อาริสโตเติล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อริสโตเติล)
อาริสโตเติล
สำเนาหินอ่อนแบบโรมันของรูปปั้นครึ่งตัวบรอนซ์แบบกรีกรูปอาริสโตเติลโดย Lysippos ประมาณ 330 ปีก่อน ค.ศ. พร้อมทั้งผ้าคลุมหินอะลาบาสเตอร์สมัยใหม่
เกิด384 ปีก่อนคริสตกาล
สตะไยระ สันนิบาติแคลซิเดียน
เสียชีวิต322 ปีก่อนคริสตกาล (อายุประมาณ 62 ปี)
เกาะยูบีอา จักรวรรดิมาเกโดนีอา
ยุคปรัชญากรีกโบราณ
แนวทางปรัชญาตะวันตก
สำนัก
ความสนใจหลัก
  • ชีววิทยา
  • สัตววิทยา
  • จิตวิทยา
  • ฟิสิกส์
  • อภิปรัชญา
  • ตรรกศาสตร์
  • จริยศาสตร์
  • วาทศาสตร์
  • สุนทรียศาสตร์
  • ดนตรี
  • บทกวี
  • เศรษฐศาสตร์
  • การเมือง
  • การปกครอง
แนวคิดเด่น
ได้รับอิทธิพลจาก
เป็นอิทธิพลต่อ
  • นักปรัชญาตะวันตก ปรัชญาอิสลาม ปรัชญาคริสต์ และวิทยาศาสตร์ก่อนยุคเรืองปัญญาในเวลาต่อมาแทบทุกคน

อาริสโตเตแลส (กรีก: Ἀριστοτέλης, Aristotélēs, [a.ris.to.té.lɛːs]) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อภาษาอังกฤษว่า อาริสโตเติล (อังกฤษ: Aristotle, 384–322 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักปรัชญาและผู้รู้รอบด้านชาวกรีกระหว่างสมัยคลาสสิกในกรีซโบราณ เป็นศิษย์ของเพลโต ผู้ก่อตั้งไลเซียม, สำนักปรัชญาเพริพาเททิก และขนบอาริสโตเติล งานนิพนธ์ของเขาครอบคลุมหลายสาขาวิชารวมทั้งฟิสิกส์ ชีววิทยา สัตววิทยา อภิปรัชญา ตรรกศาสตร์ จริยศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ บทกวี การละคร ดนตรี วาทศาสตร์ จิตวิทยา ภาษาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมืองและการปกครอง อาริสโตเติลเป็นผู้สังเคราะห์อย่างซับซ้อนซึ่งปรัชญาต่าง ๆ ที่มีอยู่ก่อนหน้าเขา เหนืออื่นใดโลกตะวันตกได้รับเอาศัพทานุกรมทางปัญญาจากคำสอน ตลอดจนปัญหาและวิธีการสอบสวนของเขา ผลทำให้ปรัชญาของเขาส่งอิทธิพลเป็นเอกลักษณ์ต่อความรู้แทบทุกแบบในโลกตะวันตก และยังเป็นหัวข้อการอภิปรายทางปรัชญาร่วมสมัย

ทั้งนี้ ชีวิตของเขาไม่ค่อยเป็นที่ทราบเท่าใดนัก อาริสโตเติลเกิดในนครสตะไยระ (Stagira) ในภาคเหนือของกรีซ บิดาเขาเสียชีวิตตั้งแต่ยังเยาว์ และผู้ปกครองเป็นผู้เลี้ยงดูเขาต่อมา ครั้นอายุได้ 17 หรือ 18 ปี เขาเข้าร่วมอะคาเดมีของเพลโตในเอเธนส์และอยู่ที่นั่นจนอายุได้ 37 ปี (ประมาณ 347 ปีก่อน ค.ศ.) ไม่นานหลังเพลโตเสียชีวิต อาริสโตเติลออกจากเอเธนส์ และเป็นพระอาจารย์ให้แก่อเล็กซานเดอร์มหาราชเริ่มตั้งแต่ 343 ปีก่อน ค.ศ. โดยคำขอของพีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา เขาตั้งห้องสมุดในไลเซียมซึ่งช่วยให้เขาเขียนหนังสือหลายร้อยเล่มบนม้วนกระดาษปาปิรุส อาริสโตเติลเขียนศาสตร์นิพนธ์และบทสนทนาอันสละสลวยจำนวนมากสำหรับเผยแพร่ แต่มีผลงานดั้งเดิมเพียงประมาณหนึ่งในสามเท่านั้นที่เหลือรอดสืบมา ซึ่งเขาไม่ได้ตั้งใจเผยแพร่ทั้งสิ้น

ทัศนะต่อวิทยาศาสตร์กายภาพของอาริสโตเติลมีผลให้เกิดวิชาการสมัยกลางอย่างลึกซึ้ง อิทธิพลจากทัศนะของอาริสโตเติลคงอยู่ตั้งแต่สมัยโบราณตอนปลายจนถึงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา จนกระทั่งในยุคเรืองปัญญา ทฤษฎีอย่างกลศาสตร์ดั้งเดิมเข้าแทนที่ทัศนะของอาริสโตเติลอย่างเป็นระบบ คนไม่เชื่อถือข้อสังเกตทางสัตววิทยาบางประการของอาริสโตเติลพบในผลงานชีววิทยาของเขาจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 เช่น เรื่องแขนสืบพันธุ์ของหมึก ผลงานของเขามีการศึกษาตรรกศาสตร์รูปนัยเก่าแก่ที่สุด ซึ่งมีอิทธิพลมาจนคริสต์ศตวรรษที่ 19 เช่นกัน เขายังมีอิทธิพลต่อความคิดของอิสลามในสมัยกลาง ตลอดจนเทววิทยาศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคตินิยมแบบเพลโตใหม่ (Neoplatonism) ในคริสตจักรสมัยต้น และขนบลัทธิอัสมาจารย์ของโรมันคาทอลิก อาริสโตเติลได้รับการยกย่องในหมู่นักวิชาการอิสลามสมัยกลางว่าเป็น "ปฐมครู" และในหมู่คริสต์ศาสนิกชนสมัยกลางอย่างทอมัส อไควนัสว่าเป็น "นักปรัชญาหนึ่งเดียว" จริยศาสตร์ของเขาได้รับความสนใจใหม่เมื่อมีการริเริ่มจริยศาสตร์คุณธรรมสมัยใหม่

ประวัติ[แก้]

