จักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2)
จักรวรรดิฝรั่งเศส

Empire français
ค.ศ. 1852–ค.ศ. 1870
จักรวรรดิฝรั่งเศสที่สองในปี ค.ศ. 1861
จักรวรรดิฝรั่งเศสที่สองในปี ค.ศ. 1861
สถานะจักรวรรดิภายใต้รัฐธรรมนูญ
เมืองหลวงปารีส
ภาษาทั่วไปภาษาฝรั่งเศส
ศาสนา
ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
การปกครองรัฐเดี่ยว ลัทธิโบนาปาร์ต ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ราชาธิปไตยแบบอัตตาธิปไตย
จักรพรรดิ 
• 1852 - 1870
นโปเลียนที่ 3
นายกรัฐมนตรี 
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
วุฒิสภา
สภานิติบัญญัติ (Corps législatif)
ประวัติศาสตร์ 
2 ธันวาคม ค.ศ. 1851
• ก่อตั้ง
ค.ศ. 1852
• สิ้นสุด
4 กันยายน ค.ศ. 1870
สกุลเงินฟรังก์ฝรั่งเศส
ก่อนหน้า
ถัดไป
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3
จักรวรรดิเยอรมัน

จักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง (ฝรั่งเศส: Deuxième Empire français; มีชื่ออย่างเป็นทางการ คือ จักรวรรดิฝรั่งเศส ฝรั่งเศส: Empire français) เป็นจักรวรรดิของราชวงศ์โบนาปาร์ตที่ปกครองโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ดำรงอยู่ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1852 จนถึง 27 ตุลาคม ค.ศ. 1870 รวมระยะเวลาทั้งหมด 18 ปี โดยเป็นช่วงที่อยู่ระหว่างสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2 และสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3

หลายครั้งที่นักประวัติศาสตร์ในช่วงทศวรรษที่ 1930 และ 1940 มองระบอบการปกครองของจักรวรรดิที่สองว่าเป็นไปในทางลบในฐานะเผด็จการฟาสซิสต์[2] แต่ในระยะหลังการตีความในลักษณะเช่นนี้นำมาใช้ไม่ได้อีกต่อไป และในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 จักรวรรดิถูกมองว่าเป็นระบอบการปกครองที่มีความทันสมัย[3][4] นักประวัติศาสตร์ประเมินนโยบายทางต่างประเทศของจักรวรรดิในเชิงลบ แต่กลับประเมินนโยบายภายในประเทศในเชิงบวก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่นโปเลียนที่ 3 ได้ดำเนินการปกครองไปในทางเสรีนิยมในปี ค.ศ. 1858 พระองค์ได้สนับสนุนกิจการธุรกิจและการส่งออกของฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก ผลสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจักรวรรดิก็คือการปรับปรุงพัฒนาทางด้านวัตถุ โดยมีการปรับปรุงเครือข่ายระบบรถไฟขนานใหญ่ สามารถอำนวยความสะดวกทางการค้าและเชื่อมโยงประเทศเข้าด้วยกัน โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ปารีส ส่งผลทำให้เศรษฐกิจของฝรั่งเศสเติบโตอย่างรวดเร็ว และนำพาความเจริญกระจายไปทั่วภูมิภาคของประเทศ จักรวรรดิที่สองเป็นที่รู้จักอย่างยิ่งในฐานะที่เป็นยุคแห่งการบูรณะกรุงปารีสขนานใหญ่อย่างงดงาม มีการปรับปรุงถนนให้กว้างและมีทัศนียภาพที่สวยงามขึ้น ปรับปรุงอาคารและสวนสาธารณะ และปรับปรุงย่านที่พักอาศัยอย่างหรูหรา ทำให้เป็นที่ดึงดูดของชาวปารีสเป็นจำนวนมาก

จากนโยบายทางต่างประเทศของจักรรวรรดิ ทำให้นโปเลียนที่ 3 ถูกมองว่าต้องการตามรอยพระปิตุลาของพระองค์ โดยเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการของนานาประเทศทั่วโลก รวมถึงเข้าไปมีส่วนร่วมกับสงครามหลายครั้งในยุโรป โดยชัยชนะครั้งแรกของจักรวรรดิคือการได้รับชัยชนะต่อสงครามไครเมีย และสงครามในอิตาลี โดยฝรั่งเศสได้รับนิสและซาวอยเป็นการตอบแทน มีการใช้แนวทางในการแผ่อำนาจที่รุนแรงเป็นอย่างมาก โดยมีการก่อตั้งจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสในแอฟริกาเหนือ หรือแม้แต่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เองก็ตาม นโปเลียนที่ 3 พยายามส่งทหารเข้าแทรกแซงการเมืองเม็กซิโก หวังจะสถาปนาจักรวรรดิเม็กซิโกที่สองขึ้นเป็นดินแดนในอารักขาฝรั่งเศส แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ในปลายรัชสมัยของพระองค์ต้องเผชิญกับมหาอำนาจที่กำลังขยายตัวอย่างปรัสเซีย และพบว่าพระองค์ไม่มีพันธมิตรในการต่อสู้กับกองทัพเยอรมันเลยแม้แต่น้อย[5] การปกครองของนโปเลียนที่ 3 ได้สิ้นสุดในช่วงสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย หลังจากพระองค์ถูกจับเป็นเชลยในยุทธการเซอด็อง ในปี ค.ศ. 1870 พระองค์ได้ลี้ภัยจากฝรั่งเศส และสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1873 ขณะอาศัยอยู่สหราชอาณาจักร

