สิงโตกลอกตา
สิงโตกลอกตา | |
---|---|
สิงโตกลอกตา(สิงโตดอกไม้ไฟ Bulbophyllum medusae) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Monocots |
อันดับ: | Asparagales |
วงศ์: | Orchidaceae |
วงศ์ย่อย: | Epidendroideae |
เผ่า: | Podochilaeae |
เผ่าย่อย: | Bulbophyllinae |
สกุล: | Bulbophyllum Thouars, 1822 |
Species | |
สิงโตกลอกตา เป็นกล้วยไม้สกุลหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า "บัลโบฟิลลัม" (En:Bulbophyllum) ซึ่งมาจากรากศัพท์ในภาษากรีกคือ bulbos แปลว่า "หัว" กับ phyllon แปลว่า "ใบ" หมายถึงลักษณะที่ก้านใบพองคล้ายหัว [1]
ความเป็นมาของสิงโตกลอกตา
[แก้]สิงโตกลอกตามีประวัติการศึกษามายาวนานกว่า 200 ปี เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา สิงโตกลอกตาเป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่มีมากกว่า 2000 ชนิด ส่วนมากจะมีการกระจายพันธุ์กว้างมากในเขตร้อน ซึ่งเป็นเขตที่ยากลำบากต่อการเข้าสำรวจและทำการศึกษา นอกจากนี้กระบวนการศึกษาทางพฤกษศาสตร์ยังเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน มีขั้นตอนต่างๆในการพิสูจน์มากมายเพื่อระบุว่านั่นคือกล้วยไม้สิงโตกลอกตาชนิดใด และมีลักษณะเช่นไร ชนิดไหนได้รับการตั้งชื่อแล้วชื่อไหนเป็นการตั้งชื่อซ้ำซ้อนกัน ไปจนถึงการตั้งชนิดใหม่ ในปัจจุบันมีการศึกษากล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตายังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งในประเทศไทยด้วย เรารู้จักกล้วยไม้สกุลนี้ อย่างเป็นทางการเมื่อLouis-Marie Aubert du Petit-Thouarsนักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ตีพิมพ์ ผลงานของเขาใน Histoire particulire des plantes orchides recueillies dans les troisles australes de France, de Bourbon et de Madagascar เมื่อปี1822 โดยเขาได้ตั้งชื่อ Genus กล้วยไม้นี้โดยเป็นภาษาละติน ว่า Bulbophyllum ซึ่งแปลความได้ว่า หัวและใบ (referring to the pseudobulbs on top of which the leaf is growing ) และในวารสารนี้ได้บรรยายถึง Bulbophyllum ไว้จำนวน 17 species ด้วยกัน ในกาลต่อมาเราได้ค้นพบ Bulbophyllum(Bulb.) เพิ่มขึ้นอีกมากมาย นักพฤกษศาสตร์ประมาณการณ์กันว่า เราน่าจะมีกล้วยไม้ ในสกุลนี้มากกว่า 1,200 species ซึ่งเท่ากับว่ามันเป็นสกุลกล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุด นอกจากนี้เรา ยังสามารถพบ Bulbophyllum ในเกือบทุกภูมิภาคของโลก เว้นแต่ส่วนที่เป็นน้ำแข็งเท่านั้น[2]
ที่มาของชื่อ สิงโตกลอกตา