อาริสโตเติลกำลังครุ่นคิด

อาริสโตเติล หรือเกิดเมื่อประมาณ 384 หรือ 383 ปีก่อนคริสตกาลที่เมืองสตากิรา (Stagira) ในแคว้นมาเซโดเนีย (Macedonia) ซึ่งเป็นแคว้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือสุดของทะเลอีเจียน (Aegean Sea) ของประเทศกรีก เป็นบุตรชายของนายนิโคมาคัส (Nicomachus) ซึ่งมีอาชีพทางการแพทย์ประจำอยู่ที่เมืองสตาราเกีย และยังเป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระเจ้าอมินตัสที่ 2 (King Amyntas II) แห่งมาซิโดเนีย

ในวัยเด็กนั้นผู้ที่ให้การศึกษาแก่อาริสโตเติลคือบิดาของเขานั้นเองซึ่งเน้นหนักไปในด้านธรรมชาติวิทยา เมื่อเขาอายุได้ 18 ปีก็ได้เดินทางไปศึกษาต่อกับปรัชญาเมธีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคนั้นคือ เพลโต ในกรุงเอเธนส์ (Athens) ในระหว่างการศึกษาอยู่กับเพลโต 20 ปีนั้นทำให้อาริสโตเติลเป็นนักปราชญ์ที่ลือนามต่อมาจากเพลโต ต่อมาเมื่อเพลโตถึงแก่กรรมในปี 347 ปีก่อนคริสต์ศักราช อาริสโตเติลจึงเดินทางไปรับตำแหน่งเป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ในปี 343 - 342 ก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาในปี 336 ก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระเจ้าฟิลิป พระองค์จึงได้พระราชทานทุนให้แก่อาริสโตเติลเพื่อจัดตั้งโรงเรียนที่สตากิราชื่อไลเซียม (Lyceum)

ในการทำการศึกษาและค้นคว้าของอาริสโตเติลทำให้เขาเป็นผู้รอบรู้สรรพวิชา และได้เขียนหนังสือไว้มากมายประมาณ 400 - 1000 เล่ม ซึ่งงานต่าง ๆ ที่ได้เขียนขึ้นมานั้น ได้มีอิทธิพลต่อความเชื่อในศาสนาคริสต์จวบจนกระทั่งยุคกลางหรือยุคมืด ซึ่งมีเวลาประมาณ 1,500 ปีเป็นอย่างน้อย

ปรัชญาทฤษฎี[แก้]

ตรรกศาสตร์พจน์[แก้]

อาริสโตเติลเป็นผู้เขียน Prior Analytics ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็นงานศึกษาตรรกศาสตร์รูปนัยที่มีอายุมากที่สุด[1] และมโนทัศน์ตรรกศาสตร์ของเขาเป็นตรรกศาสตร์ตะวันตกรูปที่ครอบงำจนมีความก้าวหน้าในคณิตตรรกศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19[2]

ออร์กานอน[แก้]

ตรรกบทแบบหนึ่งของอาริสโตเติล[A]
คำ พจน์[B] สมการ[C]
    บุรุษทุกคนต้องตาย

    กรีกทุกคนเป็นบุรุษ

กรีกทุกคนต้องตาย
M a P

S a M

S a P

สิ่งที่ปัจจุบันเรียก ตรรกศาสตร์แบบอาริสโตเติลและตรรกบทประเภทต่าง ๆ (วิธีการให้เหตุผลเชิงตรรกะ)[3] อาริสโตเติลเองเรียกว่า ศาสตร์การวิเคราะห์ (analytics) คำว่า "logic" นั้นเขาสงวนไว้หมายถึงวิภาษวิธี งานส่วนใหญ่ของอาริสโตเติลอาจไม่อยู่ในรูปดั้งเดิม เพราะน่าจะมีการแก้ไขโดยนักเรียนและผู้สอนในภายหลัง งานเชิงตรรกะของอาริสโตเติลมีการรวบรวมเป็นหนังสือหกเล่มชื่อ ออร์กานอน เมื่อประมาณ 40 ปีก่อน ค.ศ.[5]

การวิเคราะห์งานเขียนของอาริสโตเติลเริ่มจากพื้นฐาน คือ การวิเคราะห์พจน์อย่างง่าย, การวิเคราะห์ประพจน์และความสัมพันธ์มูลฐาน, การศึกษาตรรกบทและวิภาษวิธี

อภิปรัชญา[แก้]

สาระ[แก้]

อาริสโตเติลพิจารณามโนทัศน์ของสาระ (ousia) และสารัตถะ (to ti ên einai) ในหนังสือ Metaphysics (Book VII) เขาสรุปว่าสสารหนึ่งเป็นสสาร (matter) และรูป (form) ประกอบกัน เป็นทฤษฎีปรัชญาชื่อ สสารรูปนิยม (hylomorphism) ใน Book VIII เขาแยกแยะสสารของสาระเป็น substratum หรือสิ่งที่ประกอบเป็นสสาร ตัวอย่างเช่น สสารของบ้านคือ อิฐ หิน ไม้ ฯลฯ หรือสิ่งอื่นที่ประกอบเป็นบ้าน ส่วนรูปของสสารคือบ้านที่แท้จริง กล่าวคือ "สิ่งที่คุ้มร่างกายและทรัพย์" หรือ differentia อื่นที่ทำให้นิยามสิ่งหนึ่งว่าบ้าน สูตรซึ่งให้ส่วนประกอบเป็น account ของสสาร และสูตรที่ให้ differentia เป็น account ของรูป[6][7]

สัจนิยมภายใน[แก้]

ทฤษฎีของเพลโตว่า รูปมีอยู่เป็นสากล เช่น รูปในอุดมคติของแอปเปิ้ล แต่อาริสโตเติลเห็นว่าทั้งสสารและรูปเป็นของปัจเจก (สสารรูปนิยม)

ปรัชญาของอาริสโตเติลมุ่งที่ระดับสากล (universal) เช่นเดียวกับครูเพลโตของเขา ภววิทยาของอาริสโตเติลวางระดับสากล (katholou) ในรายละเอียด (kath' hekaston) สิ่งที่อยู่ในโลก ในขณะที่สำหรับเพลโตแล้ว ภาวะสากลเป็นรูปที่มีอยู่แยกกันซึ่งสิ่งที่แท้จริงเลียนแบบ แต่สำหรับอาริสโตเติล "รูป" เป็นภาพนิ่งซึ่งเป็นพื้นฐานของปรากฏการณ์ แต่เป็น "ตัวอย่างประกอบ" (instantiated) ในสสารหนึ่ง ๆ[7]

