ไทยลีก 4
ก่อตั้ง | 2549 |
---|---|
ยุติ | 2563 |
ประเทศ | ไทย |
สมาพันธ์ | เอเอฟซี |
จำนวนทีม | 60 |
ระดับในพีระมิด | 3 (2549-2559) 4 (2560-2562) |
เลื่อนชั้นสู่ | ไทยลีก 3 |
ตกชั้นสู่ | ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก |
ถ้วยระดับประเทศ | ไทยเอฟเอคัพ |
ถ้วยระดับลีก | ไทยลีกคัพ |
ทีมชนะเลิศสุดท้าย | วัดโบสถ์ ซิตี้ (2562) |
เว็บไซต์ | Thai League 4 (T4) |
ไทยลีก 4 (อังกฤษ: Thai League 4) เป็นการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพระดับชั้นที่สี่ในอดีตของประเทศไทย แบ่งการแข่งขันออกเป็น 6 โซน โดยทีมชนะเลิศและรองชนะเลิศของแต่ละโซนรวมทั้งสิ้น 12 สโมสร จะได้สิทธิเข้าแข่งขันในรอบแชมเปียนส์ลีกโดยอัตโนมัติ เพื่อแข่งขันเพลย์ออฟคัดเลือกสโมสร 3 อันดับแรกขึ้นไปสู่ไทยลีก 3 ฤดูกาลถัดไป ขณะเดียวกันอันดับสุดท้ายเมื่อจบฤดูกาล (เริ่มใช้ใน พ.ศ. 2559) จะไม่มีการตกชั้นแต่จะต้องพักทีม ต่อมาในการประชุมสภากรรมการของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 มีมติรับหลักการในการจัดตั้ง บริษัท ฟุตบอลลีกภูมิภาค จำกัด เพื่อทำหน้าที่บริหารฟุตบอลลีกรายการนี้[1] ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ลีกภูมิภาคดิวิชั่น 2 จำกัด
ต่อมาในปี พ.ศ. 2563 ได้มีการควบรวมไทยลีก 3 และไทยลีก 4 เข้าด้วยกัน เหลือเพียงลีกเดียว และเปลี่ยนชื่อเป็น ไทยลีก 3 ออมสินลีก รีเจินนัล แชมเปี้ยนชิพ
ประวัติ
[แก้]ก่อนหน้าที่จะมีการจัดการแข่งขัน สโมสรที่จะตกชั้นจาก ดิวิชั่น 1 จะต้องตกชั้นลงไปทำการแข่งขันฟุตบอล ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. ต่อมาในช่วงหลังจากที่จบการแข่งขัน ดิวิชั่น 1 2549 ทาง สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีความคิดในการที่จะปรับปรุงระบบการแข่งขันฟุตบอลในประเทศ โดยมีปรับโครงสร้างลีก โดยให้สโมสรที่มีความพร้อมในระดับสโมสรอาชีพ จากการแข่งขัน ถ้วยพระราชทาน ข. ประจำปี 2547 และสโมสรที่ตกชั้นจากดิวิชั่น 1 2549 มาแข่งขันกันในลีกใหม่
การควบรวมลีก
[แก้]ในปี 2550 จึงมีการควบรวม โปรวินเชียลลีก โดยได้มีการจัดทำ บันทึกช่วยจำ การจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย ระหว่าง การกีฬาแห่งประเทศไทย กับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ[2] ซึ่งเป็นเอกสารข้อตกลงในการรวมลีกทั้งสองเข้าเป็นลีกเดียว โดยให้สิทธิ์สโมสรที่จบ สองอันดับสุดท้าย ในการแข่งขัน โปรลีก ฤดูกาล 2549 เข้าร่วมการแข่งขันในลีก โดยรวมกับ สองอันดับสุดท้ายของ ฤดูกาล 2549 เป็น 12 สโมสร และปรับโครงสร้างลีกเป็น 22 สโมสร และ ปรับโครงสร้างให้เหลือ 16 สโมสร ในปี 2552
ลีกภูมิภาค