[แก้]ในประเทศไทยคำว่า “สิงโตกลอกตา” ไม่ปรากฏในหลักฐานว่าได้ถูกตั้งขึ้นมาตั้งแต่เมื่อใดและใครเป็นผู้ตั้ง แต่คำนี้ได้ปรากฏขึ้นมาในครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2460 ใน “ตำราเล่นกล้วยไม้ไทย” เป็นหนังสือกล้วยไม้เล่มแรกของประเทศไทย ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ตอนหนึ่งที่ว่า “ ปากเล็กเกือบแลไม่เห็น, แลรังเกษรกระดิกได้เปนดอกไม้ไหว, ซึ่งเปนเหตุให้เรียกกันในนี้ว่า ‘สิงโตกลอกตา’ ” ซึ่งพระองค์ได้กล่าวถึงกล้วยไม้สกุล Cirrhopetalum ในปัจจุบันเป็นกลุ่มหนึ่งของสกุล Bulbophyllum . [3] คำว่า “สิงโตกลอกตา” ประกอบด้วย 2 คำคือ คำว่า “สิงโต” หมายถึง น่าจะหมายถึงหัวสิงโตที่ใช้เชิดซึ่งจะมีปากเปิด-ปิด ขยับไป-มาได้ ซึ่งจะคล้ายกับการขยับของกลีบปาก กับคำว่า “กลอกตา” ซึ่งหมายถึง อาจจะหมายถึงเกสรที่ชูขึ้นมาคล้ายลูกตาหนึ่งคู่
การศึกษาสิงโตกลอกตาในประเทศไทย
[แก้]การสำรวจกล้วยไม้ในไทยเริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี(พ.ศ. 2310-2325) โดยนักสำรวจชาวเดนมาร์กชื่อ Johann Grhard Kӧnig เดินทางมาสำรวจพรรณพืชในไทย ซึ่งครั้งนั้นได้พบกล้วยไม้ 24 ชนิด และ ในจำนวนนั้นมีกล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตาอยู่ 3 ชนิด คือ =ตัวอย่างพืชชิ้นที่ 16 ระบุว่าชื่อ Epidendrum longiflorum ตัวอย่างพืชชิ้นที่ 17 ระบุว่าชื่อ Epidendrum flabellum veneris ตัวอย่างพืชชิ้นที่ 20 ระบุว่าชื่อ Epidendrum sessile
ในจำนวนนี้ชิ้นที่ 17 คือ Epidendrum flabellum veneris หรือ Bulbophyllum flabellum veneris ในปัจจุบัน เป็นชนิดที่พบครั้งแรกของโลก และเป็นการตั้งชื่อกล้วยไม้สิงโตกลอกตาครั้งแรกของไทยอีกด้วย ส่วน Epidendrum longiflorum ต่อมามีชื่อว่า Bulbophyllum vaginatum และ Epidendrum sessile มีชื่อว่า Bulbophyllum clandestinum
การสำรวจพรรณไม้ทั่วประเทศ โดยเฉพาะทางภาคเหนือที่ยอดดอยสุเพท จังหวัดเชียงใหม่ ได้ตัวอย่างพืชราว 20,000 ชิ้น ในจำนวนนั้นมีสกุลสิงโตกลอกตารวมอยู่ด้วย ส่วนหนึ่งได้รับการจำแนกชื่อพฤกษศาสตร์และเก็บเป็นหลักฐานไว้ที่พิพิธภัณฑ์พืช สวนพฤกษศาสตร์คิวหรือสวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองคิว ประเทศอังกฤษ อีกสวนหนึ่งคงเก็บไว้ในไทยที่พิพิธภัณฑ์พืช กรมวิชาการเกษตร แม้บางส่วนไม่สามารถตรวจสอบชื่อพฤกษศาสตร์ได้ แต่ยังคงเก็บรักษาชิ้นตัวอย่างไว้เป็นหลักฐานสำคัญ หลังจากนั้นระหว่างปี ค.ศ. 1958-1965 เอกสารทางวิชาการเกี่ยวกับกล้วยไม้ของไทยก็ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก คือ “ The Orchids of Thailand : A Preliminary List ” จัดทำโดยสยามสมาคม ซึ่งเป็นการศึกษาร่วมกันของศาสตราจารย์ Gunnar Seidenfaden และศาสตราจารย์ ดร.