ประวัติศาสตร์[แก้]

รัฐประหารปี ค.ศ. 1851[แก้]

ในวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1851 หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ต ซึ่งเป็นประธานาธิบดีเพียงคนเดียวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2 ที่มาจากการเลือกตั้ง ได้กระทำการรัฐประหาร โดยการยุบสมัชชาแห่งชาติ ซึ่งเขาไม่มีสิทธิตามรัฐธรรมนูญที่จะทำเช่นนั้น ด้วยเหตุนี้ หลุยส์-นโปเลียนจึงกลายเป็นผู้ปกครองฝรั่งเศสแต่เพียงผู้เดียว และได้ประกาศให้สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งที่ก่อนหน้านี้ได้ยกเลิกไปโดยสมัชชาแห่งชาติ การประกาศครั้งนี้ทำให้เขาเป็นที่ยอมรับจากสาธารณชนกันอย่างแพร่หลาย จากการลงประชามติในเดือนธันวาคม ซึ่งเขาได้รับความนิยมเป็นอย่างมากถึง 92 เปอร์เซนต์[6]

ในการลงประชามติครั้งนั้น รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้รับการอนุมัติ และประกาศใช้อย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม ค.ศ. 1852 รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ทำให้หลุยส์-นโปเลียนดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อเป็นเวลา 10 ปี โดยไม่มีการเลือกตั้งใหม่ อำนาจการปกครองทั้งหมดจึงตกอยู่ในมือของเขา อย่างไรก็ตาม หลุยส์-นโปเลียนไม่เพียงต้องการแค่เป็นประธานาธิบดีเท่านั้น แทบทันทีที่เขาลงนามรับรองรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ เขาเริ่มฟื้นฟูระบอบจักรวรรดิขึ้นมาใหม่ เพื่อตอบสนองต่อการร้องขออย่างเป็นทางการสำหรับการกลับมาของจักรวรรดิ วุฒิสภาจึงกำหนดให้มีการลงประชามติครั้งที่สองในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งได้รับความนิยมถึง 97 เปอร์เซนต์ เช่นเดียวกับการลงประชามติครั้งที่แล้ว ซึ่งคะแนนเสียงที่เลือก "ใช่" ส่วนใหญ่เป็นคะแนนเสียงอากาศ[7]

จักรวรรดิได้รับการจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1852 และประธานาธิบดีก็ได้สถาปนาตนเป็น "นโปเลียนที่ 3 จักรพรรดิแห่งชาวฝรั่งเศส" อันที่จริงรัฐธรรมนูญได้รวบอำนาจเบ็ดเสร็จให้อยู่ในมือของเขาอยู่แล้ว แต่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเพียงอย่างเดียวคือการแทนคำว่า "ประธานาธิบดี" ไปเป็น "จักรพรรดิ" เท่านั้น การลงประชามติที่ได้รับความนิยมเป็นสัญญาณที่แสดงถึงการกลับมาของลัทธิโบนาปาร์ตอย่างเด่นชัด ซึ่งชาร์ล เดอ โกลล์จะใช้แนวทางลักษณะนี้ในภายหลัง[7]

ช่วงแรกของจักรวรรดิ[แก้]

การประกาศจัดตั้งอย่างเป็นทางการของจักรวรรดิที่สอง ณ ออแตลเดอวีล เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1852

นโปเลียนที่ 3 ได้ให้ความสำคัญกับการก่อสร้างระบบทางรถไฟให้มีสภาพที่ดีขึ้นเป็นลำดับแรก เขาได้ควบรวมกลุ่มกิจการธุรกิจประมาณ 36 แห่ง ไปเป็นบริษัทขนาดใหญ่จำนวน 6 แห่ง โดยให้กรุงปารีสเป็นศูนย์กลาง ทำให้กรุงปารีสมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งทางประชากร, อุตสาหกรรม, การคลัง, กิจการพาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว การบูรณะกรุงปารีสขนานใหญ่ก็เกิดในช่วงเวลานี้ด้วยเช่นกัน นโปเลียนที่ 3 ได้ใช้จ่ายเงินอย่างฟุ่มเฟือยเพื่อต้องการบูรณะกรุงปารีสใหม่อย่างงดงาม และเป็นผลงานระดับโลก[8] ความมั่นคงทางการเงินของหกบริษัทได้รับการค้ำประกันจากรัฐบาล ถึงแม้ว่าจักรวรรดิฝรั่งเศสจะตั้งต้นได้อย่างเชื่องช้า แต่ภายในปี ค.ศ. 1870 ฝรั่งเศสกลับมีระบบทางรถไฟที่ดีเยี่ยม มีระบบถนนหนทาง คลอง และท่าเรือที่มีประสิทธิภาพเช่นกัน[9]

