ประเทศเบลารุส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เบลารุส)

พิกัดภูมิศาสตร์: 53°N 27°E / 53°N 27°E / 53; 27

สาธารณรัฐเบลารุส

Рэспу́бліка Белару́сь (เบลารุส)
Респу́блика Белару́сь (รัสเซีย)
ที่ตั้งของ ประเทศเบลารุส  (เขียว)

ในยุโรป  (เทาเข้ม)  —  [คำอธิบายสัญลักษณ์]

เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
มินสค์
53°55′N 27°33′E / 53.917°N 27.550°E / 53.917; 27.550
ภาษาราชการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่ได้รับการยอมรับ
กลุ่มชาติพันธุ์
(ค.ศ. 2019)[1]
ศาสนา
(ค.ศ. 2011)[2]
เดมะนิมชาวเบลารุส
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดีภายใต้ระบอบเผด็จการ
อาเลียกซันดร์ ลูกาแชนกา [3][4]
รามัน ฮาลอว์แชนกา[5]
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
สภาสาธารณรัฐ
สภาผู้แทนราษฎร
ก่อตั้ง
ค.ศ. 987
คริสต์ศตวรรษที่ 10
ค.ศ. 1236
9 มีนาคม ค.ศ. 1918
25 มีนาคม ค.ศ. 1918
27 กรกฎาคม ค.ศ. 1990
• เป็นเอกราชจากสหภาพโซเวียต
25 สิงหาคม ค.ศ. 1991
15 มีนาคม ค.ศ. 1994
17 ตุลาคม ค.ศ. 2004
พื้นที่
• รวม
207,595 ตารางกิโลเมตร (80,153 ตารางไมล์) (อันดับที่ 84)
1.4% (2.830 ตารางกิโลเมตร หรือ 1.093 ตารางไมล์)a
ประชากร
• ค.ศ. 2021 ประมาณ
9,349,645 (อันดับที่ 96)
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2019
ลดลงเป็นกลาง 9,413,446
45.8 ต่อตารางกิโลเมตร (118.6 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 142)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
ลดลง 185.889 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 69)
ลดลง 19,758 ดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 66)
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
ลดลง 57.708 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 75)
ลดลง 6,133 ดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 84)
จีนี (ค.ศ. 2019)Negative increase 25.3[7]
ต่ำ
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.823[8]
สูงมาก · อันดับที่ 53
สกุลเงินรูเบิลเบลารุส (BYN)
เขตเวลาUTC+3 (เวลามอสโก[9])
รูปแบบวันที่วว.ดด.ปปปป
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+375
โดเมนบนสุด
เว็บไซต์
belarus.by
  1. ^ "FAO's Information System on Water and Agriculture". FAO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2012. สืบค้นเมื่อ 16 February 2013.

เบลารุส (อังกฤษ: Belarus; เบลารุส: Белару́сь, ออกเสียง: [bʲɛlaˈrusʲ]; รัสเซีย: Белару́сь, ออกเสียง: [bʲɪlɐˈrusʲ]) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเบลารุส (อังกฤษ: Republic of Belarus; เบลารุส: Рэспу́бліка Белару́сь; รัสเซีย: Респу́блика Белару́сь) ในอดีตมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เบียโลรัสเซีย (อังกฤษ: Byelorussia; รัสเซีย: Белору́ссия) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับรัสเซีย ยูเครน โปแลนด์ ลิทัวเนีย และลัตเวีย เมืองหลวงของประเทศคือกรุงมินสค์ เมืองสำคัญของประเทศนี้ ได้แก่ แบรสต์ ฆโรดนา โฆเมียล และวีเชปสก์ พื้นที่มากกว่า 40% ของขนาดประเทศ 207,600 ตารางกิโลเมตร (80,200 ตารางไมล์) เป็นป่าไม้ ภาคเศรษฐกิจหลักของประเทศคืออุตสาหกรรมบริการและการผลิต[11] จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ดินแดนที่กลายมาเป็นประเทศเบลารุสในปัจจุบันเคยถูกรัฐต่าง ๆ ในหลาย ๆ ยุคยึดครอง ซึ่งรวมถึงราชรัฐโปลอตสค์ (คริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึง 14), แกรนด์ดัชชีลิทัวเนีย, เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย และจักรวรรดิรัสเซีย