เต็ม สมิตินันทน์ โดยตีพิมพ์เป็น 4 ฉบับ เป็นหนังสือที่กล่าวสรุปเบื้องต้นถึงการสำรวจกล้วยไม้ป่าในไทย รวมถึงสกุลสิงโตกลอกตาด้วย หลังตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ศาสตราจารย์ Gunnar Seidenfaden ได้นำตัวอย่างกล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตาทั้งหมดมาศึกษาเพิ่มเติม และตีพิมพ์อีกครั้งในวารสารทางพฤกษศาสตร์ที่มีชื่อว่า DANSKBOTANISK ARKIV ปี ค.ศ 1979 เรื่อง “Orchid Genera in Thailand VII, Bulbophyllum Thou.” ซึ่งมีกล้วยม้ที่สามารถตรวจสอบจนได้ชื่อพฤกษศาสตร์ที่ถูกต้อง หลายชนิดตั้งขึ้นเป็นสิงโตกลอกตาชนิดใหม่ของโลก รวมทั้งสิงโตกลอกตาที่ระบุว่า B. sp. GT 2821 เก็บตัวอย่างจากดอยหลวงเชียงดาวก็ตั้งเป็นกล้วยไม้ชนิดใหม่ของด้วยเช่นกัน โดยบัญญัติชื่อพฤกษศาสตร์ว่า “Bulbophyllum trivial” หรือที่รู้จักในชื่อ “สิงโตแคระเชียงดาว”
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
[แก้]สิงโตกลอกตาเป็นกล้วยไม้ที่มีการเติบโตแบบ Sympodial เช่นเดียวกับ กล้วยไม้สกุลหวาย สกุลคัทลียา มีเหง้าและลำลูกกล้วย ซึ่งต่างกันแล้วแต่ชนิด มีทั้งชนิดที่มีลำลูกกล้วยขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ บางชนิดลำลูกกล้วยตั้งตรง บางชนิดนอนราบไปกับเหง้า มีใบที่ปลายลำลูกกล้วยหนึ่งหรือสองใบแล้วแต่ชนิด มีตั้งแต่ใบเล็กมากจนถึงใบค่อนข้างใหญ่ ดอกมีทั้งดอกเดี่ยวและดอกช่อ ก้านช่อดอกเกิดที่ฐานของลำลูกกล้วย บางชนิดเกิดที่ข้อของเหง้า ดอกมีตั้งแต่ขนาดเล็กมากจนถึงค่อนข้างใหญ่ ลักษณะดอกและสีสันสวยงามแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด[4]
เหง้า(rhizome)
[แก้]คือลำต้นที่แท้จริงของสิงโตกลอกตา ปรากฏข้อและปล้องเด่นชัด ทอดเลิ้อยไปตามกิ่งก้านของต้นไม้ใหญ่หรือก้อนหิน ผลิรากเพื่อดูดซับอาหารและยึดเกาะบนสิ่งที่อาศัย เหง้ามีจุดเจริญที่ปลายยอด(apical meristem) จะทำหน้าที่สร้างหน่อใหม่เมื่อถึงฤดูที่เหมาะสม สามารถเจริญเป็นหน่อใหม่ได้มากว่า 1 หน่อพร้อมๆกันขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นและสภาพภูมิอากาศในแต่ละปี เหง้ายังเป็นส่วนที่ช่วยสร้างลำลูกกล้วย ซึ่งมีระยะห่างแต่ละละแตกต่างกันไป บางชนิดมีเหง้าทอดยาวจนเห็นลำลูกกล้วยยาวต่อกันคล้ายโซ่ บางชนิดเหง้าสั้นๆและมีลำลูกกล้วยขึ้นติดกันเป็นกอ
ลำลูกกล้วย (pseudobulb)
