อารยธรรมไมนอส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อารยธรรมไมนวน)
ส่วนหนึ่งของพระราชวังที่คนอสซอสที่สร้างขึ้นให้เห็นภาพจากการขุดค้นของนักโบราณคดี

อารยธรรมไมนอส (อังกฤษ: Minoan civilization) เป็นวัฒนธรรมของยุคสำริดที่เกิดขึ้นในครีต อารยธรรมไมนวนรุ่งเรืองระหว่างราวศตวรรษที่ 27 จนถึงกลางศตวรรษที่ 15 ก่อนคริสต์ศักราช หลังจากนั้นอารยธรรมไมซีนี (Mycenaean civilization) ก็เข้ามาแทนที่ อารยธรรมไมนวนพบเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยนักโบราณคดีชาวอังกฤษชื่อเซอร์อาร์เธอร์ อีแวนส์ ตามคำกล่าวของวิลล์ ดูรันต์วัฒนธรรมครีตไมนอสมีตำแหน่งในประวัติศาสตร์ว่าเป็น “สิ่งแรกที่เชื่อมวัฒนธรรมยุโรป”[1]

บทนำ[แก้]

อักษร lineaire A

ไมนอส เป็นกษัตริย์ในตำนานของคนอสซอส เป็นลูกของพระเจ้าเซอุส และพระนางยุโรป มีสัญลักษณ์ประจำพระองค์เป็นรูปวัว ตามตำนานเล่าว่าพระองค์เป็นกษัตริย์ที่รักศิลปะ ในรัชสมัยของพระองค์มีศิลปินหลายคนที่สำคัญ คือ เดดาลผู้แต่งเรื่อง “ทางปริศนา” และเรื่อง “วัวสัมริด” อักษรที่ใช้จากที่พบในแผ่นดินเหนียว พบว่าเป็นตัวอักษรแบบที่ เรียกว่า lineaire A ประกอบด้วยอักษรประมาณ 90 ตัว ไม่ทราบที่มาเช่นเดียวกับตราดินเหนียวทรงกลมมีรูปและอักษรสลักอยู่  อารยธรรมไมนอสรุ่งเรืองที่สุดที่เมืองคนอสโซส (คนอสซอส) ผู้ครองเมืองดำรงฐานะเป็นพระกษัตริย์ มีการสร้าง พระราชวังแบบใหม่ ขนาดใหญ่และซับซ้อนคล้ายทางปริศนา ที่คนอสโซส ไฟสทอส และอักเฮียเทรียดามีระบบบริหารทางการเมืองและเศรษฐกิจ เป็นแบบรวมอำนาจอยู่ที่ส่วนกลางคล้ายในอียิปต์ ฐานะของสตรีสำคัญมากในสังคม จนประมาณ 1600 ปีก่อนก่อนคริสต์ศักราช เกิดแผ่นดินไหวทำลายพระราชวังที่คนอสโซสลงถึง 2 ครั้ง และเมื่อ 1500 ปีก่อนก่อนคริสต์ศักราช พวกเอเชียนจากฝั่งทวีปเข้ามาตั้งรกรากบนเกาะครีต (เกิดราชวงศ์เอเจียน) โดยมีการนำเอาตัวอักษร lineaire B (อักษรกรีกในปัจจุบัน) เข้ามาใช้ด้วย

อักษร lineaire B

ชนของไมนวนจะเรียกตนเองว่าอย่างไรนั้นไม่เป็นที่ทราบ แต่คำว่า “Minoan” (ไมนวน) ที่ใช้เรียกชื่อวัฒนธรรมในยุคที่กล่าวเป็นคำที่คิดขึ้นโดยอีแวนส์ โดยแผลงมาจาก “Minos” (ไมนอส) ซึ่งเป็นพระนามของพระมหากษัตริย์ในตำนานเทพเจ้ากรีก[2] ไมนอสเกี่ยวข้องกับตำนานวงกต (labyrinth) ที่อีแวนส์พบว่าเป็นที่ตั้งของคนอสซอส บางครั้งก็มีการโต้แย้งกันว่าคำว่าชื่อสถานที่ “Keftiu” ของอียิปต์โบราณ หรือ “Kaftor” ของภาษาเซมีติก หรือ “Kaptara” ของมารี ต่างก็หมายถึงเกาะครีต ใน “โอดิสซีย์” ที่ประพันธ์หลายร้อยปีหลังจากที่อารยธรรมไมนอสถูกทำลายไปแล้ว โฮเมอร์เรียกชนที่อาศัยอยู่บนเกาะว่า “อีทีโอเครทัน” (Eteocretan) หรือ “ครีตแท้” ที่อาจจะเป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากชนไมนอสก็เป็นได้

พระราชวังของไมนอสที่ได้รับการขุดพบเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีความสำคัญเพราะลักษณะการก่อสร้าง เป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ใช้สำหรับการบริหารที่เห็นได้จากบันทึกเอกสารจำนวนมากที่พบโดยนักโบราณคดี พระราชวังแต่ละแห่งที่พบต่างก็มีลักษณะต่างกันออกไปที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์และมักจะเป็นสิ่งก่อสร้างหลายชั้นโดยมีบันไดทั้งภายในและภายนอกอาคาร คอลัมน์ขนาดยักษ์ และลานภายในอาคาร

ลำดับเหตุการณ์และประวัติศาสตร์[แก้]

ประวัติศาสตร์กรีซ
Coat of Arms of Greece
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความที่เกี่ยวกับ
ประเทศกรีซ

กรีซยุคสำริด
อารยธรรมเฮลลาดิค
อารยธรรมซิคละดีส
อารยธรรมไมนอส
อารยธรรมไมซีนี
กรีซโบราณ
กรีซยุคมืด
กรีซยุคอาร์เคอิก
กรีซยุคคลาสสิก
กรีซยุคเฮลเลนิสติก
กรีซยุคโรมัน
กรีซยุคกลาง
กรีซยุคไบแซนไทน์
กรีซยุคฟรังโคคราเชีย
กรีซยุคออตโตมัน
กรีซยุคใหม่
สงครามประกาศเอกราชกรีซ
ราชอาณาจักรกรีซ
สาธารณรัฐเฮลเลนิกที่ 2
คณะการปกครอง 4 สิงหาคม
กรีซยุคยึดครองโดยอักษะ
สงครามกลางเมืองกรีซ
กรีซยุคปกครองโดยทหาร ค.ศ. 1967-1974
สาธารณรัฐเฮลเลนิกที่ 3
ประวัติศาสตร์แบ่งตามหัวข้อ

