คลอเฟนะมีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คลอเฟนะมีน
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้าPiriton, Chlorphen, Sulidine CP
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
MedlinePlusa682543
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • AU: A
  • US: B (ไม่มีความเสี่ยงในสัตว์)
ช่องทางการรับยาทางปาก, IV, IM, SC
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผล25 ถึง 50%
การจับกับโปรตีน72%
การเปลี่ยนแปลงยาตับ (CYP2D6)
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ13.9–43.4 ชั่วโมง[1]
การขับออกไต
ตัวบ่งชี้
  • 3-(4-Chlorophenyl)-N,N-dimethyl-3-(pyridin-2-yl)-propan-1-amine
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
IUPHAR/BPS
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
ECHA InfoCard100.004.596
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC16H19ClN2
มวลต่อโมล274.79 g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
การละลายในน้ำ0.55 g/100 mL, ของเหลว mg/mL (20 °C)
  • Clc1ccc(cc1)C(c2ncccc2)CCN(C)C
  • InChI=1S/C16H19ClN2/c1-19(2)12-10-15(16-5-3-4-11-18-16)13-6-8-14(17)9-7-13/h3-9,11,15H,10,12H2,1-2H3 checkY
  • Key:SOYKEARSMXGVTM-UHFFFAOYSA-N checkY
  7checkY (what is this?)  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

คลอเฟนะมีน (อังกฤษ: Chlorphenamine) ซึ่งเป็นชื่อสากล หรือ คลอเฟนิรามีน (อังกฤษ: chlorpheniramine) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา (USAN) และเคยใช้ในประเทศอังกฤษ เป็นยาที่ขายในรูปแบบ chlorphenamine maleate เป็นสารต้านฮิสทามีนประเภท alkylamine รุ่นแรกที่ใช้ป้องกันอาการแพ้ เช่น เยื่อจมูกอักเสบและลมพิษ ผลระงับประสาทของมันค่อนข้างอ่อนเทียบกับสารต้านฮิสทามีนรุ่นแรกอื่น ๆ คลอเฟนะมีนเป็นสารต้านฮิสทามีนที่ใช้มากที่สุดในสัตวแพทย์สำหรับสัตว์เล็ก แม้จะไม่ได้อนุมัติให้ใช้เป็นยาแก้ซึมเศร้าหรือยาแก้วิตกกังวล (anxiolytic) คลอเฟนะมีนก็มีฤทธิ์เหล่านั้นด้วย[2][3]

คลอเฟนะมีนเป็นส่วนของกลุ่มสารต้านฮิสทามีน ที่รวมเฟนิรามีน, สารอนุพันธ์แบบเฮโลเจน (halogenated) ของเฟนิรามีน, และยาอื่น ๆ รวมทั้ง fluorpheniramine, เดกซ์คลอเฟนิรามีน, บรอมเฟนิรามีน, เดกซ์บรอมเฟนิรามีน, deschlorpheniramine, ไตรโพรลิดีน, และ iodopheniramine สารต้านฮิสทามีนประเภท alkylamine แบบเฮโลเจนทั้งหมดรวมทั้งคลอเฟนะมีน มี optical isomerism เช่นกัน และคลอเฟนะมีนที่วางขายจะอยู่ในรูปแบบ chlorphenamine maleate แบบแรซิมิก เทียบกับเดกซ์คลอเฟนิรามีน ซึ่งเป็น dextrorotary stereoisomer

ฤทธิ์ต่อระบบเซโรโทนินและนอร์เอพิเนฟริน[แก้]

นอกจากจะเป็นสารต้านตัวรับ histamine H1 receptor (HRH1) แล้ว ยังมีหลักฐานว่า ยายังมีฤทธิ์เป็น serotonin-norepinephrine reuptake inhibitor (SNRI) อีกด้วย[4] และสารต้านฮิสทามีนที่คล้ายกันคือบรอมเฟนิรามีน เป็นเหตุให้ค้นพบยา zimelidine ซึ่งเป็นยากลุ่ม Selective serotonin re-uptake inhibitors (SSRI) หลักฐานทางคลินิกที่จำกัดแสดงว่า มันมีผลใกล้เคียงกับยาแก้ซึมเศร้าหลายอย่างในการยับยั้งการนำสารสื่อประสาท เซโรโทนินและนอร์เอพิเนฟรินไปใช้ใหม่ (reuptake)[5]