[แก้]เป็นส่วนที่พองออกมาขึ้นอยู่ระหว่างเหง้ากับใบ มีหลายขนาดมีหน้าที่เก็บน้ำและสร้างอาหาร ลำลูกกล้วยมีอายุได้หลายฤดูกาลแตกต่างกันไปตามชนิด แต่เมื่อผ่านไปหลายปีจะเริ่มเหี่ยวแห้งในที่สุดบางชนิดนั้นอาจมีอายุมากกว่า 10 ปีก่อนที่จะแห้งเหี่ยว
ใบ (leaf)
[แก้]สิงโตกลอกตาทุกชนิดผลิใบที่ปลายสุดของลำลูกกล้วย บางชนิดลำลูกกล้วยลดรูปผลิใบที่ปลายลำเป็นปมเล็กๆ เช่น สิงโตมรกต(B. xylophyllum) และมีเพียงไม่กี่ชนิดที่ใบปรากฏอยู่บนเหง้า คือ สิงโตแคะภูหลวง จำนวนใบ มีใบเพียง 1 หรือ 2 ใบเท่านั้น ส่วนมากมีเพียงใบเดียว แผ่นใบอวบหนา แข็ง และมีอายุนานหลายฤดูกาลหลุดล่วง ลำลูกกล้วยเกือบทุกลำจึงเห็นใบอยู่ที่ปลายลำซึงพบเห็นได้มาก เช่น สิงโตสยาม สิงโตรวงข้าว สำหรับชนิดที่มีสองใบมีเพียง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสิงโตใบพายและกุ่มสิงโตขนตา (Section Pleiophyllus) ซึงมีแผ่นใบบาง อ่อนนุ่ม และมีอายุเพียงฤดูเดียว โดยผลัดใบเมื่อข้าสู่ฤดูแล้ง ใบแก่ก่อนหลุดล่วงเป็นสีเหลืองหรือแดง จึงไม่พบใบที่ปลายลำใบ เช่น สิงโตเชียงดาว ( B. albibracteum ) สิงโตก้านหลอด ( B. capillipes ) เป็นต้น รูปทรงใบ ส่วนมากเป็นกลุ่มใบรูปรี (elliptic series) ได้แก่ ใบรูปทรงกลม ( globose ) ใบรูปขอบขนาน (oblong) ใบรูปแถบ ( linear) และมีเพียงส่วนน้อยที่เป็นกลุ่มใบรูปไข่(ovate series) และรูปไข่กลับ(obovate) สีสัน จะขึ้นอยู่กับถิ่นอาศัย สิงโตกลอกตาที่อาศัยอยู่ในที่โล่งแจ้งมีแดดจัดจะมีใบสีเหลือง หรือสีเหลืองอมน้ำตาลหรือบางครั้งอาจมีสีม่วงแดง ส่วนชนิดที่อาศัยอยู่ในที่ร่มจะมีใบสีเขียวสด
ช่อดอก (Inflorescence)
[แก้]ออกที่โคนลำลูกกล้วย หนึ่งลำมีทั้งดอกเดี่ยวและหลายๆดอกในช่อเดียวกัน มีทั้งช่อดอกสั้นและยาว ในประเทศไทยช่อดอกที่มี 4-8 ช่อ พบได้เพียงชนิดเดียวคือ สิงโตทองผาภูมิ ลักษณะของช่อดอกนั้นมีหลายแบบดังนี้
- ช่อดอกแบบซี่ร่ม (umbel) พบได้บ่อยอยู่ในกลุ่มสิงโตพัดหรือสิงโตร่ม มีลักษณะคือก้านของช่อดอกเรียวยาวและตรง ออกจากโคนลำลูกกล้วย ปลายช่อมีก้านดอกยื่นออกจากจุดเดียวกันตามจำนวนของดอกปลายก้านมีดอกย่อยเรียงแผ่เป็นรัศมีคล้ายกับซี่ของร่มที่กาง
- ช่อดอกแบบกระจะ(raceme) พบมากที่สุด ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มของสิงโตรวงข้าว ช่อดอกมักจะมีสองส่วน คือ ก้านช่อดอกและแกนช่อดอก ก้านช่อดอกจะติดกับโคนของลำลูกกล้วยชูตั้งหรือห้อยลง ก้านดอกจะสั้นหรือยาวแตกต่างกัน แกนช่อดอกที่ทีดอกติดอยู่จะยาวตรงออกจากแนวของก้านช่อดอกหรือห้อยลงจากก้านช่อดอก เช่นกลุ่มสิงโตใบพาย
ดอก (flower)
[แก้]มีส่วนประกอบเหมือนกับกล้วยไม้ชนิดอื่น คือมีกลีบเลี้ยง กลีบดอก กลีบปาก และเส้าเกสร แต่เนื่องจากเป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่จึงมีรูปทรงของดอกที่หลากหลายและแปลกตากว่ากล้วยไม้สกุลอื่นที่พบในไทย