สถานีย่อยกรีซ

แทนที่จะพยายามจัดสมัยของไมนอสตามเวลาของปฏิทิน นักโบราณคดีใช้วิธีสองวิธีในการลำดับเวลาสัมพันธ์ (relative chronology) วิธีแรกคิดขึ้นโดยอีแวนส์และต่อมาประยุกต์โดยนักโบราณคดีคนอื่น ๆ ที่เป็นการลำดับเวลาโดยการศึกษาลักษณะของเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งทำให้แบ่งอารยธรรมไมนอสออกได้เป็นสามสมัย ไมนอสตอนต้น (Early Minoan (EM), ไมนอสตอนกลาง (Middle Minoan (MM) และ ไมนอสตอนปลาย (Late Minoan (LM) แต่ละช่วงเวลาก็แบ่งย่อยออกไปอีก เช่น ไมนอสตอนต้น 1, 2 และ 3 (EMI, EMII, EMIII) วิธีลำดับเวลาอีกวิธีหนึ่งเสนอโดยนักโบราณคดีชาวกรีกนิโคลัส พลาทอน (Nicolas Platon) ลำดับเวลาโดยการศึกษาการวิวัฒนาการของกลุ่มสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า "ปราสาท" ที่คนอสซอส (Knossos), ไฟสทอส (Phaistos), มาลิอา (Malia), คาโทซาครอส (Kato Zakros) ที่แบ่งสมัยอารยธรรมออกเป็น สมัยก่อนปราสาท (Prepalatial), สมัยปราสาทเก่า (Protopalatial), สมัยปราสาทใหม่ (Neopalatial) และสมัยหลังปราสาท (Post-palatial) ความสัมพันธ์ระหว่างระบบลำดับเวลาทั้งสองวิธีแสดงในตารางประกอบ โดยผูกกับเวลาของปฏิทินโดยประมาณโดยวอร์เร็นและแฮงคีย์ (1989)

การระเบิดของภูเขาไฟธีรา (Minoan eruption) อันเป็นการระเบิดระดับ 6 หรือ 7 ของดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ (Volcanic Explosivity Index) เกิดขึ้นในสมัยไมนอสตอนปลาย แต่เวลาของการระเบิดตามปฏิทินเป็นข้อที่ยังไม่เป็นที่ตกลงกันได้ จากการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี (Radiocarbon dating) ระบุว่าเกิดเป็นการระเบิดที่ขึ้นราวปลายทศวรรษ 1600 ก่อนคริสต์ศักราช[3][4] แต่เวลาที่ระบุโดยการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสีค้านกับการคำนวณโดยนักโบราณคดีผู้เปรียบเวลาการระเบิดกับปฏิทินอียิปต์ ที่ระบุว่าเกิดขึ้นระหว่างปี 1525 ถึงปี 1500 ก่อนคริสต์ศักราช[5][6][7] การระเบิดของภูเขาไฟมักจะเห็นกันว่าเป็นเหตุการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนอันรุนแรงต่อวัฒนธรรมของไมนอสที่นำไปสู่การล่มสลายอย่างรวดเร็ว ที่อาจจะเป็นเหตุการณ์เดียวกับที่บรรยายในตำนานแอตแลนติสของกรีก

ลำดับเวลาในประวัติศาสตร์ของไมนอส
3500 – 2900 ก่อนปีคริสต์ศักราช EMI Prepalatial

(สมัยก่อนพระราชวัง)

2900 – 2300 ก่อนปีคริสต์ศักราช EMII
2300 – 2100 ก่อนปีคริสต์ศักราช EMIII
2100 – 1900 ก่อนปีคริสต์ศักราช MMIA
1900 – 1800 ก่อนปีคริสต์ศักราช MMIB Protopalatial

(สมัยพระราชวังเก่า)

1800 – 1750 ก่อนปีคริสต์ศักราช MMIIA
1750 – 1700 ก่อนปีคริสต์ศักราช MMIIB Neopalatial

(สมัยพระราชวังใหม่)

1700 – 1650 ก่อนปีคริสต์ศักราช MMIIIA
1650 – 1600 ก่อนปีคริสต์ศักราช MMIIIB
1600 – 1500 ก่อนปีคริสต์ศักราช LMIA
1500 – 1450 ก่อนปีคริสต์ศักราช LMIB Postpalatial

(ยุคสุดท้ายของพระราชวังคนอสซอส)

1450 – 1400 ก่อนปีคริสต์ศักราช LMII
1400 – 1350 ก่อนปีคริสต์ศักราช LMIIIA
1350 – 1100 ก่อนปีคริสต์ศักราช LMIIIB

ไมนอสตอนต้น[แก้]

ยุคสำริดเริ่มบนเกาะครีตเมื่อ 3200 ปีก่อนคริสต์ศักราช ยุคสำริดตอนต้น (3500 ถึง 2100 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ได้รับการอธิบายว่าเป็น "สัญญาแห่งความยิ่งใหญ่" ในแง่ของการพัฒนาภายหลังบนเกาะในช่วงปลายสหัสวรรษที่สามก่อน ปีก่อนคริสต์ศักราช เกาะครีตพัฒนาเป็นศูนย์กลางของการค้าและการฝีมือทำให้ชนชั้นสูงสามารถใช้ความเป็นผู้นำแผ่ขยายอิทธิพลของตนออกไปได้ ซึ่งมีแนวโน้มว่าลำดับชั้นดั้งเดิมของชนชั้นสูงในท้องถิ่นจะถูกแทนที่ด้วยระบอบราชาธิปไตย ซึ่งจะมีพระราชวัง เครื่องปั้นดินเผาตามแบบฉบับของวัฒนธรรมยูเตรติส โดยมันถูกค้นพบในครีตในช่วงยุคไมนอสตอนต้น

ไมนอสตอนกลาง[แก้]

