สโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Newcastle United F.C.)
นิวคาสเซิลยูไนเต็ด
Club logo
ชื่อเต็มนิวคาสเซิลยูไนเต็ด
ฉายาเดอะแม็กพาย, เดอะทูน
สาลิกาดง (ภาษาไทย)
ก่อตั้งค.ศ. 1892
สนามเซนต์เจมส์พาร์ก[1]
Ground ความจุ52,305 คน
เจ้าของกองทุนเพื่อการลงทุนสาธารณะ (80%)
อาร์บีสปอตส์ & มีเดีย (10%)
พีซีพีแคปิตอลพาร์ตเนอส์ (10%)[2]
ประธานยาซิร อัรรุมัยยาน
ผู้จัดการเอ็ดดี ฮาว
ลีกพรีเมียร์ลีก
2022–23อันดับที่ 4
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด (อังกฤษ: Newcastle United Football Club; ตัวย่อ: NUFC) เป็นทีมฟุตบอลอาชีพของอังกฤษที่ตั้งอยู่ในเมืองนิวคาสเซิล อะพอน ไทน์ และเล่นในพรีเมียร์ลีก ซึ่งเป็นลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษ สโมสรก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1892 โดยเกิดจากการควบรวมกิจการของ นิวคาสเซิลอีสต์เอนด์ และ นิวคาสเซิลเวสต์เอนด์ ทีมเล่นในบ้านที่ เซนต์เจมส์พาร์ก ใจกลางเมืองนิวคาสเซิล ตามข้อกำหนดของ ลอร์ด จัสติส เทย์เลอร์ ในรายงานการสอบสวนเกี่ยวกับภัยพิบัติที่สนามกีฬาฮิลส์โบโรกำหนดให้ทุกสโมสรในพรีเมียร์ลีกมีสนามฟุตบอลแบบมีที่นั่งทั้งหมด ตัวสนามได้รับการปรับปรุงในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1990 และปัจจุบันมีความจุ 52,305 ที่นั่ง

นิวคาสเซิลยูไนเต็ดได้เล่นในลีกสูงสุดถึง 91 ฤดูกาล นับตั้งแต่ก่อตั้งลีกใน ค.ศ. 1893[3] เกียรติประวัติสโมสรคือ ชนะเลิศฟุตบอลลีกสูงสุด 4 สมัย, เอฟเอคัพ 6 สมัย และ เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 1 สมัย และในการแข่งขันระดับทวีป พวกเขาชนะเลิศ อินเตอร์-ซิตีส์แฟส์คัพ และ ยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพ รายการละ 1 สมัย สโมสรประสบความสำเร็จสูงสุดในช่วงทศวรรษ 1900 โดยชนะเลิศฟุตบอลดิวิชันหนึ่ง 3 สมัย และเอฟเอคัพ 1 สมัย[4] นิวคาสเซิลตกชั้นในยุคพรีเมียร์ลีกสองครั้งในฤดูกาล 2009[5] และ 2016[6] แต่สามารถเลื่อนชั้นกลับมาได้ภายในฤดูกาลเดียวทั้งสองครั้งในฐานะผู้ชนะการแข่งขันอีเอฟแอลแชมเปียนชิป พวกเขามีคู่แข่งในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วยกัน คือ ซันเดอร์แลนด์ และถือเป็นหนึ่งในการพบกันของสองสโมสรที่ดุเดือดที่สุดในอังกฤษ[7]

ในปี 1999 สโมสรทำรายรับได้มากเป็นอันดับ 5 ของโลก และเป็นอันดับ 2 ในอังกฤษเป็นรองเพียงแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และทำรายรับได้มากเป็นอันดับ 17 ของโลกในปี 2015 (170 ล้านยูโร) นิวคาสเซิลยังเป็นหนึ่งในสโมสรที่มีผู้ติดตามมากที่สุดในอังกฤษ กลุ่มผู้สนับสนุนของสโมสรมีวัฒนธรรมในการร้องเพลง "Local Hero" และ "Blaydon Races" ในสนามเมื่อลงเล่นเป็นทีมเหย้า และใน ค.ศ. 2005 ภาพยนตร์สัญชาติอังกฤษเรื่อง โกล์ ได้ออกฉายโดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสโมสรนิวคาสเซิลซึ่งได้สะท้อนถึงความคลั่งไคล้ของกลุ่มผู้สนับสนุน[8] ไมค์ แอชลีย์ เข้าซื้อกิจการและควบคุมสโมสรในช่วงปี 2007–2021 ก่อนจะขายสโมสรให้กลุ่มทุนจากซาอุดีอาระเบีย ในราคา 300 ล้านปอนด์[9] โดยมียาซิร อัรรุมัยยาน เป็นประธานสโมสรคนใหม่ส่งผลให้พวกเขาเป็นสโมสรที่ร่ำรวยที่สุดในพรีเมียร์ลีก[10][11][12]

ประวัติ[แก้]

ก่อตั้งทีม ( ค.ศ. 1891–1900)[แก้]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1881 ทีมคริกเก็ตสแตนลีย์ได้ตัดสินใจตั้งทีมฟุตบอลขึ้น เพื่อลงเล่นในช่วงที่ฤดูกาลแข่งขันคริกเก็ตปิดตัวลงในฤดูหนาว พวกเขาชนะเกมแรกด้วยผลประตู 5–0 โดยมีคู่แข่งเป็นทีมเอลสวิกเลเธอร์เวิร์คส์ชุดสำรอง หนึ่งปีต่อมา ทีมก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลอีสต์เอนด์

ขณะเดียวกัน ทีมคริกเก็ตอีกทีมหนึ่งในย่านเดียวกันก็ได้เริ่มสนใจที่จะตั้งทีมฟุตบอล จนกระทั่งมีการก่อตั้งสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลเวสต์เอนด์ขึ้น ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1882 โดยในช่วงแรกนั้น พวกเขาใช้สนามคริกเก็ตเดิมเป็นสนามเหย้า ก่อนที่จะย้ายไปลงเตะในเซนต์เจมส์พาร์ก หลังจากนั้น ได้มีการจัดตั้งฟุตบอลลีกท้องถิ่นขึ้นในปี 1889 การที่มีลีกอาชีพในบริเวณใกล้เคียงให้ลงเตะ ประกอบกับความสนใจในถ้วยเอฟเอคัพ ทำให้นิวคาสเซิลอีสต์เอนด์เปลี่ยนจากทีมสมัครเล่นมาเป็นทีมอาชีพในปีเดียวกันนั้นเอง แต่ทว่าทางฝั่งนิวคาสเซิลเวสต์เอนด์กลับล้มเหลวที่จะตามรอยทีมเพื่อนบ้านสู่สถานะทีมฟุตบอลอาชีพ กระทั่งในช่วงต้นปี 1892 ผู้บริหารของนิวคาสเซิลเวสต์เอนด์ได้ตัดสินใจที่จะขอเข้าควบกิจการกับนิวคาสเซิลอีสต์เอนด์ เพื่อมิให้ทีมต้องยุบตัวลง การควบกิจการเป็นไปด้วยดี ในเดือนธันวาคม 1892 ชื่อ นิวคาสเซิลยูไนเต็ด ก็ถูกเลือกให้เป็นชื่อใหม่ของทีม[13] และมีผู้จัดการทีมคนแรกคือ แฟรงก์ วัตต์

เริ่มประสบความสำเร็จ และการตกชั้นในยุคแรก (ค.ศ. 1900–70)[แก้]

ผู้เล่นสโมสรนิวคาสเซิลในทศวรรษ 1960

นิวคาสเซิลคว้าแชมป์ลีกสูงสุดได้ถึงสามสมัยในช่วงทศวรรษ 1900 และยังเข้าชิงชนะเลิศเอฟเอคัพถึง 5 ครั้งใน 7 ฤดูกาล แต่เป็นแชมป์เพียงครั้งเดียวใน ค.ศ. 1910 โดยเอาชนะบาร์นสลีย์ในการเตะนัดรีเพลย์ที่กูดิสันพาร์ก หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลง พวกเขาคว้าแชมป์เอฟเอคัพได้อีกสมัยโดยเอาชนะแอสตันวิลลาที่สนามเวมบลีย์ และได้แชมป์ลีกอีกหนึ่งสมัยในฤดูกาล 1927 ด้วยผลงานของกองหน้าคนสำคัญและกัปตันทีมอย่าง ฮักกี แกลลาเชอร์ นักฟุตบอลชาวสกอต ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่ดีที่สุดตลอดกาลของสโมสร แต่หลังจากนั้นผลงานทีมก็ตกลงไป และกลายเป็นทีมกลางตาราง โดยต้องหนีตกชั้นในปี 1930 ก่อนที่แกลลาเกอร์จะลาทีมในปีนั้นเพื่อไปร่วมทีมเชลซี และ แอนดี คันนิงแฮม อดีตผู้เล่นสโมสรเข้ามาคุมทีมต่อในปี 1930–35 และพาทีมได้แชมป์เอฟเอคัพสมัยที่ 3 ในปี 1932 ชนะอาร์เซนอล 2–1 แต่ผลงานในลีกของทีมก็ยังย่ำแย่ต่อเนื่อง และต้องตกชั้นในฤดูกาล 1933–34 หลังจากเล่นในลีกสูงสุดนาน35 ปี คันนิงแฮมลาออก โดยมี ทอม มาเธอร์ เข้ามารับตำแหน่งต่อ[14]

การเข้ามาของมาเธอร์ก็ยังไม่อาจยกระดับทีมได้ นิวคาสเซิลยังเป็นทีมท้ายตารางในดิวิชันสอง และเกือบจะต้องตกสู่ดิวิชันสามในฤดูกาล 1937–38 แต่เอาตัวรอดได้ด้วยผลประตูได้เสียที่ดีกว่าทีมอื่น ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้นในปี 1939 ทีมมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยนำผู้เล่นใหม่เข้ามาเป็นแกนหลัก เช่น แจคกี มิลเบิร์น, ทอมมี วอล์คเกอร์ และบ็อบบี โคเวลล์พวกเขาเลื่อนชั้นกลับสู่ลีกสูงสุดอีกครั้งหลังจบฤดูกาล 1947–48 ด้วยผลงานคุมทีมของ จอร์จ มาร์ติน