เพลโตให้เหตุผลว่าทุกสิ่งมีรูปสากล ซึ่งอาจเป็นคุณสมบัติหรือความสัมพันธ์กับสิ่งอื่น ตัวอย่างเช่น เมื่อเราดูลูกแอปเปิ้ล เราเห็นแอปเปิ้ล และเราสามารถวิเคราะห์รูปของแอปเปิ้ลได้ด้วย ในลักษณะนี้ มีแอปเปิ้ลเฉพาะรายและรูปสากลของแอปเปิ้ล ยิ่งไปกว่านั้น เราสามารถวางแอปเปิ้ลไว้ข้างหนังสือ เพื่อที่เราสามารถพูดถึงทั้งหนังสือและแอปเปิ้ลว่าอยู่ข้างกัน เพลโตให้เหตุผลว่ามีรูปสากลบางอย่างซึ่งไม่ใช่ส่วนหนึ่งของสิ่งเฉพาะ ตัวอย่างเช่น มีความเป็นไปได้ว่าไม่มีความดีเฉพาะส่วนอยู่ แต่ "ความดี" ยังเป็นรูปสากลแท้ อาริสโตเติลไม่เห็นด้วยกับเพลโตในข้อนี้ โดยให้เหตุผลว่าระดับสากลทั้งหมดเป็นตัวอย่างที่อยู่ในบางช่วงเวลา และไม่มีระดับสากลใดที่ไม่ยึดโยงกับสิ่งที่มีอยู่แล้ว นอกจากนี้ อาริสโตเติลยังไม่เห็นด้วยกับเพลโตเกี่ยวกับตำแหน่งของระดับสากล เมื่อเพลโตพูดถึงโลกของรูป ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีรูปสากลทั้งหมดอยู่ อาริสโตเติลยืนยนัว่าระดับสากลนั้นมีอยู่ในทุกสิ่งซึ่งระดับสากลเป็นภาคแสดง (predicated) ฉะนั้น อาริสโตเติลจึงว่า รูปของแอปเปิ้ลมีอยู่ในทุกลูก มากกว่าในโลกของรูป[7][8]

ศักยภาพและภาวะจริง[แก้]

เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง ( kinesis ) และสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงในขณะนี้ ตามที่เขากำหนดไว้ในPhysics and On Generation and Corruption 319b–320a เขาแยกความแตกต่างที่จะเกิดขึ้นจาก:

  1. การเจริญเติบโตและการลดลงซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงของปริมาณ
  2. การเคลื่อนไหวซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงในอวกาศ และ
  3. การเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงในคุณภาพ
อริสโตเติลแย้งว่าความสามารถเช่นการเล่นขลุ่ยสามารถได้มาซึ่งศักยภาพที่เกิดขึ้นจริงโดยการเรียนรู้

สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือการเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีสิ่งใดคงอยู่ซึ่งผลลัพธ์คือคุณสมบัติ ในการเปลี่ยนแปลงนั้น เขาได้แนะนำแนวคิดของศักยภาพ ( ไดนามิก ) และความเป็นจริง ( entelecheia ) ร่วมกับเรื่องและรูปแบบ หมายถึงศักยภาพ นี่คือสิ่งที่สามารถทำได้หรือดำเนินการได้หากเงื่อนไขถูกต้องและสิ่งอื่นไม่ได้ป้องกัน ตัวอย่างเช่น เมล็ดพืชในดินอาจเป็นพืช ( ไดนาไม ) และหากไม่ได้รับสิ่งกีดขวาง มันจะกลายเป็นพืช สิ่งมีชีวิตที่มีศักยภาพสามารถ 'กระทำ' ( poiein ) หรือ 'ถูกกระทำตาม' ( Paschein) ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้เองหรือเรียนรู้ก็ได้ ตัวอย่างเช่น ดวงตามีศักยภาพในการมองเห็น (โดยกำเนิด - ถูกกระทำ) ในขณะที่ความสามารถในการเล่นขลุ่ยสามารถถูกครอบงำโดยการเรียนรู้ (การออกกำลังกาย - การแสดง) ความเป็นจริงคือการเติมเต็มจุดสิ้นสุดของศักยภาพ เพราะจุดจบ ( telos ) เป็นหลักการของการเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง และเพื่อประโยชน์ในการสิ้นสุดจึงมีศักยภาพ ดังนั้นความจริงก็คือจุดจบ จากตัวอย่างก่อนหน้านี้ อาจกล่าวได้ว่าความจริงก็คือเมื่อโรงงานทำกิจกรรมอย่างหนึ่งที่พืชทำ[9]

เพื่อประโยชน์ของสิ่งนั้น ( แก่ hou heneka ) สิ่งนั้นคือ หลักการของมัน และการบังเกิดมีขึ้นเพื่อประโยชน์ของที่สุด และความเป็นจริงก็คือจุดจบ และเพื่อประโยชน์ในการนี้ที่ได้มาซึ่งศักยภาพ เพราะสัตว์ทั้งหลายไม่ได้ดูเพื่อที่พวกมันจะได้มองเห็น แต่มีไว้เพื่อมองเห็น[10]

โดยสรุปเรื่องที่ใช้ทำบ้านมีศักยภาพที่จะเป็นบ้านทั้งกิจกรรมการสร้างและรูปแบบของบ้านหลังสุดท้ายเป็นเรื่องจริงซึ่งเป็นสาเหตุหรือจุดจบในที่สุด จากนั้นอริสโตเติลดำเนินการและสรุปว่าความเป็นจริงอยู่ก่อนศักยภาพในสูตร ในเวลา และในสาระสำคัญ ด้วยคำจำกัดความของสสารเฉพาะ (เช่น สสารและรูปแบบ) อริสโตเติลพยายามแก้ปัญหาเกี่ยวกับความสามัคคีของสิ่งมีชีวิต เช่น "อะไรที่ทำให้มนุษย์เป็นหนึ่งเดียวกัน"? เนื่องจากเพลโตมีแนวคิดสองประการ: สัตว์และสัตว์สองเท้า แล้วมนุษย์เป็นเอกภาพได้อย่างไร? อย่างไรก็ตาม ตามคำกล่าวของอริสโตเติล ศักยภาพ (สสาร) และตัวตนที่แท้จริง (รูปแบบ) เป็นหนึ่งเดียวกัน[9][11]