[แก้]ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 สมาคมฯ ได้มีการปรับโครงสร้างให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของ สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ในการแข่งขันฟุตบอลอาชีพ โดยปรับโครงสร้าง จากเดิมให้ดิวิชั่น 2 มี 16 สโมสร เป็นลีกภูมิภาค โดยให้ โปรวินเชียลลีก ควบรวมด้วยกัน[3] โดยจะแบ่งออกเป็นโซนแต่ละภูมิภาค แล้วเอา ชนะเลิศ และ รองชนะเลิศ หรือ อันดับ 1 ถึง 4 ของแต่ละโซนขึ้นไปเล่นในดิวิชั่น 1 เพื่อเป็นการปรับปรุงให้ทีมฟุตบอลจังหวัด ได้พัฒนาให้เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพมากยิ่งขึ้น โดยจะเป็นการแข่งเหย้า-เยือนในแต่ละโซน และจะสามารถหาสิทธิประโยชน์จากการขายป้ายโฆษณา, การขายของที่ระลึก, ค่าผ่านประตู เป็นต้น และเพื่อสะดวกต่อการเดินทางของทุกๆ สโมสร[4]
ชื่อรายการแข่งขัน
[แก้]ช่วงเวลา | ผู้สนับสนุน | ชื่อรายการแข่งขัน |
---|---|---|
2549–2551 | โตโยต้า,เครื่องดื่มตราช้าง,ผลิตภัณฑ์อาหารตราซีพี | ไทยแลนด์ลีกดิวิชั่น 2 |
2552 | ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 | |
2553–2558 | เอไอเอส | เอไอเอส ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 |
2559 | เอไอเอสลีก ดิวิชั่น 2 | |
2560 | ยูโร่ เค้ก | ยูโร่ เค้ก ลีก |
2561–2562 | ธนาคารออมสิน | ออมสิน ลีก |
เครือข่ายถ่ายทอดโทรทัศน์
[แก้]- ครั้งที่ 4-10 : สยามสปอร์ตซินดิเคท / สยามสปอร์ตเทเลวิชัน
- ครั้งที่ 11 : สยามสปอร์ตซินดิเคท / สยามสปอร์ตเทเลวิชัน / ช่องนาว
ผู้สนับสนุนหลัก
[แก้]2549-2551 : ไม่มีผู้สนับสนุน (ไทยลีกดิวิชั่น 2)
2552 : ไม่มีผู้สนันสนุน (ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2)
2553-2559 : เอไอเอส (เอไอเอส ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2)
2560 : ยูโร่ เค้ก (ยูโร่ เค้ก)
2561-2562 : ธนาคารออมสิน (ออมสิน ลีก)
ทำเนียบสโมสร
[แก้]ชนะเลิศและเลื่อนชั้น
[แก้]รายนามทำเนียบสโมสรชนะเลิศการแข่งขัน ลีกดิวิชั่น 2 (2549-2551) และ ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 (2552-2559) ในการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรระดับสามของประเทศ
ลีกดิวิชั่น 2 (2549-2551)
[แก้]# | ฤดูกาล | จำนวน สโมสร |
ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | สโมสรที่เลื่อนชั้น |
---|---|---|---|---|---|
1 | 2549 | 11 | จุฬาฯ-สินธนา | จ่าอากาศ | จุฬาฯ-สินธนา, จ่าอากาศ |
2 | 2550 | 12 | เมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด | ปตท. | เมืองทอง-หนองจอก ยูไนเต็ด, ปตท. |
3 | 2551 | 22 | เทศบาลเมืองปราจิณ | กรมสวัสดิการทหารบก | เทศบาลเมืองปราจิณ, กรมสวัสดิการทหารบก, สงขลา, ศรีสะเกษ |
ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 (2552-2559)