ในช่วงทศวรรษ 1950 นิวคาสเซิลเป็นแชมป์เอฟเอคัพถึง 3 สมัยในช่วงเวลา 5 ปี โดยชนะแบล็กพูล 2–0 ในปี 1951 ชนะอาร์เซนอล 1–0 ในปี 1952 และชนะแมนเชสเตอร์ซิตี 3–1 ในปี 1955 โดยในยุคนั้น มีผู้เล่นชื่อดังหลายคน เช่น แจคกี มิลเบิร์น, บ็อบบี มิทเชลล์ และ สแตน เซมัวร์ แต่ทีมกลับไปทำผลงานในลีกกระท่อนกระแท่นอีกครั้ง และตกชั้นอีกครั้งหลังจบฤดูกาล 1960–61 ในยุคของผู้จัดการทีม ชาร์ลี มิธเทน ซึ่งได้ลาออก หลังจากตกชั้นลงไปดิวิชันสองอยู่ชั่วขณะ นิวคาสเซิลที่นำโดยผู้จัดการทีม โจ ฮาร์วีย์ ก็ได้เลื่อนชั้นกลับสู่ลีกสูงสุดในปี 1965 ทีมของฮาร์วีย์ทำอันดับผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลถ้วยยุโรปครั้งแรกในปี 1968 ก่อนจะคว้าแชมป์ถ้วยอินเตอร์-ซิตีส์ แฟร์ส คัพ (ยูโรปาลีกในปัจจุบัน) ไปครองอย่างเหนือความคาดหมายในปีถัดมา โดยชนะทีมใหญ่ในยุโรปของยุคนั้นไปได้หลายราย ไม่ว่าจะเป็นสปอร์ติงลิสบอนจากโปรตุเกส, ไฟเยอโนร์ดจากเนเธอร์แลนด์ และเรอัลซาราโกซาจากสเปน และปิดท้ายด้วยการคว่ำทีมอุจเพสท์จากฮังการีในรอบชิงชนะเลิศ นับตั้งแต่ก่อตั้งทีมมา นิวคาสเซิลมักจะมอบเสื้อหมายเลข 9 ให้แก่ผู้เล่นกองหน้าชื่อดังประจำทีม โดยประเพณีนี้ยังคงตกทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน สำหรับในช่วงเวลานั้น ผู้เล่นที่ได้ใส่เสื้อหมายเลข 9 มีหลายคน เช่น วิน เดวีส์, บ็อบบี มอนเคอร์ หรือแฟรงค์ คลาร์ก

แชมป์ฟุตบอลถ้วย และตกชั้นอีกครั้ง (ค.ศ. 1970–90)[แก้]

หลังจากประสบความสำเร็จในฟุตบอลยุโรป ฮาร์วีย์ก็ได้ดึงตัวผู้เล่นเกมรุกชื่อดังมากมายเข้ามาร่วมทีม นับตั้งแต่ จิมมี สมิธ, โทนี กรีน และเทอร์รี ฮิบบิทท์ ไปจนถึงยอดศูนย์หน้าอย่าง มัลคอล์ม แมคโดแนลด์ เจ้าของฉายา 'ซูเปอร์แมค' ผู้เป็นหนึ่งในตำนานของสโมสร แมคโดแนลด์พานิวคาสเซิลเข้าชิงชนะเลิศถ้วยเอฟเอคัพและลีกคัพกับลิเวอร์พูลและแมนเชสเตอร์ซิตีในปี 1974 และ 1976 ตามลำดับ แต่ก็แพ้ไปทั้งสองครั้ง ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 นิวคาสเซิลอยู่ในช่วงตกต่ำ โดยได้ตกชั้นลงไปเล่นอยู่ในดิวิชัน 2 หลายปี ก่อนที่ผู้จัดการทีมอาร์เธอร์ ค็อกซ์จะสร้างทีมขึ้นมาใหม่โดยมีเควิน คีแกน อดีตกัปตันทีมชาติอังกฤษเป็นแกนหลัก กระทั่งได้เลื่อนชั้นกลับสู่ลีกสูงสุด หลังจากนั้น นิวคาสเซิลเล่นอยู่ในดิวิชัน 1 จนกระทั่งตกชั้นอีกครั้งในปี 1989

ยุคพรีเมียร์ลีก (ค.ศ. 1993–2007)[แก้]

ในปี 1992 เควิน คีแกน ได้กลับคืนสู่นิวคาสเซิลอีกครั้งในฐานะผู้จัดการทีม เมื่อเขาตอบรับสัญญาระยะสั้นเข้ามาคุมทีมแทนออสซี อาร์ดิเลส ในขณะนั้น นิวคาสเซิลกำลังดิ้นรนหนีการตกชั้นอยู่ในดิวิชันสอง แม้ว่าจะเพิ่งถูกซื้อกิจการโดยเซอร์ จอห์น ฮอลล์ และในฤดูกาลนั้น นิวคาสเซิลรอดพ้นการตกชั้น โดยเอาชนะปอร์ทสมัธและเลสเตอร์ซิตีในสองเกมสุดท้าย

ในฤดูกาลถัดมา ฟอร์มของนิวคาสเซิลเปลี่ยนแปลงไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ พวกเขาเล่นฟุตบอลเกมรุกแบบตื่นตาตื่นใจ จนกระทั่งคว้าชัยชนะในเกมลีก 11 นัดแรก ก่อนที่จะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งแชมป์ดิวิชัน 1 และเลื่อนชั้นขึ้นสู่พรีเมียร์ลีกด้วยชัยชนะเหนือกริมสบี ทาวน์ 2–0 พวกเขาจบฤดูกาล 1993–94 ที่อันดับ 3 และได้รับการตั้งฉายาโดยสื่อมวลชนอังกฤษว่าเป็น "The Entertainers" ในปีถัดมา นิวคาสเซิลจบฤดูกาลที่อันดับ 6 หลังจากที่ช็อกแฟนบอลด้วยการขายกองหน้าจอมถล่มประตู แอนดี โคล ให้แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด บวกกับคีธ กิลเลสพี ปีกดาวรุ่งชาวไอริช ในปี 1995–96 นิวคาสเซิลเสริมทีมครั้งใหญ่ โดยดึงตัว ดาวิด ชิโนลา และ เลส เฟอร์ดินานด์ มาร่วมทีม พวกเขาเกือบคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกได้ แต่ก็ทำได้เพียงรองแชมป์ ทั้งที่ในช่วงคริสต์มาส พวกเขาทิ้งห่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดถึง 12 คะแนน และเกมที่นิวคาสเซิลพ่ายให้กับลิเวอร์พูลไป 3–4 ที่สนามแอนฟิลด์ในฤดูกาลนี้ ได้รับการโหวตให้เป็นเกมยอดเยี่ยมตลอดกาลของพรีเมียร์ลีก นิวคาสเซิลเข้าป้ายเป็นอันดับ 2 อีกครั้งในปีถัดมา โดยเซ็นสัญญากองหน้าทีมชาติอังกฤษ แอลัน เชียเรอร์ มาร่วมทีมด้วยค่าตัวสถิติโลก 15,000,000 ปอนด์ ปีนี้เป็นที่จดจำของแฟนบอลหลายคน เนื่องจากนิวคาสเซิลได้ถล่มเอาชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 5–0

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1997 คีแกนลาออก และถูกแทนที่โดยเคนนี ดัลกลิช ซึ่งได้รับเลือกเพื่อมาช่วยแก้ปัญหาเกมรับของทีม ในช่วงครึ่งฤดูกาลหลังของปี 1997-98 ดัลกลิชพานิวคาสเซิลเข้าไปเล่นฟุตบอลยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกแต่ก็ตกรอบแบ่งกลุ่ม และพ่ายต่ออาร์เซนอลในรอบชิงชนะเลิศเอฟเอคัพไป 0–2 หลังจากนั้น แฟนบอลก็เริ่มไม่พอใจกับสไตล์การทำทีมที่เน้นเกมรับของดัลกลิช เมื่อบวกกับผลงานที่ตกต่ำลงของทีม ทำให้ดัลกลิชถูกปลดในช่วงต้นฤดูกาล 1998-99 รืด คึลลิต เข้ามารับตำแหน่งต่อ และพาทีมเข้าชิงชนะเลิศเอฟเอคัพอีกครั้ง ก่อนจะพ่ายแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และคึลลิตได้ทำการซื้อตัวผู้เล่นราคาแพงหลายคนที่ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในพรีเมียร์ลีก เช่นมาร์เซลิโน และซิลวิโอ มาริช และยังมีปากเสียงกับผู้เล่นหลายคนในทีม ประกอบกับการเริ่มต้นฤดูกาล 1999–2000 ได้อย่างเลวร้าย ทำให้คึลลิตลาออก หลังจากเล่นไปเพียง 5 นัด โดยทีมอยู่ท้ายตารางและถูกแทนที่โดยบ็อบบี ร็อบสัน ในปี 1999 นิวคาสเซิลเป็นสโมสรที่ทำรายได้สูงสุดเป็นอันดับ 5 ของโลก อันดับ 2 ในอังกฤษรองจากแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[15]

บ็อบบี ร็อบสัน คุมทีมเป็นเวลา 5 ปี โดยออกจากสโมสรในปี 2004

การลุ้นแชมป์ลีกเกิดขึ้นในช่วง ฤดูกาล 2001–02 และการจบอันดับที่ 4 ของนิวคาสเซิลทำให้พวกเขาได้สิทธิ์เล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ในฤดูกาลถัดมา ร็อบสันนำทีมลุ้นแชมป์ลีกอีกครั้งและจบอันดับที่ 3 ในลีก และเป็นครั้งที่ 2 ในรอบแบ่งกลุ่มของแชมเปียนส์ลีก เป็นทีมแรกที่ผ่านรอบแบ่งกลุ่มรอบแรกหลังจากแพ้สามนัดแรก[16] นิวคาสเซิลจบอันดับที่ 5 ในลีกเมื่อจบฤดูกาล 2003–04 และตกรอบแชมเปียนส์ลีกในรอบคัดเลือก แต่ถึงกระนั้น ร็อบสันก็ถูกปลดในเดือนสิงหาคม 2004 หลังจากมีความขัดแย้งกับสโมสรหลายครั้ง[17][18]

