อาณาจักรมัชปาหิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาณาจักรมัชปาหิต

Kemaharajaan Majapahit (ภาษาอินโดนีเซีย)
ꦏꦫꦠꦺꦴꦤ꧀ꦩꦗꦥꦲꦶꦠ꧀ (ภาษาชวา)
विल्व तिक्त (ภาษาสันสกฤต)
ค.ศ.1292–1527
[1]
เมืองหลวงมัชปาหิต (บางครั้งเรียกตามชื่อสันสกฤตว่า วิลวาติกตา) (ปัจจุบัน โตรวูลาน), ดาหา (เกดิริสมัยใหม่)
ภาษาทั่วไปชวาเก่า (ทั่วไป), สันสกฤต (ทางศาสนา)
ศาสนา
ฮินดู, พุทธ, เกจาเวิน, วิญญาณนิยม, อิสลาม[2]: 19 
การปกครองราชาธิปไตย
ราชา 
• 1295–1309
ระเด่น วิชัย
• 1334–1389
ฮะยัม วูรุ
• 1498–1527
กิรินดราวาร์ดานา (คิรินทรวัฒนะ)
มหาปติห์ 
• c. 1336–1364
กาชาห์ มาดา
ประวัติศาสตร์ 
• สถาปนา
10 พฤศจิกายน[3] ค.ศ.1292
• สุลต่านเดอมะล้มบัลลังก์
1527
สกุลเงินเกอเป็ง[4]
ก่อนหน้า
ถัดไป
สิงหะส่าหรี
อาณาจักรศรีวิชัย
รัฐสุลต่านเดอมะ
อาณาจักรบาหลี

อาณาจักรมัชปาหิต เป็นอาณาจักรในชวาตะวันออก มีอำนาจอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1293 ถึงประมาณ ค.ศ. 1527. กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งมัชปาหิต คือ ฮะยัม วูรุ (Hayam Wuruk) ครองราชย์ ในช่วง ค.ศ. 1350 - 1389 นับเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของอาณาจักรแห่งนี้ โดยได้ขยายอำนาจไปทั่วแหลมมลายูตอนใต้ บอร์เนียว สุมาตรา บาหลี และฟิลิปปินส์

มัชปาหิตนั้น เป็นอาณาจักรฮินดูแห่งสุดท้ายในหมู่เกาะมลายู ก่อนนี้มีอาณาจักรศรีวิชัย และได้ขยายอำนาจสู่หมู่เกาะต่าง ๆ ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้

ผู้สถาปนาอาณาจักรมัชปาหิต ก็คือ เกอร์ตาราชสา (Kertarajasa) หรือ ระเด่นวิชัย ลูกเขยของกษัตริย์แห่งอาณาจักรสิงหะส่าหรี ซึ่งอยู่บนเกาะชวาเช่นกัน หลังจากสิงหสารีแผ่อำนาจกว้างไกลจนกลุ่มศรีวิชัยต้องถอยออกไปจากเกาะชวา ใน ค.ศ. 1290 อำนาจอันยิ่งใหญ่ของสิงหสารีก็เป็นที่สนใจแก่กุบไลข่านในจีน[5] ซึ่งได้ส่งทูตมาขอเครื่องราชบรรณาการ ในเวลานั้นการ์ตะนคร ผู้ปกครองอาณาจักรสิงหสารีทรงปฏิเสธที่จะส่งมอบเครื่องราชบรรณาการ กุบไลข่านจึงส่งกองเรือถึง 1,000 ลำมาประชิดชายฝั่งชวา ในปี ค.ศ. 1293[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Hall, D. G. E. (1965). "Problems of Indonesian Historiography". Pacific Affairs. 38 (3/4): 353. doi:10.2307/2754037. JSTOR 2754037.
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ricklefs
  3. Mahandis Y. Thamrin (September 2012). "10 November, Hari Berdirinya Majapahit" (ภาษาอินโดนีเซีย). National Geographic Indonesia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-26. สืบค้นเมื่อ 27 May 2015.
  4. Ooi, Keat Gin, บ.ก. (2004). Southeast Asia: a historical encyclopedia, from Angkor Wat to East Timor (3 vols). Santa Barbara: ABC-CLIO. ISBN 978-1576077702. OCLC 646857823. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-08. สืบค้นเมื่อ 2019-02-27.
  5. Muljana, Slamet (2006). Menuju puncak kemegahan: sejarah kerajaan Majapahit (Cetakan 2 ed.). Yogyakarta: LKiS. ISBN 978-979-8451-35-5.
  6. "10 November, Hari Berdirinya Majapahit". web.archive.org. 2015-05-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-26. สืบค้นเมื่อ 2021-08-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  1. Surya Majapahit (the Sun of Majapahit) is the emblem commonly found in Majapahit ruins. It served as the symbol of the Majapahit empire.