- กลีบเลี้ยง ส่วนมากมีผิวเกลี้ยง หลายชนิดมีขนปกคลุม บางชนิดมีขนเฉพาะขอบกลีบ
- กลีบดอก มีขนาดเล็กกว่ากลีบเลี้ยง มี 2 กลีบ รูปทรง ขนาด และสีสันเหมือนกันบางชนิดมีขนที่ขอบกลีบดอก บางชนิดมีรยางค์คล้ายแส้ยาว และที่ปลายมีต่อมเหมือนหนวดแมลง
- กลีบปาก อยู่ตรงข้ามกับเส้าเกสร ลักษณะอวบหนา ส่วนมากเป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ปลายกลีบมนและโค้งงอลง มีขนปกคลุมแตกต่างกันส่วนมากเป็นร่องลึกตื้นที่กลางกลีบ ที่โคนกลีบมีรยางค์คล้ายเขี้ยว เรียกว่า “หูกลีบปาก”
- เส้าเกสร อยู่กลางดอก เกิดจากการเชื่อมเป็นแกนเดียวกันของก้านเกสรเพสผู้(stamen)และก้านเกสรเพศเมีย(style) ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของวงศ์กล้วยไม้ ที่ปลายเส้าเกสรมีฝาครอบเกสรเพศผู้รูปครึ่งวงกลมคล้ายฝาชี ภายในบรรจุละอองเกสรเพศผู้ จำนวน 2-4 กลุ่มใต้ฝาครอบเกสรเพศผู้เป็นแอ่งเกสรเพศเมีย ภายในมีของเหลวใส เป็นตำแหน่งของการเกิดการผสมเกสรโดยมีแมลงเป็นพาหะ สิงโตกลอกตาหลายชนิดมีรยางค์เล็กๆที่ยื่นขึ้นที่ปลายเส้าเกสร ลักษณะเรียวยาวหรืออ้วนสั้น เห็นได้ง่าย เช่น กลุ่มสิงโตรวงข้าว บางชนิดมีรยางค์คล้ายลิ้นยาว เช่น สิงโตอาจารย์เต็มที่มีรยางค์ลิ้นยื่นยาวใต้แอ่งเกสรเพศเมีย
ฝัก (pod)
[แก้]คือส่วนที่เป็นรังไข่อยู่ใต้วงกลีบ( Inferior ovary) ถัดจากส่วนที่เป็นก้านดอก ในขณะดอกตูมหรือเริ่มบาน ส่วนของรังไข่จะมองเห็นได้ยากและไม่สามารถแยกออกได้ชัดเจนแต่หลังจากที่ดอกได้รับการผสมเกสรแล้ว ส่วนที่เป็นรังไข่จะพัฒนาและโตขึ้นเป็นฝักที่เห็นได้ชัดเจน ขนาดของฝักจะแตกต่างกันตามขนาดของดอก [5]
การกระจายพันธุ์
[แก้]กล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตาเป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ พบตามธรรมชาติประมาณ 1,000 ชนิด มากเป็นอันดับสองรองจากกล้วยไม้สกุลหวาย พบกระจายพันธุ์แถบทวีปเอเชีย เช่น อินเดีย พม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม มาเลเซีย แถบแปซิฟิก เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ หมู่เกาะแปซิฟิก และบางส่วนกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปแอฟริกา สำหรับประเทศไทยพบกระจัดกระจายตามธรรมชาติในทั่วทุกภาคของประเทศประมาณ 140 ชนิดและแต่ละชนิดมักใช้คำว่า "สิงโต" นำหน้า สิงโตกลอกตาเป็นสกุลที่มีการกระจายพันธุ์เป็นที่กว้างในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของโลก พบในทวีปต่างๆหลายทวีป มีศูนย์กลางการกระจายพันธุ์อยู่ในเอเชียตะวันออกเชียงใต้ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่พบสิงโตกลอกตามากที่สุด ซึ่งประเทศปาปัวนิวกินีเป็นประเทศที่มีกล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตามากที่สุดถึง 600 ชนิด เราสามารถจำแนกการกระจายพันธุ์ของกล้วยไม้สิงโตกลอกตาได้ 2 แบบ คือ