ญาณวิทยา[แก้]

สัจนิยมภายในของอาริสโตเติลหมายความว่าญาณวิทยาของเขาอาศัยการศึกษาสิ่งที่มีอยู่หรือเกิดขึ้นในโลก แล้วยกไปสู่ความรู้สากล ส่วนญาณวิทยาของเพลโตเริ่มต้นจากความรู้รูปสากล (หรือความคิด) แล้วลดระดับลงเมาเป็นความรู้การเลียนแบบเฉพาะรายของรูปสากลนั้น[12] อาริสโตเติลใช้การอุปนัยจากตัวอย่างควบคู่กับนิรนัย ส่วนเพลโตอาศัยนิรนัยจากหลักการ a priori[12]

ปรัชญาธรรมชาติ[แก้]

"ปรัชญาธรรมชาติ" ของอาริสโตเติลครอบคลุมปรากฏการณ์ธรรมชาติหลากหลายซึ่งรวมถึงสิ่งที่จัดอยู่ในวิชาฟิสิกส์ ชีววิทยาหรือวิทยาศาสตร์ธรรมชาติอื่นในปัจจุบัน[13] ในอภิธานของอาริสโตเติล "ปรัชญาธรรมชาติ" เป็นปรัชญาแขนงหนึ่งที่สอบสวนปรากฏการณ์ในโลกธรรมชาติ งานของอาริสโตเติลครอบคลุมการสอบสวนทางปัญญาแทบทุกแง่มุม อาริสโตเติลทำให้ปรัชญามีความหมายอย่างกว้างอยู่รวมกับการใช้เหตุผล ซึ่งเขาจะเรียกว่าเป็น "ศาสตร์" แต่พึงทราบว่าการใช้คำว่า "ศาสตร์" ของเขานั้นมีความหมายแตกต่างจากสิ่งที่ครอบคลุมด้วยคำว่าวิธีการทางวิทยาศาสตร์ อาริสโตเติลเขียนว่า "ศาสตร์ (dianoia) ทุกชนิดเป็นเชิงปฏิบัติ บทกวีหรือทฤษฎี" ศาสตร์เชิงปฏิบัติของเขารวมถึงจริยศาสตร์และการเมือง ศาสตร์บทกวีของเขาหมายความถึงการศึกษาวิจิตรศิลป์รวมทั้งบทกวี ศาสตร์ทฤษฎีของเขาครอบคลุมฟิสิกส์ คณิตศาสตร์และอภิปรัชญา[13]

ฟิสิกส์[แก้]

ห้าธาตุ[แก้]

ในหนังสือ On Generation and Corruption อาริสโตเติลเชื่อมโยงสี่ธาตุที่เสนอก่อนหน้านี้โดย Empedocles ได้แก่ ดิน น้ำ ลมและไฟ กับคุณสมบัติที่สัมผัสได้สองจากสี่อย่าง ได้แก่ ร้อน เย็น เปียกและแห้ง ตามแผนของ Empedocles สสารทั้งหมดประกอบขึ้นจากสี่ธาตุในสัดส่วนแตกต่างกัน แผนของอาริสโตเติลเพิ่มธาตุอีเทอร์ (Aether) จากสวรรค์ ซึ่งเป็นสสารของทรงกลมสวรรค์ คือ ดาวฤกษ์และดาวเคราะห์[14]

ธาตุของอาริสโตเติล[14]
ธาตุ ร้อน/เย็น เปียก/แห้ง การเคลื่อนที่ สถานะของสสารสมัยใหม่
ดิน เย็น แห้ง ลง ของแข็ง
น้ำ เย็น เปียก ลง ของเหลว
ลม ร้อน เปียก ขึ้น แก๊ส
ไฟ ร้อน แห้ง ขึ้น พลาสมา
อีเทอร์ (สสารเทวะ) เป็นวงกลม
(บนสวรรค์)

การเคลื่อนที่[แก้]

กฎการเคลื่อนที่ของอาริสโตเติลมีว่าวัตถุตกลงพื้นด้วยความเร็วแปรผันตรงกับน้ำหนักและแปรผกผันกับความหนาแน่นของของไหลที่เป็นตัวกลาง[15] ซึ่งเป็นการประมาณที่ถูกต้องสำหรับวัตถุในสนามความโน้มถ่วงของโลกที่เคลื่อนที่ในอากาศหรือน้ำ[16]

อาริสโตเติลอธิบายการเคลื่อนที่ไว้สองแบบ คือ "การเคลื่อนที่รุนแรง" หรือ "ไม่เป็นธรรมชาติ" เช่น การขว้างหิน และ "การเคลื่อนที่ธรรมชาติ" เช่น วัตถุที่ตกลงพื้น ในการเคลื่อนที่รุนแรง เมื่อตัวการหยุดออกแรงกระทำ การเคลื่อนที่ก็หยุดเช่นกัน กล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า สภาพธรรมชาติของวัตถุคือการอยู่กับที่[17] เนื่องจากอาริสโตเติลไม่ได้พิจารณาแรงเสียดทานด้วย[15] ด้วยความเข้าใจนี้ จะสังเกตได้ตามที่อาริสโตเติลกล่าวว่า วัตถุหนัก (เช่น อยู่บนพื้น) ต้องใช้แรงมากกว่าในการทำให้วัตถุขยับ ละวัตถุที่ถูกผลักด้วยแรงที่มากกว่าจะเคลื่อนที่เร็วกว่า[18]

ใน Physics (215a25) อาริสโตเติลระบุกฎจำนวนว่า ความเร็ว v ของวัตถุที่ตกลงแปรผันตรง (กำหนดค่าคงที่ตัวหนึ่งขึ้นมาคือ c) กับน้ำหนัก W และแปรผกผันกับความหนาแน่น[D] ρ ของของไหลที่เป็นตัวกลาง[16][15]

อาริสโตเติลส่อความว่าในสุญญากาศความเร็วของการตกจะไม่มีที่สิ้นสุด และสรุปจากความไม่สมเหตุสมผลนี้ว่าสุญญากาศจะมีอยู่ไม่ได้[16][15]

อาร์คิมิดีสแก้ไขทฤษฎีของอาริสโตเติลว่าวัตถุที่เคลื่อนที่เข้าสู่สถานที่พักตามธรรมชาติของมัน เรือโลหะสามารถลอยน้ำได้หากมันแทนที่น้ำมากพอ การลอยขึ้นอยู่กับแผนของอาร์คิมิดีสว่าด้วยมวลและปริมาตรของวัตถุ ไม่ใช่ความคิดเรื่ององค์ประกอบมูลฐานของวัถตุของอาริสโตเติล[16]

