ชตวร์มอัพไทลุง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชตวร์มอัพไทลุง
รู้จักในชื่อBrownshirts (Braunhemden)
คณะผู้นำ
ก่อตั้ง5 ตุลาคม ค.ศ. 1921
ยุบเลิก8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945
ประเทศ
ภักดีต่ออดอล์ฟ ฮิตเลอร์
เป้าหมาย
  • ป้องกัน
  • ข่มขู่
กองบัญชาการSA High Command, Barerstraße, มิวนิค
48°8′37.53″N 11°34′6.76″E / 48.1437583°N 11.5685444°E / 48.1437583; 11.5685444
แนวคิดลัทธินาซี
สเปกตรัมทางการเมืองขวาจัด[1]
ปฏิบัติการสำคัญคืนกระจกแตก
สถานะผิดกฎหมาย
ขนาด3,000,000 คน (1933)
ส่วนหนึ่งของพรรคนาซี
ฝ่ายตรงข้าม
ถัดไป
ชุทซ์ชตัฟเฟิล
(ป. ค.ศ. 1934 เป็นต้นมา)

ชตวร์มอัพไทลุง (เยอรมัน: Sturmabteilung, ภาษาเยอรมัน: [ˈʃtʊʁmʔapˌtaɪlʊŋ] ( ฟังเสียง) แปลว่า "กองกำลังพายุ") มีชื่อย่อว่า เอ็สอา (SA) เป็นหน่วยกองกำลังกึ่งทหารเดิมของพรรคนาซี

ชตวร์มอัพไทลุงมีบทบาทสำคัญในการก้าวขึ้นสู่อำนาจของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ในคริสต์ทศวรรษ 1920–1930 โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการคุ้มกันการเคลื่อนทัพและการระดมพลของนาซี เข้าก่อกวนการประชุมพรรคฝ่ายค้าน สู้กับหน่วยกึ่งทหารของฝ่ายตรงข้าม เช่น สันนิบาตนักสู้แนวหน้าสีแดงของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเยอรมนี รวมถึงสร้างความหวาดกลัวให้แก่ผู้นิยมสหภาพแรงงาน ชาวโรมานีหรือยิปซี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวยิว เช่นในช่วงการคว่ำบาตรชาวยิวของนาซี

ชตวร์มอัพไทลุงบ้างก็รู้จักในยุคสมัยนั้นว่า "พวกชุดกากี" (Braunhemden) ทำนองเดียวกับกลุ่มชุดดำของมุสโสลินี ชตวร์มอัพไทลุงมียศกึ่งทหารเป็นของตนเองซึ่งต่อมานำไปใช้กับกลุ่มนาซีหลายกลุ่ม โดยกลุ่มที่เป็นหัวหน้าก็เช่นกลุ่มชุทซ์ชตัฟเฟิล ซึ่งเคยอยู่ภายใต้กลุ่มชตวร์มอัพไทลุงก่อนแยกตัวออกมาภายหลัง เหตุที่ใช้ชุดกากีเพราะว่าในสงครามโลกครั้งที่ 1 มีชุดเหล่านี้จำนวนมากและราคาถูก เนื่องจากได้เคยมีการสั่งชุดนี้สำหรับทหารที่ถูกส่งไปประจำการในอาณานิคมแอฟริกาของเยอรมนี

ชตวร์มอัพไทลุงสูญเสียอำนาจหลังจากฮิตเลอร์สั่งให้มีการฆ่าล้างอย่างโหดเหี้ยมในเหตุการณ์คืนมีดยาว และถูกแทนที่โดยชุทซ์ชตัฟเฟิล แต่ชตวร์มอัพไทลุงก็ยังไม่ถูกเลิกถาวรจนกระทั่งอาณาจักรไรช์ที่ 3 ยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตรใน ค.ศ. 1945

อ้างอิง[แก้]

  1. "Were the Nazis Socialists?".

บรรณานุกรม[แก้]

อ่านเพิ่ม[แก้]