จักรวรรดิบรูไน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรวรรดิบรูไน
รัฐสุลต่านบรูไน

Kesultanan Brunei
ค.ศ. 1368–1888
ธงชาติบรูไน
สถานะ
รัฐบริวารของจักรวรรดิมัชปาหิต (ค.ศ. 1368-1425)

รัฐเอกราช (ค.ศ. 1425-1888)
เมืองหลวงโกตาบาตู
กัมปงอาเยอร์
เมืองบรูไน[1]
ภาษาทั่วไปภาษามลายูบรูไน, ภาษามลายูเก่า, ภาษาตากาล็อกเก่า, ภาษาอาหรับ และกลุ่มภาษาบอร์เนียว
ศาสนา
อิสลามนิกายซุนนี
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบอิสลาม
สุลต่าน (จนถึงจักรวรรดิสุดท้าย) 
• 1368–1402
สุลต่านมูฮัมหมัด ชาห์
• 1425–1432
สุลต่านชารีฟ อาลี
• 1485–1524
โบลเกียะฮ์
• 1582–1598
สุลต่านมูฮัมหมัด ฮัสซัน
• 1828–1852
โอมาร์ อาลี ไซฟุดดีนที่ 2
• 1885–1906[2]
ฮาชิม จาลีลุล อาลัม อากามัดดิน
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้งรัฐสุลต่าน
ค.ศ. 1368
• กลายเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ
1888
สกุลเงินแลกเปลี่ยนสินค้า, เบี้ย, Piloncitos และปีติซบรูไนในเวลาต่อมา
ก่อนหน้า
ถัดไป
ประวัติศาสตร์บรูไน#ก่อนรัฐสุลต่าน
มัชปาหิต
รัฐสุลต่านซูลู
รัฐสุลต่านซาราวัก
อินเดียตะวันออกของสเปน
หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์
ราชแห่งซาราวัก
คราวน์โคโลนีลาบวน
บอร์เนียวเหนือ
บรูไน
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบรูไน
อินโดนีเซีย
มาเลเซีย
ฟิลิปปินส์

จักรวรรดิบรูไน (มลายู: Kesultanan Brunei, كسولتانن بروني) หรือ รัฐสุลต่านบรูไน เป็นรัฐสุลต่านมลายูที่มีศูนย์กลางที่บรูไน ซึ่งอยู่ริมชายฝั่งทางเหนือของเกาะบอร์เนียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้นำบรูไนเข้ารับอิสลามในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยขยายดินแดนมากขึ้นนับตั้งแต่การพิชิตมะละกาของโปรตุเกส[3][4] โดยขยายไปทั่วชายฝั่งบอร์เนียวและฟิลิปปินส์ ก่อนที่จะเสื่อมสลายในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง 18[5]

ประวัติศาสตร์นิพนธ์[แก้]

การเข้าใจประวัติศาสตร์จักรวรรดิบรูไนเป็นเรื่องยากเพราะไม่ค่อยมีการพูดถึงในเอกสารเวลานั้น ทำให้ต้องพึ่งเอกสารจีนที่กล่าวถึงการก่อตั้งบรูไนช่วงแรก[6] โบนี (Boni) ในข้อมูลจีนน่าจะหมายถึงบอร์เนียวตะวันตก ในขณะที่ โปลี (Poli; 婆利) ที่อาจจะตั้งอยู่ที่เกาะสุมาตรา มักจะถูกกล่าวว่าหมายถึงบรูไนด้วย

ในสมัยของสุลต่านโบลเกียห์ ซึ่งเป็นสุลต่านองค์ที่ 5 ของบรูไน บรูไนมีอำนาจครอบคลุมเกาะบอร์เนียวทั้งหมด และบางส่วนของฟิลิปปินส์ เช่น เกาะมินดาเนา ซึ่งถือเป็นยุคทองของบรูไน กองทัพบรูไนมีกองทัพเรือที่แข็งแกร่ง บางส่วนเป็นโจรสลัดในทะเลจีนใต้ และชายฝั่งของเกาะบอร์เนียว หลักฐานทางตะวันตกชิ้นแรกที่กล่าวถึงบรูไนคืองานเขียนของชาวอิตาลี ลูโดวิโก ดี วาร์เทมา ผู้เดินทางมายังหมู่เกาะโมลุกกะและแวะพักที่เกาะบอร์เนียวเมื่อราว พ.ศ. 2093

อ้างอิง[แก้]

  1. Hussainmiya 2010, pp. 67.
  2. Yunos 2008.
  3. Holt, Lambton & Lewis 1977, pp. 129.
  4. Andaya & Andaya 2015, pp. 159.
  5. CIA Factbook 2017.
  6. Jamil Al-Sufri 2000.