ในช่วงหลังการปฏิวัติรัสเซียใน ค.ศ. 1917 เบลารุสประกาศเอกราชในฐานะสาธารณรัฐประชาชนเบลารุส แต่สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียได้เข้ายึดครอง สาธารณรัฐโซเวียตสังคมนิยมเบียโลรัสเซียได้กลายเป็นสาธารณรัฐองค์ประกอบผู้ก่อตั้งสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1922 และเปลี่ยนชื่อเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย (Byelorussian SSR) ดินแดนของเบลารุสเกือบครึ่งหนึ่งถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของโปแลนด์หลังจากสงครามโปแลนด์–โซเวียตใน ค.ศ. 1919–1921 พรมแดนส่วนใหญ่ของเบลารุสมีลักษณะอย่างปัจจุบันตั้งแต่ ค.ศ. 1939 เมื่อดินแดนบางส่วนของสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 ถูกผนวกเข้ากับเบลารุสอีกครั้งหลังจากการรุกรานโปแลนด์ของสหภาพโซเวียต และได้ข้อสรุปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง[12][13][14] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการต่าง ๆ ทางทหารทำให้เบลารุสเสียหายอย่างรุนแรง โดยสูญเสียประชากรราวหนึ่งในสามและทรัพยากรทางเศรษฐกิจมากกว่าครึ่ง[15] สาธารณรัฐได้รับการพัฒนาขื้นใหม่อีกครั้งหลังสงคราม ใน ค.ศ. 1945 สาธารณรัฐเบียโลรัสเซียกลายเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของสหประชาชาติพร้อมกับสหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐยูเครน[16]

รัฐสภาสาธารณรัฐเบลารุสประกาศอำนาจอธิปไตยของเบลารุสเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1990 และในระหว่างการล่มสลายของสหภาพโซเวียต เบลารุสได้ประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1991[17] อาเลียกซันดร์ ลูกาแชนกา ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของประเทศมาตั้งแต่ ค.ศ. 1994 นักข่าวตะวันตกบางคนได้ขนานนามเบลารุสว่าเป็น "เผด็จการสุดท้ายของยุโรป"[18][19] เนื่องมาจากรูปแบบรัฐบาลซึ่งลูกาแชนกาได้นิยามเองว่าเป็นอำนาจนิยม[20][21][22] ลูกาแชนกายังคงใช้นโยบายหลายประการจากยุคโซเวียต เช่น กรรมสิทธิ์ของรัฐในเศรษฐกิจส่วนใหญ่ การเลือกตั้งภายใต้กฎของลูกาแชนกาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าไม่ยุติธรรม และตามรายงานของประเทศและองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ การต่อต้านทางการเมืองได้ถูกปราบปรามอย่างรุนแรง เบลารุสเป็นประเทศสุดท้ายในยุโรปที่ยังคงใช้โทษประหารชีวิต[23][24][25] คะแนนดัชนีประชาธิปไตยของเบลารุสนั้นต่ำที่สุดในยุโรป เบลารุสถูกระบุว่า "ไม่เสรี" โดยองค์การฟรีดอมเฮาส์ ถูกระบุว่า "ถูกกดขี่" ในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ และได้รับการจัดอันดับว่าเป็นประเทศที่เลวร้ายที่สุดสำหรับเสรีภาพสื่อในยุโรป ในดัชนีเสรีภาพสื่อประจำ ค.ศ. 2013–2014 ซึ่งองค์กรนักข่าวไร้พรมแดนเป็นผู้เผยแพร่โดยจัดเบลารุสอยู่ในอันดับที่ 157 จาก 180 ประเทศทั่วโลก[26]

ใน ค.ศ. 2000 เบลารุสและรัสเซียได้ลงนามในสนธิสัญญาเพื่อความร่วมมือที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยก่อตั้งรัฐสหภาพรัสเซียและเบลารุส กว่าร้อยละ 70 ของประชากรเบลารุสจำนวน 9.49 ล้านคนอาศัยอยู่ในเขตเมือง ประชากรมากกว่าร้อยละ 80 เป็นชาวเบลารุส ชนกลุ่มน้อยขนาดใหญ่ได้แก่ ชาวรัสเซีย, โปแลนด์ และยูเครน นับตั้งแต่การลงประชามติใน ค.ศ. 1995 ประเทศเบลารุสมีภาษาราชการสองภาษาคือภาษาเบลารุสและภาษารัสเซีย รัฐธรรมนูญของเบลารุสไม่ได้ประกาศศาสนาอย่างเป็นทางการ แต่ศาสนาหลักของประเทศคือศาสนาคริสต์นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ศาสนาที่แพร่หลายมากเป็นอันดับสองของเบลารุสคือนิกายโรมันคาทอลิกซึ่งมีผู้นับถือจำนวนน้อยกว่ามาก ถึงกระนั้นเบลารุสก็เฉลิมฉลองวันคริสต์มาสและอีสเตอร์ของทั้งออร์ทอดอกซ์และคาทอลิกในฐานะวันหยุดประจำชาติ[27] เบลารุสเป็นสมาชิกของสหประชาชาตินับตั้งแต่ก่อตั้ง, เครือรัฐเอกราช, องค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน, สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย และขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เบลารุสไม่ได้แสดงความปรารถนาที่จะเข้าร่วมสหภาพยุโรป แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงรักษาความสัมพันธ์ทวิภาคีกับองค์การ และในทำนองเดียวกันเบลารุสมีส่วนร่วมในโครงการสองโครงการของสหภาพยุโรป คือ หุ้นส่วนตะวันออกและการริเริ่มที่บากู