เกรอัม ซูนิสส์เข้ามาคุมทีมเมื่อเริ่มต้นฤดูกาล 2004–05 ในช่วงเวลาที่เขาคุมทีม เขาทำลายสถิติการย้ายทีมของสโมสรในเวลานั้นด้วยการเซ็นสัญญากับไมเคิล โอเว่น กองหน้าทีมชาติอังกฤษจากเรอัลมาดริด ในราคา 16.8 ล้านปอนด์ ซูนิสส์ยังพานิวคาสเซิ่ลเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศของยูฟ่าคัพ 2004–05 พร้อมกับแอลัน เชียเรอร์ที่คว้ารางวัลรองเท้าทองคำประจำทัวร์นาเมนต์อีกด้วย[19][20][21] อย่างไรก็ตาม เขาถูกปลดในเดือนกุมภาพันธ์ 2006 หลังจากออกสตาร์ทฤดูกาล 2005–06 ได้ไม่ดีนัก[22] เกล็น โรเดอร์ เข้ารับตำแหน่งโดยเริ่มแรกเป็นผู้จัดการทีมชั่วคราว ก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการทีมถาวรเมื่อจบฤดูกาล[23] เชียเรอร์แขวนสตั๊ดเมื่อจบฤดูกาล 2005–06 ในฐานะผู้ทำประตูสูงสุดตลอดกาลของสโมสรด้วยจำนวน 206 ประตู[24]

ในปี 2006 นิวคาสเซิลคว้าแชมป์อินเตอร์โตโตคัพ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของพวกเขาและเป็นถ้วยยุโรปใบแรกนับตั้งแต่ปี 1973[25] แม้จะจบฤดูกาล 2005–06 ในอันดับที่ 7 แต่โชคชะตาของโรเดอร์ก็เปลี่ยนไปในฤดูกาล 2006–07 เมื่อผู้เล่นในทีมชุดใหญ่ได้รับบาดเจ็บสาหัส และเขาออกจากสโมสรโดยความยินยอมร่วมกันในวันที่ 6 พฤษภาคม 2007[26] แซม อัลลาร์ไดซ์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ บิ๊กแซม ได้รับการแต่งตั้งแทนโรเดอร์เป็นผู้จัดการทีมคนใหม่เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 2007[27]

ยุคไมค์ แอชลีย์ (ค.ศ. 2007–2021)[แก้]

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ค.ศ. 2007 หุ้นสุดท้ายของเฟรดดี เชพเพิร์ด ในสโมสรถูกขายให้กับไมค์ แอชลีย์ และคริส มอร์ต ดำรงตำแหน่งประธานสโมสรแทนเชพเพิร์ด ในวันที่ 25 กรกฎาคม[28][29] จากนั้นแอชลีย์ประกาศว่าเขาจะนำสโมสรออกจากตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนเมื่อเสร็จสิ้นการเทคโอเวอร์[30] สโมสรยุติการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์อย่างเป็นทางการ ณ เวลา 8.00 น. ของวันที่ 18 กรกฎาคม 2007 ที่ 5 ปอนด์ต่อหุ้น

อัลลาร์ไดซ์ออกจากสโมสรในเดือนมกราคม ค.ศ. 2008 โดยความยินยอมร่วมกันหลังจากเริ่มต้นฤดูกาล 2007–08 ได้ไม่ดีนัก[31] และเควิน คีแกน ตำนานของสโมสรได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทีมนิวคาสเซิลอีกครั้ง[32] มอร์ตก้าวลงจากตำแหน่งประธานสโมสรในเดือนมิถุนายน และถูกแทนที่โดยดีเร็ก ลัมเบียส ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานมาอย่างยาวนานของแอชลีย์[33] นิวคาสเซิลจบฤดูกาล 2007–08 ในอันดับที่ 12 แต่เมื่อฤดูกาลใกล้จะจบลง คีแกนวิพากษ์วิจารณ์คณะกรรมการบริหารต่อสาธารณชน โดยระบุว่าพวกเขาไม่ได้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ทีมอย่างเพียงพอ[34]

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2008 คีแกนลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีม อดีตผู้จัดการทีมวิมเบิลดัน โจ คินเนียร์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทน[35] แต่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2009 เนื่องจากเขาเข้ารับการผ่าตัดหัวใจ แอลัน เชียเรอร์ กองหน้าระดับตำนานของสโมสรจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการทีมชั่วคราวแทนคินเนียร์[36] ภายใต้การคุมทีมของเชียเรอร์ สโมสรตกชั้นสู่แชมเปียนชิปเมื่อจบฤดูกาล 2008–09 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่สโมสรตกชั้นจากพรีเมียร์ลีกนับตั้งแต่เข้าร่วมในปี 1993[37]

หลังจากการตกชั้น คินเนียร์และเชียเรอร์ลาออกจากตำแหน่ง สโมสรถูกขายในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2009 ด้วยราคาที่ขอ 100 ล้านปอนด์[38] คริส ฮิวตันได้รับตำแหน่งผู้จัดการทีมในตำแหน่งผู้จัดการทีมรักษาการ ก่อนที่จะเข้ารับตำแหน่งผู้จัดการทีมถาวรในวันที่ 27 ตุลาคม 2009[39] ในวันเดียวกัน แอชลีย์ประกาศว่าจะไม่มีการขายสโมสรอีกต่อไป[40]

ฮิวตันนำนิวคาสเซิลคว้าแชมป์แชมเปียนชิป ฤดูกาล 2009–10 ทำให้พวกเขาเลื่อนชั้นสู่พรีเมียร์ลีกโดยอัตโนมัติในวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 2010 โดยเหลือการแข่งขันอีก 5 นัดและคว้าแชมป์ในวันที่ 19 เมษายน; นิวคาสเซิลได้เลื่อนชั้นกลับสู่พรีเมียร์ลีกหลังจากผ่านไปเพียง 1 ฤดูกาล[41][42][43]

ภายใต้การคุมทีมของฮิวตัน นิวคาสเซิลออกสตาร์ทได้อย่างแข็งแกร่งในฤดูกาล 2010–11 แต่เขาถูกปลดออกในวันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 2010 คณะกรรมการของสโมสรระบุว่าพวกเขารู้สึกว่า "ต้องการบุคคลที่มีประสบการณ์ในการบริหารมากกว่านี้เพื่อนำพาสโมสรไปข้างหน้า"[44] สามวันต่อมา อลัน พาร์ดิวได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทีมคนใหม่ด้วยสัญญา 5 ปีครึ่ง แม้จะมีความปั่นป่วนอยู่บ้าง แต่นิวคาสเซิลก็สามารถจบอันดับที่ 12 ได้เมื่อจบฤดูกาล โดยมีไฮไลท์สำคัญอย่างหนึ่งคือการเปิดบ้านเสมอกับอาร์เซนอล 4–4 ซึ่งนิวคาสเซิลกลับมาหลังจากตามหลังถึง 4 ประตู[45] เมื่อเริ่มต้นฤดูกาล 2011–12 พวกเขาเปิดฤดูกาลได้อย่างแข็งแกร่ง ลงเล่น 11 นัดติดต่อกันโดยไม่แพ้ใคร[46] ในที่สุด นิวคาสเซิลก็ได้สิทธิ์ไปเล่นในยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2012–13 โดยจบอันดับที่ 5 ซึ่งเป็นอันดับสูงสุดในลีกนับตั้งแต่ยุคของเซอร์ บ็อบบี ร็อบสัน เกียรติยศเพิ่มเติมก็ได้มาถึงเมื่อพาร์ดิวคว้าทั้งรางวัลผู้จัดการทีมยอดเยี่ยมประจำฤดูกาลของพรีเมียร์ลีก[47] และรางวัลผู้จัดการทีมยอดเยี่ยมแห่งปีของสมาคมผู้จัดการทีมฟุตบอล[48]

ในฤดูกาลถัดมา นิวคาสเซิ่ลซื้อนักเตะได้ไม่กี่รายในช่วงซัมเมอร์ และมีผู้เล่นบาดเจ็บตลอดฤดูกาล เป็นผลให้ครึ่งแรกของฤดูกาลพวกเขาแพ้ 10 จาก 13 นัดซึ่งทำให้สโมสรจมอยู่ใกล้โซนตกชั้น ส่วนการแข่งขันยูโรปาลีกประสบความสำเร็จอย่างมากเนื่องจากทีมผ่านเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศก่อนที่เบนฟิกาที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศจะเขี่ยตกรอบ[49] ในประเทศ นิวคาสเซิลต้องดิ้นรนและรอดพ้นการตกชั้นหลังจากชัยชนะ 2–1 เหนือควีนส์พาร์กเรนเจอส์ที่ตกชั้นไปแล้วในนัดสุดท้ายของฤดูกาล[50]

ฤดูกาล 2014–15 นิวคาสเซิลไม่ชนะใครเลยใน 7 นัดแรก ทำให้แฟนบอลเริ่มรณรงค์ให้พาร์ดิวถูกไล่ออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมก่อนที่ฟอร์มจะพลิกผันทำให้พวกเขาไต่ขึ้นไปอยู่ที่ 5 ของตาราง พาร์ดิวออกจากสโมสรเพื่อรับงานคุมทีมคริสตัลพาเลซในเดือนธันวาคม[51] เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2015 จอห์น คาร์เวอร์ อดีตผู้ช่วยของพาร์ดิวได้รับการแต่งตั้งให้ดูแลทีมในช่วงที่เหลือของฤดูกาล แต่ใกล้จะตกชั้น แต่พวกเขาก็ยังอยู่รอดปลอดภัยในพรีเมียร์ลีกในวันสุดท้ายด้วยชัยชนะในบ้านเหนือเวสต์แฮมยูไนเต็ด 2–0 โดยมีโฆนัส กูติเอร์เรซ ซึ่งเอาชนะมะเร็งอัณฑะเมื่อต้นฤดูกาล ทำประตูที่ 2 ของทีม[52]

เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 2015 คาร์เวอร์ถูกปลดออกจากตำแหน่งและแทนที่โดยสตีฟ แมคคลาเรน อดีตผู้ช่วยของเซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสันในวันรุ่งขึ้น[53] เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 2016 แมคคลาเรนถูกปลดออกจากตำแหน่งหลังจากดำรงตำแหน่งผู้จัดการทีมได้ 9 เดือน โดยนิวคาสเซิลอยู่ในอันดับที่ 19 ในพรีเมียร์ลีก และสโมสรชนะเพียง 6 จาก 28 นัดในพรีเมียร์ลีกในช่วงเวลาที่เขาอยู่กับสโมสร[54] เขาถูกแทนที่โดยผู้จัดการทีมชาวสเปน ราฟาเอล เบนิเตซ ซึ่งพาลิเวอร์พูลคว้าแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในปี 2005 ในวันเดียวกัน โดยเซ็นสัญญา 3 ปี[54] แต่เขาไม่สามารถป้องกันไม่ให้สโมสรตกชั้นเป็นครั้งที่ 2 ภายใต้ความเป็นเจ้าของของแอชลีย์[55]