[แก้]# | ฤดูกาล | จำนวน สโมสร |
ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | สโมสรที่เลื่อนชั้น |
---|---|---|---|---|---|
4 | 2552 | 52 | ราชประชา-นนทบุรี | เชียงราย ยูไนเต็ด | ราชประชา-นนทบุรี, เชียงราย ยูไนเต็ด, นราธิวาส |
5 | 2553 | 75 | บุรีรัมย์ | ภูเก็ต | บุรีรัมย์, ภูเก็ต, เชียงใหม่, ชัยนาท, เจดับบลิว รังสิต, บางกอก, สระบุรี |
6 | 2554 | 77 | ราชบุรี | นครราชสีมา | ราชบุรี, นครราชสีมา, พัทลุง, กระบี่ |
7 | 2555 | 81 | อยุธยา | ตราด เอฟซี | อยุธยา, ตราด, ระยอง, ระยอง ยูไนเต็ด |
8 | 2556 | 84 | ร้อยเอ็ด ยูไนเต็ด | เชียงใหม่ | ร้อยเอ็ด ยูไนเต็ด, เชียงใหม่, พิษณุโลก ทีเอสวาย, อ่างทอง |
9 | 2557 | 83 | ประจวบ | ไทยฮอนด้า | ประจวบ, ไทยฮอนด้า, สุโขทัย, พิจิตร |
10 | 2558 | 83 | อุบล ยูเอ็มที ยูไนเต็ด | สตูล ยูไนเต็ด | อุบล ยูเอ็มที ยูไนเต็ด, ขอนแก่น ยูไนเต็ด, ระยอง, ลำปาง |
11 | 2559 | 94 | ตราด ม.เกษตรศาสตร์ สุราษฎร์ธานี หนองบัว พิชญ (ครองแชมป์ร่วมกัน) |
ตราด, หนองบัว พิชญ, ม.เกษตรศาสตร์ |
ไทยลีก 4 (2560-2562)
[แก้]รายนามทำเนียบสโมสรชนะเลิศการแข่งขัน ไทยลีก 4 (2560-2562) ในการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรระดับสี่ของประเทศ
# | ฤดูกาล | จำนวน สโมสร |
ชนะเลิศกลุ่ม A | ชนะเลิศกลุ่ม B | สโมสรที่เลื่อนชั้น |
---|---|---|---|---|---|
12 | 2560 | 61 | บีทียู ส.บุญมีฤทธิ์ ยูไนเต็ด | เจแอล เชียงใหม่ ยูไนเต็ด | บีทียู ส.บุญมีฤทธิ์ ยูไนเต็ด, เจแอล เชียงใหม่ ยูไนเต็ด, เชียงราย ซิตี้, เมืองกาญจน์ ยูไนเต็ด, นาวิกโยธิน ยูเรก้า |
# | ฤดูกาล | จำนวน สโมสร |
ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | สโมสรที่เลื่อนชั้น |
13 | 2561 | 59 | นครปฐม ยูไนเต็ด | ขอนแก่น ยูไนเต็ด | นครปฐม ยูไนเต็ด, ขอนแก่น ยูไนเต็ด, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ |
14 | 2562 | 60 | วัดโบสถ์ ซิตี้ | ปัตตานี | มหาวิทยาลัยปทุมธานี, ปัตตานี, วัดโบสถ์ ซิตี้, เมืองเลย ยูไนเต็ด |
การเลื่อนชั้นและการตกชั้น
[แก้]ฤดูกาล 2549 - 2550
[แก้]สโมสรที่จบ อันดับ 11 ของตาราง (อันดับ 11 และ 12 ในฤดูกาล 2550) ต้องตกชั้นไปทำการแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. และ สโมสรที่ได้ตำแหน่งชนะเลิศและรองชนะเลิศจะได้สิทธิ์เลื่อนชั้นทำการแข่งขันใน ไทยลีกดิวิชั่น 1 ต่อไป
ฤดูกาล 2551
[แก้]ทีม 2 อันดับแรกหลังจากจบฤดูกาล 2551 จากสาย A และ B รวม 4 ทีม จะได้ขึ้นชั้นสู่ไทยลีกดิวิชั่น 1 โดยไม่มีทีมใดต้องตกชั้น เนื่องจากอยู่ระหว่างกระบวนการปรับโครงสร้างลีกใหม่
ฤดูกาล 2552