นโปเลียนพยายามที่จะฟื้นฟูเกียรติของจักรวรรดิอีกครั้ง แต่กลับถูกสาธารณชนแสดงความคิดเห็นอย่างหนักหน่วง มีการผ่อนคลายมาตรการที่เข้มงวดและเปิดเสรีมากขึ้น หลังจากที่เดินทางกลับจากอิตาลี เขาจึงประกาศใช้กฎหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้ที่ต่อต้านเขาทั้งหมด ในวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 1859 ซึ่งสิ่งนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความพยายามของนโปเลียนที่จะเปลี่ยนฝรั่งเศสให้เป็น "จักรวรรดิเสรี" (Liberal Empire) โดยดำรงอยู่เป็นระยะเวลาประมาณ 10 ปี

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

Public Domain บทความนี้ ประกอบด้วยข้อความจากสิ่งพิมพ์ซึ่งปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติChisholm, Hugh, บ.ก. (1911). สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. {{cite encyclopedia}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)

อ้างอิง[แก้]

  1. White, Richard Grant (1861). National Hymns. How They are Written and how They are Not Written: A Lyric and National Study for the Times. New York City, New York: Rudd & Carleton. p. 59.
  2. Price (2015), p. 272.
  3. Price (1996), p. 4–10.
  4. Spitzer (1962), p. 308-329.
  5. Wolf (1963), p. 275.
  6. Dieter Nohlen & Philip Stöver (2010) Elections in Europe: A data handbook, pp. 673–683 ISBN 978-3-8329-5609-7
  7. 7.0 7.1 Milza, Pierre (2006). Napoléon III (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: Tempus. pp. 277–279. ISBN 9782262026073.
  8. Pinkney, David H. (1957). "Money and Politics in the Rebuilding of Paris, 1860-1870". The Journal of Economic History. 17 (1): 45–61. doi:10.1017/S0022050700059866. JSTOR 2114706.
  9. J.H. Clapham, Economic development of France and Germany 1815-1914 (1936) pp 147–150

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

การสำรวจ[แก้]

  • Baguley, David. Napoleon III and His Regime: An Extravaganza (2000) excerpt and text search
  • Bury, J. Napoleon III and the Second Empire (1964)
  • Echard, William E. "Historical Dictionary of the French Second Empire, 1852-1870 online
  • McMillan, James. Napoleon III (1991)
  • Price, Roger. Napoleon III and the Second Empire (1997)
  • Plessis, Alain, and Jonathan Mandelbaum. The Rise and Fall of the Second Empire, 1852 - 1871 (The Cambridge History of Modern France) (1988) excerpt and text search
  • Smith, W.H.C. Second Empire and Commune: France 1848–71 (1985) 98pp

การเมืองการปกครอง[แก้]

  • Berenson, E. Populist Religion and Left-Wing Politics in France, 1830–52 (1984)
  • Bertocci, P. Jules Simon: Republican anticlericalism and cultural politics in France, 1848–86 (1978)
  • Bury, J. and Tombs, R. Thiers, 1797–1877. A Political Life (1986)
  • Elwitt, S. The Making of the 3rd Republic: Class and Politics in France 1868–84 (1975)
  • Payne, H. The Police State of Louis-Napoleon Bonaparte, 1851–60 (1966)
  • Price, Roger. The French Second Empire: An Anatomy of Political Power (2001) online
  • Zeldin, Theodore. The Political System of Napoleon III (1958)

การทูต และ การทหาร[แก้]

  • Adriance, T. The Last Gaiter Button. A Study of the Mobilization and Concentration of the French Army in the War of 1870 (1987)
  • Anderson, R. Education in France, 1848–70 (1975)
  • Case, Lynn M. French Opinion on War and Diplomacy during the Second Empire (1954) online
  • Echard, W. Napoleon III and the Concert of Europe (1983)
  • Holmes, R., The Road to Sedan: The French Army 1866–70, London 1984
  • Howard, Michael. The Franco-Prussian War (1967)

สังคม และ เศรษฐกิจ[แก้]

  • Gibson, R. A Social History of French Catholicism 1789–1914 (1989)
  • Gildea, R. Education in Provincial France, 1800–1914 (1983)
  • Pinkney, David, Napoleon III and the Rebuilding of Paris, Princeton 1958
  • Price, Roger. The French Second Republic. A Social History (1972)

Historiography[แก้]

  • Campbell, S. The Second Empire Revisited: A Study in French Historiography (1978)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 48°49′N 2°29′E / 48.817°N 2.483°E / 48.817; 2.483