ศาสนาอิสลามในทวีปยุโรป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาสนาอิสลามในทวีปยุโรป
ตามจำนวนร้อยละของประชากรประเทศ[1]
  90–100%
  70–80%
คาซัคสถาน
  50–70%
  30–50%
มาซิโดเนียเหนือ
  10–20%
  5–10%
  4–5%
  2–4%
  1–2%
  < 1%

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับ 2 ในทวีปยุโรป เป็นรองเพียงศาสนาคริสต์[2] ถึงแม้ว่าชุมชนมุสลิมส่วนใหญ่ในยุโรปตะวันตกก่อตั้งได้ไม่นาน[3] แต่ก็มีสังคมมุสลิมที่ดำรงอยู่มาหลายศตวรรษในคาบสมุทรบอลข่าน, คอเคซัส, ไครเมีย และภูมิภาควอลกา[4][5][6][7] ศัพท์ "มุสลิมยุโรป" (Muslim Europe) ใช้เรียกประเทศที่มีมุสลิมเป็นส่วนใหญ่ในบอลข่าน (บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, แอลเบเนีย และคอซอวอ) กับบางประเทศในยุโรปตะวันออกที่มีมุสลิมเป็นชนกลุ่มน้อยจำนวนมาก (บัลแกเรีย, มอนเตเนโกร, มาซิโดเนียเหนือ,[8] และบางสาธารณรัฐของรัสเซีย) ที่มีประชากรจำนวนมากเป็นมุสลิมยุโรป[4][5][6] แม้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นฆราวาสก็ตาม[4][5]

ศาสนาอิสลามขยายเข้าสู่คอเคซัสผ่านการพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียโดยมุสลิมในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และเข้าสู่ยุโรปใต้ผ่านการขยายตัวหลังการพิชิตฮิสเปเนียของอุมัยยะฮ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 8–10 หน่วยงานทางการเมืองของมุสลิมมีอยู่อย่างมั่นคงในบริเวณที่ปัจจุบันคือสเปน, โปรตุเกส, ซิซิลี และมอลตาในสมัยกลาง[9] ประชากรมุสลิมในดินแดนเหล่านี้ภายหลังหันมานับถือศาสนาคริสต์หรือถูกเนรเทศออกไปในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยผู้นำคริสเตียน (ดู เรกองกิสตา)[9] จักรวรรดิออตโตมันขยายดินแดนเข้าไปในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้และรวมอำนาจทางการเมืองด้วยการรุกรานและพิชิตดินแดนส่วนมากของจักรวรรดิเซอร์เบีย, จักรวรรดิบัลแกเรีย และดินแดนที่เหลือทั้งหมดของจักรวรรดิไบแซนไทน์ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 15[9] หลายศตวรรษถัดมา จักรวรรดิออตโตมันค่อย ๆ สูญเสียดินแดนในทวีปยุโรปเกือบทั้งหมด จนกระทั่งพ่ายแพ้และล่มสลายใน ค.ศ. 1922 ศาสนาอิสลามเผยแผ่เข้าสู่ยุโรปตะวันออกผ่านการเข้ารีตของชาวบุลการ์วอลกา, Cuman-Kipchaks และภายหลังคือโกลเดนฮอร์ดกับรัฐข่านยุคหลัง กับประชากรมุสลิมหลายกลุ่มที่ชาวรัสเซียเรียกว่า "ชาวตาตาร์" ประชากรมุสลิมที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในยุโรป ได้แก่ Gorani, Torbeshi, Pomaks, ชาวบอสนีแอก, มุสลิมเชื้อสายแอลเบเนีย, ชาวแอลเบเนียเชื้อสายจาม, มุสลิมเชื้อสายกรีก, Vallahades, มุสลิมเชื้อสายโรมานี, ชาวเติร์กในบอลข่าน, ชาวไซปรัสเชื้อสายเติร์ก, ชาวครีตเชื้อสายเติร์ก, Yörüks, ชาวตาตาร์วอลกา, ชาวตาตาร์ไครเมีย, ชาวคาซัค, Gajals และ Megleno-Romanians[7][10]

ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่I 20 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 มีมุสลิมจำนวนมากอพยพเข้าสู่ยุโรปตะวันตก[3] ใน ค.ศ. 2010 ประมาณการว่ามีมุสลิมอาศัยอยู่ในทวีปยุโรปประมาณ 44 ล้านคน (6%) ซึ่งรวมผู้ที่อาศัยอยู่ในสหภาพยุโรปประมาณ 19 ล้านคน (3.8%) [11] คาดการณ์ว่าจำนวนนี้จะเพิ่มขึ้น 8% หรือ 58 ล้านคนใน ค.ศ. 2030[11] พวกเขามักจะเป็นหัวข้อของการอภิปรายที่รุนแรงและการโต้เถียงทางการเมืองที่จุดประกายจากเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น การโจมตีของผู้ก่อการร้ายอิสลามในประเทศแถบยุโรป,[12][13] ข้อถกเถียงกรณีหนังสือ โองการปีศาจ,[14] ภาพการ์ตูนในประเทศเดนมาร์ก,[12] ข้อโต้แย้งเรื่องเครื่องแต่งกายอิสลาม[14] และการสนับสนุนขบวนการและพรรคอิงสามัญชนฝ่ายขวาที่มองมุสลิมเป็นภัยคุกคามต่อวัฒนธรรมยุโรปและค่านิยมเสรีนิยมเพิ่มมากขึ้น[13][14] เหตุการณืเหล่านี้เติมเชื้อเพลิงให้กับข้อโต้แย้งเกี่ยวกับหัวข้อโลกาภิวัตน์, แนวคิดพหุวัฒนธรรม, อาการกลัวอิสลาม, ทัศนคติต่อชาวมุสลิม และสิทธิประชานิยม[13][14][15]

ประวัติ[แก้]

ประชามุสลิมในทวีปยุโรปมีความหลากหลายในทางประวัติศาสตร์และต้นกำเนิดมาก[4][5][6] ปัจจุบัน ภูมิภาคที่มีมุสลิมเป็นส่วนใหญ่ในยุโรปคือคาบสมุทรบอลข่าน (แอลเบเนีย, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, คอซอวอ) และบางสาธารณรัฐของประเทศรัสเซียในคอเคซัสเหนือและภูมิภาคIdel-Ural[4][5][6] ชุมชนในบริเวณเหล่านี้ประกอบด้วยชนพื้นเมืองชาวยุโรปที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีประเพณีทางศาสนามาหลายร้อยปีจนถึงสมัยกลาง[4][5][6] ประเทศข้ามทวีปอย่างตุรกี, อาเซอร์ไบจาน และคาซัคสถานก็มีมุสลิมเป็นส่วนใหญ่ด้วย

อ้างอิง[แก้]