งานเขียนของอาริสโตเติลว่าด้วยการเคลื่อนที่ยังมีอิทธิพลอยู่จนสมัยใหม่ตอนต้น กล่าวกันว่ากาลิเลโอแสดงด้วยการทดลองว่าข้ออ้างของอาริสโตเติลเรื่องวัตถุที่หนักกว่าจะตกลงสู่พื้นเร็วกว่าวัตถุที่เบากว่าไม่ถูกต้อง[13] ส่วนคาร์โล โรเวลลี นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีความเห็นแย้งว่า ฟิสิกส์การเคลื่อนที่ของอาริสโตเติลถูกต้องในขอบเขตความสมเหตุสมผล ที่ว่าวัตถุในสนามความโน้มถ่วงของโลกจมอยู่ในของไหลเช่นอากาศ ในระบบนี้ วัตถุที่หนักกว่าตกลงอย่างคงที่เดินทางเร็วกว่าวัตถุที่เบากว่า (ไม่ว่าคิดแรงเสียดทานหรือไม่)[16] และวัตถุจะตกลงช้าลงในตัวกลางที่หนาแน่นกว่า[18]

สี่เหตุ[แก้]

อาริสโตเติลให้เหตุผลโดยอาศัยแนวเทียบงานไม้ว่าสิ่งเกิดรูปมาได้จากสี่เหตุ ในกรณีของโต๊ะ ไม้ที่ใช้ (เหตุวัตถุ) การออกแบบ (เหตุรูปนัย) อุปกรณ์และเทคนิคที่ใช้ (สัมฤทธิเหตุ) และวัตถุประสงค์เพื่อการตกแต่งหรือใช้งาน (อันตเหตุ)[19]

อาริสโตเติลเสนอว่าเหตุผลของทุกสิ่งสามารถบอกได้ว่ามาจากปัจจัยสี่ชนิด

  • เหตุวัตถุ (material cause) อธิบายวัตถุของประกอบขึ้นเป็นวัตถุ ตัวอย่างเช่น เหตุวัตถุของโต๊ะคือไม้ ไม่ใช่เหตุเกี่ยวกับการกระทำ ไม่ได้หมายความว่าโดมิโนแท่งหนึ่งล้มทับอีกแท่งหนึ่ง[20]
  • เหตุรูปนัย (formal cause) เป็นรูปของวัตถุ คือ การจัดเรียงของสสาร เป็นการบอกว่าสิ่งหนึ่งคืออะไร สิ่งนั้นตัดสินจากนิยาม รูป แปรูป สารัตถะ ภาวะสังเคราะห์หรือแม่แบบ กล่าวอย่างง่ายว่า เหตุรูปนัยคือความคิดที่อยู่ในใจของประติมากรซึ่งนำให้ปั้นประติมากรรมนั้น ตัวอย่างอย่างง่ายของเหตุรูปนัยคือภาพทางจิตหรือความคิดซึ่งทำให้ศิลปิน สถาปนิกหรือวิศวกรวาดภาพ[20]
  • สัมฤทธิเหตุ (efficient cause) เป็น "บ่อเกิดปฐมภูมิ"เสนอว่าตัวการทุกชนิด ทั้งที่ไม่มีชีวิตหรือมีชีวิต ที่เป็นบ่อเกิดของการเปลี่ยนแปลง การเคลื่อนที่หรือการหยุดนิ่ง เหตุดังกล่าวครอบคลุมนิยามสมัยใหม่ของ "สาเหตุ" ว่าเป็นตัวการหรือเหตุการณ์เฉพาะหรือสภาพหนึ่ง ในกรณีโดมิโนสองชิ้น เมื่อชิ้นแรกล้มลงจะทำให้ชิ้นที่สองล้มลงตาม[20] ในกรณีของสัตว์ สัมฤทธิเหตุกล่าวถึงการเจริญจากไข่ และการทำงานของร่างกาย[21]
  • อันตเหตุ (final cause, telos) เป็นวัตถุประสงค์ สาเหตุที่มีหรือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตรงกับความคิดเหตุจูงใจ (motivating cause) สมัยใหม่ เช่น ความจงใจ (volition)[20] ในกรณีสิ่งมีชีวิต ส่อความถึงการปรับตัวกับวิถีชีวิตเฉพาะ[21]

ทัศนศาสตร์[แก้]

อาริสโตเติลอธิบายการทดลองในวิชาทัศนศาสตร์โดยใช้กล้องทาบเงาใน Problems เล่มที่ 15 อุปกรณ์ดังกล่าวประกอบด้วยห้องมืดโดยเจาะช่องขนาดเล็กให้แสงผ่าน เมื่อใช้กล้องดังกล่าว เขาเห็นว่าไม่ว่าเจาะรูเป็นรูปใดก็ตาม จะเห็นภาพดวงอาทิตย์เป็นทรงกลมเสมอ เขายังสังเกตว่าการเพิ่มระยะห่างระหว่างช่องกับพื้นผิวภาพจะขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น[22]

ความบังเอิญและการเกิดเอง[แก้]

อาริสโตเติลกล่าวว่า ความบังเอิญ (chance) และการเกิดเอง (spontaneity) เป็นสาเหตุของบางสิ่ง ซึ่งแยกจากเหตุอย่างอื่น เช่น เป็นเพียงความจำเป็น (necessity) ความบังเอิญที่เป็นเหตุที่มีความสำคัญรองลงมาอยู่ในขอบเขตของอุบัติเหตุ (accident) "จากสิ่งที่เกิดเอง" นอกจากนี้ ยังมีความบังเอิญอีกชนิดหนึ่งที่จำเพาะกว่า ซึ่งอาริสโตเติลตั้งชื่อว่า "โชค" (luck) ซึ่งใช้กับตัวเลือกจริยธรรมของบุคคลเท่านั้น[23][24]

ดาราศาสตร์[แก้]

อาริสโตเติลหักล้างข้ออ้างของดิมอคริตัสที่ว่าทางช้างเผือกเกิดขึ้นจาก "ดาวฤกษ์ที่ถูกเงาของโลกบดบังจากรัศมีดวงอาทิตย์" โดยชี้ให้เห็นอย่างถูกต้องว่าหาก "ดวงอาทิตย์มีขนาดใหญ่กว่าโลก และระยะห่างของดาวฤกษ์กับโลกนั้นไกลกว่าระยะห่างจากดวงอาทิตย์ถึงโลกหลายเท่า แล้วดวงอาทิตย์จะส่องแสงไปยังดาวฤกษ์ทั้งหมดโดยที่โลกจะบังไว้ไม่ได้"[25]