Knossos - North Portico

ในช่วงปลายยุค MMII (1700 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เกิดความวุ่นวายครั้งใหญ่บนเกาะครีตซึ่งอาจเป็นแผ่นดินไหวหรืออาจเป็นการบุกรุกจากอนาโตเลีย แต่ถึงอย่างไรพระราชวังที่ คนอสซอส, Phaistos, Malia และ Kato Zakros ก็ถูกทำลายลง ในช่วงเริ่มต้นของยุคสมัยวังใหม่ หลังจากนั้นประชากรก็เพิ่มขึ้นอีกครั้ง พระราชวังจึงถูกสร้างขึ้นใหม่และใหญ่ขึ้น การตั้งถิ่นฐานใหม่ถูกสร้างขึ้นทั่วทั้งเกาะ ช่วงเวลานี้ (ศตวรรษที่ 17-16 ก่อนคริสต์ศักราช MMIII-Neopalatial) เป็นจุดสูงสุดของอารยธรรมไมนอส หลังจากราว 1700 ปีก่อนคริสต์ศักราช วัฒนธรรมบนแผ่นดินใหญ่ของกรีกได้มาถึงจุดสูงสุดใหม่เนื่องจากอิทธิพลของไมนอส


ไมนอสตอนปลาย[แก้]

ภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งราว 1,600 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งอาจเป็นการปะทุของภูเขาไฟธีรา ชาวไมนอสก็ได้สร้างพระราชวังขึ้นใหม่โดยมีความแตกต่างที่สำคัญหลายประการในการสร้าง จากนั้นประมาณ 1450 ปีก่อนคริสต์ศักราช วัฒนธรรมไมนอสก็ได้ถึงจุดเปลี่ยนที่สำคัญเนื่องจากภัยธรรมชาติ แม้ว่าการปะทุของภูเขาไฟธีราอีกครั้งจะเชื่อมโยงกับการล่มสลายนี้ แต่ช่วงเวลาในการระเบิดของภูเขาไฟนั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ถึงอย่างไรพระราชวังที่สำคัญหลายแห่ง เช่น มาลิอา , Tylissos , ไฟสทอส และ Hagia Triada และพระราชวังคนอสซอสก็ถูกทำลายลง แต่พระราชวังคนอสซอสดูเหมือนว่าส่วนใหญ่จะไม่พังทลายลงไป ส่งผลให้ราชวงศ์สามารถที่จะแผ่อิทธิพลไปทั่วพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะครีตจนกระทั่งถูกรุกรานโดยชาวกรีกไมซีเนียน หลังจากผ่านไปประมาณหนึ่งศตวรรษของการฟื้นฟูบางส่วน เมืองและพระราชวังของครีตส่วนใหญ่ก็สูญหายไปในช่วงศตวรรษที่ 13 ก่อนคริสต์ศักราช (LHIIIB-LMIIIB) โดยครีตยังคงเป็นศูนย์กลางการปกครองจนถึงช่วง 1200 ปีก่อนคริสต์ศักราช จนในที่สุดที่มั่นสุดท้ายของไมนอสคือที่แนวป้องกันที่ภูเขาคาร์ฟี ที่หลบภัยซึ่งมีร่องรอยของอารยธรรมไมนอสที่เกือบจะได้เข้าสู่ยุคเหล็กอยู่

อิทธิพลจากต่างประเทศ[แก้]

อิทธิพลของอารยธรรมไมนอสมีให้เห็นในงานศิลปะและสิ่งประดิษฐ์ของชาวไมนอสบนแผ่นดินใหญ่ของกรีก มีการนำเข้าสุสานปล้องของชาวไมซีเนียนจากชาวครีตหลายครั้ง ซึ่งแสดงให้เห็นบทบาทของสัญลักษณ์ของไมนอส โดยความเชื่อมโยงระหว่างอียิปต์กับเกาะครีตค่อนข้างมีความชัดเจน เพราะมีการค้นพบเซรามิกของชาวไมนอสได้ในเมืองของอียิปต์ และสินค้านำเข้าที่สำคัญของชาวไมนอสก็มีหลายอย่างที่นำเข้ามาจากอียิปต์ เช่น แอตติกา งาช้าง และกระดาษปาปิรัส  แนวคิดทางสถาปัตยกรรมและศิลปะจากอียิปต์ ซึ่งอักษรอียิปต์โบราณอาจเป็นแบบต้นอแบบของอักษรอียิปต์โบราณของครีต ซึ่งต่อมาก็อาจจะพัฒนาขึ้นเป็นระบบการเขียนแบบ Linear A และ Linear B นอกจากนี้นักโบราณคดีเฮอร์มานน์ เบงต์สันยังพบอิทธิพลของชาวไมนอสในสิ่งประดิษฐ์ของชาวคานาอันอีกด้วย

พระราชวังไมนอสถูกยึดครองโดยชาวไมซีเนียนประมาณปี 1420 – 1375 ก่อนคริสต์ศักราช โดยชาวไมซีเนียนมีแนวโน้มที่จะปรับตัว (แทนที่จะเป็นการแทนที่) วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปะ ระบบเศรษฐกิจและระบบราชการของชาวไมนอส นอกจากนี้ภาษาไมซีนีกรีกยังเป็นรูปแบบภาษาของกรีกโบราณที่ถูกเขียนในระบบการเขียนแบบ Linear B ซึ่งเป็นการดัดแปลงจากระบบการเขียนแบบ Linear A อีกด้วย

ภูมิศาสตร์[แก้]

แผนที่แสดงเมืองและพระราชวังต่าง ๆ ของเกาะครีต

ครีตเป็นเกาะที่มีภูเขาและมีท่าเรือตามธรรมชาติ มีสัญญาณของความเสียหายจากแผ่นดินไหวในหลายพื้นที่ของไมนอสและสัญญาณที่ชัดเจนคือการยกตัวของดินและการจมน้ำของพื้นที่ชายฝั่งอันเนื่องมาจากกระบวนการแปรสัณฐานตามแนวชายฝั่ง