นิวคาสเซิลกลับสู่พรีเมียร์ลีกโดยคว้าแชมป์อีเอฟแอลแชมเปียนชิป ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2017[56] ในเดือนตุลาคม ไมค์ แอชลีย์ ประกาศขายทีมนิวคาสเซิลยูไนเต็ดเป็นครั้งที่ 2[57] ทีมจบฤดูกาลด้วยการชนะเชลซีแชมป์ลีกฤดูกาลที่แล้ว 3–0 ทำให้พวกเขาจบในอันดับที่ 10 ของตาราง ซึ่งเป็นอันดับสูงสุดในรอบ 4 ปี[58][59] ในฤดูกาลถัดมา พวกเขาจบในอันดับที่ 13 แม้ว่าจะอยู่ในโซนตกชั้นในเดือนมกราคมก็ตาม แอชลีย์ขาดการลงทุนในทีมและเห็นได้ชัดว่าโฟกัสไปที่ธุรกิจอื่นของเขา[60] เบนิเตซออกจากตำแหน่งในวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2019 หลังจากปฏิเสธสัญญาฉบับใหม่[61]

เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 2019 สตีฟ บรูซ อดีตผู้จัดการทีมซันเดอร์แลนด์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทีมคนใหม่ด้วยสัญญา 3 ปี[62] บรูซจบอันดับที่ 13 และ 12 ในช่วงสองฤดูกาลแรกที่เขาคุมทีม ซึ่งทั้งสองฤดูกาลได้รับผลกระทบจากการระบาดทั่วของโควิด-19

2021–ปัจจุบัน: ยุคพีไอเอฟ[แก้]

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 2021 หลังจากเป็นเจ้าของมา 14 ปี แอชลีย์ได้ขายสโมสรให้กับกลุ่มทุนใหม่ในราคา 305 ล้านปอนด์ตามรายงาน[63] กลุ่มทุนประกอบด้วยกองทุนเพื่อการลงทุนสาธารณะของซาอุดีอาระเบีย, RB Sports & Media และ PCP Capital Partners[64] ในวันพุธที่ 20 ตุลาคม บรูซออกจากตำแหน่งโดยความยินยอมร่วมกัน หลังจากได้รับรายงานการจ่ายเงินชดเชย 8 ล้านปอนด์[65][66] เอ็ดดี ฮาว อดีตผู้จัดการทีมบอร์นมัทได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนบรูซในวันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน[67] ฮาวนำสโมสรจบอันดับที่ 11 หลังจากชนะ 12 นัดจาก 18 นัดสุดท้ายของฤดูกาล ทำให้นิวคาสเซิลกลายเป็นทีมแรกในประวัติศาสตร์พรีเมียร์ลีกที่รอดพ้นการตกชั้นหลังจากไม่ชนะเลยใน 14 นัดแรก[68]

ก่อนฤดูกาล 2022–23 สโมสรได้ดึงแดน แอชเวิร์ธ จากไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียนมาเป็นผู้อำนวยการกีฬาคนใหม่ของสโมสร และดาร์เรน เอลส์ จากทีมฟุตบอลเมเจอร์ลีก แอตแลนตายูไนเต็ด มาเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารสโมสรคนใหม่[69] ในวันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 2022 สโมสรฟุตบอลหญิงนิวคาสเซิลยูไนเต็ดย้ายเข้ามาอยู่ภายใต้การบริหารของสโมสรเป็นครั้งแรก หลังจากการปรับโครงสร้างอย่างเป็นทางการ[70] ในวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 2023 นิวคาสเซิลทำอันดับผ่านเข้าไปเล่นในรอบแบ่งกลุ่มยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกได้เป็นครั้งแรกในรอบ 20 ฤดูกาล[71] ความสำเร็จดังกล่าวได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของแอมะซอนไพรม์วิดีโอโดยจัดทำสารคดีที่ชื่อว่า We Are Newcastle United[72][73]

สนามแข่ง[แก้]

ตลอดประวัติศาสตร์ของนิวคาสเซิลยูไนเต็ด สนามเหย้าของพวกเขาคือ St James' Park ซึ่งเป็นสนามฟุตบอลที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ เช่นเดียวกับเป็นสนามฟุตบอลที่ใหญ่เป็นอันดับหกในสหราชอาณาจักร สนามนี้ได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติ 10 นัด ครั้งแรกในปี 1901 และครั้งล่าสุดในปี 2005 ใช้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 และรักบี้เวิลด์คัพ 2015[74] เริ่มมีการใช้สนามในช่วงต้นปี 1880 ซึ่งเป็นสนามที่ Newcastle Rangers ครอบครอง ก่อนที่จะกลายเป็นบ้านของ Newcastle West End F.C. ในปี 1886 เมื่อพวกเขาซื้อสัญญาเช่าดังกล่าว ก่อนที่พวกเขาจะเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็นนิวคาสเซิลยูไนเต็ด ในช่วงเปลี่ยนศตวรรษที่ 20 ความจุของพื้นสนามอยู่ที่ 30,000 คน ก่อนที่จะมีการพัฒนาใหม่ระหว่างปี 1900 และ 1905 โดยเพิ่มความจุเป็น 60,000 และทำให้กลายเป็นสนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษในช่วงเวลาหนึ่ง เกือบตลอดศตวรรษที่ 20 สนามกีฬามีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แม้จะมีแผนการพัฒนาพื้นที่ต่าง ๆ มากมายก็ตาม อัฒจันทร์ฝั่งตะวันตกแบบเก่าถูกแทนที่ด้วยมิลเบิร์นสแตนด์ในปี 1987 อัฒจันทร์เซอร์จอห์น ฮอลล์ สแตนด์แทนที่ลีซส์เอนด์ในปี 1993 และส่วนที่เหลือของพื้นสนามได้รับการปรับปรุงใหม่ ทำให้สนามมีความจุ 37,000 สนามกีฬาแบบที่นั่งทั้งหมด ระหว่างปี 1998 ถึง 2000 ได้มีการเพิ่มที่นั่งสองชั้นในมิลเบิร์น และอัฒจันทร์จอห์น ฮอลล์ เพื่อเพิ่มความจุของสถานที่ในปัจจุบันที่ 52,354 คน มีแผนจะสร้างสนามกีฬาใหม่ขนาด 90,000 ที่นั่งในสวนสาธารณะ Leazes ซึ่งอยู่ด้านหลัง St James'

ในเดือนตุลาคม 2009 ไมค์ แอชลีย์ อดีตเข้าของทีมประกาศว่าเขาวางแผนที่จะเปลี่ยนชื่อสนามเพื่อเพิ่มรายได้ และในเดือนพฤศจิกายน 2011 สโมสรได้เปลี่ยนชื่อสนามกีฬาเป็น Sports Direct Arena[75] ต่อมา เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2015 บริษัทสินเชื่อเงินด่วน Wonga.com ได้กลายเป็นผู้สนับสนุนหลักทางการค้าของนิวคาสเซิลยูไนเต็ด และซื้อสิทธิ์การตั้งชื่อสนามกีฬาแต่ได้คืนชื่อสนามกลับมาเป็น เซนต์เจมส์ พาร์ค เนื่องจากกระแสเรียกร้องของแฟนบอล[76]

เซนต์ เจมส์ พาร์ค สนามเหย้าของสโมสร

ความเป็นเจ้าของ[แก้]

นิวคาสเซิลยูไนเต็ดจัดตั้งขึ้นเป็นบริษัทเอกชนจำกัดเมื่อวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1895 จนถึงเดือนเมษายน ค.ศ. 1997 เมื่อจอห์น ฮอลล์ ซึ่งซื้อหุ้น 79.2% ของสโมสรในราคา 3 ล้านปอนด์ใน ค.ศ. 1991 ได้นำสโมสรเข้าตลาดหลักทรัพย์ในฐานะบริษัทมหาชนจำกัด โดยมีการขายหุ้นน้อยกว่าครึ่งหนึ่งให้กับตระกูลฮอลล์โดยหุ้นส่วนใหญ่ถือครองโดยเฟรดดี เชพเพิร์ด หุ้นส่วนทางธุรกิจของเขา ต่อมาในปีนั้น ฮอลล์ได้ก้าวลงจากตำแหน่งประธานสโมสรและถูกแทนที่โดยเชพเพิร์ด โดยมี ดักลาส ลูกชายของฮอลล์เป็นตัวแทนของครอบครัวในคณะกรรมการสโมสร[77] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1998 หลังจากซื้อหุ้น 6.3% ของสโมสรในราคา 10 ล้านปอนด์ กลุ่มสื่อเอ็นทีแอล (เวอร์จิน มีเดียในปัจจุบัน) ได้พิจารณาการครอบครองสโมสรโดยสมบูรณ์ ข้อเสนอนี้ถูกยกเลิกในภายหลังหลังจากคณะกรรมการการแข่งขันที่ก่อตั้งขึ้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 1999 แสดงความกังวลเกี่ยวกับสโมสรฟุตบอลที่บริษัทสื่อเป็นเจ้าของ[78]

ใน ค.ศ. 2007 ไมค์ แอชลีย์ นักธุรกิจได้ซื้อหุ้นของทั้งดักลาสและเซอร์ จอห์น ฮอลล์ โดยถือหุ้น 41% ในสโมสรผ่านบริษัทโฮลดิง เซนต์เจมส์โฮลดิงส์ เพื่อซื้อส่วนที่เหลือ[79] เมื่อซื้อหุ้นนี้ เขาได้แต่งตั้งคริส มอร์ตเป็นประธานสโมสร ในขณะที่ได้รับหุ้นเพิ่มขึ้น โดยเป็นเจ้าของหุ้น 93.19% ของสโมสรภายในวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 2007[80] ตัวเลขนี้สูงถึง 95% ในวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 บังคับให้ผู้ถือหุ้นที่เหลือขายหุ้นของตนให้แอชลีย์[81]

