ข้ามไปเนื้อหา

คัดจมูก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คัดจมูก
(Nasal congestion)
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-9478.19

คัดจมูก หรือ อาการจมูกคั่ง (อังกฤษ: Nasal congestion) เป็นอาการอุดกั้นของช่องจมูก เนื่องมาจากเยื่อบุจมูกบวมจากการอักเสบของหลอดเลือด อาการคัดจมูกเกิดจากหลายสาเหตุ และทำให้เกิดอาการหลากหลายตั้งแต่สร้างความรำคาญจนถึงทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ในทารกแรกเกิดซึ่งสามารถหายใจได้เฉพาะทางจมูกเท่านั้น หากเกิดอาการคัดจมูกในอายุ 2-3 เดือนแรกจะรบกวนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และทำให้เกิดการหายใจอึดอัดเป็นอันตรายถึงชีวิต ส่วนอาการคัดจมูกในเด็กโตและวัยรุ่นมักเพียงสร้างความรำคาญ

อาการคัดจมูกอาจรบกวนการเจริญของหู การได้ยินและการพูด อาการคัดจมูกอย่างมากอาจรบกวนการนอนหลับ ทำให้กรน และเกี่ยวข้องกับการหยุดหายใจขณะนอนหลับ อาการคัดจมูกในเด็กทำให้ทอนซิลคอหอยโต ก่อให้เกิดการหยุดหายใจขณะนอนหลับเรื้อรังร่วมกับภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อย (hypoxia) และภาวะหัวใจข้างซ้ายล้มเหลว ซึ่งการรักษาคือการผ่าตัดเอาต่อมทอนซิลและทอนซิลคอหอยออก

อาการจมูกคัดอาจทำให้ปวดศีรษะและใบหน้าเล็กน้อยได้ ก่อให้เกิดความไม่สบายตัว

สาเหตุหลัก

[แก้]

การรักษา

[แก้]

การดื่มน้ำมากๆ ช่วยให้ร่างกายสามารถขับสิ่งระคายโพรงจมูกและลดการคั่งได้ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ดื่มน้ำสะอาด น้ำผลไม้ และน้ำชา ร่วมกับการพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอสามารถช่วยลดอาการคัดจมูกได้ การนั่งตัวตรงและไม่นอนลงช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกได้บ้าง หลีกเลี่ยงคาเฟอีน การหายใจเอาอาการชื้นจากเครื่องทำความชื้นหรือการอาบน้ำอุ่นช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกและความรำคาญลงได้

แม้ว่าโรคหวัดและไข้หวัดใหญ่จะไม่สามารถรักษาหายได้ด้วยยา แต่ยาจำพวกพาราเซตามอล ยาแก้คัดจมูก ยาพ่นจมูกหรือยาหยอดจมูก ยาแก้ไอและยาอมอาจช่วยบรรเทาอาการได้บ้าง นอกจากนี้มีการพิสูจน์ว่าการใช้ยาเริ่มต้นทันทีหลังจากเริ่มมีอาการช่วยลดเวลาการเป็นไข้หวัดใหญ่

สาเหตุจากอาการคัดจมูกอาจเกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้จากไข้ละอองฟาง การรักษาหลักคือการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ที่ได้รับการวินิจฉัยยืนยันแล้ว สารต้านฮิสทามีนและยาแก้คัดจมูกช่วยบรรเทาอาการได้แต่ไม่สามารถรักษาไข้ละอองฟางให้หายได้ หากผู้ป่วยแพ้เกสรดอกไม้ควรให้สารต้านฮิสทามีนต่อเนื่องตลอดฤดูที่เป็นเพื่อบรรเทาอาการ

ยาแก้คัดจมูกเฉพาะที่ (Topical decongestant) ควรให้ผู้ป่วยอย่างมาก 3 วัน เนื่องจากอาจเกิดอาการกลับมาเป็นอีกเรียกว่า rhinitis medicamentosa

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]