ประวัติศาสตร์[แก้]

ประเทศเบลารุสเริ่มจากการตั้งถิ่นฐานของชาวสลาฟในอดีต เกิดเป็นราชอาณาจักร ภายหลังสวามิภักดิ์ต่อราชอาณาจักรเคียฟ ต่อมาถูกลิทัวเนียยึดครอง เมื่อประกาศเอกราชได้ไม่นานก็ถูกสหภาพโซเวียตเข้ายึดครองอีก ประเทศเบลารุส ได้รับเอกราชจากอดีตสหภาพโซเวียตเมื่อปีพ.ศ. 2534 เป็นหนึ่งในสิบสองประเทศของเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Indepentdent State)

การเมืองการปกครอง[แก้]

การเมืองเบลารุสนั้นคล้ายคลึงกับประเทศรัสเซีย เพราะเคยเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียและได้รับอิทธิพลจากรัสเซียมาก่อน

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

ประเทศเบลารุสแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 แคว้น (voblast) ซึ่งตั้งชื่อแคว้นตามเมืองที่เป็นศูนย์กลางการบริหารของแคว้นนั้น ๆ แคว้นต่าง ๆ จะแบ่งเขตย่อยลงไปเป็นเขต (raion) ส่วนกรุงมินสค์ซึ่งอยู่ในพื้นที่แคว้นมินสค์ มีสถานะพิเศษไม่ขึ้นกับแคว้นใด ๆ การแบ่งเขตการปกครองออกเป็นแคว้นนั้นมีมาตั้งแต่สมัยโซเวียต

แคว้นของเบลารุส
แผนที่แสดงเขตการปกครองของประเทศเบลารุส
แผนที่แสดงเขตการปกครองของประเทศเบลารุส
หมายเลข (บนแผนที่) ธงประจำแคว้น ชื่อแคว้น ชื่อภาษาเบลารุส เมืองศูนย์กลางการบริหาร ชื่อภาษาเบลารุส
1 มินสค์ (เมืองหลวงของเบลารุส) Мінск -
2 แคว้นแบรสต์ Брэсцкая вобласць แบรสต์ Брэст
3 แคว้นโฆเมียล Гомельская вобласць โฆเมียล Гомель
4 แคว้นฆโรดนา Гродзенская вобласць ฆโรดนา Гродна
5 แคว้นมาฆีโลว์ Магілёўская вобласць มาฆีโลว์ Магілёў
6 แคว้นมินสค์ Мінская вобласць มินสค์ Мінск
7 แคว้นวีเชปสก์ Віцебская вобласць วีเชปสก์ Віцебск

โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]

โทรคมนาคม[แก้]

บริษัทโทรคมนาคมของรัฐเบลเทเลคอม (รัสเซีย: Белтелеком) ซึ่งผูกขาดธุรกิจ ได้รับสิทธิ์แต่เพียงรายเดียวในการเชื่อมต่อโครงข่ายกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตนอกประเทศเบลารุส เบลเทเลคอมเป็นเจ้าของช่องสัญญาณหลักทั้งหมดที่เชื่อมโยงกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตได้แก่ Lattelecom, TEO LT, Tata Communications (ในอดีตคือ Teleglobe), Synterra, Rostelecom, Transtelekom และ MTS เบลเทเลคอมยังเป็นผู้ให้บริการเพียงรายเดียวที่ได้รับอนุญาตในการให้บริการ VoIP เชิงพาณิชย์ในเบลารุส[28]

ประชากร[แก้]