หลังจากซื้อสโมสรเสร็จสิ้น แอชลีย์ได้ประกาศว่าเขามีแผนที่จะขายสโมสรถึง 3 ครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นหลังจากการประท้วงของแฟน ๆ เกี่ยวกับการลาออกของเควิน คีแกนในเดือนกันยายน 2008 เมื่อแอชลีย์กล่าวว่า "ฉันฟังคุณแล้ว คุณต้องการให้ฉันออกไป นั่นคือสิ่งที่ฉันกำลังพยายามทำอยู่ตอนนี้"[82] ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2009 หลังจากจบฤดูกาล 2008–09 มีรายงานว่าแอชลีย์กำลังพยายามขายสโมสรอีกครั้ง[83][84] เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2009 แอชลีย์ยืนยันว่าสโมสรพร้อมขายในราคา 100 ล้านปอนด์[85] ภายในสิ้นเดือนสิงหาคม 2009 สโมสรออกจากตลาด[86] เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2017 นิวคาสเซิลยูไนเต็ดประกาศว่าแอชลีย์ได้ประกาศขายสโมสรอีกครั้ง โดยเขาหวังว่าจะสามารถสรุปข้อตกลงได้ในช่วงคริสต์มาสปี 2017[87]

การซื้อกิจการโดยซาอุดีอาระเบีย[แก้]

2 ปีหลังจากการประกาศขายสโมสร ในเดือนเมษายน 2020 มีรายงานว่ากลุ่มทุนที่ประกอบด้วย กองทุนเพื่อการลงทุนสาธารณะ, PCP Capital Partners และ RB Sports & Media กำลังสรุปข้อเสนอเพื่อซื้อกิจการนิวคาสเซิลยูไนเต็ด การขายกิจการดังกล่าวทำให้เกิดความกังวลและการวิพากษ์วิจารณ์ เช่น การโต้แย้งว่าเป็นการล้างประวัติด้านสิทธิมนุษยชนของซาอุดีอาระเบีย เช่นเดียวกับการละเมิดลิขสิทธิ์การถ่ายทอดกีฬาในภูมิภาค[88]

ในเดือนพฤษภาคม 2020 ส.ส.พรรคอนุรักษ์นิยม 2 คนเรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณาข้อตกลง โดยคาร์ล แมคคาร์ทนีย์เรียกร้องให้ระงับการขาย และไจลส์ วัตลิงเรียกร้องให้ Department for Digital, Culture, Media and Sports จัดการประชุมเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์กีฬาในซาอุดีอาระเบีย[89] ในเดือนเดียวกัน เดอะการ์เดียนรายงานว่าพรีเมียร์ลีกได้รับรายงานจากองค์การการค้าโลก (เผยแพร่ต่อสาธารณะในเดือนถัดมา) ซึ่งมีหลักฐานว่าซาอุดิอาระเบียสนับสนุน beoutQ ซึ่งเป็นช่องที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของเครือข่ายบีอินสปอตส์ ในภูมิภาคตั้งแต่วิกฤตการณ์การทูตกาตาร์[90][91][92] ในเดือนมิถุนายน 2020 เดอะ การ์เดียน รายงานว่าริชาร์ด มาสเตอร์ส ซึ่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของพรีเมียร์ลีก ได้ปรากฏตัวต่อหน้า DCMS และได้บอกใบ้ถึงความเป็นไปได้ในการเทคโอเวอร์นิวคาสเซิลยูไนเต็ดว่าใกล้จะสำเร็จแล้ว ส.ส. เตือนว่าเป็นเรื่องน่าขายหน้าหากปล่อยให้กลุ่มทุนของซาอุดีอาระเบียเข้ามาบริหารสโมสร เนื่องจากประเทศนี้มีประวัติการละเมิดลิขสิทธิ์และสิทธิมนุษยชน[93]

ภาพจากช่อง YouTube ของ Newcastle Fans TV แสดงให้เห็นแฟนบอลเดอะแม็กพายส์หลายพันคนฉลองการเทคโอเวอร์สโมสรเสร็จสิ้นนอกสนามเซนต์เจมส์พาร์ก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม 2021[94]

ในเดือนกรกฎาคม 2020 เดอะการ์เดียน รายงานว่าการตัดสินใจของซาอุดีอาระเบียที่ห้ามออกอากาศบีอินสปอตส์ในประเทศทำให้การเทคโอเวอร์นิวคาสเซิลยูไนเต็ดซับซ้อนขึ้นไปอีก[95] ต่อมาในวันที่ 30 กรกฎาคม 2020 ซาอุดีอาระเบียประกาศถอนตัวจากข้อตกลงเทคโอเวอร์นิวคาสเซิล โดยระบุว่า "ด้วยความขอบคุณอย่างสุดซึ้งต่อชุมชนนิวคาสเซิลและความสำคัญของสโมสรฟุตบอล เราจึงได้ตัดสินใจถอนความสนใจในการซื้อกิจการสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิลยูไนเต็ด" ทางกลุ่มยังระบุด้วยว่า "กระบวนการที่ยืดเยื้อ" เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พวกเขาถอนตัวออกไป[96] การเทคโอเวอร์ที่ล้มเหลวได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางจากแฟน ๆ ของนิวคาสเซิล โดย Chi Onwurah สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากนิวคาสเซิลกล่าวหาว่าพรีเมียร์ลีกปฏิบัติต่อแฟน ๆ ของสโมสรอย่าง "ดูถูก" และต่อมาได้เขียนจดหมายถึงมาสเตอร์สเพื่อขอคำอธิบาย[97]

แม้ว่ากลุ่มทุนจะถอนตัวออกไป แต่ข้อพิพาทเรื่องการเทคโอเวอร์ยังคงดำเนินต่อไป เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2020 นิวคาสเซิลยูไนเต็ดออกแถลงการณ์โดยอ้างว่าพรีเมียร์ลีกปฏิเสธการเทคโอเวอร์อย่างเป็นทางการโดยกลุ่มทุน และกล่าวหามาสเตอร์สและคณะกรรมการพรีเมียร์ลีกว่า "กระทำการไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการเทคโอเวอร์" ในขณะที่ระบุว่าสโมสรกำลังจะพิจารณาดำเนินการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง[98] พรีเมียร์ลีกปฏิเสธเรื่องนี้อย่างรุนแรงในแถลงการณ์ที่เผยแพร่ในวันถัดมา โดยแสดงความ "ประหลาดใจ" และ "ผิดหวัง" ในแถลงการณ์ของนิวคาสเซิล[99]

ในวันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม 2021 กลุ่มเดิมยืนยันว่าพวกเขาได้เสร็จสิ้นการซื้อกิจการของนิวคาสเซิลยูไนเต็ดอย่างเป็นทางการ[64] การสอบสวนในเดือนพฤษภาคม 2022 โดย เดอะการ์เดียน อ้างว่ารัฐบาลอังกฤษของบอริส จอห์นสันในขณะนั้นเกี่ยวข้องกับการเทคโอเวอร์นิวคาสเซิลยูไนเต็ดของซาอุดีอาระเบีย[100] ในเดือนเมษายน 2021 มีการเปิดเผยว่ามกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน แห่งซาอุดีอาระเบียได้เตือนจอห์นสันทางข้อความ โดยระบุว่าการตัดสินใจของพรีเมียร์ลีกจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสหราชอาณาจักรและซาอุดีอาระเบีย หลังจากคำเตือนดังกล่าว จอห์นสันได้แต่งตั้ง เอดเวิด ลิสเตอร์ เป็นทูตพิเศษประจำอ่าวเปอร์เซียเพื่อรับหน้าที่ดูแลเรื่องนี้[101] มีรายงานในภายหลังว่าความพยายามของจอห์นสันยังเกี่ยวข้องกับเจอร์รี กริมสโตน Minister of Investment ซึ่งได้หารือกับแกรี ฮอฟฟ์แมน ประธานพรีเมียร์ลีก และตัวแทนชาวซาอุดิอาระเบียซึ่งมีสายสัมพันธ์อันดีกับสำนักงานของมกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน รัฐบาลสหราชอาณาจักรและจอห์นสันกล่าวว่าพวกเขาไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเทคโอเวอร์ของซาอุดิอาระเบีย

การสนับสนุน[แก้]

ผู้สนับสนุนของนิวคาสเซิลยูไนเต็ด มาจากทั่วทุกมุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและที่อื่น ๆ ในอังกฤษ[102] โดยมีสโมสรผู้สนับสนุนในหลายประเทศทั่วโลก ชื่อเล่นของสโมสรคือ The Magpies ในขณะที่ผู้สนับสนุนสโมสรนั้นรู้จักกันในชื่อ Geordies หรือ Toon Army ชื่อตูนมาจากการออกเสียงเมืองจอร์ดี แฟนของทีมนิวคาสเซิลยูไนเต็ด จะมีชื่อเรียกว่า "ทูนอาร์มี" ซึ่งคำว่า "ทูน" นั้นเป็นภาษาแซกซัน คือคำว่า "ทาวน์" ที่แปลว่า "เมือง"[103] จากการสำรวจในปี 2004 โดย Co-operative Financial Services พบว่านิวคาสเซิลยูไนเต็ดอยู่อันดับต้น ๆ ของลีกสำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นและระยะทางที่แฟน ๆ ต้องใช้ในการเดินทางไปชมการแข่งขันทุกเกมพรีเมียร์ลีก[104] ระยะทางทั้งหมดที่แฟนบอลไปร่วมชมเกมในฐานะทีมเยือนทุกเกม พบว่าเทียบเท่ากับการเดินทางรอบโลกเลยทีเดียว[105] ในฤดูกาล 2009–2010 เมื่อสโมสรกำลังเล่นในฟุตบอลลีกแชมเปียนชิป การเข้าชมโดยเฉลี่ยที่สนามเซนต์เจมส์อยู่ที่ 43,388 ซึ่งเป็นอันดับที่สี่ของสโมสรอังกฤษในฤดูกาลนั้น[106] ต่อมา เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลพรีเมียร์ลีก 2011–12 นิวคาสเซิล ยูไนเต็ด มีผู้เข้าชมเฉลี่ยสูงสุดเป็นอันดับสามของฤดูกาลที่ 49,935 ตัวเลขนี้แซงหน้าอาร์เซนอลและแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด สองสโมสรที่มีสนามกีฬาขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ในประเทศ

การช่วยเหลือสังคม[แก้]