งานศึกษาทำในหนูพันธุ์ผสม Fischer 344/Brown Norway แสดงว่า การฉีดยาเข้าในช่องสมอง (intraventricular) ลดพฤติกรรมเกี่ยวกับความกลัวและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการหาทางในวงกต และมีข้อสังเกตอีกอย่างด้วยว่า การให้ยาในระยะยาวช่วยลดความบกพร่องของการเคลื่อนไหวที่เกี่ยวกับความสูงอายุ[6]

การใช้ยาร่วม[แก้]

คลอเฟนะมีนมักใช้ร่วมกับ phenylpropanolamine เป็นยาแก้ภูมิแพ้ที่มีทั้งคุณสมบัติต้านฮิสตามีนและลดการคัดจมูก แต่สหรัฐอเมริกาไม่อนุญาตให้ขาย phenylpropanolamine หลังจากพบว่า มันเพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองในหญิงอายุน้อย ส่วนคลอเฟนะมีนอย่างเดียวไม่มีความเสี่ยงเช่นนี้ แต่ในปัจจุบันได้มีการนำคลอเฟนะมีนไปใช้ร่วมกับ Phenylephrine แทน Phenylpropanolamine ซึ่งมีความปลอดภัยกว่าและผลค้างเคียงน้อยกว่า

คลอเฟนะมีนรวมกับยาง่วงซึมไฮโดรโคโดนที่ขายในยี่ห้อ Tussionex สามารถใช้แก้ไอและการหายใจไม่สะดวกส่วนบนที่สัมพันธ์กับภูมิแพ้หรือหวัดในผู้ใหญ่และเด็กอายุ 6 ขวบขึ้น[7] โดยผลิตเป็นยาค่อย ๆ ออกฤทธิ์ ซึ่งสามารถทานทุก 12 ชม. ได้ เทียบกับที่ต้องทานทุก 4-6 ชม. สำหรับยาแก้ไอผสมยาง่วงซึมทั่วไป ยาน้ำเชื่อมผสมคลอเฟนะมีน/ไดไฮโดรโคดีอีนก็มีขายด้วย

สารต้านฮิสทามีนช่วยในกรณีที่ภูมิแพ้หรือหวัดเป็นเหตุให้ไอ มันยังเป็นตัวเพิ่มฤทธิ์ของยากลุ่มโอปิออยด์ ซึ่งช่วยเพิ่มฤทธิ์แก้ไอ แก้ปวด และฤทธิ์อื่น ๆ ของยาที่ให้ร่วมด้วย

ในเขตต่าง ๆ ของโลก ยาแก้หวัดรวมกับยาแก้ไอที่มีทั้งโคดีอีน (ยากลุ่มโอปิออยด์) และคลอเฟนะมีน ก็มีวางขายด้วย ส่วนยา Coricidin เป็นยารวมคลอเฟนะมีนกับยาแก้ไอ dextromethorphan

ผลที่ไม่ต้องการ[แก้]

ผลที่ไม่ต้องการของยารวมทั้งอาการง่วงนอน เวียนหัว สับสน ท้องผูก วิตกกังวล คลื่นไส้ ตามัว อยู่ไม่เป็นสุข ร่างกายทำงานไม่ประสาน คอแห้ง หายใจไม่เต็ม ประสาทหลอน หงุดหงิด ความจำหรือสมาธิไม่ดี เสียงในหู และปัสสาวะไม่ออก งานศึกษาขนาดใหญ่สัมพันธ์การเกิดโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมแบบอื่น ๆ กับการใช้ยาคลอเฟนะมีนและยาต้านฮิสตามีนรุ่นแรกอื่น ๆ เนื่องจากมีฤทธิ์ anticholinergic[8]

การสังเคราะห์คลอเฟนะมีนแบบแรก จดสิทธิบัตรในสหรัฐปี 2494 (Papa, D; Schwenk, E; Sperber, N)

การสังเคราะห์[แก้]