การกระจายพันธุ์ตามเขตพฤกษภูมิศาสตร์
[แก้]ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันมีผลต่อสภาพอากาศและปริมาณน้ำฝน ซึ่ง ส่งผลต่อการกระจายพันธุ์ของสิงโตกลอกตา สิงโตกลอกตาที่กระจายพันธุ์เหนือเส้นศูนย์สูตรมักจะชอบอากาศหนาวเย็น บางชนิดกระจายพันธุ์ตั้งแต่เขตอบอุ่นเทือกเขาหิมาลัยที่อากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปีและมาถึงตอนเหนือของแถบอินโดจีนซึ่งมีอากาศร้อนชื้น เช่น สิงโตงาม ( B. orectepetalum ) สำหรับชนิดที่กระจายพันธุ์ในเขตใกล้เส้นศูนย์สูตรซึ่งมีอากาศร้อนชื้น ฝนตกชุก ปริมาณน้ำฝันในแต่ละปีมาก จะพพบสิงโตกลอกตากลุ่มนี้เฉพาะแถบคาบสมุทรหรือตามเกาะต่างๆ เช่น สิงโตถิ่นใต้ (B. purpurascens) สิงโตดอกไม้ไฟ ( B. medusa) หรือสิงโตหนวดยาว ( B. vaginatum ) จะพบการกระจายพันทางภาคใต้ของไทยไปถึงเกาะต่างๆ ในมาเลเซีย อินโดนีเซีย จนไปถึงฟิลิปปินส์
การกระจายพันธุ์ถิ่นเดียว
[แก้]ในประเทศไทยพบสิงโตกลอกตาที่เป็นพืชถิ่นเดียวถึง 44 ชนิด บางชนิดมีการกระจายพันธุ์ในพื้นที่เขตกว้าง เช่น สิงโตไข่ปลาแม่สา ( B. didymotropis) พบในป่าดิบเขาหลายแห่งในจังหวัดเชียงใหม่ บางชนิดพบการกระจายพันธุ์ในพื้นที่เล็กๆเท่านั้นเช่น สิงโตเชียงดาว พบที่บนยอดเขาหินปูนของดอยหลวงเชียงดาว
การกระจายพันธุ์ในทวีปต่างๆ
[แก้]เนื่องจากสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศทีมีผลกระทบต่อการกระจายพันธุ์ของกล้วยไม้สกุลนี้ ในแต่ละทวีปจึงพบสิงโตกลอกตาชนิดต่างๆที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
- ทวีปอเมริกาเหนือและใต้ จะพบกล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตา พวก B. Pachyrachis B. atropurpureum B. bidentatum และ B. cirrhosum
- ทวีปแอฟริกา จะพบพวก B. nutans ซึ่งเป็นชนิดที่เป็นต้นแบบในการตั้งสกุล นอกจากนี้ยังพบชนิดอื่นๆอีก เช่น B. acutibracteatum B. aggregatum และ B. bicolotum การศึกษากล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตาในทวีปแอฟริกานี้ประสบความสำเร็จมากและได้ตีพิมพ์เป็นหนังสือ “ A Taxonomic Revision of the Continental African Bulbophyllinae” เขียนขึ้นโดย Jaap J. Vermeulen ผู้เชี่ยวชาญด้านกล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตาของโลก
- ทวีปเอเชีย เป็นพื้นที่ที่พบกล้วยไม้สกุลนี้มากที่สุดในโลก โดยบริเวณแผ่นดินใหญ่จะพบสิงโตกลอกตาหลายชนิดมากเมื่อเข้าใกล้เส้นศูนย์สูตรมากขึ้น ในประเทศเป็นประเทศที่มีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวยต่อการกระจายพันธุ์ทำให้เราพบสิงโตกลอกตาได้หลายบชนิด รวมไปถึงสิงโตกลอกตาที่ชอบอากาศหนาวเย็นเราสามารถพบได้ทางแถบภาคเหนือของไทย และพวกที่ชอบอากาศร้อนชื้นเราสามารถพบได้ในแถบภาคใต้ของไทย ในเกาะต่างๆเราจะพบตั้งแต่เกาะมาดากัสการ์ ศรีลังกา สุมาตรา ชวา รวมไปถึงหมู่เกาะของฟิลิปปินส์ในมหาสุมทรแปซิฟิก
- ทวีปออสเตรเลีย เป้นทวีปที่พบการกระจายพันธุ์ของสิงโตกลอกตาอีกจำนวนหนึ่ง เช่น B. crassulifolium, B. exiguum, B. schillerianum เป็นต้น[6]
กลุ่มสิงโตกลอกตาที่พบในประเทศไทย
[แก้]- สิงโตก้ามปูใหญ่ B.macranthum
- สิงโตก้ามปูแดง B.patens
- สิงโตประหลาด B.affine
- สิงโตอาจารย์เต็ม B.smitinandii
- พญาสิงโต B.polystictum
- สิงโตสยาม B.lobbii
- สิงโตงาม B.orectopetalum
- สิงโตอีคอร์ B.ecornutum
- สิงโตขยุกขยุย B.dayanum
- สิงโตเขี้ยวเชียงดาว B.pectinatum
- สิงโตปากนกแก้ว B.psittacoglossum
- สิงโตแคระดอกเหลือง B.biseriale
- สิงโตใข่ปลาใบมน B.ovalifolium
- สิงโตใข่ปลาปากมน B.ovatilabellum
- สิงโตใข่ปลาเขาใหญ่ B.simplicilabellum
- สิงโตใข่ปลาแม่สา B.didymotropis
- สิงโตปากเป็ด B.antennniferum
- สิงโตเขี้ยวกระบี่ B.blumei
- สิงโตสีสนิม B.depressum
- สิงโตแคระทองผาภูมิ B.nanopetalum
- สิงโตลิ้นเหลือง B.tenuifolium
- สิงโตก้านหลอด B.capillipes
- สิงโตนางรำ B.monanthum
- สิงโตสายปากสั้น B.abbrevilabi
- สิงโตแคระดอกลาย B.clandestinum
- สิงโตระย้าดอกม่วง B.tortuosum
- สิงโตลินเลย์ B.lindleyanum
- สิงโครวงข้าวนน้อย B.paviflorum
- สิงโตลิ้นดำ B.secundum
- สิงโตดำ B.nigrescens
- สิงโตหัววงแหวน B.polyrhizum
- สิงโตแคระเชียงดาว B.triviale
- สิงโตเลื้อย B.replans
- สิงโตกีม้าใหญ่ B.rafinum
- สิงโตรวงข้าวเมืองจันทร์ B.dissitiflorum
- สิงโตรวงข้าวแม่สะเรียง B.tricornoides
- สิงโตวังกะ B.wangkaense
- สิงโตรังแตนนม B.microtepalum
- สิงโตกีบม้าเมืองจันท์ B.tridentalum
- สิงโตกาบยาว B.longbracteatum
- สิงโตรวงทอง B.orientale
- สิงโตรวงข้าว B.morphologorum
- สิงโตเครายาว B.longissimum
- สิงโตหนวดแดง B.gracillinum
- สิงโตหนวดยาว B.vaginatum
- สิงโตนาคราช B.wendlandianum
- สิงโตใบพัดแดง B.flabellum-veneris
- สิงโตสองสี B.bicolor
- สิงโตอนันดา B.annandarei
- สิงโตก้ามปูน้อย B.pumilio
