พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระมหาเจษฎาราชเจ้า | |||||
พระบรมสาทิสลักษณ์ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท | |||||
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา[1] | |||||
ครองราชย์ | 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 - 2 เมษายน พ.ศ. 2394 (26 ปี 255 วัน) | ||||
ราชาภิเษก | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2367 | ||||
ก่อนหน้า | พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย | ||||
ถัดไป | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | ||||
พระมหาอุปราช | สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ | ||||
ผู้สำเร็จราชการ | เจ้าพระยาพระคลัง | ||||
สมุหนายก | |||||
สมุหพระกลาโหม | |||||
พระราชสมภพ | 31 มีนาคม พ.ศ. 2331 พระราชวังเดิม เมืองธนบุรี อาณาจักรรัตนโกสินทร์ | ||||
สวรรคต | 2 เมษายน พ.ศ. 2394 (63 พรรษา) พระราชวังหลวง กรุงเทพพระมหานคร อาณาจักรรัตนโกสินทร์ | ||||
ถวายพระเพลิง | พ.ศ. 2395 พระเมรุมาศ ทุ่งพระเมรุ | ||||
บรรจุพระอัฐิ | หอพระธาตุมณเฑียร | ||||
ภรรยา | 58 ท่าน | ||||
พระราชบุตร | 51 พระองค์ | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | จักรี | ||||
พระราชบิดา | พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย | ||||
พระราชมารดา | สมเด็จพระศรีสุลาลัย | ||||
ศาสนา | เถรวาท | ||||
พระราชลัญจกร |
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (31 มีนาคม พ.ศ. 2331 – 2 เมษายน พ.ศ. 2394) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรีและเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 47 ตามประวัติศาสตร์ไทย ครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ถึง 2 เมษายน พ.ศ. 2394
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระองค์แรกที่พระราชสมภพแต่เจ้าจอมมารดาเรียม (ภายหลังได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสุลาลัย) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม นพศก จ.ศ. 1149 เวลาค่ำ 10.30 น. (สี่ทุ่มครึ่ง) ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. พ.ศ. 2331 (เมื่อเทียบปฏิทินสุริยคติแล้ว) เสวยราชสมบัติเมื่อวันพุธ แรม 11 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก ฉศก จ.ศ. 1186 ซึ่งตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 สิริดำรงราชสมบัติได้ 26 ปี 255 วัน
พระองค์ทรงมีบาทบริจาริกา 56 ท่าน มีพระราชโอรสธิดาทั้งสิ้น 51 พระองค์ เสด็จสวรรคตเมื่อวันพุธ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน โทศก จ.ศ. 1212 เวลา 7 ทุ่ม 5 บาท ตรงกับวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 สิริพระชนมพรรษา 64 ปี 2 วัน
พระราชประวัติ
พระราชสมภพ
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชสมภพแต่สมเด็จพระศรีสุลาลัย เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2331 ณ พระราชวังเดิม ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในขณะที่พระองค์ประสูตินั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยดำรงพระอิสริยยศที่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร พระองค์จึงมีสกุลยศชั้นหม่อมเจ้าพระนามว่า หม่อมเจ้าชายทับ จนกระทั่ง สมเด็จพระบรมชนกนาถได้รับอุปราชาภิเษกขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในปี พ.ศ. 2349 พระองค์จึงมีพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าชายทับ
เมื่อสมเด็จพระราชชนกได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 2 ใน พ.ศ. 2352 พระองค์จึงได้เลื่อนฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าชั้นเอก ออกพระนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทับ จนปี พ.ศ. 2356 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรม เป็น พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
ครองราชย์