  1. "Religious Composition by Country, 2010-2050". Pew Research Center. 12 April 2015. สืบค้นเมื่อ 22 October 2017.
  2. "Global religious futures Europe". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-12. สืบค้นเมื่อ 2023-01-10.
  3. 3.0 3.1 Cesari, Jocelyne (January–June 2002). "Introduction - "L'Islam en Europe: L'Incorporation d'Une Religion"". Cahiers d'Études sur la Méditerranée Orientale et le monde Turco-Iranien (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: Éditions de Boccard. 33: 7–20. doi:10.3406/CEMOT.2002.1623. S2CID 165345374. สืบค้นเมื่อ 21 January 2021 – โดยทาง Persée.fr.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 Cesari, Jocelyne, บ.ก. (2014). "Part III: The Old European Land of Islam". The Oxford Handbook of European Islam. Oxford: Oxford University Press. pp. 427–616. doi:10.1093/oxfordhb/9780199607976.001.0001. ISBN 978-0-19-960797-6. LCCN 2014936672. S2CID 153038977.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 Clayer, Nathalie (2004). "Les musulmans des Balkans Ou l'islam de "l'autre Europe"/The Balkans Muslims Or the Islam of the "Other Europe"". Religions, pouvoir et société: Europe centrale, Balkans, CEI. Le Courrier de Pays de l'Est (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: La Documentation française. 5 (1045): 16–27. doi:10.3917/cpe.045.0016. ISSN 0590-0239 – โดยทาง Cairn.info.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Bougarel, Xavier; Clayer, Nathalie (2013). Les musulmans de l'Europe du Sud-Est: Des Empires aux États balkaniques. Terres et gens d'islam (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: IISMM - Karthala. pp. 1–20. ISBN 978-2-8111-0905-9 – โดยทาง Cairn.info.
  7. 7.0 7.1 Popović, Alexandre; Rashid, Asma (Summer–Autumn 1997). "The Muslim Culture In The Balkans (16th–18th Centuries)". Islamic Studies. Islamic Research Institute (International Islamic University, Islamabad). 36 (2/3, Special Issue: Islam In The Balkans): 177–190. eISSN 2710-5326. ISSN 0578-8072. JSTOR 23076193.
  8. Macnamara, Ronan (January 2013). "Slavic Muslims: The forgotten minority of Macedonia". Security and Human Rights. Leiden: Brill Publishers/Martinus Nijhoff Publishers on behalf of the Netherlands Helsinki Committee. 23 (4): 347–355. doi:10.1163/18750230-99900038. eISSN 1875-0230. ISSN 1874-7337.
  9. 9.0 9.1 9.2 Buturović, Amila (2009) [2006]. "Part V: Islamic Cultural Region – European Islam". ใน Juergensmeyer, Mark (บ.ก.). The Oxford Handbook of Global Religions. Oxford and New York: Oxford University Press. pp. 437–446. doi:10.1093/oxfordhb/9780195137989.003.0043. ISBN 978-0-19-513798-9. LCCN 2006004402. S2CID 161373775.
  10. Kahl, Thede (2006). Mylonas, Harris (บ.ก.). "The Islamization of the Meglen Vlachs (Megleno-Romanians) : The Village of Nânti (Nótia) and the "Nântinets" in Present-Day Turkey". Nationalities Papers. Cambridge University Press. 34 (1): 71–90. doi:10.1080/00905990500504871. ISSN 0090-5992. S2CID 161615853.
  11. 11.0 11.1 Pew 2011.
  12. 12.0 12.1 Aydınlı, Ersel (2018) [2016]. "The Jihadists after 9/11". Violent Non-State Actors: From Anarchists to Jihadists. Routledge Studies on Challenges, Crises, and Dissent in World Politics (1st ed.). London and New York: Routledge. pp. 110–149. ISBN 978-1-315-56139-4. LCCN 2015050373.
  13. 13.0 13.1 13.2 Kallis, Aristotle (2018). "Part I: Ideology and Discourse – The Radical Right and Islamophobia". ใน Rydgren, Jens (บ.ก.). The Oxford Handbook of the Radical Right. Oxford and New York: Oxford University Press. pp. 42–60. doi:10.1093/oxfordhb/9780190274559.013.3. ISBN 9780190274559. LCCN 2017025436.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 Allievi, Stefano (2003). "Relations and Negotiations: Issues and Debates on Islam". ใน Allievi, Stefano; Maréchal, Brigitte; Dassetto, Felice; Nielsen, Jørgen S. (บ.ก.). Muslims in the Enlarged Europe: Religion and Society (PDF). Muslim Minorities. Leiden: Brill Publishers. pp. 331–368. ISBN 978-90-04-13201-6. ISSN 1570-7571. LCCN 2003049569. S2CID 142974009.
  15. Goodwin, Matthew J.; Cutts, David; Jana-Lipinski, Laurence (September 2014). "Economic Losers, Protestors, and Islamophobes or Xenophobes? Predicting Public Support for a Counter-Jihad Movement". Political Studies. SAGE Publications on behalf of the Political Studies Association. 64: 4–26. doi:10.1111/1467-9248.12159. ISSN 1467-9248. LCCN 2008233815. OCLC 1641383. S2CID 145753701.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]