ข้ามไปเนื้อหา

การชุมนุมที่เนือร์นแบร์ค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"โทเทเนรุง" (สรรเสริญผู้ตาย) บนระเบียงหน้า "เอเรนฮัลเลอ" (หอเกียรติยศ) ในฉากหลังเป็นที่ชุมนุมนาซี "เอเรนทรีบือเน" (เวทีเกียรติยศ) รูปจันทร์เสี้ยว ในการชุมนุมที่เนือร์นแบร์ค กันยายน ค.ศ. 1934
การชุมนุมใน ค.ศ. 1935

การชุมนุมที่เนือร์นแบร์ค (หรือ Reichsparteitag ซึ่งเป็นคำที่ทางการเยอรมนีใช้ หมายความว่า "การประชุมของพรรคชาตินิยม") ซึ่งเป็นการชุมนุมประจำปีของพรรคนาซี ระหว่างปี 1923-1938 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากฮิตเลอร์ก้าวขึ้นสู่อำนาจในปี 1933 แล้ว ในการชุมนุมจะเป็นการโฆษณาชวนเชื่อขนานใหญ่ Reichsparteitage นั้นถูกจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีที่ ลานชุมนุมของพรรคนาซีในเมืองเนือร์นแบร์ค ตั้งแต่ปี 1933 เป็นต้นมา

ประวัติและจุดประสงค์

[แก้]

การชุมนุมครั้งแรกของพรรคนาซีได้ถูกจัดขึ้นครั้งแรกในปี 1923 ที่เมืองมิวนิก และในปี 1926 ที่เมืองไวมาร์ แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมา พรรคนาซีได้ย้ายไปจัดที่เมืองเนือร์นแบร์ค การที่พรรคนาซีได้เลือกเมืองแห่งนี้ก็เพราะว่า มันต้องอยู่ใจกลางเยอรมนีและก็มีผู้ร่วมสนับสนุนอีกด้วย หลังจากปี 1933 การชุมนุมได้ถูกจัดขึ้นในตอนต้นของเดือนกันยายนภายใต้สัญลักษณ์ของ Reichsparteitage des deutschen Volkes ("พรรคชาตินิยมแห่งชาติของปวงชนชาวเยอรมัน") ซึ่งเป็นเครื่องหมายของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างชาวเยอรมันกับพรรคนาซี ซึ่งได้ทำให้ผู้สนับสนุนพรรคนาซีได้เพิ่มขึ้นกว่าห้าแสนคนจากพรรค กองทัพและรัฐ

การชุมนุมในแต่ละครั้ง

[แก้]
ครั้งที่ การประชุม
ชื่อการประชุม
สถานที่ เวลาที่จัด
1 การประชุมพรรคครั้งแรก มิวนิก 27 มกราคม 1923
2 "การรวมพลวันเยอรมัน"
"German day rally"
เนือร์นแบร์ค 1 กันยายน 1923
3 การประชุมพรรคครั้งที่สอง ไวมาร์ 4 กรกฎาคม 1926
4 การประชุมพรรคครั้งที่สาม
วันแห่งการตื่นจากการหลับใหล
เนือร์นแบร์ค 20 สิงหาคม 1927
5 การประชุมพรรคครั้งที่สี่
วันแห่งการสงบใจ
เนือร์นแบร์ค 2 สิงหาคม 1929
6 การประชุมพรรคครั้งที่ห้า
"รวมพลเพื่อชัยชนะ" (Reichsparteitag des Sieges)
เนือร์นแบร์ค 1933
7 การประชุมพรรคครั้งที่หก
"รวมพลเพื่อความสามัคคีและกำลัง" (Reichsparteitag der Einheit und Stärke)
"รวมพลเพื่ออำนาจ" (Reichsparteitag der Macht)
หรือ "รวมพลเพื่ออุดมการณ์" (Reichsparteitag des Willens)
เนือร์นแบร์ค 1934
8 การประชุมพรรคครั้งที่เจ็ด
"รวมพลเพื่ออิสรภาพ" (Reichsparteitag der Freiheit)
เนือร์นแบร์ค 1935
9 การประชุมพรรคครั้งที่แปด
"รวมพลเพื่อเกียรติยศ" (Reichsparteitag der Ehre)
เนือร์นแบร์ค 1936
10 การประชุมพรรคครั้งที่เก้า
"รวมพลเพื่อความอุตสาหะ" (Reichsparteitag der Arbeit)
เนือร์นแบร์ค 1937
11 การประชุมพรรคครั้งที่สิบ
"รวมพลเพื่อเยอรมนีอันยิ่งใหญ่" (Reichsparteitag Großdeutschland)
เนือร์นแบร์ค 1938
12 การประชุมพรรคครั้งที่สิบเอ็ด
"รวมพลเพื่อสันติภาพ" (Reichsparteitag des Friedens)
เนือร์นแบร์ค 1939

