน[27][28]

ศิลปะจินตนิยมและทฤษฎีดาร์วินทางสังคม

[แก้]

อิทธิพลของศิลปะจินตนิยมในเยอรมนีทำให้เกิดการฟื้นฟูการแสวงหาทางปัญญาทาง "ภาษาและประเพณีเยอรมัน" และความปรารถนาที่จะ "ละทิ้งตรรกะเทียมอันเฉี่อยชาของการตื่นรู้"[29] หลังการตีพิมพ์ On the Origin of Species ของชาลส์ ดาร์วินใน ค.ศ. 1859 และการเผยแพร่โมเดลทฤษฎีภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิม นักโรแมนติกตัดสินว่าภาษาเป็นปัจจัยที่กำหนดอัตลักษณ์ชาติ ผสมเข้ากับแนวคิดลัทธิดาร์วินใหม่[30] นักชาตินิยมเยอรมันนำทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ของการคัดเลือกโดยธรรมชาติไปใช้ในทางที่ผิด เพื่อหาเหตุผลในความเหมาะสมของบางเชื้อชาติเหนือกว่าเชื้อชาตือื่น แม้ว่าดาร์วินไม่เคยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความเหมาะสมเข้ากับสิ่งที่คลุมเครือ เช่น เชื้อชาติหรือภาษา[30] เชื้อชาติที่ "ไม่เหมาะสม" ได้รับการเสนอแนะเป็นต้นตอความอ่อนแอทางพันธุกรรม และเป็นภัยที่อาจปนเปื้อนคุณสมบัติที่เหนือกว่าของเผ่าพันธุ์ที่ "เหมาะสม"[30] การผสมผสานที่เข้าใจผิดระหว่างวิทยาศาสตร์เทียมกับศิลปะจินตนิยมก่อให้เกิดอุดมการณ์เชื้อชาติใหม่ที่ใช้การตีความทฤษฎีดาร์วินทางสังคมที่บิดเบือนเกี่ยวกับเชื้อชาติเพื่ออธิบาย "แก่นแท้ทางชีววิทยา-จิตวิญญาณ-ภาษาที่สูงกว่าของชาวยุโรปเหนือ" ในการศึกษาที่ยกย่องตัวเอง[31][32] ผลที่ตามมาทำให้การแสวงหามรดกแห่งชาติที่ "บริสุทธิ์" ของนักโรแมนติกชาวเยอรมันนำไปสู่การตีความว่าผู้พูดภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิมในสมัยโบราณเป็นบรรพบุรุษที่โดดเด่นของ "การเหมารวมทางเชื้อชาติ-ภาษา-ชาติ"[33][34]

การประดิษฐ์ชนชาติอารยัน

[แก้]

ลัทธินาซี

[แก้]

เชื้อชาติที่ต่ำกว่ามนุษย์และด้อยกว่าในนาซีเยอรมนี

[แก้]

