อำเภอนาเชือก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอนาเชือก
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Na Chueak
ปูทูลกระหม่อม (ปูแป้ง) เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน
ปูทูลกระหม่อม (ปูแป้ง) เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน
คำขวัญ: 
ปลาบู่เนื้อหวาน ถิ่นฐานปูทูลกระหม่อม
งามพร้อมผ้าไหม น้ำใสห้วยค้อ
แผนที่จังหวัดมหาสารคาม เน้นอำเภอนาเชือก
แผนที่จังหวัดมหาสารคาม เน้นอำเภอนาเชือก
พิกัด: 15°48′0″N 103°1′54″E / 15.80000°N 103.03167°E / 15.80000; 103.03167
ประเทศ ไทย
จังหวัดมหาสารคาม
พื้นที่
 • ทั้งหมด528.198 ตร.กม. (203.938 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด60,897 คน
 • ความหนาแน่น115.29 คน/ตร.กม. (298.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 44170
รหัสภูมิศาสตร์4407
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอนาเชือก ถนนบรบือ-พยัคฆภูมิพิสัย ตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม 44170
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

นาเชือก เป็นอำเภอในจังหวัดมหาสารคาม เป็นที่ตั้งของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน[1][2] ซึ่งมีปูทูลกระหม่อม ค้นพบในปี พ.ศ. 2536 เป็นปูน้ำจืดชนิดใหม่ของโลกที่เป็นสัตว์ถิ่นเดียวในโลกที่สามารถพบได้ที่ป่าดูนลำพัน โดยขอพระราชทานพระอนุญาตอัญเชิญพระนามของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอนาเชือกมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ[แก้]

ท้องที่ตำบลนาเชือก อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย และตำบลเขวาไร่ อำเภอบรบือ มีประชาชนอยู่หนาแน่นและห่างไกลจากที่ว่าการอำเภอ ได้รับความลำบากในการติดต่อราชการ ในปี พ.ศ. 2482 ประชาชนตำบลนาเชือก โดยการนำของ นายประกิจ ปะวะโก สมาชิกสภาจังหวัดมหาสารคาม ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยและนำเรื่องนี้เสนอต่อที่ประชุมสภาจังหวัดมหาสารคาม เพื่อขอให้ทางราชการจัดตั้งกิ่งอำเภอขึ้นในท้องที่ตำบลนาเชือก สภาจังหวัดรับหลักการและจังหวัดให้นายอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยและอำเภอบรบือ จัดการสำรวจสถิติเสนอกระทรวงมหาดไทย เพื่อประกอบในการจัดตั้งกิ่งอำเภอขึ้น เนื่องจากเหตุผลบางประการเรื่องนี้จึงได้สะดุดหยุดลง แต่ประชาชนก็ยังมีความต้องการและเรียกร้องให้มีการจัดตั้งกิ่งอำเภอตามความต้องการเรื่อยมา

ปี พ.ศ. 2496 สภาจังหวัดให้นายอำเภอบรบือและอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ร่วมกันทำการสำรวจพื้นที่จัดตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอขึ้น และเลือกพื้นที่ระหว่างบ้านนาเชือกกับบ้านกุดรัง เป็นที่ตั้งที่ว่าการซึ่งเป็นทำเลที่ดีในการวางผังเมือง และปี พ.ศ. 2500 กระทรวงมหาดไทยจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอ แต่ระงับเนื่องจากผู้รับเหมาเลิกสัญญา ต่อมาในปี พ.ศ. 2501 ได้จัดสรรงบประมาณดำเนินการก่อสร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอจนแล้วเสร็จ[3] ทางจังหวัดได้มอบหมายให้ นายเวศ สุริโย นายอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยเป็นผู้ควบคุมดูแลการก่อสร้าง เพราะที่ตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภออยู่ในเขตท้องที่อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย

เดือนมีนาคม พ.ศ. 2503 มีการเปลี่ยนเขตอำเภอบรบือ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย อำเภอวาปีปทุม เนื่องจากเตรียมกตั้งกิ่งอำเภอนาเชือก โดยโอนพื้นที่ตำบลนาเชือกกับพื้นที่หมู่ 9–16 ของตำบลนาภู อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย รวมทั้งพื้นทีหมู่ 6,8,10–15,20,22 ของตำบลนาดูน และพื้นที่หมู่ 2,8,11–16,18 ของตำบลนาข่า อำเภอวาปีปทุม มาขึ้นกับอำเภอบรบือ[4] ก่อนที่ในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน ได้ประกาศแยกตำบลนาเชือก ตำบลเขวาไร่ อำเภอบรบือ มาตั้งเป็น "กิ่งอำเภอนาเชือก"[5] เปิดใช้ที่ทำการกิ่งอำเภอในวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2503

ก่อนจัดตั้งเป็นอำเภอ พ.ศ. 2504 กิ่งอำเภอนาเชือกจัดตั้งตำบลเพิ่มอีก 3 ตำบล โดยแยก 13 หมู่บ้านของตำบลเขวาไร่ ตั้งเป็น ตำบลสำโรง กับแยก 19 หมู่บ้านของตำบลนาเชือก ตั้งเป็น ตำบลปอพาน และแยก 10 หมู่บ้านของตำบลนาเชือกรวมกับ 5 หมู่บ้านของตำบลเขวาไร่ ตั้งเป็น ตำบลหนองโพธิ์[6] เนื่องจากผ่านหลักเกณฑ์การตั้งอำเภอต้องมีตำบลไม่น้อยกว่า 5 ตำบล จึงตั้งเป็น อำเภอนาเชือก[7] ในปี พ.ศ. 2506 มีการปกครองทั้งหมด 5 ตำบล ได้แก่ ตำบลนาเชือก ตำบลเขวาไร่ ตำบลสำโรง ตำบลปอพาน และตำบลหนองโพธิ์