ตามที่โฮเมอร์ได้บันทึกไว้ เกาะครีตมี 90 เมือง เมื่อพิจารณาจากที่ตั้งของพระราชวังแล้ว เกาะนี้อาจถูกแบ่งออกเป็นเมืองอย่างน้อยแปดเมืองในช่วงสูงสุดของยุคไมนอส พื้นที่ส่วนใหญ่ของไมนอสพบได้ในภาคกลางและตะวันออกของเกาะครีต โดยมีเพียงไม่กี่แห่งทางตะวันตกของเกาะ โดยเฉพาะทางใต้ ดูเหมือนว่าจะมีพระราชวังหลักสี่แห่งบนเกาะ: Knossos, Phaistos, Malia และ Kato Zakros อย่างน้อยก่อนการรวมชาติภายใต้ Knossos คิดว่าเกาะครีตตอนกลางและตอนเหนือถูกปกครองโดย Knossos ทางใต้โดย Phaistos ภาคกลางตะวันออกโดย Malia ปลายด้านตะวันออกโดย Kato Zakros ทางตะวันตกโดย Kydonia และยังพบพระราชวังขนาดเล็กที่อื่นบนเกาะอีกด้วย

แหล่งตั้งถิ่นฐานที่สำคัญ[แก้]

  • Knossos – เมืองใหญ่ที่สุด
  • Phaistos  – เมืองใหญ่รองเป็นอันดับ 2
  • Kato Zakros – ค้นพบพระราชวังริมทะเล
  • Galatas
  • Kydonia (ปัจจุบันคือชาเนีย )
  • Hagia Triada – เจออักษรLinear A จำนวนมากที่สุด
  • Gournia
  • Pyrgos – เมืองทางตอนใต้ของครีต
  • Vasiliki – เมืองทางตะวันออกของไมนอส ซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องเครื่องปั้นดินเผาอันโดดเด่น
  • Fournou Korfi – เมืองทางใต้
  • Pseira – เมืองบนเกาะที่มีสถานที่ประกอบพิธีกรรม
  • Mount Juktas – สถานที่ศักดิ์สิทธิ์บนยอดเขาไมนอสที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ซึ่งเกี่ยวข้องกับพระราชวัง Knossos
  • Arkalochori
  • Karfi  – เมืองลี้ภัย หนึ่งในเมืองสุดท้ายของไมนอส
  • Akrotiri – การตั้งถิ่นฐานบนเกาะซานโตรินี (ธีรา) ใกล้บริเวณที่ภูเขาไฟธีราเกิดปะทุ
  • Zominthos – เมืองบนภูเขาที่เชิงเขาทางเหนือของภูเขาไอดา

นอกเหนือจากเกาะครีต[แก้]

แท่งทองแดง

พ่อค้าชาวไมนอสได้มีการเดินทางติดต่อค้าขายและเผยแพร่วัฒนธรรมไปจนถึงอาณาจักรเก่าของอียิปต์ , ทองแดงจากไซปรัส , คานาอัน , ชายฝั่งเลวานไทน์ และอนาโตเลีย ในช่วงปลายปีคริสต์ศักราช 2009 จิตรกรรมฝาผนังสไตล์ไมนอสและสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ ถูกค้นพบระหว่างการขุดค้นพระราชวังคานาอันที่ Tel Kabri ประเทศอิสราเอล ซึ่งทำให้นักโบราณคดีสรุปได้ว่าอิทธิพลของไมนอสมีอิทธิพลมากที่สุดในรัฐคานาอัน สิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ของชาวไมนอสถูกค้นพบที่อิสราเอล

งานหัตถกรรมของชาวไมนอสและรูปแบบของเซรามิกมีอิทธิพลต่อกรีกสมัยเฮลลาดิคในระดับต่าง ๆ ร่วมกับซานโตรินี พบการตั้งถิ่นฐานของไมนอสที่ Kastri, Kythera ซึ่งเป็นเกาะใกล้แผ่นดินใหญ่ของกรีกที่ได้รับอิทธิพลจากชาวไมนอสตั้งแต่กลางสหัสวรรษที่สามก่อนคริสต์ศักราช (EMII) จนถึงการยึดครองของไมซีเนียนในศตวรรษที่ 13 ก่อนคริสต์ศักราช

หมู่เกาะคิคลาดีสอยู่นั้นรอบ ๆ อารยธรรมไมนอส และใกล้กับเกาะครีต หมู่เกาะคาร์พาทอส ซาเรียและคาซอสนอกจากนี้ยังมีอาณานิคมหรือการตั้งถิ่นฐานของพ่อค้าชาวไมนอสในยุคสำริดกลาง และส่วนใหญ่ก็จะถูกละทิ้งใน LMI แต่คาร์พาทอสยังสามารถที่จะฟื้นตัวและสานต่อวัฒนธรรมไมนอสไปได้จนสิ้นสุดยุคสำริด

Cretans Bringing Gifts, Tomb of Rekhmire
ภาพจิตรกรรมฝาผนังของเมืองคนอสซอสแสดงให้เห็นถึงบรรยากาศการค้าขายทางทะเลที่คึกคักของเมืองคนอสซอส

อิทธิพลทางวัฒนธรรมของไมนอสนั้นได้แผ่ขยายไปทั่วหมู่เกาะคิคลาดีสไปจนถึงอียิปต์และไซปรัส ภาพวาดในศตวรรษที่ 15 ก่อนคริสต์ศักราชในเมืองธีบส์ ประเทศอียิปต์ พรรณนาถึงชาวไมนอสที่ปรากฏตัวมาพร้อมกับของขวัญ คำจารึกที่อธิบายว่ามาจาก เกาะเคฟติอู ("เกาะกลางทะเล") อาจหมายถึงพ่อค้าหรือเจ้าหน้าที่ที่นำของขวัญมาจากเกาะครีต


การเกษตรและอาหาร[แก้]

ชาวไมนอสนั้นทำทั้งการเกษตรและปศุสัตว์ โดยในด้านปศุสัตว์ก็มีการเลี้ยงโค แกะ สุกรและแพะ ส่วนในด้านการเกษตรชาวไมนอสก็มีการปลูกพืชหลายอย่าง เช่น ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ หญ้าแฝก ถั่วชิกพี องุ่น  มะเดื่อและมะกอก และดอกป๊อปปี้ ส่วนผักต่าง ๆ รวมทั้งผักกาดหอม ขึ้นฉ่าย หน่อไม้ฝรั่ง และแครอท เติบโตในป่าบนเกาะครีต โดยในด้านของต้นแพร์ มะตูม และมะกอกเป็นพืชพื้นเมือง ส่วนต้นอินทผลัมและต้นแมวก็มีการนำเข้ามาจากอียิปต์ และชาวไมนอสก็มีการนำเอาผลทับทิมจากทางฝั่งตะวันออกใกล้มาเข้ามาปลูก แต่ไม่ได้รับมะนาวและส้มเข้ามา นอกจากนี้ชาวไมนอสยังมีการเลี้ยงผึ้งอีกด้วย

