แผนสี่ปี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แผนสี่ปี (Four Year Plan) เป็นหนึ่งในมาตรการทางเศรษฐกิจที่ได้ริเริ่มโดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ซึ่งได้มอบหมายให้จอมพลไรช์ แฮร์มันน์ เกอริงในการดูแลรับผิดชอบ เกอริงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้มีอำนาจเต็มแห่งไรช์ (Reich Plenipotentiary) ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดอำนาจหน้าที่ของสมาชิกคณะรัฐมนตรี รวมถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเศรษฐกิจ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร แผนงานนี้เป็นหนึ่งในหลายแผนงานของรัฐบาลที่คิดขึ้นโดยฮิตเลอร์และพรรคนาซี ซึ่งรวมถึงหน่วยงานต่างๆ เช่น องค์การท็อดท์ และการรวมตัวกันของหน่วยเอ็สเอ็สและกองกำลังตำรวจเยอรมัน รวมถึงตำรวจลับเกสตาโพภายใต้บัญชาการของไฮน์ริช ฮิมม์เลอร์

วัตถุประสงค์หลักของแผนสี่ปีคือ การจัดหาอาวุธของเยอรมนีและเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพึ่งพาตัวเองในระยะเวลาสี่ปี,นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1936-1940.นอกเหนือจากการเน้นย้ำในการสร้างการป้องกันทางทหารของประเทศขึ้นมาใหม่,โดยไม่คำนึงถึงข้อจำกัดที่ได้กำหนดต่อเยอรมนีโดยสนธิสัญญาแวร์ซาย ภายหลังจากที่เยอรมนีได้พ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แผนสี่ปีได้พยายามในการลดการว่างงาน, เพิ่มการผลิตเส้นใยสังเคราะห์, การรับรองโครงการงานทางสาธารณะภายใต้การดูแลของฟริทซ์ ท็อดท์, เพิ่มการผลิตรถยนต์, ริเริ่มโครงการอาคารและสถาปัตยกรรมจำนวนมาก และการพัฒนาขยายต่อระบบทางหลวงเอาโทบาน

ด้วยความวิตกกังวลต่อปฏิกิริยาจากนักอุตสาหกรรมและนักการเงินทั่วไปจากการเพิ่มโอนมาเป็นของรัฐของเศรษฐกิจของเยอรมนี,"บันทึกการประชุมแผนสี่ปี"ของฮิตเลอร์ในปี ค.ศ. 1936, ได้เรียกร้องจากไรชส์ทาคต่อการประกาศใช้"กฎหมายว่าด้วยการประหารชีวิตเพื่อก่อวินาศกรรมทางเศรษฐกิจ."

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Bullock, Alan. (1991) Hitler and Stalin: Parallel Lives New York: Knopf. p.426 ISBN 0-394-58601-8
  • Lucy Dawidowicz, A Holocaust Reader, New York: Behrman House, 1976, p. 32
  • Bullock, Alan. (1991) Hitler and Stalin: Parallel Lives New York: Knopf. pp.440-444 ISBN 0-394-58601-8
  • R.J. Overy, War and Economy in the Third Reich, Oxford University Press, 1994, p.16.