เมื่อกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เสด็จเถลิงถวัลย์ครองราชสมบัติแล้ว ทรงออกพระนามเต็มตามพระสุพรรณบัฏว่า "พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวไสย สมุทัยดโรมน สากลจักรวาลาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาธิบดี ศรีสุวิบูลย คุณอถพิษฐ ฤทธิราเมศวร ธรรมิกราชาธิราช เดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมาธิเบศร โลกเชษฐวิสุทธิ มงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว" นับเป็น "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 6"
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เฉลิมพระปรมาภิไธยใหม่ เป็น "พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหาเจษฎาบดินทร สยามินทรวิโรดม บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" ออกพระนามโดยย่อว่า "พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว"
ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการให้เฉลิมพระปรมาภิไธยอย่างสังเขปว่า "พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาธิบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว" หรือ "พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3"[2]
เมื่อครั้งที่ทรงกำกับราชการกรมท่า (ในสมัยรัชกาลที่ 2) ได้ทรงแต่งสำเภาบรรทุกสินค้าออกไปค้าขายในต่างประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นในท้องพระคลังเป็นอันมาก พระราชบิดาทรงเรียกพระองค์ว่า "เจ้าสัว" เมื่อรัชกาลที่ 2 เสด็จสวรรคต มิได้ตรัสมอบราชสมบัติแก่ผู้ใด ขุนนางและพระราชวงศ์ต่างมีความเห็นว่าพระองค์ (ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์) ขณะนั้นมีพระชนมายุ 37 พรรษา ทรงรอบรู้กิจการบ้านเมืองดี ทรงปราดเปรื่องในทางกฎหมาย การค้าและการปกครอง จึงพร้อมใจกันอัญเชิญครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 3
สวรรคต
พ.ศ. 2393 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวรด้วยพระโรคมะเร็งกระดูก[ต้องการอ้างอิง] พระอาการทรุดหนักลงตามลำดับ จนกระทั่งเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394[ต้องการอ้างอิง] หลังวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระองค์เพียง 2 วัน สิริพระชนมพรรษา 64 พรรษา ทรงครองราชย์รวม 27 ปี ได้อัญเชิญพระบรมศพไปประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท[ต้องการอ้างอิง] ต่อมาได้จัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพเมื่อ พ.ศ. 2396 ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง[ต้องการอ้างอิง] หลังจากนั้นได้อัญเชิญพระบรมอัฐิไปประดิษฐาน ณ หอพระธาตุมณเฑียร และอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคาร ไปประดิษฐานในพระอุโบสถ วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร[ต้องการอ้างอิง]
พระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส และพระราชธิดา
- พระมเหสี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม
- พระราชโอรสและพระราชธิดา
พระราชกรณียกิจ
พระองค์ทรงปกครองประเทศด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงเสริมสร้างกำลังป้องกันราชอาณาจักร โปรดให้สร้างป้อมปราการตามปากแม่น้ำสำคัญ และหัวเมืองชายทะเล
ด้านความมั่นคง
พระองค์ได้ทรงป้องกันราชอาณาจักรด้วยการส่งกองทัพไปสกัดทัพของเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ ไม่ให้ยกทัพเข้ามาถึงชานพระนครและขัดขวางไม่ให้เวียงจันทน์เข้าครอบครองหัวเมืองอีสานของสยาม นอกจากนี้ พระองค์ทรงประสบความสำเร็จในการทำให้สยามกับญวนยุติการสู้รบระหว่างกันเกี่ยวกับเรื่องเขมรโดยที่สยามไม่ได้เสียเปรียบญวนแต่อย่างใด
ด้านการคมนาคม
ในรัชสมัยของพระองค์ใช้ทางน้ำเป็นสำคัญ ทั้งในการสงครามและการค้าขาย คลองจึงมีความสำคัญ มากในการย่นระยะทางจากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่ง จึงโปรดฯให้มีการขุดคลองขึ้น เช่น คลองบางขุนเทียน คลองบางขนาก และ คลองหมาหอน