ท้องที่ว่าการอำเภอนาเชือกมีความเจริญขึ้นจึงตั้งสุขาภิบาลนาเชือก[8] เพื่อดูแลท้องที่ และปี พ.ศ. 2512 ได้จัดตั้งตำบลเพิ่มอีก 3 ตำบล โดยแยก 11 หมู่บ้านของตำบลปอพาน รวมกับ 1 หมู่บ้านของตำบลนาเชือก ตั้งเป็น ตำบลหนองเม็ก กับแยก 6 หมู่บ้านของตำบลเขวาไร่ รวมกับ 4 หมู่บ้านของตำบลหนองโพธิ์ ตั้งเป็น ตำบลหนองเรือ และแยก 8 หมู่บ้านของตำบลนาเชือก รวมกับ 3 หมู่บ้านของตำบลหนองโพธิ์ ตั้งเป็น ตำบลหนองกุง[9]

มีการตั้งกิ่งอำเภอนาดูน ในพื้นที่ใกล้เคียง พื้นที่ 4 หมู่บ้านของตำบลหนองโพธิ์ ได้แก่ หมู่ที่ 4,7,9,11 สะดวกไปติดต่อราชการกับกิ่งอำเภอใหม่นี้ จึงโอนพื้นที่ 4 หมู่บ้านไปขึ้นกับกิ่งอำเภอนาดูน อำเภอวาปีปทุม ในปี พ.ศ. 2515[10] ต่อมาปี พ.ศ. 2519 ได้แยก 9 หมู่บ้านของตำบลสำโรง ตั้งเป็น ตำบลหนองแดง[11] และในปี พ.ศ. 2534 ได้แยก 7 หมู่บ้านของตำบลหนองกุง รวมกับ 3 หมู่บ้านของตำบลหนองโพธิ์ ตั้งเป็น ตำบลสันป่าตอง[12] เป็นตำบลลำดับที่ 10 ของทางอำเภอนาเชือก จนถึงปัจจุบััน

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอนาเชือกแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 145 หมู่บ้าน ได้แก่

1. นาเชือก (Na Chueak) 18 หมู่บ้าน 6. ปอพาน (Po Phan) 16 หมู่บ้าน
2. สำโรง (Samrong) 15 หมู่บ้าน 7. หนองเม็ก (Nong Mek) 20 หมู่บ้าน
3. หนองแดง (Nong Daeng) 10 หมู่บ้าน 8. หนองเรือ (Nong Ruea) 13 หมู่บ้าน
4. เขวาไร่ (Khwao Rai) 19 หมู่บ้าน 9. หนองกุง (Nong Kung) 11 หมู่บ้าน
5. หนองโพธิ์ (Nong Pho) 11 หมู่บ้าน 10. สันป่าตอง (San Pa Tong) 12 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอนาเชือกประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลนาเชือก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาเชือก (เฉพาะพื้นที่หมู่ 1–2, 12 และ 15) และตำบลเขวาไร่ (เฉพาะพื้นที่หมู่ 10)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาเชือก (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลนาเชือก)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสำโรงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแดงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขวาไร่ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลนาเชือก)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองโพธิ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปอพาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปอพานทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเม็ก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเม็กทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเรือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเรือกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกุงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสันป่าตอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสันป่าตองทั้งตำบล

อ้างอิง[แก้]

  1. "กฎกระทรวง ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (59 ก): 26–28. วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
  2. "ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพื้นที่ที่สาธารณประโยชน์ป่าดูนลำพันในท้องที่ตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (ตอนพิเศษ 40 ง): 1–2. วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2542
  3. "กระทู้ถามที่ ว. ๒/๒๕๐๑ ของนายเกียรติ นาคะพงษ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดมหาสารคาม เรื่อง การประกาศตั้งและสร้างที่ทำการกิ่งอำเภอเชียงยืนและกิ่งอำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (43 ง): 1664–1666. วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2501
  4. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอบรบือ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย และอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม พ.ศ. ๒๕๐๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 77 (19 ก): 154–156. วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2503
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกฐานะตำบลขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 77 (67 ง): 1885–1886. วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2503
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอนาเชือก อำเภอบรบือ และอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 78 (58 ง): 1644–1653. วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2504
  7. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอบ่อพลอย อำเภอไทรโยค อำเภอหนองปรือ อำเภอหนองสองห้อง อำเภอประทาย อำเภอห้วยแถลง อำเภอละหานทราย อำเภอกุยบุรี อำเภอตาพระยา อำเภอหนองไผ่ อำเภอนาเชือก อำเภอวัดเพลง อำเภอพนัสนิคม อำเภอภูกระดึง อำเภอปรางค์กู่ อำเภอท่าช้าง อำเภอบ้านด่านลานหอย อำเภอบ้านดง อำเภอสว่างอารมณ์ และอำเภอกุดชุม พ.ศ. ๒๕๐๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (72 ก): 362–366. วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2506
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (16 ง): 522–523. วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอนาเชือก อำเภอบรบือ และอำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (78 ง): 2649–2664. วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2512
  10. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๙๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (123 ก): (ฉบับพิเศษ) 7-8. วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2515
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอนาเชือกและกิ่งอำเภอนาดูน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (110 ง): 2433–2439. วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2519
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองมหาสารคาม และอำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (131 ง): (ฉบับพิเศษ) 50-60. วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2534