ลัทธิคลั่งชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลัทธิคลั่งชาติ (อังกฤษ: chauvinism) เป็นความเชื่อว่าชนชาติหรือกลุ่มของตนนั้นมีความเหนือกว่ากลุ่มอื่น ๆ และการมองว่ากลุ่มอื่น ๆ มีความอ่อนแอ ไม่คู่ควร หรือด้อยกว่ากลุ่มของตน[1] อาจกล่าวได้ว่าลัทธิคลั่งชาตินั้นเป็นความรักชาติหรือชาตินิยมอย่างสุดโต่ง และเป็นความเชื่อมั่นในความเป็นเลิศของชาติตนเองอย่างรุนแรง[2]

ตามตำนาน ทหารฝรั่งเศส นีโกลัส โชแว็ง (Nicolas Chauvin) ได้รับบาดเจ็บสาหัสในสงครามนโปเลียน เขาได้บำนาญจากการบาดเจ็บของเขาแต่ไม่เพียงพอดำรงชีพ หลังนโปเลียนสละราชสมบัติ โชแว็งเป็นผู้นิยมโบนาปาร์ต (Bonapartist) อย่างคลั่งไคล้แม้มุมมองนี้ไม่ได้รับความนิยมในประเทศฝรั่งเศสสมัยการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง การอุทิศตนอย่างมืดบอดเด็ดเดี่ยวต่ออุดมการณ์ของเขา แม้ถูกกลุ่มแยกของเขาปฏิเสธและศัตรูก่อกวน เริ่มการใช้คำนี้[2]

ลัทธิคลั่งชาติขยายจากการใช้ดั้งเดิมให้รวมการอุทิศตนอย่างคลั่งไคล้และลำเอียงอย่างไม่เหมาะสม (undue partiality) ต่อกลุ่มหรืออุดมการณ์ใด ๆ ที่ตนจัดเป็นส่วนหนึ่ง โดยเฉพาะการถือพรรคพวก (partisanship) ซึ่งมีความเดียดฉันท์หรือเป็นปรปักษ์ต่อคนนอกหรือกลุ่มคู่แข่งและคงอยู่แม้เผชิญกับการคัดค้านอย่างท่วมท้น[3][4][5] คุณสมบัติแบบฝรั่งเศสนี้ขนานกับคำบริติชว่า คติรักชาติแบบใฝ่สงคราม (jingoism) ซึ่งคงความหมายของลัทธิคลั่งชาติอย่างเคร่งครัดในความหมายดั้งเดิม นั่นคือ ทัศนคติชาตินิยมแบบทำสงคราม[6][7][8]

อ้างอิง[แก้]

  1. Heywood, Andrew (2014). Global politics (2nd ed.). Basingstoke: Palgrave Macmillan. p. 171. ISBN 978-1-137-34926-2. OCLC 865491628.
  2. 2.0 2.1 "Chauvinism". Encyclopædia Britannica.
  3. "15 Words You Didn't Realize Were Named After People". Grammar Girl.
  4. "Chauvinism". Encyclopædia Britannica.
  5. "Chauvinism". The Oxford English Dictionary.
  6. "Jingoism". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 22 June 2015.
  7. "Chauvinism". The Oxford English Dictionary.
  8. "Jingoism & Chauvinism". Word Histories. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-26. สืบค้นเมื่อ 22 June 2015.