อำเภอจัตุรัส
อำเภอจัตุรัส | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Chatturat |
ถนนโกสีย์ ตัวเมืองจัตุรัส | |
คำขวัญ: เมืองพระนรินทร์ ถิ่นแร่เกลือ งามเหลือหอสมุด กว้างสุดบึงละหาน โบราณเส็งกลอง พี่น้องจิตกุศล | |
แผนที่จังหวัดชัยภูมิ เน้นอำเภอจัตุรัส | |
พิกัด: 15°33′56″N 101°50′44″E / 15.56556°N 101.84556°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ชัยภูมิ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 647 ตร.กม. (250 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 74,084 คน |
• ความหนาแน่น | 114.50 คน/ตร.กม. (296.6 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 36130 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3606 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอจัตุรัส ถนนโกสีย์ ตำบลบ้านกอก อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ 36130 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
จัตุรัส เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ เป็นเมืองเศรษฐกิจการค้า ศูนย์กลางความเจริญทางตอนใต้ของจังหวัด ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี เดิมชื่อ “เมืองสี่มุม” ปรากฎหลักฐานการตั้งเมืองในปี พ.ศ.2352 ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชการที่ 2 เป็นเมืองแรกที่ตั้งขึ้นในแถบลุ่มน้ำชี แต่ไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าเมืองนี้ก่อตั้งในปีใด ชื่อ พญาณริน เป็นเจ้าเมือง โดยให้ขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา พ.ศ.2372 ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 3 ทรงพระราชทานนามเมืองใหม่ว่า “เมืองจัตุรัส” มีตำแหน่ง พระนรินทรสงคราม เป็นผู้ว่าราชการเมือง และต่อมา พ.ศ.2442 ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5 ได้ยกเลิกระบบเจ้าเมือง(อาญาสี่) ของหัวเมืองลาวทั่วภาคอีสาน เมืองจัตุรัสจึงถูกยุบ และจัดตั้งเป็น“อำเภอจัตุรัส” จังหวัดชัยภูมิ
ประวัติเป็นมาตามตำนาน(มุขปาฐะ)
[แก้]อำเภอจัตุรัส เดิมมีฐานะเป็นเมืองชื่อ “เมืองสี่มุม” เจ้าเมืององค์แรกคือ “พระนรินทรสงคราม” มีชื่อเดิมว่า “คำ” หรือชาวบ้านเรียกท่านว่า “อาจารย์คำ” เพราะเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ทางโหราศาสตร์ และวิชาอาคมอยู่ยงคงกระพัน เป็นชาวลาวอพยพมาจากเวียงจันทน์ มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านนารายณ์ เมืองนครราชสีมา (ปัจจุบันอยู่ในท้องที่ตำบลจอหอ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา) ต่อมาได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่บ้านสี่มุมและเป็นผู้นำหมู่บ้านชื่อบ้านสี่มุม สันนิษฐานว่าตั้งชื่อตามชื่อของแหล่งน้ำที่ชุมชนอาศัย คือ กุดสี่มุม (ปัจจุบันบ้านสี่มุมอยู่ในตำบลพลกรัง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา) ครั้นเมื่อ พ.