สโมสรก่อตั้งมูลนิธินิวคาสเซิลยูไนเต็ด ขึ้นในฤดูร้อนปี 2008[107] ซึ่งพยายามส่งเสริมการเรียนรู้และส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพในหมู่เด็กที่ด้อยโอกาส คนหนุ่มสาว และครอบครัวในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ[108] ตลอดจนส่งเสริมความเท่าเทียมและความหลากหลายทางเพศโดยมี เคท แบรดลีย์ เป็นผู้จัดการมูลนิธิ ในปี 2010 องค์กรการกุศลได้สอนเด็กกว่า 5,000 คนเกี่ยวกับการใช้ชีวิตด้วยการรักษาสุขภาพ

ในเดือนธันวาคม 2012 สโมสรได้ประกาศว่าพวกเขาเป็นทีมแรกของโลกที่บริหารทีมภายใต้หลักการ carbon-positive โดยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม[109] ทั้งระบบการจัดการในสนามแข่ง การใช้ชุดแข่งที่ผลิตด้วยวัสดุสิ่งแวดล้อม และการรณรงค์ด้านความสะอาดในสนามและบริเวณใกล้เคียง

สถิติสำคัญ[แก้]

แอลัน เชียเรอร์ เจ้าของสถิติผู้ทำประตูมากที่สุดตลอดกาลของสโมสร

นับถึงฤดูกาล 2019–20 นิวคาสเซิลได้เล่นในลีกสูงสุดถึง 89 ฤดูกาล มากที่สุดสโมสรหนึ่งในอังกฤษ และพวกเขาอยู่ในอันดับ 8 ในการจัดอันดับคะแนนรวมตลอดกาลนับตั้งแต่ก่อตั้งลีกสูงสุด รวมทั้งประสบความสำเร็จมากที่สุดเป็นอันดับ 9 ในอังกฤษ[110]

ผู้เล่นที่ลงสนามมากที่สุดให้กับทีมได้แก่ จิมมี ลอว์เรนซ์ (1904–22) จำนวน 496 นัด[111], ผู้ทำประตูมากที่สุดตลอดกาลได้แก่ แอลัน เชียเรอร์ (1996–2006) จำนวน 206 ประตู[112], ผู้ทำประตูมากที่สุดภายในหนึ่งฤดูกาลได้แก่ แอนดี โคล จำนวน 41 ประตู (ฤดูกาล 1993–94)

สถิติชนะมากที่สุดของสโมสร คือนัดชนะ สโมสรนิวพอร์ตเคาน์ตี ในฟุตบอลดิวิชั่นสองฤดูกาล 1946, สถิติแพ้มากที่สุดคือนัดแพ้สโมสรเบอร์ตัน 0–9 ในฟุตบอลดิวิชั่นสองฤดูกาล 1895, สถิติผู้ชมในสนามมากที่สุดได้แก่ นัดพบกับเชลซี (68,386 คน) ในการแข่งขันดิวิชั่นหนึ่งวันที่ 3 กันยายน 1930 และสถิติผู้เข้าชมสูงสุดในพรีเมียร์ลีกคือ 52,389 คน[113] ในนัดกับแมนเชสเตอร์ซิตีเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2012 ซึ่งนิวคาสเซิลแพ้ไป 0–2, สถิติการขายผู้เล่นแพงที่สูงสุดคือการขายแอนดี แคร์โรล 35 ล้านปอนด์[114] ให้ลิเวอร์พูลในเดือนมกราคม 2011 และการซื้อผู้เล่นที่แพงที่สุดคือ โจลินตัน 40 ล้านปอนด์[115]จากสโมสร ฮ็อฟเฟินไฮม์ ในเดือนกรกฎาคม 2019

ผู้เล่น[แก้]

ณ วันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 2023[116]

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK สโลวาเกีย มาร์ติน ดูเบรากา
2 DF อังกฤษ คีแรน ทริปเปียร์ (รองกัปตันทีม)
3 DF เวลส์ พอล ดัมเมตต์
4 DF เนเธอร์แลนด์ สเวน บอตมัน
5 DF สวิตเซอร์แลนด์ ฟาบีอาน แชร์
6 DF อังกฤษ จามาล ลาสเซลล์ (กัปตัน)
7 FW บราซิล โฌแอลินโตน
8 MF อิตาลี ซันโดร โตนาลี (แบน)[117]
9 FW อังกฤษ แคลลัม วิลสัน
10 FW อังกฤษ แอนโทนี กอร์ดอน
11 MF สกอตแลนด์ แมตต์ ริตชี
13 DF อังกฤษ แมตต์ ทาร์เกตต์
14 FW สวีเดน อาเล็กซันเดอร์ อีซัก
15 MF อังกฤษ ฮาร์วีย์ บานส์
17 DF สวีเดน เอียมิล ครัฟต์
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
18 GK เยอรมนี โลริส คารีอุส
20 DF อังกฤษ ลูวิส ฮอลล์ (ยืมตัวมาจากเชลซี)
21 DF อังกฤษ ติโน ลิฟราเมนโต
22 GK อังกฤษ นิก โพป
23 MF อังกฤษ เจคอบ เมอร์ฟี
24 MF ปารากวัย มิเกล อัลมิรอน
28 MF อังกฤษ โจ วิลล็อก
29 GK อังกฤษ มาร์ก กิลเลสพี
32 MF อังกฤษ เอลเลียต แอนเดอร์สัน
33 DF อังกฤษ แดน เบิร์น
36 MF อังกฤษ ฌอน ลองสตาฟฟ์
39 MF บราซิล บรูนู กีมาไรส์
40 MF อังกฤษ โจ ไวต์
67 MF อังกฤษ ลูอิส ไมลีย์

ผู้เล่นที่ปล่อยยืม[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
FW ประเทศแกมเบีย ยานคูบา มินเตห์ (ยืมตัวไปไฟเยอโนร์ด)

ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำฤดูกาล[แก้]

[118][119][120]ดาวซัลโว แอสซิส[121] และผู้เล่นแห่งปี[122]ของแต่ละฤดูกาล
ฤดูกาล ลีก ดาวซัลโวประจำทีม ส่งบอลทำประตู ผู้เล่นแห่งปี
ชื่อ สัญชาติ ประตู

(ลูกโทษ)

ชื่อ สัญชาติ จำนวน

การส่ง

ชื่อ สัญชาติ
1993–1994 พรีเมียร์ลีก แอนดี โคล อังกฤษ 34(0) แอนดี โคล อังกฤษ 13 แอนดี โคล England
1994–1995 พรีเมียร์ลีก Peter Beardsley England 13(3) Ruel Fox Montserrat 11 Barry Venison England
1995-1996 Premier League Les Ferdinand England 25(0) Peter Beardsley England 9 Darren Peacock England
1996-1997 Premier League Alan Shearer England 25(3) Les Ferdinand England 8 Steve Watson England
1997-1998 Premier League John Barnes England 6(1) Temur Ketsbaia, Steve Watson Georgia, England 3 David Batty England
1998-1999 Premier League Alan Shearer England 14(6) Nolberto Solano Peru 5 Alan Shearer England
1999-2000 Premier League Alan Shearer England 23(5) Nolberto Solano Peru 15 Alan Shearer England
2000-2001 Premier League Carl Cort Guyana 6(0) Nolberto Solano Peru 10 Shay Given Ireland
2001-2002 Premier League Alan Shearer England 23(5) Laurent Robert France 11 Nolberto Solano Peru
2002-2003 Premier League Alan Shearer England 17(2) Laurent Robert France 7 Alan Shearer England
2003-2004 Premier League Alan Shearer England 22(7) Laurent Robert France 6 Olivier Bernard France
2004-2005 Premier League Craig Bellamy, Alan Shearer Wales, England 7(0), 7(3) Laurent Robert France 5 Shay Given Ireland
2005-2006 Premier League Alan Shearer England 10(4) Charles N'Zogbia France 8 Shay Given Ireland
2006-2007 Premier League Obafemi Martins Nigeria 11(1) James Milner England 5 Nicky Butt England
2007-2008 Premier League Michael Owen England 11(2) Geremi Cameroon 7 Habib Beye Senegal
2008-2009 Premier League Obafemi Martins, Michael Owen Nigeria,

England

8(0),8(1) Jonás Gutiérrez, Danny Guthrie, Geremi Argentina, England, Cameroon 3 Sebastian Bassong Cameroon
2009-2010 Coca-Cola Championship Andy Carroll, Kevin Nolan England 17(0), 17(0) Danny Guthrie England 13 José Enrique Spain
2010-2011 Premier League Kevin Nolan England 12(1) Joey Barton England 9 Fabricio Coloccini Argentina
2011-2012 Premier League Demba Ba Senegal 16(2) Yohan Cabaye France 6 Tim Krul Netherlands
2012-2013 Premier League Papiss Demba Cissé Senegal 8(0) Sylvain Marveaux France 4 Davide Santon Italy
2013-2014 Premier League Loïc Rémy France 14(0) Moussa Sissoko France 6 Mike Williamson England
2014-2015 Premier League Papiss Demba Cissé Senegal 11(1) Jack Colback, Daryl Janmaat England, Netherlands 6 Daryl Janmaat Netherlands
2015-2016 Premier League Georginio Wijnaldum Netherlands 11(1) Moussa Sissoko France 7 Rob Elliot Ireland
2016-2017 EFL Championship + FA Cup + League Cup Dwight Gayle England 23(0) Jonjo Shelvey England 10 Ciaran Clark Ireland
2017-2018 Premier League + FA Cup + League Cup Ayoze Pérez Spain 10 Ayoze Pérez, Matt Ritchie Spain, Scotland 5 Jamaal Lascelles England
2018-2019 Premier League+FA Cup+League Cup Ayoze Pérez Spain 13 Matt Ritchie Scotland 9 Salomón Rondón Venezuela
2019-2020 Premier League+FA Cup+League Cup Miguel Almirón Paraguay 8 Allan Saint Maximin, Christian Atsu France, Ghana 5 Martin Dúbravka Slovakia

ผู้จัดการทีมในยุคพรีเมียร์ลีก[แก้]