[แก้]ทีมชนะเลิศจาก 5 ภาค (ภาคเหนือ, ภาคภาคภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, กลางและตะวันออก, กรุงเทพและปริมณฑล และใต้) จะเข้าสู่ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 2552 รอบ 5 ทีมสุดท้าย โดยจะแข่งขันกันในระบบเหย้า-เยือน ทีม 3 อันดับแรกจะได้ขึ้นชั้นสู่ไทยลีกดิวิชั่น 1 โดยไม่มีทีมใดต้องตกชั้น เนื่องจากอยู่ระหว่างกระบวนการปรับโครงสร้างลีกใหม่
ฤดูกาล 2553
[แก้]ทีมแชมป์และรองแชมป์จาก 5 ภาค (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, กลางและตะวันออก, กรุงเทพและปริมณฑล และใต้) รวมกับทีมอันดับ 3 ที่ดีที่สุด จากลีกภูมิภาคภาคเหนือ ลีกภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือลีกภูมิภาคภาคกลางและภาคตะวันออก อีก 2 ทีม รวมเป็น 12 ทีม จะเข้าสู่ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 2553 รอบแชมป์เปี้ยนส์ลีก โดยจับฉลากแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม A และ กลุ่ม B กลุ่มละ 6 ทีมโดยจะแข่งขันกันในระบบเหย้า-เยือน ทีม 2 อันดับแรกจะได้ขึ้นชั้นสู่ไทยลีกดิวิชั่น 1 โดยอัตโนมัติและทีมอันดับที่ 1 ของสายยังได้สิทธิ์เข้าไปชิงแชมป์ดิวิชัน 2 ฤดูกาล 2553 ส่วนทีมอันดับ 2 ของสายมาชิงอันดับ 3 ของลีก
ฤดูกาล 2554
[แก้]ทีมแชมป์และรองแชมป์จาก 5 ภาค (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, กลางและตะวันออก, กรุงเทพและปริมณฑล และใต้) รวมกับทีมอันดับ 3 ที่ดีที่สุด จากลีกภูมิภาคภาคเหนือ ลีกภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลีกภูมิภาคภาคกลางและภาคตะวันออก หรือลีกภูมิภาคกรุงเทพและปริมณฑล อีก 2 ทีม รวมเป็น 12 ทีม จะเข้าสู่ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 2554 รอบแชมป์เปี้ยนส์ลีก โดยจับฉลากแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม A และ กลุ่ม B กลุ่มละ 6 ทีมโดยจะแข่งขันกันในระบบเหย้า-เยือน ทีม 2 อันดับแรกจะได้ขึ้นชั้นสู่ไทยลีกดิวิชั่น 1 โดยอัตโนมัติและทีมอันดับที่ 1 ของสายยังได้สิทธิ์เข้าไปชิงแชมป์ดิวิชัน 2 ฤดูกาล 2554 ส่วนทีมอันดับ 2 ของสายมาชิงอันดับ 3 ของลีก
ฤดูกาล 2555
[แก้]ทีมแชมป์และรองแชมป์จาก 5 ภาค (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, กลางและตะวันออก, กรุงเทพและปริมณฑล และใต้) รวมกับทีมอันดับ 3 ที่ดีที่สุด จากลีกภูมิภาคที่มีทีมแข่งขัน 18ทีม (ภาคเหนือ กรุงเทพและปริมณฑล ภาคกลางและภาคตะวันออก อีก 2 ทีมที่มีคะแนนที่ดีที่สุด และทีมที่มีคะแนนเป็นลำดับที่3 จะต้องไปเพลย์ออฟกับทีมอันดับสองจากลีกภูมิภาคภาคใต้ ทั้งหมดรวมเป็น 12 ทีม จะเข้าสู่ ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 2555 รอบแชมป์เปี้ยนส์ลีก โดยจับฉลากแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม A และ กลุ่ม B กลุ่มละ 6 ทีมโดยจะแข่งขันกันในระบบเหย้า-เยือน ทีม 2 อันดับแรกจะได้ขึ้นชั้นสู่ ไทยลีกดิวิชั่น 1 โดยอัตโนมัติ