ศ.2311 พระเจ้าตากสินหรือพระเจ้ากรุงธนบุรียกทัพมาปราบก๊กเจ้าพิมาย ซึ่งมีกรมหมื่นเทพพิพิธเป็นหัวหน้าก๊ก ตั้งมั่นอยู่ที่เมืองพิมายและต่อมาได้ ยึดเมืองนครราชสีมาเป็นที่ตั้งมั่น เจ้าพิมายให้พระยาวรวงษาธิราชคุมทัพไปตั้งรับเพื่อตีสกัดทัพพระเจ้าตากสินที่ด่านขุนทดและถูกกองทัพ พระเจ้าตากสินตีจนแตกพ่ายในที่สุดในกรณีศึกครั้งนี้อาจารย์คำผู้นำหมู่บ้านสี่มุมได้นำชาวบ้านเข้าสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าตากสินและขออาสาเป็น กองกำลังร่วมสู้รบในกองทัพหลวงด้วย พระเจ้าตากสินทรงยินดีรับไว้และให้เป็นกองกำลังเข้าตีด่านจอหอจนแตกพ่ายสามารถยึดเมืองพิมายและเมืองนครราชสีมาคืนมาได้ในครั้งเข้าตีด่านจอหอ กองกำลังของบ้าน สี่มุมโดยการนำของอาจารย์คำได้แสดงความสามารถในการรบอย่างกล้าหาญ เข้มแข็งเป็นที่พอพระทัยพระเจ้าตากสินเป็นอย่างมาก เมื่อเสร็จการศึกสงครามจึงได้ปูนบำเหน็จความชอบให้อาจารย์คำเป็น “พระนรินทรสงคราม” ยกฐานะบ้านสี่มุมขึ้นเป็น “เมืองสี่มุม” ให้ปกครองเมืองสี่มุมให้ขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา นอกจากนี้แล้วอาจารย์คำและกองกำลังบ้านสี่มุมยังได้ เป็นกำลังสำคัญของกองทัพกรุงธนบุรี ในสงครามปราบก๊กต่างๆ ตลอดทั้งเป็นบุคคลสำคัญในกองทัพของสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกในการ ปราบปรามหัวเมืองฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้วย
รายนามเจ้าเมือง
[แก้]มีเจ้าเมืองปกครองสืบต่อกันมาตามลำดับ ดังนี้
เจ้าเมืองสี่มุม
1. พระนรินทรสงคราม (อาจารย์คำ)
เจ้าเมืองจัตุรัส
3. พระนรินทรสงคราม (บุตร)
4. พระนรินทรสงคราม (เสา)
5. พระนรินทรสงคราม (บุญเฮ้า)
ผู้ว่าราชการเมืองจัตุรัส
6. พระนรินทรสงคราม (ทองดี) (เจ้าเมืองจัตุรัสองค์สุดท้าย) และนายอำเภอจัตุรัสคนแรก
การย้ายเมืองสี่มุม
[แก้]เมืองสี่มุมก่อนที่จะมาตั้งอยู่ที่อำเภอจัตุรัสปัจจุบันนี้ มีการย้ายเมืองหลายครั้ง
- ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2352 ในสมัยพระยานรินทรสงคราม (ทองคำ) เจ้าเมืองสี่มุมองค์ที่ 2 ท่านได้ปรึกษากับกรมการเมืองแล้วเห็นว่าเมืองสี่มุมเดิมไม่เหมาะที่จะเป็นเมืองใหญ่ จึงย้ายที่ตั้งเมืองสี่มุมในที่แห่งใหม่ ห่างจากที่ตั้งเมืองสี่มุมเดิมประมาณ 40 กิโลเมตร มาตั้งที่ บ้านบัวพุยุ(หนองบัวใหญ่) และท่านได้ชักชวนราษฎรช่วยกันสร้างวัดขึ้นทางทิศใต้ของหมู่บ้าน ชื่อว่า วัดสว่างอารมณ์ หรือ “วัดปทุมชาติ” ในปัจจุบัน นับเป็นวัดแห่งแรกที่สร้างขึ้นมาเคียงคู่กับเมืองสี่มุม ต่อมา ทางวัดปทุมชาติและชาวบ้านหนองบัวใหญ่ได้พร้อมใจกันจัดสร้าง “ศาลเจ้าพ่อพระยานรินทร์สงคราม” ขึ้นด้วยแรงศรัทธา เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานระลึกถึงคุณงามความดีของท่านเจ้าเมืองผู้สร้างวัดปทุมชาติ พร้อมทั้งประดิษฐานรูปหล่อเหมือน “พระยานรินทร์สงคราม (ทองคำ)” ไว้ให้บูชาสักการะสืบมา
- ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2425 ในสมัยพระนรินทรสงคราม (บุญเฮ้า) เจ้าเมืองจัตุรัสองค์ที่ 5 เนื่องจากเกิดน้ำท่วมใหญ่ ประกอบกับเกิดพุยุ(อหิวาตกโรค)ระบาดหนัก ท่านจึงได้ย้ายเมืองจัตุรัสจากบ้านหนองบัวใหญ่มาตั้งที่บ้านกอก ซึ่งห่างจากที่ตั้งเดิมไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร ที่ตั้งศาลากลางเมืองอยู่บริเวณหมู่ที่ 1 ตำบลบ้านกอก อำเภอจัตุรัส จนถึงปัจจุบัน
การยุบเมืองจัตุรัส