ตั้งแต่ ค.ศ. 1992 - ปัจจุบัน

ชื่อ สัญชาติ เริ่ม ถึง
เควิน คีแกน อังกฤษ 1992 1997
เคนนี แดลกลีช สกอตแลนด์ 1997 1998
รืด คึลลิต เนเธอร์แลนด์ 1998 1999
เซอร์ บ็อบบี ร็อบสัน อังกฤษ 1999 2004
แกรม ซูเนสส์ สกอตแลนด์ 2004 2006
เกล็น โรเดอร์ อังกฤษ 2006 2007
แซม อัลลาร์ไดซ์ อังกฤษ 2007 2008
เควิน คีแกน อังกฤษ 2008 2008
โจ คินเนียร์ สาธารณรัฐไอร์แลนด์ 2008 2009
แอลัน เชียเรอร์ อังกฤษ 2009 2009
คริส ฮิลตัน อังกฤษ 2009 2010
อลัน พาร์ดิว อังกฤษ 2010 2015
จอห์น คาร์เวอร์ (รักษาการ) อังกฤษ 2015 2015
สตีฟ แม็คคาเรน อังกฤษ 2015 2016
ราฟาเอล เบนิเตช สเปน 2016 2019
สตีฟ บรู๊ซ อังกฤษ 2019 2021
เอ็ดดี ฮาว อังกฤษ 2021

เกียรติประวัติ[แก้]

อังกฤษ ระดับประเทศ[แก้]

ยุโรป ระดับทวีปยุโรป[แก้]

  • แองโกล-อินาเลียโนคัพ
    • ชนะเลิศ (1): 1973

รายการอื่น ๆ[แก้]

  • นอร์เทิร์นลีก
    • ชนะเลิศ (3): 1902–03, 1903–04, 1904–05
  • เอฟเอยูธคัพ
    • ชนะเลิศ (2): 1962, 1985
  • คีรินคัพ
    • ชนะเลิศ (1): 1983
  • เท็กเซโกคัพ
    • ชนะเลิศ (2): 1974, 1975
  • แชร์ออฟลอนดอนแชร์มูนิตีชีลด์
    • ชนะเลิศ (1): 1907
  • พรีเมียร์ลีกเอเชียโทรฟี่
    • ชนะเลิศ (1): 2003
  • เซล่าคัพ
    • ชนะเลิศ (1): 2023

ในประเทศไทย[แก้]

สำหรับชาวไทยที่มีชื่อเสียงที่เป็นผู้สนับสนุนนิวคาสเซิลยูไนเต็ด เช่น อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นักการเมือง[124]), นูรูล ศรียานเก็ม (นักฟุตบอลทีมชาติไทย), ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ (นักแสดง), ปราโมทย์ ปาทาน (นักร้อง) กิตติศักดิ์ เวชประสาร (ยัดห่า ชัยโสโร ยูทูบเบอร์), ชัยนนท์ หาญคีรีรัตน์ (ผู้ประกาศข่าว) เป็นต้น

อ้างอิง[แก้]