ศาสนา[แก้]

แหล่งข้อมูลต่าง ๆ ของรัฐบาลเบลารุส กล่าวว่า ในประเทศมีประชากร 58.9% ที่นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง (ตรวจสอบเมื่อเดือน พฤศจิกายน ปีค.ศ. 2011) ภายใน 58.9% นั้น โดยมากนับถือศาสนาคริสต์นิกายต่าง ๆ ซึ่งในทั่วทั้งประเทศ มีประชากร 82% ที่นับถือ คริสต์ศาสนาคริสตจักรออร์ทอดอกซ์[2] ส่วนผู้ที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก โดยมากอาศัยอยู่ในบริเวณทิศตะวันออกของประเทศ บางเขตแดนมีผู้คนนับถือคริสต์ศาสนาคริสตจักรโปรเตสแตนท์ (ซึ่งเป็นคริสตจักรที่กำเนิดขึ้นตั้งแต่ช่วงเวลาที่เขตแดนเบลารุสได้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสวีเดน) [29] ในประเทศ มีชนกลุ่มน้อยนับถือศาสนาต่าง ๆ อีกด้วย ได้แก่ คริสต์ศาสนาคริสตจักรกรีกคาทอลิก ศาสนายูดาห์ อิสลาม และ ลัทธินอกศาสนาใหม่ (Neopaganism) มีประชากรจำนวนมากที่ได้เปลี่ยนแปลงศาสนาของตนในช่วงเวลาที่ประเทศเบลารุสได้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซีย โดยประชากรโดยมากได้เปลี่ยนจากศาสนาคริสต์แบบกรีกคาทอลิกเป็นคาทอลิกแบบรัสเซีย

ภาษา[แก้]

เบลารุสมีภาษาราชการ 2 ภาษา คือ ภาษาเบลารุสและภาษารัสเซีย ซึ่งเป็นภาษาที่อยู่ในตระกูลภาษาเดียวกัน โดยทั้งสองจัดอยู่ในกลุ่มภาษาสลาวิก มีไวยากรณ์ ระบบเสียง และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกัน ประชากรโดยมากใช้ภาษารัสเซียเป็นหลักและใช้เป็นภาษาแรกโดยมีผู้พูดประมาณ 6,670,000 คน ส่วนภาษาเบลารุส มีผู้พูดประมาณ 2,220,000 คน (ตรวจสอบเมื่อ ค.ศ. 2009) [30]

วัฒนธรรม[แก้]

แหล่งมรดกโลก[แก้]

เบลารุสมีแหล่งมรดกโลกที่ยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนสี่แห่ง ได้แก่ ปราสาทมีร์ (Мірскі замак), ปราสาทเนียสวิซ (Нясьвіскі замак), ป่าดงดิบเบโลเวซสกายา (Белавежская пушча) (ร่วมกับโปแลนด์) และส่วนโค้งภูมิมาตรศาสตร์ชตรูเวอ (Struve Geodetic Arc - หมุดภูมิมาตรระบุเส้นโค้งเมอริเดียน) (ร่วมกับอีกเก้าประเทศ)[31]

อาหาร[แก้]