ภาพปูนเปียกปลาโลมาจาก Knossos

ชาวไมนอสอาจเคยปลูกพืชผักแบบผสมผสานและอาหารเพื่อสุขภาพที่หลากหลายและดีต่อสุขภาพของพวกเขา ส่งผลทำให้มีประชากรเพิ่มขึ้น โดยสวนผลไม้ (มะเดื่อ มะกอก และองุ่น) นั้นมีความสำคัญในการแปรรูปพืชผลสำหรับ "ผลิตภัณฑ์รอง" และการหมักไวน์จากองุ่นน่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งในระบบเศรษฐกิจแบบพระราชวัง โดยไวน์จะเป็นสินค้าเพื่อการอุปโภคและบริโภคภายในประเทศ

อาหารทะเลก็มีความสำคัญในอาหารของชาวครีตเช่นกัน เห็นได้จากความชุกของหอยที่สามารถหาได้ในบริเวณเกาะและศิลปะที่เกี่ยวข้องกับปลาและสัตว์ทะเล (รวมถึงเครื่องปั้นดินเผาสไตล์มารีนที่โดดเด่น เช่น โถโกลน ปลาหมึก ในยุค LM IIIC) บ่งบอกถึงความเคารพในสัตว์ทะเล อย่างไรก็ตามนักวิชาการเชื่อว่าทรัพยากรเหล่านี้ไม่สำคัญเท่ากับธัญพืช มะกอก และผลผลิตจากสัตว์ และกิจกรรมทางการเกษตรที่เยอะขึ้นแสดงให้เห็นจากการที่มีการก่อสร้างระเบียงและเขื่อนที่ Pseira ในช่วงปลายยุคไมนอส

พืชและไม้ดอกบางชนิดไม่ได้มีประโยชน์เพื่อใช้สอยเพียงอย่างเดียว และภาพศิลปะก็แสดงให้เห็นถึงภาพของการรวมตัวของดอกลิลลี่ในทุ่งหญ้าสีเขียว โดยภาพปูนเปียกที่รู้จักกันในชื่อ Sacred Grove ที่คนอสซอสแสดงให้เห็นผู้หญิงที่หันหน้าไปทางซ้าย ขนาบข้างด้วยต้นไม้ ซึ่งอาจจะเป็นเทศกาลเก็บเกี่ยวหรือพิธีเพื่อเป็นเกียรติแก่ความอุดมสมบูรณ์ของดิน นอกจากนี้ภาพ "แจกันเก็บเกี่ยว" (รีตันรูปไข่) ซึ่งชาย 27 คนนำโดยอีกคนหนึ่งถือกิ่งไม้เพื่อทุบมะกอกสุกจากต้นไม้ ยังปรากฏในสมัยพระราชวังที่สองอีกด้วย

แจกันเก็บเกี่ยว


สังคม การเมือง และวัฒนธรรม[แก้]

นอกเหนือจากเกษตรกรรมในท้องถิ่นที่อุดมสมบูรณ์แล้ว ชาวไมนอสยังเป็นพ่อค้าที่ค้าขายกับต่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ และในยุครุ่งเรือง พวกเขาอาจจะมีอิทธิพลที่สูงในการค้าแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยตั้งแต่หลังช่วง 1700 ปีก่อนคริสต์ศักราชขึ้นไป วัฒนธรรมของพวกเขาแสดงได้ถึงอารยธรรมระดับสูง สินค้าที่ผลิตขึ้นจากไมนอสชี้ให้เห็นถึงเครือข่ายการค้ากับกรีซแผ่นดินใหญ่ (โดยเฉพาะเมืองไมซีนี) ไซปรัส ซีเรีย อนาโตเลีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย และทางตะวันตกไปจนถึงคาบสมุทรไอบีเรีย เห็นได้ชัดว่าศาสนาไมนอสนั้นเน้นที่เทพสตรี โดยมีสตรีเป็นพิธี ในขณะที่นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีไม่เชื่อเรื่องการปกครองแบบมีครอบครัว (การปกครองแบบฉันแม่ลูก) มาช้านานแล้ว แต่การที่ผู้หญิงมีบทบาทหรืออำนาจที่เหนือกว่าผู้ชายดูเหมือนจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าสังคมไมนอสนั้นมีการปกครองแบบมีครอบครัว

สังคมและการเมือง[แก้]

ด้านสังคม สังคมจะเป็นแบบกลุ่ม พรรคพวก พี่น้อง มีหัวหน้าครอบครัวเป็นผู้นำอาศัยอยู่เป็นหมู่บ้านหรืออยู่ในบ้านใหญ่รวมกัน เมื่อสมาชิกในกลุ่มเสียชีวิตก็จะฝังในที่ฝังศพแบบครึ่งวงกลมร่วมกันพร้อมกับอาวุธ แจกัน เครื่องประดับ แม้ว่าภายหลังจะแยกหลุมศพเป็นของแต่ละคนแบบในปัจจุบัน แต่ก็ยังมีโอ่งใหญ่ใช้เป็นที่เก็บศพเด็กๆ ฝังรวมกันอยู่ หลังสุดจึงเกิดสุสานขึ้นที่เมืองซาเฟอร์-ปาปูรา (Zafer-papoura)