ธรณีวิทยา[แก้]

อาริสโตเติลเป็นคนแรก ๆ ที่บันทึกการสังเกตทางภูมิศาสตร์ เขากล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์นั้นช้าเกินกว่าจะสังเกตได้ในชั่วชีวิตของบุคคลคนหนึ่ง[26][27]

ชีววิทยา[แก้]

อาริสโตเติลบรรยายหนวดสืบพันธุ์ของหมึก (ล่างซ้าย) นับเป็นข้อสังเกตสัตววิทยายุคบุกเบิกอย่างหนึ่ง

การวิจัยเชิงประจักษ์[แก้]

อาริสโตเติลเป็นบุคคลแรกที่ศึกษาชีววิทยาอย่างเป็นระบบ และชีววิทยาเป็นส่วนใหญ่ของงานเขียนของเขา เขาใช้เวลาสองปีศึกษาและบรรยายสัตววิทยาของเลสบอสและทะเลโดยรอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลากูนไพรา (Pyrrha) ที่อยู่กลางเกาะ[28][29] ข้อมูลของเขารวบรวมจากข้อสังเกตของเขาเอง[30] คำแถลงของผู้มีความรู้ชำนัญพิเศษอย่างคนเลี้ยงผึ้งและชาวประมง และบันทึกที่ไม่ค่อยแม่นยำนักที่ได้จากนักเดินทางจากต่างถิ่น[31] การเน้นเกี่ยวกับสัตว์มากกว่าพืชนั้นเป็นความบังเอิญทางประวัติศาสตร์ กล่าวคือ งานเกี่ยวกับพฤกษศาสตร์ของเขาสูญหายไป แต่งานเกี่ยวกับพืชของศิษย์เขาเหลือรอดต่อมา[32]

อาริสโตเติลรายงานสัตว์ทะเลที่เห็นจากการสังเกตบนเลสบอสและสัตว์น้ำที่ชาวประมงจับได้ เขาอธิบายปลาดุก ปลากระเบนไฟฟ้าและปลากบอย่างละเอียด ตลอดจนชั้นเซฟาโลพอด เช่น หมึกและอาร์โกนอต (argonaut) คำบรรยายหนวดผสมพันธุ์ (hectocotyl arm) ของเซฟาโลพอดนั้น คนส่วนใหญ่ไม่เชื่อกันจนคริสต์ศตวรรษที่ 19[33] เขาให้คำบรรยายอย่างแม่นยำของกระเพาะสี่ห้องของสัตว์เคี้ยวเอื้อง[34] และการเจริญของตัวอ่อนแบบฟักไข่ในตัวของปลาฉลามหมา (houndshark)[35]

เขาสังเกตว่าโครงสร้างของสัตว์ตรงกับการทำหน้าที่พอดี ฉะนั้นในหมู่นก นกกระสาซึ่งอาศัยอยู่ในหนองบึงที่มีโคลนอ่อนและอาศัยจับปลา จึงมีคอและขายาว และมีจะงอยปากแหลมคล้ายหอก ส่วนเป็ดที่ว่ายน้ำได้จะมีขาสั้นและเท้าเป็นพังผืด[36] ทั้งนี้ ชาลส์ ดาร์วินสังเกตข้อแตกต่างระหว่างสัตว์ชนิดคล้ายกันเหล่านี้ด้วย แต่เขาใช้ข้อมูลสรุปเป็นทฤษฎีวิวัฒนาการซึ่งต่างจากอาริสโตเติล สำหรับผู้อ่านสมัยใหม่ งานเขียนของอาริสโตเติลเข้าใกล้การส่อความถึงวิวัฒนาการ แต่ถึงแม้อาริสโตเติลทราบว่ามีการกลายพันธุ์หรือพันธุ์ผสมเกิดขึ้นได้ แต่เขามองว่าเป็นอุบัติเหตุที่เกิดน้อย สำหรับอาริสโตเติล อุบัติเหตุเป็นเหมือนคลื่นความร้อนในฤดูหนาวที่จะต้องถือแยกจากสาเหตุธรรมชาติ ฉะนั้น เขาจึงวิจารณ์ทฤษฎีวัสดุนิยมกำเนิดสิ่งมีชีวิตและอวัยวะของสิ่งมีชีวิตจาก "การอยู่รอดของผู้เหมาะสมที่สุด" ของ Empedocles และหัวเราะเยาะความคิดที่ว่าอุบัติเหตุสามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นระเบียบ[37] เมื่อใช้คำสมัยใหม่ เขาไม่ได้กล่าวไว้ที่ใดว่าสปีชีส์ต่างชนิดกันมีบรรพบุรุษร่วมกันได้ หรือชนิดหนึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นอีกชนิดหนึ่งได้ หรือชนิดหนึ่งสามารถสูญพันธุ์ได้[38]

ลีลาวิทยาศาสตร์[แก้]

อาริสโตเติลอนุมานกฎการเติบโตจากการสังเกตของเขา รวมทั้งว่าขนาดครอกลดลงตามขนาดร่างกาย แต่ระยะมีครรภ์เพิ่มขึ้น เขาทำนายได้ถูกต้องอย่างน้อยก็สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ข้อมูลในแผนภาพเป็นของหนูและช้าง

อาริสโตเติลไม่ได้ทำการทดลองในความหมายสมัยใหม่[39] เขาใช้คำภาษากรีกโบราณ pepeiramenoi ซึ่งหมายถึง การสังเกต หรืออย่างมากก็ใช้กระบวนการสอบส่วนอย่างการผ่าชันสูตร[40] เขาพบว่าไข่ของแม่ไก่ที่ผสมแล้วที่มีระยะที่เหมาะสม แล้วเปิดดูเห็นหัวใจของตัวอ่อนกำลังเต้นอยู่ภายใน[41][42]

