ข้ามไปเนื้อหา

สมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อเมริกัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก American Association for the Advancement of Science)
สมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อเมริกัน
ชื่อย่อAAAS
ก่อตั้ง20 กันยายน 1848 (175 ปีก่อน) (1848-09-20)
ที่ตั้ง
สมาชิก
มากกว่า 120,000 คน
เว็บไซต์www.aaas.org
ชื่อในอดีต
สมาคมนักธรณีวิทยาและนักธรรมชาติวิทยาอเมริกัน
สำนักงานของสมาคมในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

สมาคมเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อเมริกัน (อังกฤษ: American Association for the Advancement of Science, AAAS) เป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรนานาชาติในสหรัฐ มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการร่วมมือกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์ พิทักษ์รักษาอิสรภาพทางวิทยาศาสตร์ สนับสนุนความรับผิดชอบทางวิทยาศาสตร์ และสนับสนุนการศึกษาและการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษยชาติ เป็นสมาคมวิทยาศาสตร์ทั่วไปที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีสมาชิกทั้งที่เป็นบุคคลและองค์กรถึง 126,995 รายในท้ายปี 2551[ต้องการอ้างอิง] เป็นผู้ดำเนินการพิมพ์วารสารวิทยาศาสตร์ที่ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันรายสัปดาห์ Science ซึ่งมีสมาชิกประจำที่ 138,549 ราย[1] และเป็นวารสารแนวหน้าระดับโลกวารสารหนึ่ง[2]

จุดยืน

[แก้]

กรรมการผู้จัดการของสมาคมระหว่างปี 2544-2558 พิมพ์บทความบรรณาธิการเป็นจำนวนมากที่ยกประเด็นว่า มีคนมากมายที่รวมความรู้ทางวิทยาศาสตร์และความเชื่อศาสนาเข้าในชีวิตประจำวัน เขาต่อต้านการการเพิ่มเนื้อความที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ เช่นที่มาจากองค์กรโปรโหมตความเชื่อทางศาสนาต่าง ๆ เข้าสู่หลักสูตรสอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน[3][4][5]

ในเดือนธันวาคม 2549 สมาคมยอมรับบทความเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งกล่าวว่า "หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ชัดเจน คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพราะเหตุกิจกรรมของมนุษย์กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน และเป็นภัยใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ต่อสังคมมนุษย์... ทั้งอัตราความเปลี่ยนแปลงและหลักฐานเกี่ยวกับความเสียหาย ได้เพิ่มขึ้นอย่างสำคัญภายใน 5 ปีที่ผ่านมา เวลาที่ต้องควบคุมการปล่อยแก๊สเรือนกระจกก็คือเดี๋ยวนี้"[6]

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 สมาคมได้ใช้ภาพถ่ายผ่านดาวเทียมเพื่อบันทึกการละเมิดสิทธิมนุษยธรรมในประเทศพม่า[7] ในปีต่อมา สมาคมจัดตั้งศูนย์เพื่อการทูตวิทยาศาสตร์ (Center for Science Diplomacy) เพื่อเสริมความสัมพันธ์ทางวิทยาศาสตร์และอื่น ๆ กับประเทศหุ้นส่วน โดยโปรโหมตการทูตวิทยาศาสตร์ (science diplomacy) คือการร่วมมือกันทางวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาที่มีร่วมกัน และส่งเสริมการร่วมมือกันแบบสร้างสรรค์ระดับนานาชาติ[8]

ในปี 2555 สมาคมพิมพ์บทความบรรณาธิการ[9] จัดงานที่รัฐสภาสหรัฐ และเผยแพร่การวิเคราะห์งบประมาณการวิจัยและพัฒนา (R&D) ของรัฐบาลกลางสหรัฐ เพื่อเตือนว่าการลดงบประมาณ R&D จะมีผลรุนแรงต่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์[10][11]

จีเอ็มโอ

[แก้]

คณะกรรมการอนุมัติคำแถลงการณ์ในปี 2555 ว่า[12]