- สิงโตนิพนธ์ B.nipondhii
- สิงโตช้อนทอง B.spathulatum
- สิงโตดอกไม้ไฟ B.medusae
- สิงโตถิ่นใต้ B.purpurascens
- สิงโตนักกล้าม B.lasiochillum
- สิงโตร่มใหญ่ B.picturatum
- สิงโตหลอดทอง B.forrestii
- สิงโตสุเทพ B.sutepense
- สิงโตเล็บเหยี่ยวเล็ก B.corallinum
- สิงโตโคมไฟ B.odoratissimum
- สิงโตลายภูหลวง B.striatum
- สิงโตช่อม่วง B.salaccense
- สิงโตมรกต B.xylophyllum
- สิงโตพุ่มกลีบม้วน B.khasyanum
- สิงโตพุ่ม B.repens
- สิงโตแดง B.alcicorne
- เบี้ยไม้ดอกขาว B.hymenanthum
- สิงโตหนวดแมลง B.guttifilum
- สิงโตใบพาย B.wallichii
- พายทองเมืองกาญจน์ B.kanburiense
- พายทองตะนาวศรี B.dickasonii
- สิงโตนายสนิท B.sanitii
- สิงโตสมอหิน B.blepharistes
- สิงโตช่อทับทิม B.triate
- สิงโตสีเที่ยง B.suvissimum
- สิงโตเชียงดาว B.albibracteum
- สิงโตตาแดง B.muscarirubrum
- สิงโตทองผาภูมิ B.reichenbachii
- สิงโตธานีนิวัติ B.dhaninivatii
- เอื้องกีบม้าขาว B.hirtum
- สิงโตขนตาขาว B.comosum
- สิงโตขนตาสั้น B.pallidum
- สิงโตมูเซอ B.tripaleum
- สิงโตตุ้งติ้ง B.lemniscatum
-
สิงโตไข่ปลาภูหลวง
-
สิงโตสีสนิม
-
สิงโตสองสี
-
สิงโตสุเทพ
ดูเพิ่ม
[แก้]- http://www.panmai.com/Orchid/Bulb/bulb.shtml
- http://student.nu.ac.th/samunprithai/thailandorchid/9.html เก็บถาวร 2011-03-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/occupation/45205/45205-4-1.html เก็บถาวร 2012-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://www.orchidphotos.org/images/orchids/speciesV2/Bulbophyllum/index.html เก็บถาวร 2013-05-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://orchid1234.comyr.com/14_(Bulbophyllum).htm เก็บถาวร 2012-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://orchidok.blogspot.com/p/bulbophyllum-orchids-flower-pictures.html
อ้างอิง
[แก้]- ↑ [1]กล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตา Bulbophyllum
- ↑ [2][ลิงก์เสีย]มารู้จักสิงโตกลอกตา(Bulbophyllum)
- ↑ [3] เก็บถาวร 2011-03-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกล้วยไม้สกุลสิงโตกลอกตา (Bulbophyllum spp.)
- ↑ [[4]]หมวดวิชาเกษตรกรรม
- ↑ [[]]หมวดวิชาเกษตรกรรม
- ↑ [[สลิล สิทธิสัจจธรรม. (2553). การกระจายพันธุ์ของสิงโตกลอกตาม,(หน้า 29-831). กรุงเทพฯ :บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน).]]กล้วยไม้สิงโตกลอกตาในประเทศไทย
- ↑ [[5]]กระทู้แนะนำ... มารู้จัก"สิงโต"กันครับ