มีวิธีการสังเคราะห์ทางอินทรีย์ที่จดสิทธิบัตรของยาหลายวิธี ยกตัวอย่างเช่น 4-chlorophenylacetonitrile จะทำปฏิกิริยากับ 2-chloropyridine รวมกับ sodium amide แล้วกลายเป็น 4-chlorophenyl(2-pyridyl)acetonitrile และเมื่อเพิ่มกลุ่ม alkyle (alkylation) ต่อสารที่เป็นผลนี้ด้วย 2-dimethylaminoethylchloride เมื่อมี sodium amide ก็จะได้ γ-(4-chlorphenyl)-γ-cyano-N,N-dimethyl-2-pyridinepropanamine ซึ่งเมื่อผ่านกระบวนการ hydrolysis และ decarboxylation ก็จะนำไปสู่คลอเฟนะมีนตามต้องการ

การสังเคราะห์คลอเฟนะมีนแบบที่สอง จดสิทธิบัตรในสหรัฐปี 2497 (Papa, D; Schwenk, E; Sperber, N)

วิธีสังเคราะห์ที่สองเริ่มจาก pyridine ซึ่งผ่านการเพิ่มสาร alkyle (alkylation) ด้วย 4-chlorophenylacetonitrile[9] กลายเป็น 2-(4-chlorobenzyl)pyridine แล้วเพิ่มกลุ่ม alkyle ด้วย 2-dimethylaminoethylchloride ร่วมกับโซเดียม ก็จะมีผลเป็นคลอเฟนะมีน

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ pmid7648771
  2. Carlsson, Arvid; Lindqvist, Margit. "Central and peripheral monoaminergic membrane-pump blockade by some addictive analgesics and antihistamines". Journal of Pharmacy and Pharmacology. Journal of Pharmacy and Pharmacology. สืบค้นเมื่อ 2013-12-01.
  3. Gruetter, CA; Lemke, SM; Anestis, DK; Szarek, JL; Valentovic, MA (July 1992). "Potentiation of 5-hydroxytryptamine-induced contraction in rat aorta by chlorpheniramine, citalopram and fluoxetine". Eur J Pharmacol. Department of Pharmacology, Marshall University School of Medicine, Huntington, WV. 217: 109–18. doi:10.1016/0014-2999(92)90827-q. PMID 1358631. สืบค้นเมื่อ 2013-12-01.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  4. Carlsson, A.; Linqvist, M. (1969). "Central and peripheral monoaminergic membrane-pump blockade by some addictive analgesics and antihistamines". Journal of Pharmacy and Pharmacology. 21 (7): 460–464. doi:10.1111/j.2042-7158.1969.tb08287.x. PMID 4390069.
  5. Hellbom, E. (2006). "Chlorpheniramine, selective serotonin-reuptake inhibitors (SSRIs) and over-the-counter (OTC) treatment". Medical Hypotheses. 66 (4): 689–690. doi:10.1016/j.mehy.2005.12.006. PMID 16413139.
  6. Hasenöhrl, R. U.; Weth, K.; Huston, J. P. (1999). "Intraventricular infusion of the histamine H1 receptor antagonist chlorpheniramine improves maze performance and has anxiolytic-like effects in aged hybrid Fischer 344×Brown Norway rats". Experimental Brain Research. 128 (4): 435–440. doi:10.1007/s002210050866. PMID 10541737.
  7. "Tussionex® Pennkinetic® (hydrocodone polistirex and chlorpheniramine polistirex) Extended-Release Suspension" (PDF). UCB. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ June 3, 2014. สืบค้นเมื่อ 2017-02-06.
  8. Gray, Shelly L.; Anderson, Melissa L.; Dublin, Sascha; Hanlon, Joseph T.; Hubbard, Rebecca; Walker, Rod; Yu, Onchee; Crane, Paul K.; Larson, Eric B. (2015-01-26). "Cumulative Use of Strong Anticholinergics and Incident Dementia: A Prospective Cohort Study". JAMA Intern. Med. 175 (3): 401–7. doi:10.1001/jamainternmed.2014.7663. PMC 4358759. PMID 25621434. สืบค้นเมื่อ 2015-01-27.
  9. Djerassi, Carl (1948). "Brominations with Pyridine Hydrobromide Perbromide". Journal of the American Chemical Society. 70 (1): 417–418. doi:10.1021/ja01181a508.