กฎหมายเนือร์นแบร์ค ค.ศ. 1935 นโยบายเชื้อชาติของนาซีเยอรมนี และทฤษฎีเหยียดเชื้อชาติของอดอลฟ์ ฮิตเลอร์พิจารณาให้ชาวยิว โรมา และสลาฟ รวมถึงโปล เช็ก รัสเซีย และเซิร์บมี "เชื้อชาติต่ำและด้วยกว่ามนุษย์" (เยอรมัน: Untermensch, แปลตรงตัว'ต่ำกว่ามนุษย์');[35][16][36][37] คำนี้ยังใช้กับพวก "มิชลิง" (บุคคลที่มีเชื้อชาติผสมระหว่าง "อารยัน" กับ ไม่อารยัน เช่น ผู้มีบรรพบุรุษเป็นยิว) และคนผิวดำ[38][39]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Knight Dunlap (October 1944). "The Great Aryan Myth". The Scientific Monthly. American Association for the Advancement of Science. 59 (4): 296–300. Bibcode:1944SciMo..59..296D. JSTOR 18253.
  2. Arvindsson 2006, pp. 13–50.
  3. Arvindsson 2006, p. 45.
  4. Ramaswamy, Sumathi (June 2001). "Remains of the race: Archaeology, nationalism, and the yearning for civilisation in the Indus valley". The Indian Economic & Social History Review. 38 (2): 105–145. doi:10.1177/001946460103800201. ISSN 0019-4646. S2CID 145756604.
  5. Pereltsvaig & Lewis 2015, p. 11.
  6. Anthony 2007, p. 2.
  7. Mish, Frederic C., Editor in Chief Webster's Tenth New Collegiate Dictionary Springfield, Massachusetts. 1994 – Merriam-Webster See original definition (definition #1) of "Aryan" in English. 0. 66
  8. Templeton, A. (2016). "Evolution and Notions of Human Race". ใน Losos, J.; Lenski, R. (บ.ก.). How Evolution Shapes Our Lives: Essays on Biology and Society. Princeton; Oxford: Princeton University Press. pp. 346–361. doi:10.2307/j.ctv7h0s6j.26. ISBN 9780691170398. JSTOR j.ctv7h0s6j. ... the answer to the question whether races exist in humans is clear and unambiguous: no.
  9. Wagner, Jennifer K.; Yu, Joon-Ho; Ifekwunigwe, Jayne O.; Harrell, Tanya M.; Bamshad, Michael J.; Royal, Charmaine D. (February 2017). "Anthropologists' views on race, ancestry, and genetics". American Journal of Physical Anthropology. 162 (2): 318–327. doi:10.1002/ajpa.23120. PMC 5299519. PMID 27874171.
  10. American Association of Physical Anthropologists (27 March 2019). "AAPA Statement on Race and Racism". American Association of Physical Anthropologists. สืบค้นเมื่อ 19 June 2020.
  11. Paul B. Rich (1998). "Racial ideas and the impact of imperialism in Europe". The European Legacy. 3 (1): 30–33. doi:10.1080/10848779808579862.
  12. Anthony 2007, pp. 13–40.
  13. Gregor, A James (1961). "Nordicism Revisted". Phylon. 22 (4): 352–360. doi:10.2307/273538. JSTOR 273538.
  14. Bryant 2001, pp. 33–50.
  15. Longerich, Peter (2010). Holocaust: The Nazi Persecution and Murder of the Jews. Oxford University Press. ISBN 978-0191613470.
  16. 16.0 16.1 Gordon, Sarah Ann (1984). Hitler, Germans, and the "Jewish Question". Mazal Holocaust Collection. Princeton, N.J.: Princeton University Press. p. 96. ISBN 0-691-05412-6. OCLC 9946459.
  17. "Aryan". Holocaust Encyclopedia, United States Holocaust Memorial Museum. สืบค้นเมื่อ 25 February 2022.
  18. Bryant 2001, p. 20.
  19. 19.0 19.1 Anthony 2007, pp. 4–5.
  20. Anthony 2007, p. 6.
  21. Anthony 2007, p. 7.
  22. Santucci 2008, p. 40.
  23. Zvelebil 1995, p. 34.
  24. Anthony 2007, p. 10.
  25. Renfrew, Colin (October 1989). "The Origins of Indo-European Languages". Scientific American. United States. 261 (4): 108. Bibcode:1989SciAm.261d.106R. doi:10.1038/scientificamerican1089-106. JSTOR 24987446.
  26. Anthony 2007, p. 5.
  27. Leoussi, Athena (2001). Encyclopedia of Nationalism. United Kingdom: Taylor & Francis. p. 11. The process was further assisted by a romanticism which gloried in the exotic and encouraged the idea that the greatest civilizational achievements of Europe could be attributed to the stimulus of ancient Aryan tribal movements...Historians seemed increasingly bent on discovering in each case a vigorous national past from which could be projected an even greater future. Scholars searching for Aryan pedigree also availed themselves of such newer disciplines as ethnology and anthropology.
  28. Judaken, Jonathan (6 March 2024). "Leon Poliakov, Philosophy, and the Secularization of Anti-Judaism in the Development of Racism". Graduate Faculty Philosophy Journal. 35 (1): 193–195. It seemed as in the Europeans of the scientific age, having freed themselves from the conventional Noachian genealogy and rejected Adam as a common father, were looking around for new ancestors but were unable to break with the tradition which placed their origin in the fabulous Orient. It was the science of linguistics which was to give a name to these ancestors by opposing the Aryans to the Hamites, the Mongols—and the Jews.
  29. Anthony 2007, pp. 7–8.
  30. 30.0 30.1 30.2 Anthony 2007, p. 8.
  31. Goodrick-Clarke 1992, pp. 12–14.
  32. Anthony 2007, pp. 8–9.
  33. Anthony 2007, pp. 8–10.
  34. Mish, Frederic C., Editor in Chief Webster's Tenth New Collegiate Dictionary Springfield, Massachusetts: 1994. Merriam-Webster p. 66
  35. Connelly 2008, pp. 4–11.
  36. Longerich, Peter (2010). Holocaust : the Nazi persecution and murder of the Jews. Oxford: Oxford University Press. pp. 83, 241. ISBN 978-0-19-280436-5. OCLC 610166248.
  37. Rathkolb, Oliver. Revisiting the National Socialist Legacy: Coming to Terms With Forced Labor, Expropriation, Compensation, and Restitution. Transaction Publishers. p. 84. ISBN 978-1412833233.
  38. Reichsführer-SS (1942). Der Untermensch "The subhuman". Berlin: SS Office. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2022. สืบค้นเมื่อ 14 March 2022.
  39. Berenbaum, Michel; Peck, Abraham J. (1998). The Holocaust and History: The Known, the Unknown, the Disputed, and the Reexamined. United States Holocaust Memorial Museum, Indiana University Press. pp. 59 & 37. ISBN 978-0253215291.

บรรณานุกรม