ภาพการบูรณะพระราชวัง Knossos

ทางด้านการเมือง ราว 2000 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีลักษณะอยู่กันเป็นแบบ”สังคมวัง” หรือคือ รอบพระราชวังเป็นเมืองเล็กบ้างใหญ่บ้าง อาจเป็นของเจ้าของที่ดินหรือพ่อค้าที่ร่ำรวย โดยมีลักษณะการสร้างที่แปลกกว่าที่อื่น คือบ้านเหล่านี้สร้างติดกับรั้วพระราชวังเลย บางเมืองไม่มีพระราชวังอยู่ในบริเวณ ที่อยู่อาศัยของคนจะเป็นลักษณะแคบ ปลูกติด ๆ กันตามริมฝั่งถนนที่ปูด้วยแผ่นหิน หรือริมถนนแคบๆ ที่มีบันไดเป็นระยะไป และทั้งพระราชวังและเมืองของอารยธรรมครีตจะไม่มีกำแพงเมือง ซึ่งตรงข้ามกับเมืองของไมเซเนียนและเมืองทางเอเชีย อาจเป็นเพราะว่าคนในแถบนี้มุ่งมั่นทำแต่การค้าระหว่างกัน โดยไม่ปรากฏว่ามีการทำสงครามกัน และครีตเองก็มีอำนาจทางทะเลมาก ความร่ำรวยของครีตบ่งบอกถึงอารยธรรมมิโนเอียน คือรสนิยมในเรื่องความสุขสบาย ความสวยงามและความหรูหรา  เมื่อราชวงศ์เอเจียนเริ่มปกครองครีต จึงมีการรวมอำนาจมาไว้ที่ส่วนกลาง รวมทั้งด้านการเงินและผลิตผลต้องมารวมอยู่ในพระราชวัง โดยที่คนอสซอสจะมีกลุ่มคนที่ทำหน้าที่ช่วยพระราชาบริหารประเทศ ซึ่งก็คือพวกสคริป (Scribes) ทำหน้าที่ทางด้านการจดบันทึกและทำบัญชีผลิตผลของพระราชวังโดยจดลงบนแผ่นดินเหนียว ภายในพระราชฐานจะมีอาคารสำหรับเก็บผลิตผล สร้างเป็นอาคารใหญ่มีทางเดินอยู่ตรงกลาง สองข้างเป็นช่องหินสำหรับใส่โลหะมีค่าหรือของมีค่า บางแห่งก็วางโถใหญ่สำหรับบรรจุเมล็ดพืชหรืออาหาร เช่น ถั่วหรือผลไม้ตากแห้ง เป็นต้น  โดยของพวกนี้จะใช้สำหรับเลี้ยงดูข้าราชสำนัก และใช้จ่ายแทนเงินในพิธีทางศาสนาหรือใช้จ่ายเป็นเงินเดือน นอกจากนี้ของจากพระราชวังที่ทำด้วยเซรามิก กระเบื้อง เครื่องเงินทองหรือหินมีค่า ผลิตภัณฑ์ของช่างเหล่านี้จะถูกประทับตราพระราชวงศ์ และส่งออกไปขายยังอาณาจักรอื่น ๆ และอีกอย่างหนึ่ง กองทัพครีตมีพระราชาเป็นผู้นำทัพ และใช้ทหารจ้างผิวดำมาเป็นทหาร ซึ่งจะสังเกตได้ว่ามีการบริหารบ้านเมืองคล้ายแบบอียิปต์

การแต่งกาย[แก้]

La Parisienne fresco

ขนแกะเป็นเส้นใยหลักที่ใช้ในสิ่งทอ ซึ่งอาจเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ แต่ผ้าลินินจากต้นแฟลกซ์นั้นมีน้อยมาก จึงอาจจะมีการนำเข้ามาจากอียิปต์หรือปลูกในท้องถิ่นเอา ตามศิลปะไมนอส ผู้ชายชาวไมนอสมักจะสวมผ้าเตี่ยว (ถ้ายากจน) หรือเสื้อคลุมหรือกระโปรงสั้นพับจีบที่มักจะยาว ส่วนผู้หญิงสวมเดรสยาวแขนสั้นและกระโปรงเป็นชั้น ๆ สำหรับทั้งสองเพศ เอวตัวต่อขนาดเล็กมีความสำคัญอย่างมากในงานศิลปะ และทั้งสองเพศมักมีเข็มขัดคาดหรือคาดเอวค่อนข้างหนา ผู้หญิงยังสามารถสวมเสื้อท่อนบนที่ไม่มีสายหนังเข้ารูป และรูปแบบเสื้อผ้ามีการออกแบบทางเรขาคณิตที่สมมาตร ผู้ชายถูกมองว่าเป็นคนโกนเกลี้ยงเกลา และผมของผู้ชายนั้นสั้น ในรูปแบบที่เป็นเรื่องปกติในปัจจุบัน ยกเว้นปอยผมยาวบางที่ด้านหลัง บางทีสำหรับผู้ชายที่อายุน้อย โดยทั่วไปแล้วผมผู้หญิงจะแสดงด้วยปอยผมยาวที่ด้านหลัง เช่นเดียวกับในภาพปูนเปียกที่รู้จักกันในชื่อ La Parisienne สิ่งนี้ได้ชื่อมาเพราะเมื่อมีการค้นพบในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 นักประวัติศาสตร์ศิลปะชาวฝรั่งเศสคิดว่ามันคล้ายกับผู้หญิงชาวปารีสในสมัยนั้น ในส่วนเด็ก ๆ ในงานศิลปะภาพวาดปูนเปียกจะมีการโกนหัว (มักเป็นสีน้ำเงินในงานศิลปะ) ยกเว้นผมที่ยาวมาก ๆ สองสามเส้น ผมที่เหลือจะได้รับอนุญาตให้เติบโตเมื่อพวกเขาเข้าสู่วัยแรกรุ่น ซึ่งสามารถเห็นได้จากภาพวาดปูนเปียก Akrotiri Boxer

Young boxers fresco

สถาปัตยกรรม[แก้]