ด้านการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก และได้ทรงสร้างพระพุทธรูปมากมายเช่น พระประธานในอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดปรินายก และวัดนางนอง ทรงสร้างวัดใหม่ขึ้น 3 วัด คือ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร วัดเทพธิดารามวรวิหารและวัดราชนัดดารามวรวิหาร ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ วัดเก่าอีก 35 วัด เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งสร้างมาแต่รัชกาลที่ 1 วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร เป็นต้น
ด้านการศึกษา
ทรงทำนุบำรุงและสนับสนุนการศึกษา โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท แต่งตำราเรียนภาษาไทยขึ้นเล่มหนึ่งคือ หนังสือจินดามณี โปรดเกล้าฯ ให้ผู้รู้นำตำราต่าง ๆ มาจารึกลงในศิลาตามศาลารอบพุทธาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ปั้นตั้งไว้ตามเขามอและเขียนไว้ตามฝาผนังต่าง ๆ มีทั้งอักษรศาสตร์ แพทยศาสตร์ พุทธศาสนศึกษา โบราณคดี ฯลฯ เพื่อเป็นการเผยแพร่วิชาการสาขาต่าง ๆ จึงอาจกล่าวได้ว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของกรุงสยาม
ด้านสังคมสงเคราะห์
พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ดูแลทุกข์สุขของราษฎร ด้วยมีพระบรมราชวินิจฉัยว่า ไม่ทรงสามารถจะบำบัดทุกข์ให้ราษฎรได้ หากไม่เสด็จออกนอกพระราชวัง เพราะราษฎรจะร้องถวายฏีกาได้ต่อเมื่อพระคลังเวลาเสด็จออกนอกพระราชวังเท่านั้น จึงโปรดให้นำกลองวินิจฉัยเภรีออกตั้ง ณ ทิมดาบกรมวัง ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อราษฎรผู้มีทุกข์จะได้ตีกลองร้องถวายฎีกาไปทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เพื่อให้มีการชำระความกันต่อไป โดยพระองค์จะคอยซักถามอยู่เนื่อง ๆ ทำให้ตุลาการ ผู้ทำการพิพากษาไม่อาจพลิกแพลงคดีเป็นอื่นได้
ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีมิชชันนารีชาวอเมริกันและชาวอังกฤษเดินทางเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์เพิ่มมากขึ้น หนึ่งในจำนวนนี้คือศาสนาจารย์ นายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในนาม "หมอบรัดเลย์" ได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ และการฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคและการทำผ่าตัดขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้หมอบรัดเลย์ยังได้คิดตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้น (ปี พ.ศ. 2379) ทำให้มีการพิมพ์หนังสือภาษาไทยเป็นครั้งแรกโดยพิมพ์คำสอนศาสนาคริสต์เป็นภาษาไทย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2379 ต่อมาปี พ.ศ. 2385 หมอบรัดเลย์พิมพ์ปฏิทินภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก
ในด้านการหนังสือพิมพ์ฉบับแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 หมอบรัดเลย์ได้ออกหนังสือพิมพ์แถลงข่าวรายปักษ์เป็นภาษาไทย ชื่อ บางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder) มีเรื่องสารคดี ข่าวราชการ ข่าวการค้า ข่าวเบ็ดเตล็ด ฉบับแรกออกเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2387
หนังสือบทกลอนเล่มแรกที่พิมพ์ขายและผู้เขียนได้รับค่าลิขสิทธิ์คือ นิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) โดย หมอบรัดเลย์ ซื้อกรรมสิทธิ์ไปพิมพ์ในราคา 400 บาท เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2404 และตีพิมพ์จำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404
ด้านการค้ากับต่างประเทศ
พระองค์ทรงสนับสนุนส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ ทั้งกับชาวเอเชียและชาวยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้ากับจีนมาตั้งแต่เมื่อครั้งพระองค์ทรงดำรงพระอิสสริยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ส่งผลให้พระคลังสินค้ามีรายได้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ มีการแต่งสำเภาทั้งของราชการ เจ้านาย ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ และพ่อค้าชาวจีนไปค้าขายยังเมืองจีนและประเทศใกล้เคียง รวมถึงการเปิดค้าขายกับมหาอำนาจตะวันตกจนมีการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างกันคือ สนธิสัญญาเบอร์นี พ.ศ. 2369 และ 6 ปีต่อมาก็ได้เปิดสัมพันธไมตรีกับสหรัฐอเมริกาและมีการทำสนธิสัญญาต่อกันใน พ.ศ. 2375 นับเป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่สหรัฐอเมริกาทำกับประเทศทางตะวันออก ส่งผลให้ไทยได้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมาก
ด้านศิลปกรรม
ในสมัยทรงพระอิสริยยศพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงบูรณะวัดจอมทองหลังพระองค์ได้มาทำพิธีเบิกโขลนทวารที่วัดเเห่งนี้ในคราวที่ที่มีข่าวว่าพม่าเตรียมจะยกทัพมาตีกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ได้ทรงอธิษฐานขอให้การศึกประสบความสำเร็จ ปรากฏว่ากองทัพพม่าไม่ได้ยกทัพมาจึงได้กลับมาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่ทั้งอารามโดยทรงมาตรวจตราเเละคุมการก่อสร้างด้วยพระองค์เองเมื่อการก่อสร้างเสร็จสิ้นจึงทรงน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดราชโอรส" หมายถึงวัดที่พระราชโอรสทรงสถาปนาขึ้น โดยศิลปกรรมในวัดราชโอรสเป็นศิลปกรรมแบบไทยผสมจีนจึงเป็นแบบของศิลปกรรมรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า แบบพระราชนิยม[3] ซึ่งเป็นรูปแบบศิลปกรรมที่จะนำมาใช้ในหลายวัดตลอดรัชกาล เช่น วัดเทพธิดาราม วัดเศวตฉัตร วัดนางนอง นอกจากนั้นทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสงขรณ์พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามจนแล้วเสร็จ และทรงมีรับสั่งให้สร้างเรือสำเภาก่อด้วยอิฐในวัดยานนาวา เพื่อให้ประชาชนได้รู้ว่าเรือสำเภานั้นมีรูปร่างลักษณะอย่างไร เพราะทรงเล็งเห็นว่าภายหน้าจะไม่มีการสร้างเรือสำเภาอีกแล้ว
สำหรับวรรณกรรม พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตจารึกวรรณคดีที่สำคัญ ๆ และวิชาแพทย์แผนโบราณลงบนแผ่นศิลา แล้วติดไว้ตามศาลารายรอบพระอุโบสถ รอบพระมหาเจดีย์บริเวณวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาหาความรู้
เหตุการณ์สำคัญ
- พ.ศ. 2367 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้
- พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จสวรรคต ขณะมีพระชนมพรรษาได้ 57 พรรษา ครองราชย์ได้ 15 ปี
- พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี
- โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจัดพิธีให้อุปราชาภิเษกพระองค์เจ้าอรุโณทัยขึ้นเป็นที่ "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล"
- โปรดเกล้าฯ ให้ส่งกองทัพไทยไปช่วยอังกฤษรบพม่า
- พ.ศ. 2368 เฮนรี เบอร์นี ขอเข้ามาทำสัญญาค้าขาย
- พ.ศ. 2369 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้:
- ลงนามในสัญญา เบอร์นี
- เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏ โปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรฯ เป็นแม่ทัพใหญ่ยกไปปราบ กำเนิดวีรกรรมท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม) และโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพหน้าเป็นเจ้าพระราชสุภาวดี ว่าที่สมุหนายก
- พ.ศ. 2370 เริ่มสร้างพระสมุทรเจดีย์
- พ.ศ. 2371 ร้อยเอกเจมส์โลว์ จัดพิมพ์หนังสือภาษาไทยเป็นครั้งแรก มิชชันนารีอเมริกันเดินทางมาเผยแพร่ศาสนาในเมืองไทย
- พ.ศ. 2372 เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) จับเจ้าอนุวงศ์ จัดส่งลงมากรุงเทพฯ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็น เจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก
- กำเนิดสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย
- โปรดเกล้าให้ทำการสังคายนาเป็นภาษาไทย
- ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามหลายแห่ง และสร้างวัดใหม่ คือวัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดา วัดเฉลิมพระเกียรติ และวัดพระเชตุพนฯลฯได้ตั้งโรงเรียนหลวง (วัดพระเชตุพน) ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อสอนหนังสือไทยแก่เด็กในสมัยนี้ และได้ถือกำเนิดนิกายธรรมยุติขึ้น โดยพระวชิรญาณเถระ (เจ้าฟ้ามงกุฏ) ขณะที่ผนวชอยู่ได้ทรงศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของพระมอญ ชื่อ ซาย ฉายา พุทฺธวํโส จึงได้ทรงอุปสมบทใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2372 ได้ตั้งคณะธรรมยุตขึ้นในปี พ.ศ. 2376 แล้วเสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร และตั้งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุติ
- พ.ศ. 2373 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งให้เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) เป็นว่าที่สมุหพระกลาโหม
- พ.ศ. 2374
- ทำการบูรณะวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ใช้เวลา 16 ปีในการสร้าง
- เกิดน้ำท่วมใหญ่ในพระราชอาณาจักร
- พ.ศ. 2375 แอนดรูว์ แจ็กสัน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ส่งเอ็ดมันต์ โรเบิร์ต เข้ามาขอเจริญพระราชไมตรีทำการค้ากับไทย
- พ.ศ. 2376 เกิดกบฏญวน โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ผู้สำเร็จราชการเป็นแม่ทัพใหญ่ไปรบ
- พ.ศ. 2377
- ออกหวย ก.ข. เป็นครั้งแรก
- ญวนได้ส่งพระอุไทยราชามาปกครองเขมร
- พ.ศ. 2378 เกิดภาวะเงินฝืดเคือง
- พ.ศ. 2380 หมอบรัดเลย์ คิดตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้นใหม่ โปรดเกล้าฯ ให้หมอหลวงไปหัดปลูกฝีกับหมอบรัดเลย์
- พ.ศ. 2381 เกิดกบฏหวันหมาดหลี ที่หัวเมืองไทรบุรี
- พ.ศ. 2382 ทรงประกาศห้ามสูบฝิ่น เพื่อส่งเสริมศีลธรรมในบ้านเมือง และ มีการเผาฝิ่น และ โรงยาฝิ่น พร้อม มีการปราบอั้งอั้งยี่ซึ่งค้าฝิ่น เหล่านั้น
- พ.ศ. 2386 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงขึ้นในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2386 แนวคราสมืดพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง กรุงเทพฯเห็นเป็นชนิดบางส่วน 82%
- พ.ศ. 2389 ญวนขอหย่าทัพกับเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร
- พ.ศ. 2390 ทรงอภิเษกให้นักองค์ด้วงเป็นสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี ครองประเทศกัมพูชา
- พ.ศ. 2391 ญวนขอเจริญพระราชไมตรีดังเดิม กองทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กลับกรุงเทพฯ
- พ.ศ. 2392 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้
- กองทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) และ เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) ปราบอั้งยี่ ที่ ฉะเชิงเทรา
- เกิดอหิวาตกโรคระบาด มีคนตายมากกว่า 30,000 คน ซึ่งรวมถึงเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
- พ.ศ. 2393 อังกฤษ และสหรัฐฯ ขอแก้สนธิสัญญา
- พ.ศ. 2394 เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 รวมพระชนมพรรษาได้ 64 พรรษา ดำรงอยู่ในราชสมบัติ 27 ปี
วันระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า
คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 31 มีนาคมของทุกปีเป็น วันระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า หรือ วันเจษฎาบดินทร์ เป็นวันสำคัญของชาติ แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ และเห็นชอบให้ให้ถวายพระราชสมัญญาว่า “พระมหาเจษฎาราชเจ้า” แปลว่า “พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นใหญ่”[4]
พระบรมราชอิสริยยศและพระเกียรติยศ
ธรรมเนียมพระยศของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว | |
---|---|
พระราชลัญจกร | |
การทูล | ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พระพุทธเจ้าข้าขอรับ/เพคะ |
พระบรมราชอิสริยยศ
- หม่อมเจ้าชายทับ (31 มีนาคม พ.ศ. 2330 - พ.ศ. 2349)
- พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทับ (พ.ศ. 2349 - 7 กันยายน พ.ศ. 2352)
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทับ (7 กันยายน พ.ศ. 2352 - พ.ศ. 2356)
- พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (พ.ศ. 2356 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367)
- พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวไสย สมุทัยดโรมน สากลจักรวาลาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาธิบดี ศรีสุวิบูลย คุณอถพิษฐ ฤทธิราเมศวร ธรรมิกราชาธิราช เดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมาธิเบศร โลกเชษฐวิสุทธิ มงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว (21 กรกฎาคม พ.ศ.2367-2 เมษายน พ.ศ.2394)
- ภายหลังการสวรรคต;
- ในรัชกาลที่ 4;
- พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐมหาเจษฎาบดินทร สยามินทรวิโรดม บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมัยรัชกาลที่ 4 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459)
- ในรัชกาลที่ 6;
- พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาธิบดินทร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว[2] (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 - สมัยรัชกาลที่ 7)
- ในรัชกาลที่ 7;
- พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐมหาเจษฎาบดินทร สยามินทรวิโรดม บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมัยรัชกาลที่ 7 - พ.ศ. 2540)
- ในรัชกาลที่ 9;
- พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐมหาเจษฎาบดินทร สยามินทรวิโรดม บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า (พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน)
พระราชสมัญญา
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาต่าง ๆ เช่น ในปี พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้ถวายพระราชสมัญญาว่าพระมหาเจษฎาราชเจ้า และได้ใช้เป็นสร้อยพระนามสืบมาจนปัจจุบัน[5] ต่อมา พ.ศ. 2551 คณะรัฐมนตรีมีมติถวายพระราชสมัญญาว่าพระบิดาแห่งการค้าไทย[6][7], พระบิดาแห่งการพาณิชย์นาวีไทย[8] และในปี พ.ศ. 2558 ถวายพระราชสมัญญาว่าพระบิดาแห่งการแพทย์แผนไทย (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2558) [9][10]
พงศาวลี
พงศาวลีของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
แผนผัง
อ้างอิง
- ↑ ""สยาม" ถูกใช้เรียกชื่อประเทศเป็นทางการสมัยรัชกาลที่ 4". ศิลปวัฒนธรรม. 6 กรกฎาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เฉลิมพระปรมาภิไธย, เล่ม 33, ตอน 0ก, 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459, หน้า 212
- ↑ ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ๓๓ คู่มือนำชมพระอารามหลวงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์, (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, 2566), 219-223
- ↑ วันเจษฎาบดินทร์ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุดรธานี อ้างจากบทความโดย เยาวนิศ เต็งไตรรัตน์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม. สืบค้น 31-3-2555
- ↑ หมายกำหนดการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในการถวายพระราชสมัญญา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า. เล่ม 115, ตอนพิเศษ 25ง, 31 มีนาคม 2541, หน้า19
- ↑ "พระบิดาแห่งการค้าไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-20. สืบค้นเมื่อ 2018-01-12.
- ↑ พระบิดาแห่งการค้าไทย
- ↑ "พระบิดาแห่งการพาณิชย์นาวีไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-25. สืบค้นเมื่อ 2018-01-12.
- ↑ พระบิดาแห่งการแพทย์แผนไทย
- ↑ ตามมติคณะรัฐมนตรี
- ↑ 11.0 11.1 11.2 ลำดับราชินิกูลบางช้าง. พระนคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร. 2501.
- ↑ พงษาวดารราชินิกูลบางช้าง (PDF). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทย สพานยศเส. 2457.
- อ. วิโรจน์ ไตรเพียร, 9 รัชกาลแห่งราชวงศ์จักรี, สำนักพิมพ์ คลังศึกษา, 2543, หน้า 30-36
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
- พระราชประวัติอย่างย่อ เก็บถาวร 2013-07-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย | พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา (กรุงรัตนโกสินทร์) (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 - 2 เมษายน พ.ศ. 2394) |
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระเจ้ากรุงสยาม) |