  • การปรับปรุงพืชโดยเทคโนโลยีชีวภาพระดับโมเลกุลปลอดภัย
  • การวิ่งเต้นให้ขึ้นป้ายสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมไม่มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ และจะมีผลให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดและตระหนกตกใจอย่างผิด ๆ
  • พืชดัดแปรพันธุกรรมที่ได้อนุมัติให้ใช้เป็นอาหารมนุษย์ในสหรัฐ มีการทดสอบมากมายยิ่งกว่าอาหารธรรมดา
  • ข่าวว่าอาหารดัดแปรพันธุกรรมทำให้เกิดปัญหาในสัตว์ล้วนแต่ไม่ผ่านการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์
  • พืชผลดัดแปรพันธุกรรมให้ประโยชน์ทั้งกับเกษตรกร สิ่งแวดล้อม และผู้บริโภค

ถ้าเป็นคำถามที่ว่า "อาหารจีเอ็มโอปลอดภัยที่จะบริโภคหรือไม่" ความเห็นของสาธารณชนและของนักวิทยาศาสตร์สมาชิกของสมาคมแตกต่างกันมาก คือประชาชน 37% เห็นว่าปลอดภัย แต่นักวิทยาศาสตร์ 88% เห็นว่าปลอดภัย[13]

สิ่งตีพิมพ์

[แก้]

นอกจากวารสารหลักของสมาคมคือ Science แล้ว สมาคมยังตีพิมพ์วารสาร Science Signaling (รายสัปดาห์ เกี่ยวกับเซลล์และระบบชีวภาพ) Science Translational Medicine (เกี่ยวกับการแพทย์ทั่วไปข้ามสาขา) และล่าสุดคือ Science Advances โดยเข้าถึงได้ฟรี[14]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. "BPA Worldwide". BPA Worldwide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-06. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "Alien Life Discovered in a Meteorite! Or Maybe No". Time magazine online. 7 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 August 2013. สืบค้นเมื่อ 11 March 2016. The paper, meanwhile, had been published in Science, one of the world's top scientific journals, which gave it even more apparent gravitas.
  3. Leshner, Alan I (28 May 2008). "'Academic Freedom' Bill Dangerous Distraction" (PDF). The Shreveport Times.
  4. Leshner, Alan I (6 May 2008). "Anti-science law threatens tech jobs of future" (PDF). The Times-Picayune.
  5. Leshner, Alan I (11 September 2006). "Design: Critical Deception?" (PDF). Akron Beacon-Journal.
  6. "AAAS Board Statement on Climate Change" (PDF). AAAS. December 2006.
  7. "Satellite Images Verify Myanmar Forced Relocations, Mounting Military Presence". ScienceMode. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2008. สืบค้นเมื่อ 1 October 2007.
  8. "AAAS - AAAS News Release: AAAS Opens New Center for Science Diplomacy to "Promote International Understanding and Prosperity"". www.aaas.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 May 2009. สืบค้นเมื่อ 1 June 2009.
  9. Leshner, Alan I (27 September 2012). "Stalling science threatens every domain of modern life" (PDF). Bradenton Herald.
  10. "Sequestration Budget Cuts Would Cripple U.S. Scientific Progress, Experts Warn". AAAS. 21 November 2012.
  11. "Federal and State Research Could Be Crippled by Looming Cuts, Says New AAAS Report". AAAS. 28 September 2012.
  12. "Statement by the AAAS Board of Directors On Labeling of Genetically Modified Foods" (PDF). AAAS. 20 October 2012.
  13. Cary Funk, Lee Rainie (2015-01-29). "Public and Scientists' Views on Science and Society" (PDF). pewinternet.org. Pew Research Center. p. 37. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 29 April 2015. สืบค้นเมื่อ 28 April 2015. Fully 88% of AAAS scientists say it is generally safe to eat genetically modified (GM) foods compared with 37% of the general public who say the same, a gap of 51 percentage points.Link to key data เก็บถาวร 2019-01-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  14. McNutt, Marcia; Leshner, Alan I. (14 February 2014). "Science Advances" (PDF). Science. 343 (6172): 709. doi:10.1126/science.1251654.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]