ฤดูกาล 2556
[แก้]โควตารอบแชมเปียนส์ลีก (ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ฤดูกาล 2556) [5] เพื่อคัดเลือกทีมเลื่อนชั้นสู่ไทยลีกดิวิชั่น 1
- ทีมลำดับที่ 1 และ 2 จาก 5 กลุ่ม ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพและภาคกลาง ภาคกลางตะวันออก และภาคกลางตะวันตก และอันดับที่ 1 จากกลุ่มภาคใต้ รวมเป็น 11 ทีม
- ทีมลำดับที่ 2 ของกลุ่มภาคใต้ มาทำการเตะเพลออฟกับทีมลำดับที่ 3 ที่ดีที่สุด จาก 2 กลุ่มที่มี 16 ทีม ซึ่งได้แก่ กลุ่มภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยแข่งขันที่สนามเป็นกลาง
รวมเป็น 12 ทีม สำหรับเล่นในรอบแชมเปียนส์ลีก
รอบแชมเปียนส์ลีก แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 6 ทีม มาแข่งขันกัน โดยแต่ละกลุ่มจะแข่งแบบพบกันหมด เหย้า-เยือน เพื่อหาทีมแชมป์ และรองแชมป์ จำนวนกลุ่มละ 2 ทีมไปเล่นใน "ลีกดิวิชั่น 1" ในปีถัดไป
นัดชิงชนะเลิศ และชิงลำดับที่ 3 ในรอบแชมเปียนส์ลีก ให้นำทีมลำดับที่ 1 ในแต่ละกลุ่มมาทำการแข่งขันระบบเหย้า-เยือน
ฤดูกาล 2557
[แก้]โควตารอบแชมเปียนส์ลีก (ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ฤดูกาล 2557) [6] เพื่อคัดเลือกทีมเลื่อนชั้นสู่ไทยลีกดิวิชั่น 1 คัดเลือกจากทีมชนะเลิศและรองชนะเลิศของแต่ละกลุ่มภูมิภาค รวม 12 สโมสร ไม่มีการเพลย์ออฟ
รอบแชมเปียนส์ลีก แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 6 ทีม มาแข่งขันกัน โดยแต่ละกลุ่มจะแข่งแบบพบกันหมด เหย้า-เยือน เพื่อหาทีมแชมป์ และรองแชมป์ จำนวนกลุ่มละ 2 ทีมไปเล่นใน "ลีกดิวิชั่น 1" ในปีถัดไป
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "แย่งซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดไทยลีก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-22. สืบค้นเมื่อ 2016-04-25.
- ↑ https://web.archive.org/web/20070202012321if_/http://www.fat.or.th:80/Download/SATMemo.doc บันทึกช่วยจำ การจัดการแข่งขันฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย ระหว่าง การกีฬาแห่งประเทศไทย กับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูถัปภ์ - เว็บไซต์เก่า ส.ฟ.ท.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-17. สืบค้นเมื่อ 2009-02-17.
- ↑ http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=31686.0;wap2[ลิงก์เสีย] 'บอลอาชีพ'ทั่วไทยปรับโครงสร้างใหม่ อาจดึง'โปรลีก'รวมกับ'ดิวิชั่น 2' ฯ - ไทยแลนด์สู้ๆ
- ↑ ระเบียบและข้อบังคับว่าด้วยการแข่งขันฟุตบอลลีกภูมิภาค "ดิวิชั่น 2" (PDF หน้า 6)
- ↑ ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 รอบ แชมเปี้ยนส์ ลีก