  1. "Newcastle rename St James' Park the Sports Direct Arena". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. 9 November 2011. สืบค้นเมื่อ 4 December 2011.
  2. "PIF, PCP Capital Partners and RB Sports & Media acquire Newcastle United Football Club". NUFC News. October 7, 2021. สืบค้นเมื่อ October 7, 2021.
  3. "Newcastle United - Historical league placements". www.transfermarkt.com (ภาษาอังกฤษ).
  4. "Newcastle United FC history and facts". www.footballhistory.org.
  5. Waugh, Chris (24 May 2019). "Where the NUFC squad are now, a decade on from the 2008/09 relegation". ChronicleLive (ภาษาอังกฤษ).
  6. https://www.bbc.co.uk/sport/football/36266059
  7. Staff, Guardian (23 October 2005). "Football: A rivalry with roots in kings and coal". the Guardian (ภาษาอังกฤษ).
  8. "The cult film proving an unlikely aid to Newcastle's transfer plans". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 25 May 2022.
  9. "Newcastle United takeover: Fans reflect on Mike Ashley years". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 7 October 2021. สืบค้นเมื่อ 8 October 2021.
  10. "Newcastle will be the richest club in the world: bought by Saudi sovereign fund". MARCA (ภาษาอังกฤษ). 7 October 2021.
  11. "Newcastle United takeover Q&A: How and why Newcastle have become one of the world's richest football clubs". Sky Sports (ภาษาอังกฤษ).
  12. Marshment, James (7 October 2021). "Mohammed Bin Salman wealth revealed; Jordan talks Newcastle takeover". TEAMtalk (ภาษาอังกฤษ).
  13. "History". Newcastle United Football Club (ภาษาอังกฤษ).
  14. https://web.archive.org/web/20110103000427/http://www.newcastleunited-mad.co.uk/feat/edz2/newcastle_utd__the_history_325295/index.shtml
  15. "Man Utd 'Richest club in the world'". BBC News. 1 December 1999. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 February 2008. สืบค้นเมื่อ 11 September 2013. The next British side on the list, at fifth, is Newcastle United...
  16. Manazir, Wasi (1 June 2016). "Portrait of an iconic manager – Sir Bobby Robson". Footie Central | Football Blog. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2020. สืบค้นเมื่อ 20 February 2020.
  17. "Premier League History – Season 2003/04". Premier League. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 August 2011. สืบค้นเมื่อ 11 April 2011.
  18. "Newcastle force Robson out". BBC Sport. 30 August 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2008. สืบค้นเมื่อ 11 April 2011.
  19. "Shearer lifts determined Newcastle". UEFA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 March 2017. สืบค้นเมื่อ 20 March 2017.
  20. "Sporting stage dramatic comeback". UEFA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2017. สืบค้นเมื่อ 20 March 2017.
  21. "Statistics Goals scored Seasons 2004/05". UEFA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 March 2016. สืบค้นเมื่อ 20 March 2017.
  22. Bevan, Chris (2 February 2006). "What went wrong for Souness?". BBC Sport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 June 2007. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
  23. "Roeder named as Newcastle manager". BBC Sport. 16 May 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2006. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
  24. "Injury forces Shearer retirement". BBC Sport. 22 April 2006. สืบค้นเมื่อ 14 August 2008.
  25. "Newcastle's Bizarre 2006 Intertoto Cup Win, Explained | Football Stories" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 28 February 2023. สืบค้นเมื่อ 25 April 2023.
  26. "Roeder resigns as Newcastle boss". BBC Sport. 6 May 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2016. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
  27. "Newcastle name Allardyce as boss". BBC Sport. 15 May 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2016. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
  28. "Ashley to take over Newcastle Utd". BBC News. 7 June 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2008. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
  29. "Mort in for Shepherd at Newcastle". BBC Sport. 25 July 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2016. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
  30. "Ashley boosts stake in Newcastle: July 15, 2007". BBC News. 15 July 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2007. สืบค้นเมื่อ 24 May 2019.
  31. "Allardyce reign ends at Newcastle". BBC Sport. 9 January 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2008. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
  32. "Keegan returns as Newcastle boss". BBC Sport. 16 January 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2008. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
  33. "Chris Mort quits as Newcastle chairman, Derek Llambias named managing director". The Daily Telegraph. London. 17 June 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2012. สืบค้นเมื่อ 30 July 2008.
  34. "War of words continue at Newcastle as Kevin Keegan sticks to his guns". The Daily Telegraph. London. 7 September 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2019. สืบค้นเมื่อ 26 December 2019.
  35. Roopanarine, Les (26 September 2008). "Newcastle appoint Kinnear as interim manager". The Guardian. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2013. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
  36. "Kinnear 'will resume Magpies job'". BBC Sport. 2 April 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2009. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
  37. James, Stuart (24 May 2009). "Alan Shearer demands Newcastle overhaul following relegation". The Guardian. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2014. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
  38. Benammar, Emily (9 June 2009). "Newcastle up for sale: email your offers now". The Daily Telegraph. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2016. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
  39. "Newcastle confirm Hughton as boss". BBC Sport. 27 October 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2016. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
  40. "Ashley takes Newcastle off market". BBC Sport. 27 October 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2016. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
  41. "Newcastle United secure promotion to Premier League". BBC Sport. 6 April 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2016. สืบค้นเมื่อ 7 April 2010.
  42. Alexander, Steve (5 April 2010). "Newcastle United Promoted Back to the Premier League". Goal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2010. สืบค้นเมื่อ 6 April 2010.
  43. "Plymouth 0–2 Newcastle". BBC Sport. 19 April 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2016. สืบค้นเมื่อ 20 May 2010.
  44. Gibbs, Thom (6 December 2010). "Chris Hughton sacked as manager of Newcastle United". The Daily Telegraph. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2010. สืบค้นเมื่อ 6 December 2010.
  45. "Newcastle 4–4 Arsenal". BBC Sport. 5 February 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 April 2012. สืบค้นเมื่อ 31 July 2012.
  46. "Newcastle 2–1 Everton". BBC Sport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 August 2014. สืบค้นเมื่อ 1 October 2014.
  47. "Alan Pardew and Vincent Kompany's Premier League award". BBC Sport. 11 May 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2018. สืบค้นเมื่อ 12 February 2018.
  48. "Newcastle boss Alan Pardew is named LMA Manager of the Year". BBC Sport. 14 May 2012. สืบค้นเมื่อ 25 February 2023.
  49. Chris McKenna. "Newcastle 1–1 Benfica (agg 2–4)". BBC Sport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2013. สืบค้นเมื่อ 1 October 2014.
  50. "QPR 1–2 Newcastle". BBC Sport. 12 May 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 August 2018. สืบค้นเมื่อ 12 February 2018.
  51. "Alan Pardew: Crystal Palace confirm manager's appointment". BBC Sport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2015. สืบค้นเมื่อ 13 August 2015.
  52. "Newcastle United 2–0 West Ham United". BBC Sport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2015. สืบค้นเมื่อ 13 August 2015.
  53. "Steve McClaren: Newcastle appoint ex-England manager". BBC Sport. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2015. สืบค้นเมื่อ 13 August 2015.
  54. 54.0 54.1 "Rafael Benitez: Newcastle United appoint Spaniard as Steve McClaren's successor". BBC Sport. 11 March 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2016. สืบค้นเมื่อ 11 March 2016.
  55. Taylor, Daniel (11 May 2016). "Sunderland safe after Lamine Koné double sinks crumbling Everton". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2016. สืบค้นเมื่อ 12 May 2016.
  56. "Newcastle United clinched the Championship title with victory over Barnsley, after Brighton conceded a late equaliser at Aston Villa". BBC Sport. 7 May 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2019. สืบค้นเมื่อ 7 May 2017.
  57. "Newcastle United: Mike Ashley puts Premier League club up for sale". BBC Sport. 16 October 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2018. สืบค้นเมื่อ 12 February 2018.
  58. "Newcastle United 3–0 Chelsea". BBC Sport. 13 May 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 July 2018. สืบค้นเมื่อ 6 July 2018.
  59. "Premier League (Sky Sports)". Sky Sports. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2018. สืบค้นเมื่อ 6 July 2018.
  60. "Sports Direct-owned House of Fraser apologises after cancelling all online orders from customers". Evening Chronicle. Newcastle upon Tyne. 17 August 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 May 2019. สืบค้นเมื่อ 24 August 2018.
  61. "Rafa Benitez leaves Newcastle United after failing to agree new contract". Daily Mirror. London. 24 June 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2019. สืบค้นเมื่อ 24 June 2019.
  62. "Newcastle appoint Steve Bruce as manager to succeed Rafael Benítez". The Guardian. 17 July 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2019. สืบค้นเมื่อ 17 July 2019.
  63. Morgan, Tom; Burt, Jason; Edwards, Luke; Amako, Uche (7 October 2021). "Newcastle United takeover confirmed as £305m deal with Saudi-backed consortium finalised". The Daily Telegraph. London. สืบค้นเมื่อ 17 October 2021.
  64. 64.0 64.1 "PIF, PCP Capital Partners and RB Sports & Media acquire Newcastle United Football Club". Newcastle United F.C. สืบค้นเมื่อ 7 October 2020.
  65. Bird, Simon (20 October 2021). "Steve Bruce's huge pay-off details as he's sacked by Newcastle". Daily Mirror. London. สืบค้นเมื่อ 21 February 2022.
  66. "Steve Bruce leaves Newcastle by mutual consent after Saudi takeover". BBC Sport. 20 October 2021. สืบค้นเมื่อ 21 October 2021.
  67. "Newcastle United appoint Eddie Howe as head coach". Newcastle United F.C. 8 November 2021. สืบค้นเมื่อ 8 November 2021.
  68. "Burnley 1–2 Newcastle United". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 22 May 2022.
  69. "Darren Eales named new Newcastle United CEO". Newcastle United F.C. 15 July 2022. สืบค้นเมื่อ 15 July 2022.
  70. NUFC Staff (21 August 2022). "Newcastle United's women's team completes historic move to club ownership". Newcastle United F.C. สืบค้นเมื่อ 21 August 2022.
  71. "Newcastle secure top-four finish with Leicester draw". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 6 November 2023.
  72. "Newcastle United Amazon Prime documentary: Release date, trailer, how to watch and which stars will feature | Sporting News". www.sportingnews.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 3 August 2023.
  73. "'We Are Newcastle United' launches weekly on Prime Video next month". Newcastle United Football Club (ภาษาอังกฤษ). 26 July 2023.
  74. "St James' Park | Venues | London 2012". web.archive.org. 13 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2011. สืบค้นเมื่อ 8 October 2021.
  75. "Newcastle reveal new stadium name" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 4 November 2009. สืบค้นเมื่อ 8 October 2021.
  76. https://wayback.archive-it.org/all/20121010035657/http://www.telegraph.co.uk/sport/football/teams/newcastle-united/9596399/Newcastle-United-sponsorship-deal-with-Wonga-will-see-St-James-Park-reinstated-as-stadium-name.html
  77. Conn, David (8 February 2006). "How the Geordie Nation turned into a cash cow". The Guardian. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2014. สืบค้นเมื่อ 13 April 2011.
  78. "Newcastle United". ukbusinesspark.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2008. สืบค้นเมื่อ 5 August 2008.
  79. Ubha, Ravi (23 May 2007). "Ashley, Retail Billionaire, Offers to Buy Newcastle". Bloomberg L.P. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2012. สืบค้นเมื่อ 13 April 2011.
  80. "Ashley tightens grip on Magpies". The Guardian. London. 29 June 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2014. สืบค้นเมื่อ 13 April 2011.
  81. "Ashley poised to complete Newcastle buy-out". The Times. London. 11 July 2007. สืบค้นเมื่อ 13 April 2011.
  82. "Ashley puts Newcastle up for sale". BBC Sport. 14 September 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2009. สืบค้นเมื่อ 13 April 2011.
  83. "Ashley wants quick Newcastle sale". BBC Sport. 31 May 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 June 2009. สืบค้นเมื่อ 1 June 2009.
  84. "Mike Ashley puts Newcastle United up for sale again". Evening Chronicle. Newcastle upon Tyne. 1 June 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2009. สืบค้นเมื่อ 1 June 2009.
  85. Caulkin, George (8 June 2009). "Mike Ashley brings more embarrassment on Newcastle". The Times. London. สืบค้นเมื่อ 14 April 2011.
  86. Richardson, Andy (24 August 2009). "Is Ashley ready to make a definitive decision?". The Northern Echo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2012. สืบค้นเมื่อ 14 April 2011.
  87. "Newcastle United: Mike Ashley puts Premier League club up for sale". BBC Sport. 16 October 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 October 2017. สืบค้นเมื่อ 16 October 2017.
  88. Panja, Tariq (30 April 2020). "As Premier League Weighs Saudi Bid for Newcastle, It Criticized Kingdom". The New York Times. ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2020. สืบค้นเมื่อ 4 May 2020.
  89. Ziegler, Martyn (15 May 2020). "Opposition grows to Newcastle United's potential Saudi takeover". The Times. London. สืบค้นเมื่อ 9 January 2023.
  90. Vivarelli, Nick (16 June 2020). "World Trade Organization Rules There is Evidence Saudi Arabia Supported Pirate Broadcaster beoutQ". Variety. สืบค้นเมื่อ 17 June 2020.
  91. "WTO piracy ruling casts fresh doubt over Newcastle's Saudi takeover". SportsPro Media. 16 June 2020. สืบค้นเมื่อ 17 June 2020.
  92. Ingle, Sean (26 May 2020). "Newcastle takeover in serious doubt as WTO rules pirate TV channel is Saudi". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 10 July 2020.
  93. "Newcastle takeover saga close to resolution, Richard Masters tells Mps". The Guardian. 30 June 2020. สืบค้นเมื่อ 30 June 2020.
  94. "Newcastle United fans celebrate wildly outside St James's Park after Saudi-led takeover confirmed". The Independent. 7 October 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 June 2022. สืบค้นเมื่อ 20 October 2021.
  95. "Saudi Arabia bans beIN Sports to further complicate £300m Newcastle takeover". The Guardian. 14 July 2020. สืบค้นเมื่อ 14 July 2020.
  96. "Saudi bid to buy Newcastle ends after piracy, human rights issues". Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 30 July 2020.
  97. "Newcastle MP slams Premier League for treatment of fans during takeover process". Evening Chronicle. Newcastle upon Tyne. 30 July 2020. สืบค้นเมื่อ 30 July 2020.
  98. "Club statement". Newcastle United F.C. 9 September 2020. สืบค้นเมื่อ 9 September 2020.
  99. Dawnay, Oliver (10 September 2020). "Premier League adamant they have not rejected Newcastle's takeover bid and say they are 'disappointed' and 'surprised' by club's statement". talkSPORT. สืบค้นเมื่อ 9 January 2023.
  100. "Revealed: government did encourage Premier League to approve Newcastle takeover". The Guardian. 24 May 2022. สืบค้นเมื่อ 24 May 2022.
  101. "Saudi crown prince asked Boris Johnson to intervene in Newcastle United bid". The Guardian. 15 April 2021. สืบค้นเมื่อ 15 April 2021.
  102. "TyneTalk - Newcastle United Supporters Clubs". web.archive.org. 2 September 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 September 2011. สืบค้นเมื่อ 8 October 2021.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  103. "สารคดีท่องโลกกว้าง: ท่องทั่วทวีป". ไทยพีบีเอส. 1 January 2015. สืบค้นเมื่อ 2 January 2015.[ลิงก์เสีย]
  104. https://www.prnewswire.co.uk/cgi/news/release?id=134995
  105. "The Times & The Sunday Times". www.thetimes.co.uk (ภาษาอังกฤษ).
  106. "Newcastle's Home Attendance 4th Best In England". web.archive.org. 6 October 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2011. สืบค้นเมื่อ 8 October 2021.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  107. "Newcastle United | Foundation | FOUNDATION". web.archive.org. 8 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 April 2011. สืบค้นเมื่อ 8 October 2021.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  108. Chronicle, Evening (18 February 2011). "Newcastle United Foundation hails success". ChronicleLive (ภาษาอังกฤษ).
  109. Tsubata, I.; Takashina, N. (June 1972). "The thermistor with positive temperature coefficient based on graphite carbon". Carbon. 10 (3): 337. doi:10.1016/0008-6223(72)90400-9. ISSN 0008-6223.
  110. "KryssTal : Football (Running Total of Trophies)". web.archive.org. 5 September 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2012. สืบค้นเมื่อ 11 October 2021.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  111. "Honours and records". Newcastle United Football Club (ภาษาอังกฤษ).
  112. "A. Shearer (England) - Stats and trophies". www.fastscore.com.
  113. https://www.bbc.co.uk/sport/football/17885333
  114. "Premier League football news from the Barclays Premier League | Carroll joins Liverpool". web.archive.org. 2 February 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2011. สืบค้นเมื่อ 11 October 2021.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  115. "Newcastle United sign Hoffenheim forward Joelinton for club-record fee". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 23 July 2019.
  116. "First Team". Newcastle United F.C. สืบค้นเมื่อ 31 January 2023.
    "Out on Loan". Newcastle United F.C. สืบค้นเมื่อ 26 August 2022.
  117. "Sandro Tonali ban confirmed". Newcastle United F.C. 28 October 2023. สืบค้นเมื่อ 28 October 2023.
  118. https://www.premierleague.com/stats/top/players/goal_assist
  119. https://www.premierleague.com/stats/top/players/att_pen_goal
  120. https://www.worldfootball.net/goalgetter/eng-premier-league-2018-2019/
  121. https://www.premierleague.com/stats/top/players/goal_assist
  122. https://www.nufc.co.uk/news/
  123. "Club Honours". nufc.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 August 2008. สืบค้นเมื่อ 1 August 2008.
  124. "แฟนสาลิกาตัวจริง!! "อภิสิทธิ์" โพสต์ภาพแซว "เรือใบหายไปไหน"". สปริงนิวส์. 2019-01-30. สืบค้นเมื่อ 2019-01-30.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ[แก้]

เว็บไซต์ของผู้ติดตามผลงาน[แก้]