ดรานิคี (draniki) อาหารประจำชาติ

อาหารเบลารุสมักจะประกอบด้วย พืชผักต่าง ๆ เนื้อสัตว์ (โดยมากเป็นเนื้อหมู) และขนมปัง ประชาชนโดยมากมักรับประทานอาหารประเภทที่ใช้เวลาหุงต้มช้า ๆ หรือจะเป็นอาหารประเภทตุ๋นจนสุกนิ่ม ชาวเบลารุสส่วนใหญ่มักจะรับประทานอาหารมื้อเช้าแบบเบา ๆ แต่ว่าอีกสองมื้อจะเป็นอาหารชุดใหญ่ โดยอาหารค่ำจะเป็นมื้อที่ใหญ่ที่สุด ชาวเบลารุสมักรับประทานขนมปังที่ทำจากข้าวสาลีและข้าวไรย์ แต่ว่าข้าวไรย์เป็นวัตถุดิบที่ค้นหาได้ง่ายสะดวกกว่า เพราะว่าภูมิอากาศของประเทศทำให้การปลูกเพาะข้าวสาลียากกว่า เมื่อเวลามีแขกมาเยี่ยมเยียนบ้าน เจ้าของเจ้าบ้านมักจะนำขนมปังกับเกลือให้แก่แขกที่มาหา เพื่อแสดงบ่งบอกความเป็นมิตร[32]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Belarus in figures 2021" (PDF). National Statistical Committee of the Republic of Belarus. 2021.
  2. 2.0 2.1 "Religion and denominations in the Republic of Belarus" (PDF). Ministry of Foreign Affairs of the Republic of Belarus. November 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-10-09. สืบค้นเมื่อ 2021-06-29.
  3. "Belarus leader Lukashenko holds secret inauguration amid continuing protests". france24.com. 23 September 2020.
  4. "Belarus: Mass protests after Lukashenko secretly sworn in". BBC News. 23 September 2020.
  5. "Lukashenko appoints new government". eng.belta.by. 19 August 2020.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 "World Economic Outlook Database, October 2020". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 5 May 2020.
  7. "GINI index (World Bank estimate) – Belarus". World Bank. สืบค้นเมื่อ 12 August 2021.
  8. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  9. "Time Zone & Clock Changes in Minsk, Belarus". www.timeanddate.com.
  10. "Icann Адобрыла Заяўку Беларусі На Дэлегаванне Дамена Першага Ўзроўню З Падтрымкай Алфавітаў Нацыянальных Моў.Бел". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 26 August 2014.
  11. "Contents". Belstat.gov.by. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 มกราคม 2013. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2012.
  12. Abdelal, Rawi (2001). National purpose in the world economy: post-Soviet states in comparative perspective. Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-3879-0.
  13. Taylor & Francis Group (2004). Europa World Year, Book 1. Europa publications. ISBN 978-1-85743-254-1.
  14. • Клоков В. Я. Великий освободительный поход Красной Армии. (Освобождение Западной Украины и Западной Белоруссии).-Воронеж, 1940.
    • Минаев В. Западная Белоруссия и Западная Украина под гнетом панской Польши.—М., 1939.
    • Трайнин И.Национальное и социальное освобождение Западной Украины и Западной Белоруссии.—М., 1939.—80 с.
    • Гiсторыя Беларусі. Том пяты.—Мінск, 2006.—с. 449–474
  15. Axell, Albert (2002). Russia's Heroes, 1941–45. Carroll & Graf Publishers. p. 247. ISBN 0-7867-1011-X.
  16. "United Nations member States – Growth in United Nations membership, 1945–present". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2014.
  17. "The World Factbook". cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-15. สืบค้นเมื่อ 4 March 2016.
  18. Rausing, Sigrid (7 October 2012). "Belarus: inside Europe's last dictatorship". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 7 August 2014.
  19. "Belarus's Lukashenko: "Better a dictator than gay"". Berlin. Reuters. 4 March 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-06. สืบค้นเมื่อ 2019-03-01. ...German Foreign Minister's branding him 'Europe's last dictator'
  20. "Profile: Alexander Lukashenko". BBC News. BBC. 9 January 2007. สืบค้นเมื่อ 7 August 2014. '..an authoritarian ruling style is characteristic of me [Lukashenko]'
  21. "Essential Background – Belarus". Human Rights Watch. 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-13. สืบค้นเมื่อ 26 March 2006.
  22. "Human rights by country – Belarus". Amnesty International. สืบค้นเมื่อ January 22, 2020.
  23. "Office for Democratic Institutions and Human Rights – Elections – Belarus". สืบค้นเมื่อ 28 December 2010.
  24. "Belarus's election: What should the EU do about Belarus?". 27 December 2010. สืบค้นเมื่อ 28 December 2010.
  25. "Foreign Secretary expresses UK concern following Belarus elections". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 พฤษภาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2010.
  26. Press Freedom Index 2013/2014, Reporters Without Borders, มกราคม 2014, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2014, สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2014
  27. "The official Internet portal of the President of the Republic of Belarus. RusPDAVersion for Visually Impaired People".
  28. "ONI Country Profile: Belarus", OpenNet Initiative, 18 November 2010.
  29. "Belarusian Religion statistics, definitions and sources". Nationmaster.com. สืบค้นเมื่อ 2013-04-29.
  30. Lewis, M. Paul, Gary F. Simons, and Charles D. Fennig (eds.). 2015. Ethnologue: Languages of the World, Eighteenth edition. Dallas, Texas: SIL International. [1]
  31. "Belarus – UNESCO World Heritage Centre". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2006. สืบค้นเมื่อ 26 March 2006.
  32. Canadian Citizenship and Immigration – Cultures Profile Project – Eating the Belarusian Way. Published in 1998. Retrieved 21 March 2007.

บรรณานุกรม[แก้]

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]