โมเดลบ้านไมนอสที่พบใน Archanes

เมืองไมนอสเชื่อมต่อกันด้วยถนนแคบ ๆ ที่ปูด้วยท่อนไม้ที่ตัดด้วยเลื่อยทองสัมฤทธิ์ ถนนถูกระบายออก และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านน้ำและสิ่งปฏิกูลมีให้สำหรับชนชั้นสูงผ่านท่อดินเหนียว อาคารไมนอสมักมีหลังคาเรียบและกระเบื้อง ปูนปลาสเตอร์ ไม้หรือพื้นกระเบื้อง และมีความสูงสองถึงสามชั้น ผนังด้านล่างมักจะสร้างด้วยหินและเศษหินหรืออิฐ และผนังด้านบนเป็นอิฐโคลน ไม้เพดานยกหลังคาขึ้น วัสดุก่อสร้างสำหรับวิลล่าและพระราชวังแตกต่างกันไป รวมถึงหินทราย ยิปซั่ม และหินปูน เทคนิคการก่อสร้างก็หลากหลายเช่นกัน โดยพระราชวังบางแห่งใช้อิฐแอชลาร์และส่วนอื่น ๆ ที่สกัดด้วยหินขนาดใหญ่ ในภาคเหนือตอนกลางของครีต blue-greenschist ถูกใช้เพื่อปูพื้นถนนและสนามหญ้าระหว่าง 1650 ถึง 1600 ปีก่อนคริสต์ศักราช หินเหล่านี้น่าจะถูกขุดขึ้นมาใน Agia Pelagia บนชายฝั่งทางเหนือของตอนกลางของเกาะครีต

การประปา[แก้]

ท่อระบายน้ำของพระราชวัง Knossos

ในช่วงยุคไมนอส มีการสร้างทางน้ำที่กว้างขวางเพื่อเลี้ยงประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ระบบนี้มีหน้าที่หลักสองประการ ประการแรกคือการจัดหาและการจ่ายน้ำ และประการที่สองคือการย้ายสิ่งปฏิกูลและน้ำฝน การกำหนดลักษณะอย่างหนึ่งของยุคไมนอสคือความสำเร็จทางสถาปัตยกรรมของการจัดการสิ่งปฏิกูล ชาวไมนอสใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น บ่อน้ำ อ่างเก็บน้ำ และท่อระบายน้ำเพื่อจัดการแหล่งน้ำ นอกจากนี้ลักษณะโครงสร้างของอาคารก็มีส่วนด้วย หลังคาที่เรียบและลานเปิดโล่งจำนวนมากใช้สำหรับเก็บน้ำเพื่อเก็บไว้ในถังเก็บน้ำ ที่สำคัญชาวไมนอสมีอุปกรณ์บำบัดน้ำ อุปกรณ์ดังกล่าวชิ้นหนึ่งดูเหมือนจะเป็นท่อดินเหนียวที่มีรูพรุนซึ่งอนุญาตให้น้ำไหลผ่านจนสะอาด

เครื่องปั้นดินเผา[แก้]

แจกันสไตล์มารีนจาก Palaikastro , AMH, (1575–1500 BC)

เครื่องถ้วยชามที่มีรูปแบบและเทคนิคการผลิตที่หลากหลายสามารถพบเห็นได้ตลอดประวัติศาสตร์ของเกาะครีต เซรามิกไมนอสในยุคแรกมีลักษณะเฉพาะด้วยลวดลายเกลียว สามเหลี่ยม เส้นโค้ง กากบาท กระดูกปลา และปากนก อย่างไรก็ตาม แม้ว่าลวดลายทางศิลปะจำนวนมากจะคล้ายคลึงกันในสมัยไมนอสตอนต้น แต่ก็มีความแตกต่างในกระบวนการวิธีทำเครื่องปั้นดินเผาซึ่งแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายในด้านรสนิยมและโครงสร้างทางอำนาจ นอกจากนี้ยังมีรูปปั้นดินเผาขนาดเล็กจำนวนมาก

ในช่วงยุคกลางของไมนอส การออกแบบที่เป็นธรรมชาติ (เช่น ปลา ปลาหมึก นก และดอกลิลลี่) เป็นเรื่องปกติ ในช่วงปลายยุคไมนอส ดอกไม้และสัตว์ยังคงมีลักษณะเฉพาะแต่มีความหลากหลายมากขึ้น แต่ก็ตรงกันข้ามกับภาพวาดบนแจกันกรีกโบราณในยุคหลัง ภาพวาดของมนุษย์นั้นหายากมาก และภาพวาดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบนบกนั้นไม่ธรรมดาจนกระทั่งถึงช่วงปลาย รูปทรงและเครื่องประดับมักถูกยืมมาจากเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารที่ทำจากโลหะซึ่งส่วนใหญ่ใช้ไม่ได้ ในขณะที่การตกแต่งที่ทาสีน่าจะมาจากจิตรกรรมฝาผนังเป็นส่วนใหญ่

ศาสนาและความเชื่อ[แก้]

รูปแกะสลักเทพธิดางูไมนอส

ทางด้านศาสนา เกี่ยวกับพระราชวังอีกลักษณะพิเศษของครีตอีกอย่างก็คือ บนเกาะครีตไม่มีวัด เวลามีพิธีทางศาสนาจะทำ กันตามถ้ำในภูเขาสูงหรือในห้องพิธีทางศาสนาของราชวัง ที่เป็นห้องขนาดย่อม พระราชาผู้เป็นทั้งพระและกษัตริย์ก็จะเสด็จมาทำพิธี ดังที่กล่าวมาข้างต้นว่าชาวทะเลเอเจียนนับถือรูปปั้นผู้หญิงมาแต่ดั้งเดิม ครีตก็เช่นกัน แต่สมัยนั้นเป็นรูปปั้นผู้หญิงคนเดียว เรียกกันว่า เจ้าแม่ ส่วนมากรูปปั้นเจ้าแม่จะอยู่ในลักษณะเปลือย คาดว่าคงเป็นธรรมเนียมทางศาสนา เพราะคนธรรมดาแต่งตัวอย่างสง่างามด้วยเสื้อที่ปกปิดมิดชิด การที่คนนับถือเจ้าแม่ทำให้สังคมยกย่องสตรี สตรีจึงมีเสรีภาพในการที่จะไปไหนมาไหนได้ตามต้องการ มีบทบาทสำคัญ ในพิธีทางศาสนา ต่อมาผู้ชายสร้างพระเจ้าขึ้นมา แต่ก็ยังเป็นรองเจ้าแม่ เพราะจะออกมาในฐานะเป็นลูกชายของเจ้าแม่และมีวัวกระทิงเป็นสัญลักษณ์

การล่มสลายของอารยธรรมไมนอส[แก้]

