อัสซีเรีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อัสซีเรีย

ป. 2025 ปีก่อนคริสต์ศักราช[a]–609 ปีก่อนคริสต์ศักราช[b]
ธงชาติอัสซีเรีย
สัญลักษณ์อัชชูร์ เทพประจำรัฐอัสซีเรียโบราณ
แผนที่แสดงใจกลางอัสซีเรียโบราณ (แดง) และจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ในช่วงสูงสุดเมื่อศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช (ส้ม)
แผนที่แสดงใจกลางอัสซีเรียโบราณ (แดง) และจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ในช่วงสูงสุดเมื่อศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช (ส้ม)
เมืองหลวงอัสซูร์
(ป. 2025–1233 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
Kar-Tukulti-Ninurta
(ป. 1233–1207 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
อัสซูร์
(ป. 1207–879 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
นิมรุด
(879–706 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
Dur-Sharrukin
(706–705 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
นิเนเวห์
(705–612 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
ฮัรรอน
(612–609 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
ภาษาราชการ
ศาสนา
ศาสนาเมโสโปเตเมียโบราณ
การปกครองราชาธิปไตย
กษัตริย์องค์สำคัญ 
• ป. 2025 ปีก่อนคริสต์ศักราช
Puzur-Ashur I (องค์แรก)
• ป. 1974–1935 ปีก่อนคริสต์ศักราช
Erishum I
• ป. 1808–1776 ปีก่อนคริสต์ศักราช
Shamshi-Adad I
• ป. 1700–1691 ปีก่อนคริสต์ศักราช
Bel-bani
• ป. 1363–1328 ปีก่อนคริสต์ศักราช
Ashur-uballit I
• ป. 1243–1207 ปีก่อนคริสต์ศักราช
Tukulti-Ninurta I
• 1114–1076 ปีก่อนคริสต์ศักราช
Tiglath-Pileser I
• 883–859 ปีก่อนคริสต์ศักราช
Ashurnasirpal II
• 745–727 ปีก่อนคริสต์ศักราช
Tiglath-Pileser III
• 705–681 ปีก่อนคริสต์ศักราช
Sennacherib
• 681–669 ปีก่อนคริสต์ศักราช
Esarhaddon
• 669–631 ปีก่อนคริสต์ศักราช
Ashurbanipal
• 612–609 ปีก่อนคริสต์ศักราช
Ashur-uballit II (องค์สุดท้าย)
ยุคประวัติศาสตร์ยุคสัมฤทธิ์ถึงยุคเหล็ก
• ก่อตั้งอัสซูร์
ป. 2600 ปีก่อนคริสต์ศักราช
• อัสซูร์กลายเป็นนครรัฐเอกราช
ป. 2025 ปีก่อนคริสต์ศักราช[a]
ป. 2025–1364 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ป. 1363–912 ปีก่อนคริสต์ศักราช
911–609 ปีก่อนคริสต์ศักราช
• จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่และมีเดียพิชิตอัสซีเรีย
609 ปีก่อนคริสต์ศักราช[b]
• จักรวรรดิซาเซเนียนปล้มสดมและทำลายล้างอัสซูร์
ป. ค.ศ. 240
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์อูร์ที่ 3
จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่
จักรวรรดิมีเดีย
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย
แม่น้ำไทกริสแม่น้ำยูเฟรทีส
เมือง / จักรวรรดิ
ซูเมอร์
เอลาม
จักรวรรดิแอกแคด
แอเมอไรต์:
บาบิโลเนีย: บาบิโลนแคลเดีย
ฮิตไทต์
อัสซีเรีย
ข้อมูลอารยธรรมเมโสโปเตเมีย
ประวัติศาสตร์เมโสโปเตเมีย
ประวัติชาวซูเมอร์ • รายพระนามพระมหากษัตริย์ชาวซูเมอร์
รายพระนามพระมหากษัตริย์อัสซีเรีย
รายพระนามพระมหากษัตริย์บาบิโลเนีย
ภาษา
ซูเมอร์แอกแคดฮิตไทต์

อัสซีเรีย (อักษรรูปลิ่มอัสซีเรียใหม่: , อักษรโรมัน: māt Aššur; ซีรีแอกคลาสสิก: ܐܬܘܪ, อักษรโรมัน: ʾāthor) เป็นอารยธรรมหลักในเมโสโปเตเมียโบราณที่เริ่มต้นในฐานะนครรัฐในศตวรรษที่ 21 ก่อนคริสต์ศักราช ถึงศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสต์ศักราช แล้วพัฒนาเป็นรัฐอาณาเขตและกลายเป็นจักรวรรดิในศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสต์ศักราช ถึงศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช

นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่แบ่งประวัติศาสตร์อัสซีเรียโบราณในยุคสัมฤทธิ์ตอนต้นถึงยุคเหล็กตอนปลายตามเหตุการณ์ทางการเมืองและการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปของภาษา[4][5] ซึ่งแบ่งออกเป็นสมัยอัสซีเรียตอนต้น (ป. 2600–2025 ปีก่อนคริสต์ศักราช) สมัยอัสซีเรียเก่า (ป. 2025–1364 ปีก่อนคริสต์ศักราช), สมัยอัสซีเรียกลาง (ป. 1363–912 ปีก่อนคริสต์ศักราช), สมัยอัสซีเรียใหม่ (911–609 ปีก่อนคริสต์ศักราช) และอัสซีเรียสมัยหลังจักรวรรดิ (609 ปีก่อนคริสต์ศักราช–ป. ค.ศ. 240) อัสซูร์ เมืองหลวงแรกของอัสซีเรีย ได้รับการจัดตั้งขึ้น ป. 2600 ปีก่อนคริสต์ศักราช แต่ไม่มีหลักฐานว่านครนี้กลายเป็นเอกราชจนกระทั่งราชวงศ์อูร์ที่ 3 ล่มสลายในศตวรรษที่ 21 ก่อนคริสต์ศักราช[3] ซึ่งเริ่มต้นในรัชสมัย Puzur-Ashur I อำนาจอัสซีเรียที่มีจุดศูนย์กลางในใจกลางอัสซีเรีย ในเมโสโปเตเมียตอนเหนือผันผวนตามกาลเวลา นครนี้ตกอยู่ภายใต้ดินแดนและการปกครองของต่างชาติมาหลายช่วงก่อนที่อัสซีเรียรุ่งเรื่องขึ้นในรัชสมัย Ashur-uballit I ในศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสต์ศักราช ในสมัยอัสซีเรีนกลาง ในสมัยอัสซีเรียกลางและใหม่ อัสซีเรียถือเป็นหนึ่งในสองอาณาจักรหลักในเมโสโปเตเมีย ร่วมกับบาบิโลเนียในบริเวณตอนใต้ และในเวลานั้นถือเป็นมหาอำนาจในตะวันออกใกล้โบราณ อัสซีเรียอยู่ในช่วงสูงสุดในสมัยอัสซีเรียใหม่ โดยกองทัพอัสซีเรียเคยเป็นกองทัพที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก[6] และถือเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก[6][7][8] กินพื้นที่ในอิหร่านทางตะวันออกถึงอียิปต์ทางตะวันตกในปัจจุบัน

จักรวรรดิอัสซีเรียล่มสลายในปลายศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช โดยถูกพิชิตจากพันธมิตรของบาบิโลนและมีดส์ที่อยู่ภายใต้การปกครองของอัสซีเรียมากประมาณศตวรรษหนึ่ง ถึงแม้ว่าใจกลางอัสซีเรียเสียหายหนักมากจากการพิชิตมีเดีย-บาบิโลเนียของจักรวรรดิอัสซีเรีย และจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ใช้ทรัพยากรในการฟื้นฟูเพียงเล็กน้อย วัฒนธรรมและธรรมเนียมอัสซีเรียโบราณยังคงดำรงอยู่หลายศตวรรษ อัสซีเรียได้รับการฟิ้นฟูในสมัยจักรวรรดิซิลูซิดและพาร์เธีย แม้ว่าในภายหลังเสื่อมสลายอีกครั้งในสมัยจักรวรรดิซาเซเนียนที่ปล้มสดมหลายเมือง รวมถึงอัสชูร์ด้วย ชาวอัสซีเรียที่เหลือในเมโสโปเตเมียตอนเหนือหันไปนับถือศาสนาคริสต์ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 เป็นต้นมา ศาสนาเมโสโปเตเมียโบราณยังคงอยู่ที่อัสซูร์จนกระทั่งการปล้มสดมครั้งสุดท้ายในคริสต์ศตวรรษที่ 3 และในกลุ่มคนที่ยึดมั่นบางส่วนในหลายศตวรรษถัดมา[9]

ความสำเร็จของอัสซีเรียโบราณไม่ได้มาจากกษัตริย์-นักรบที่มีพลังอย่างเดียว แต่ยังมีความสามารถในการรวมและปกครองดินแดนที่ถูกยึดครองอย่างมีประสิทธิภาพผ่านระบบการบริหารที่ซับซ้อน นวัตกรรมในสงครามและการบริหารที่บุกเบิกในอัสซีเรียโบราณถูกนำมาใช้ในจักรวรรดิและรัฐในสหัสวรรษถัดมา[6] อัสซีเรียโบราณยังทิ้งมรดกที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่[10] โดยเฉพาะในจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่สร้างความประทับใจในอัสซีเรียยุคหลัง, กรีก-โรมัน และวรรณกรรมกับธรรมเนียมทางศาสนาในภาษาฮีบรู[11][12][c]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ปีนี้มาจากช่วงที่อัสซูร์กลายเป็นนครรัฐเอกราช (จุดเริ่มต้นของสมัยอัสซีเรียเก่า) ยุคนี้เกิดขึ้นหลังจากสมัยอัสซีเรียตอนต้น แต่อัสซูร์ในเวลานี้ยังไม่เป็นเอกราชและวัฒนธรรมกับพิธีกรรมทางศาสนาก็ยังไม่สมบูรณ์[1][2][3]
  2. ปีนี้มาจากช่วงสิ้นสุดของจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ เมื่ออัสซีเรียล่มสลาย โดยครอบคลุมช่วงสมัยหลังจักรวรรดิตอนปลาย ซึ่งเป็นช่วงที่อาณาจักรอัสซีเรียไม่เป็นเอกราชอีกต่อไป
  3. ดูเพิ่มที่จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ § สิ่งสืบทอด

อ้างอิง[แก้]

  1. Düring 2020, p. 39.
  2. Lambert 1983, pp. 82–85.
  3. 3.0 3.1 Roux 1992, p. 187.
  4. Frahm 2017a, p. 5.
  5. Hauser 2017, p. 229.
  6. 6.0 6.1 6.2 Aberbach 2003, p. 4.
  7. Düring 2020, p. 133.
  8. Frahm 2017b, p. 161.
  9. Parpola 2004, p. 21.
  10. Frahm 2017b, p. 196.
  11. Frahm 2017b, pp. 195–196.
  12. Kalimi & Richardson 2014, p. 5.

บรรณานุกรม[แก้]

เว็บ[แก้]