เขาใช้ลีลาวิทยาศาสตร์อีกแบบหนึ่ง คือ การรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ การค้นหาแบบรูปที่พบร่วมในสัตว์ทั้งกลุ่ม และอนุมานคำอธิบายเชิงสาเหตุที่เป็นไปได้จากข้อค้นพบนั้น[43][44] ลีลานี้พบทั่วไปในชีววิทยาสมัยใหม่เมื่อมีข้อมูลปริมาณมากอยู่ในสาขาใหม่ เช่น จีโนมิกส์ (genomics) ทั้งนี้ วิธีนี้ไม่มีความแน่นอนแบบเดียวกับวิทยาศาสตร์เชิงทดลอง แต่สามารถได้สมมติฐานที่ทดสอบได้และสร้างคำอธิบายเชิงบรรยายเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตได้ ในความหมายนี้ ชีววิทยาของอาริสโตเติลก็เป็นวิทยาศาสตร์[43]

จากข้อมูลที่เขาเก็บรวบรวมและจดบันทึก อาริสโตเติลอนุมานกฎจำนวนหนึ่งเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สิ่งมีชีวิตที่มีสัตว์สี่เท้าที่ออกลูกเป็นตัวที่เขาศึกษา คำทำนายที่ถูกต้องของเขา เช่น จำนวนลูกลดลงตามขนาดร่างกายของตัวเต็มวัย โดยช้างจะมีลูกเล็กจำนวนน้อยกว่าหนู อายุขัยของสัตว์เพิ่มขึ้นตามระยะมีครรภ์และขนาดร่างกาย โดยช้างจะมีอายุยืนกว่าหนู มีอายุครรภ์นานกว่าและตัวใหญ่กว่าด้วย ตัวอย่างสุดท้าย ความสามารถมีลูกลดลงตามอายุขัย ฉะนั้นสัตว์ที่อายุยืนอย่างช้างจะมีลูกรวมกันน้อยกว่าสัตว์อายุสั้นอย่างหนู[45]

การจำแนกสิ่งมีชีวิต[แก้]

อาริสโตเติลบันทึกว่าตัวอ่อนของปลาฉลามหนูชนิดหนึ่งมีสายสะดือยึดกับรก (ถุงไข่แดง) เหมือนกับสัตว์ชั้นสูง นับเป็นข้อยกเว้นของมาตราเส้นตรงจากสูงสุดไปต่ำสุด[46]

อาริสโตเติลแยกสัตว์ประมาณ 500 สปีชีส์[47][48] โดยจัดเรียงตามมาตราความสมบูรณ์โดยแบ่งระดับ (scala naturae) โดยมีมนุษย์อยู่บนสุด ระบบของเขามีสัตว์ 11 ระดับ จากที่มีศักยภาพสูงสุดไปต่ำสุด โดยแสดงในรูปเมื่อเกิด ศักยภาพสูงสุดทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดมาตัวร้อนและเย็น ส่วนสัตว์ต่ำสุดมีไข่แห้งคล้ายแร่ธาตุ สัตว์เหนือกว่าพืข และพืชเหนือกว่าแร่ธาตุอีกทอดหนึ่ง[49][50] เขาจัดกลุ่มสัตว์ที่นักสัตววิทยาสมัยใหม่เรียกว่า สัตว์มีกระดูกสันหลัง ว่าเป็นสัตว์ตัวร้อน "มีเลือด" และต่ำกว่านั้นเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังตัวเย็นเป็น "สัตว์ไม่มีเลือด" สัตว์ที่มีเลือดยังแบ่งอีกเป็นสัตว์ที่ออกลูกเป็นตัว (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) และสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่ (สัตว์ปีก สัตว์เลื้อยคลานและปลา) สัตว์ที่ไม่มีเลือด ได้แก่ แมลง สัตว์พวกกุ้งกั้งปู ชั้นเซฟาโลพอด และมอลลัสกาเปลือกแข็ง เขาพบว่าสัตว์ไม่เข้ากับมาตราเส้นตรงเสียทีเดียว และหมายเหตุข้อยกเว้นต่าง ๆ เช่น ปลาฉลามมีรกเหมือนกับสัตว์สี่เท้า สำหรับนักชีววิทยาสมัยใหม่ คำอธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวที่อาริสโตเติลไม่ทราบคือ วิวัฒนาการลู่ออก[51] เขาเชื่อว่าเหตุสุดท้ายที่เป็นจุดมุ่งหมายชี้นำกระบวนการธรรมชาติทั้งหมด ทัศนะอันตวิทยานี้ให้เหตุผลแก่ข้อมูลที่สังเกตได้ว่าเป็นการสำแดงซึ่งการออกแบบรูปนัย[52]

Scala naturae (สูงสุดไปต่ำสุด) ของอาริสโตเติล
กลุ่ม ตัวอย่าง (ของอาริสโตเติล) เลือด ขา วิญญาณ
(มีเหตุผล R,
มีความรู้สึก S,
นอกอำนาจจิตใจ V)
คุณสมบัติ
(ร้อนเย็น,
เปียกแห้ง)
มนุษย์ มนุษย์ มีเลือด 2 ขา R, S, V ร้อน, เปียก
สัตว์สี่ขาออกลูกเป็นตัว แมว กระต่ายป่า มีเลือด 4 ขา S, V ร้อน, เปียก
อันดับฐานวาฬและโลมา โลมา, วาฬ มีเลือด ไม่มีขา S, V ร้อน, เปียก
สัตว์ปีก นกจาบคา, นกตบยุง มีเลือด 2 ขา S, V ร้อน, เปียก, ยกเว้นไข่ แห้ง
สัตว์สี่เท้าออกลูกเป็นไข่ กิ้งก่าคาเมเลี่ยน, จระเข้ มีเลือด 4 ขา S, V เย็น, เปียก ยกเว้นเกล็ด ไข่
งู งูน้ำ งูแมวเซาออตโตมัน มีเลือด ไม่มีขา S, V เย็น, เปียก ยกเว้นเกล็ด ไข่
ปลาที่ออกลูกเป็นไข่ ปลากระพง, ปลานกแก้ว มีเลือด ไม่มีขา S, V เย็น, เปียก รวมไข่
(จัดรวมกับปลาที่ออกลูกเป็นไข่):
ปลาฉลามมีรก
ปลาฉลาม, ปลาสเกต มีเลือด ไม่มีขา S, V เย็น, เปียก แต่มีรกเหมือนสัตว์สี่เท้า
สัตว์พวกกุ้งกั้งปู กุ้ง ปู ไม่มีเลือด ขาจำนวนมาก S, V เย็น, เปียก ยกเว้นเปลือก
ชั้นเซฟาโลพอด หมึกกล้วย, หมึก ไม่มีเลือด มีหนวด S, V เย็น, เปียก
สัตว์เปลือกแข็ง หอยแครง, หอยทรัมเป็ต ไม่มีเลือด ไม่มีขา S, V เย็น, แห้ง (เปลือกเป็นแร่ธาตุ)
แมลงที่ออกลูกเป็นตัวอ่อน มด, จั๊กจั่น ไม่มีเลือด 6 ขา S, V เย็น, แห้ง
เกิดขึ้นเอง ฟองน้ำ หนอน ไม่มีเลือด ไม่มีขา S, V เย็น, เปียก หรือ แห้ง เกิดจากพื้นโลก
พืช มะเดื่อ ไม่มีเลือด ไม่มีขา V เย็น, แห้ง
แร่ธาตุ เหล็ก ไม่มีเลือด ไม่มีขา ไม่มี เย็น, แห้ง