ระหว่างปี 1935 และ 1939 นักโบราณคดีชาวกรีก ศ.สปิริโดน นิโคเลา มารีนาโตส ได้เสนอทฤษฎีการปะทุของไมนอส การปะทุบนเกาะธีรา  (ปัจจุบันคือซานโตรินี) ห่างจากเกาะครีตประมาณ 100 กิโลเมตร เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา LM IA (1550–1500 ปีก่อนคริสต์ศักราช) การระเบิดของภูเขาไฟครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่เคยบันทึกไว้ มันปล่อยควันออกมาประมาณ 60 ถึง 100 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความรุนแรงระดับที่ 7 ตามดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ การปะทุได้ทำลายล้างนิคมไมนอสที่อยู่ใกล้เคียงที่ Akrotiri บนซานโตรินี ซึ่งถูกฝังอยู่ในชั้นหินภูเขาไฟ แม้ว่าจะเชื่อกันว่าส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อวัฒนธรรมไมนอสของเกาะครีต แต่ก็ยังมีการถกเถียงถึงผลกระทบของมัน  ทฤษฎีแรก ๆ เสนอว่าเถ้าภูเขาไฟจากภูเขาไฟธีราได้ทำลายสรรพชีวิตในทางตะวันออกของเกาะ ครีต ทำให้ประชากรในท้องถิ่นอดอยาก อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบอย่างละเอียดยิ่งขึ้น ระบุว่ามีเถ้าถ่านจากการระเบิดของภูเขาไฟที่ตกลงบนเกาะครีตนั้นหนาไม่เกิน 5 มิลลิเมตร

การปะทุของภูเขาไฟธีรา 1650 ปีก่อนคริสต์ศักราชบนเกาะซานโตรินีเชื่อว่ามีส่วนทำให้การล่มสลายของไมนอส

จากหลักฐานทางโบราณคดี การศึกษาระบุว่าสึนามิขนาดมหึมาที่เกิดจากการระเบิดของธีราได้ทำลายชายฝั่งของเกาะครีตและทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของชาวไมนอสจำนวนมาก ถึงแม้ว่ายุค LM IIIA (ปลายไมนอส) อารยธรรมไมนอสจะมีฐานะที่มั่งคั่งและมีอิทธิพลสูง แต่ในช่วง LM IIIB (หลายศตวรรษหลังจากการปะทุ)ความร่ำรวยและอิทธิพลของไมนอสก็ได้ลดลง และยังได้มีการพบหลักฐานชิ้นสำคัญเหนือชั้นเถ้าถ่านเถ้าถ่านของไมนอสช่วงปลาย นั่นหมายความว่าการปะทุของธีราไม่ได้ทำให้เกิดการล่มสลายของอารยธรรมไมนอสในทันที อย่างไรก็ตามการปะทุของธีราอาจทำใหัเศรษฐกิจตกต่ำเป็นอย่างมาก โดยในช่วงปลายยุคไมนอสที่ 2 ชาวไมซีเนียนสามารถพิชิตชาวไมนอสได้ และพบอาวุธของชาวไมซีเนียนในการฝังศพบนเกาะครีตไม่นานหลังจากการปะทุ นักโบราณคดีหลายคนเชื่อว่าการปะทุดังกล่าวก่อให้เกิดวิกฤต ทำให้ไมนอสเสี่ยงที่จะถูกโจมตีโดยไมซีเนียน แม้ว่าการล่มสลายของอารยธรรมจะได้รับมีแรงสนับสนุนจากการปะทุของภูเขาไฟธีรา แต่จุดจบของอารยธรรมไมนอสก็น่าจะมาจากการถูกพิชิต หลักฐานทางโบราณคดีชี้ให้เห็นว่าเกาะนี้ถูกทำลายด้วยการถูกเผาโดยพระราชวังที่คนอสซอสได้รับความเสียหายน้อยกว่าสถานที่อื่นๆบนเกาะครีต เนื่องจากภัยพิบัติทางธรรมชาติไม่ได้ส่งผลกระทบต่อมันมากนัก จึงอาจเกิดจากที่ผู้บุกรุกที่อาจยึดพระราชวังเช่นคนอสซอสไว้ใช้เอง

นอกจากนี้นักโบราณคดีหลายคนได้พบว่าที่ตั้งของอารยธรรมไมนอสนั้นเกินขีดความสามารถในการรับรองสิ่งแวดล้อม (ค่าสูงสุดของกิจกรรมที่พื้นที่นั้นจะสามารถรองรับได้ โดยที่สิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศยังไม่เสื่อมโทรม)และจากการสำรวจทางโบราณคดีที่คนอสซอสแสดงถึงการตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่ในระยะหลังของอารยธรรม

อ้างอิง[แก้]

  1. Durant, The Life of Greece (The Story of Civilization Part II, (New York: Simon & Schuster) 1939:11.
  2. John Bennet, "Minoan civilization", Oxford Classical Dictionary, 3rd ed., p. 985.
  3. Manning, Sturt W; Ramsey, CB; Kutschera, W; Higham, T; Kromer, B; Steier, P; Wild, EM (2006). "Chronology for the Aegean Late Bronze Age 1700–1400 BC". Science. 312 (5773): 565–569. Bibcode:2006Sci...312..565M. doi:10.1126/science.1125682. PMID 16645092. S2CID 21557268.
  4. Friedrich, Walter L; Kromer, B; Friedrich, M; Heinemeier, J; Pfeiffer, T; Talamo, S (2006). "Santorini Eruption Radiocarbon Dated to 1627–1600 B.C". Science. 312 (5773): 548. doi:10.1126/science.1125087. PMID 16645088. S2CID 35908442.
  5. "Chronology". Thera Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-09. สืบค้นเมื่อ 2009-01-03.
  6. Balter, M (2006). "New Carbon Dates Support Revised History of Ancient Mediterranean". Science. 312 (5773): 508–509. doi:10.1126/science.312.5773.508. PMID 16645054. S2CID 26804444.
  7. Warren PM (2006). Czerny E, Hein I, Hunger H, Melman D, Schwab A (บ.ก.). Timelines: Studies in Honour of Manfred Bietak (Orientalia Lovaniensia Analecta 149). Louvain-la-Neuve, Belgium: Peeters. pp. 2: 305–321. ISBN 978-90-429-1730-9.

ดูเพิ่ม[แก้]