ระเบียบการประชุม

[แก้]

หลักเกณฑ์พื้นฐานของการชุมนุมแห่งเนือร์นแบร์คก็คือการเพิ่มเติมอำนาจบารมีของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ซึ่งได้พรรณนาถึงฮิตเลอร์ในลักษณะของผู้ที่จะนำพาเยอรมนีไปสู่ความยิ่งใหญ่ ซึ่งถูกรับเลือกจากองค์พระผู้เป็นเจ้า ฝูงชนที่เข้ามาชุมนุมนั้นก็ได้ฟังคำปราศรัยของท่านผู้นำ สาบานจะมอบความจงรักภักดีแก่เขาและเดินสวนสนามต่อหน้าเขา โดยโฆษณาว่าเป็น "คนของมวลชน" การชุมนุมยังได้ถูกจัดขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของประชาชนชาวเยอรมัน ผู้ที่เข้าร่วมการชุมนุมนั้นจะกลายเป็นผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาและระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ซึ่งพรรคนาซีเปรียบไว้ว่า เหมือนจะเกิดเป็นคนใหม่

อีกส่วนประกอบหนึ่งซึ่งมีความสำคัญต่อการชุมนุมแห่งเนือร์นแบร์คนั้นก็คือกชลุ่มคนและขบวนพาเหรดของสมาชิกแห่งพรรนาซี (เช่น หน่วยเอสเอส ฮิตเลอร์เยาว์ เป็นต้น) การชุมนุมนั้นก็ยังเป็นหลักสำคัญของพรรคนาซีที่ได้ประกาศเอาไว้

การแสดงอำนาจนั้นไม่ได้จำกัดเพียงเฉพาะลานชุมนุมเท่านั้น แต่ยังคงมีการจัดกลุ่มผู้ชุมนุมไปถึงตัวเมืองเนือร์นแบร์คเดิมอีกด้วย ที่ซึ่งมีการจัดการเดินสวนสนามขึ้น ฝูงชนนั้นได้เดินสวนสนามผ่านเมืองประวัติศาสตร์ที่ประดับประดาด้วยธงนาซี

ภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อ

[แก้]

ทางพรรคนาซีได้เริ่มผลิตภาพยนตร์โฆษณาชวนเชื่อเมื่อปี 1927 ซึ่งพรรคได้ก่อตั้งสถานที่ทำภาพยนตร์ขึ้นมา ภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงที่โด่งดังที่สุด ก็คือ ภาพยนตร์ที่ได้รับการกำกับโดย Leni Riefenstahl ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการชุมนุมระหว่างปี 1933 ถึงปี 1935 เธอได้ตั้งชื่อภาพยนตร์ของเธอว่า "ชัยชนะแห่งศรัทธา" (Der Sieg des Glaubens) แลสะหลังจากนั้นก็ได้มีภาพยนตร์ที่ถูกจัดทำโดยพรรคนาซีเกิดขึ้นเรื่อยๆ

หนังสือ

[แก้]

มีหนังสือสองประเภทที่กล่าวถึงการชุมนุมที่เนือร์นแบร์ค คือ หนังสือของทางการและหนังสือของกึ่งทางการ โดยที่"หนังสือปกแดง" จะหมายถึง หนังสือที่ได้รับการตีพิมพ์โดยพรรคนาซีและได้บันทึกถึงการชุมนุมในแต่ละครั้งอย่างละเอียด ส่วน"หนังสือปกน้ำเงิน" นั้นไม่ได้ถูกตีพิมพ์โดยพรรคนาซี แต่ก็มีความแตกต่างจากหนังสือปกแดงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนั้นยังมีภาพสะสมของนายเฮนริช ฮอฟแมน ซึ่งได้ตีพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงการชุมนุมดังกล่าว นอกจากน้นก็ยังมีรวบรวมคำปราศรัยของฮิตเลอร์เอาไว้ด้วย ต่อมา หนังสือทั้งสองแบบนั้นก็ได้เป้นของสะสมที่ล้ำค่าชิ้นหนึ่งของชาวเยอรมัน

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]