จิตวิทยา[แก้]

วิญญาณ[แก้]

จิตวิทยาของอาริสโตเติล ตามที่ระบุไว้ในศาสตรนิพนธ์ ว่าด้วยวิญญาณ (On the Soul, peri psychēs) กำหนดวิญญาณ (soul หรือ psyche) ไว้สามประเภท ได้แก่ วิญญาณส่วนอิสระ (vegetative soul), วิญญาณส่วนประสาทสัมผัส (sensitive soul), และวิญญาณส่วนเหตุผล (rational soul) จิตวิญญาณของมนุษย์มีอำนาจของประเภทอื่น คือ วิญญาณส่วนอิสระสามารถเติบโตและหล่อเลี้ยงตัวเองแล้ว วิญญาณส่วนประสาทสัมผัสสามารถรู้สัมผัสและเคลื่อนที่ได้ใกล้ ๆ แต่ส่วนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมนุษย์ คือ วิญญาณส่วนเหตุผลมีความสามารถรับเข้ารูป (form) ของสิ่งอื่นและเปรียบเทียบโดยใช้สติปัญญาและเหตุผลได้

สำหรับอาริสโตเติล วิญญาณถือเป็นสิ่งมีชีวิตรูปหนึ่ง เพราะทุกสิ่งมีองค์ประกอบเป็นรูปและสสาร รูปของสิ่งมีชีวิตจึงได้รับมาจากสิ่งที่จำเพาะต่อสิ่งมีชีวิต เช่น ความสามารถริเริ่มการเคลื่อนไหว (หรือในกรณีพืช คือ การเติบโตและการแปลงสภาพทางเคมี ซึ่งอาริสโตเติลถือว่าเป็นการเคลื่อนไหวอย่างหนึ่ง) ในทางตรงข้ามกับนักปรัชญาเขา (แต่สอดคล้องกับชาวอียิปต์) เขาจัดจิตวิญญาณส่วนเหตุผลอยู่ในหัวใจ มิใช่สมอง นอกจากนี้ อาริสโตเติลยังขึ้นชื่อว่าแยกแยะประสาทสัมผัสกับความคิดออกจากกันด้วย

เชิงอรรถ[แก้]

  1. This type of syllogism, with all three terms in 'a', is known by the traditional (medieval) mnemonic Barbara.[3]
  2. M is the Middle (here, Men), S is the Subject (Greeks), P is the Predicate (mortal).[3]
  3. The first equation can be read as 'It is not true that there exists an x such that x is a man and that x is not mortal.'[4]
  4. Drabkin agrees that density is treated quantitatively in this passage, but without a sharp definition of density as weight per unit volume.[15]

อ้างอิง[แก้]

  1. Degnan 1994, pp. 81–89.
  2. Corcoran 2009, pp. 1–20.
  3. 3.0 3.1 3.2 Lagerlund 2016.
  4. Predicate Logic.
  5. Pickover 2009, p. 52.
  6. Metaphysics, p. VIII 1043a 10–30.
  7. 7.0 7.1 7.2 Cohen 2016.
  8. Lloyd 1968, pp. 43–47.
  9. 9.0 9.1 Cohen 2000.
  10. Metaphysics, p. IX 1050a 5–10.
  11. Metaphysics, p. VIII 1045a–b.
  12. 12.0 12.1 Smith 2017.
  13. 13.0 13.1 13.2 Wildberg 2016.
  14. 14.0 14.1 Lloyd 1968, pp. 133–39, 166–69.
  15. 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 Drabkin 1938, pp. 60–84.
  16. 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 Rovelli 2015, pp. 23–40.
  17. Allain 2016.
  18. 18.0 18.1 Susskind 2011.
  19. Leroi 2015, pp. 88–90.
  20. 20.0 20.1 20.2 20.3 Lloyd 1996, pp. 96–100, 106–07.
  21. 21.0 21.1 Leroi 2015, pp. 91–92, 369–73.
  22. Lahanas.
  23. Physics, p. 2.6.
  24. Miller 1973, pp. 204–13.
  25. Meteorology, p. 1. 8.
  26. Moore 1956, p. 13.
  27. Meteorology, p. Book 1, Part 14.
  28. Leroi 2015, p. 14.
  29. Thompson 1910, p. Prefatory Note.
  30. "Darwin's Ghosts, By Rebecca Stott". independent.co.uk. 2 June 2012. สืบค้นเมื่อ 19 June 2012.
  31. Leroi 2015, pp. 196, 248.
  32. Day 2013, pp. 5805–16.
  33. Leroi 2015, pp. 66–74, 137.
  34. Leroi 2015, pp. 118–19.
  35. Leroi 2015, p. 73.
  36. Leroi 2015, pp. 135–36.
  37. Sedley 2007, p. 189.
  38. Leroi 2015, p. 273.
  39. Taylor 1922, p. 42.
  40. Leroi 2015, pp. 361–65.
  41. Leroi 2011.
  42. Leroi 2015, pp. 197–200.
  43. 43.0 43.1 Leroi 2015, pp. 365–68.
  44. Taylor 1922, p. 49.
  45. Leroi 2015, p. 408.
  46. Leroi 2015, pp. 72–74.
  47. Bergstrom & Dugatkin 2012, p. 35.
  48. Rhodes 1974, p. 7.
  49. Mayr 1982, pp. 201–02.
  50. Lovejoy 1976.
  51. Leroi 2015, pp. 111–19.
  52. Mason 1979, pp. 43–44.
  • Knight, Kelvin. 2007. Aristotelian Philosophy: Ethics and Politics from Aristotle to MacIntyre, Polity Press.
  • Lewis, Frank A. 1991. Substance and Predication in Aristotle. Cambridge: Cambridge University Press.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]