[แก้]สมัยพระนรินทร์สงคราม (ทองดี) ผู้ว่าราชการเมืองจัตุรัส ปี พ.ศ. 2442 ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองส่วนภูมิภาคหรือหัวเมืองต่างๆ โดยทำการยกเลิกระบบเจ้าเมือง (อาญาสี่) ของหัวเมืองลาวทั่วภาคอีสาน แล้วเปลี่ยนมาเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล กล่าวคือ จัดหัวเมืองต่างๆ ตั้งเป็นมณฑล, จังหวัด, อำเภอ, ตำบล และหมู่บ้าน ส่วนเมืองจัตุรัส เมืองขึ้นมณฑลนครราชสีมาจึงถูกยุบ และจัดตั้งเป็นอำเภอขึ้นมาแทน ชื่อว่า “อำเภอจัตุรัส” ขึ้นต่อจังหวัดชัยภูมิ ส่วนตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองก็เปลี่ยนเป็น “นายอำเภอ” โดยแต่งตั้งให้พระนรินทร์สงคราม (ทองดี) เจ้าเมืององค์ที่ 6 (องค์สุดท้าย) เป็นนายอำเภอ ท่านจึงนับเป็นนายอำเภอคนแรกของอำเภอจัตุรัสตั้งแต่นั้นมา
อำเภอจัตุรัส ในสมัยนั้นมีพื้นที่อาณาเขตกว้างขวางมาก คือ มีพื้นที่ครอบคลุมถึง 6 อำเภอในปัจจุบัน ต่อมาทางราชการได้แบ่งแยกพื้นที่ของอำเภอออกเป็นอำเภอต่าง ๆ ดังนี้
- อำเภอบำเหน็จณรงค์ แยกพื้นที่และการปกครองออกจากอำเภอจัตุรัส จำนวนเนื้อที่ 1,435.904 ตารางกิโลเมตร เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2499
- อำเภอเทพสถิต แยกพื้นที่และการปกครองออกจากอำเภอบำเหน็จณรงค์ ซึ่งเป็นพื้นที่เดิมของอำเภอจัตุรัส จำนวนเนื้อที่ 875.604 ตารางกิโลเมตร เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519
- อำเภอหนองบัวระเหว แยกพื้นที่และการปกครองออกจากอำเภอจัตุรัส จำนวน 2 ตำบล (ตำบลหนองบัวระเหวและตำบลวังตะเฆ่) เนื้อที่ 841.782 ตารางกิโลเมตร เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2521
- อำเภอเนินสง่า แยกพื้นที่และการปกครองออกจากอำเภอจัตุรัส จำนวน 4 ตำบล (ตำบลหนองฉิม ตำบลกะฮาด ตำบลตาเนิน และตำบลรังงาม) เนื้อที่ 222 ตารางกิโลเมตร เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2535
- อำเภอซับใหญ่ แยกพื้นที่และการปกครองออกจากอำเภอจัตุรัส จำนวน 3 ตำบล (ตำบลซับใหญ่ ตำบลท่ากูบ และตำบลตะโกทอง) เนื้อที่ 255 ตารางกิโลเมตร เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540
- อำเภอจัตุรัส ปัจจุบันเหลือจำนวนเนื้อที่ 647 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 431,250 ไร่ แบ่งการปกครองออกเป็น 9 ตำบล 119 หมู่บ้าน
การเปลี่ยนแปลงเขตปกครอง
[แก้]- พ.ศ. 2352 ปรากฎหลักฐานการตั้งเมือง “เมืองสี่มุม” ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชการที่ 2 เป็นเมืองแรกที่ตั้งขึ้นในแถบลุ่มน้ำชี แต่ไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าเมืองนี้ก่อตั้งในปีใด ชื่อ พญาณริน ซึ่งเป็นเจ้าเมืองสี่มุมนั้นมีอยู่ในเอกสารตั้งแต่ปี พ.ศ.2354 (อ้างอิงจดหมายเหตุ ร.2 บัญชีปืนคาบศิลา จำหน่ายและคง จ.ศ.1186) ที่ตั้งเมืองบริเวณบ้านบัวพุยุ (หนองบัวใหญ่) และท่านได้ชักชวนราษฎรช่วยกันสร้างวัดขึ้นทางทิศใต้ของหมู่บ้าน ชื่อว่า วัดสว่างอารมณ์ หรือ “วัดปทุมชาติ” นับเป็นวัดแห่งแรกที่สร้างขึ้นพร้อมกับเมืองสี่มุม
- พ.ศ. 2371 ลดอำนาจหัวเมืองขึ้น หลังกบฏเจ้าอนุวงศ์ “เมืองสี่มุม” มี พญาณริน เจ้าเมือง (อ้างอิงจดหมายเหตุ ร.3 บัญชีรายชื่อเจ้าเมือง จ.ศ.1190)
- พ.ศ. 2372-2373 ราชสำนักกรุงเทพ ลดยศตำแหน่งเจ้าเมือง เป็น พระนรินทรสงคราม เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่ “เมืองสี่มุม” ให้มีนามว่า เมืองจัตุรัส ตรงกับสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 3 (อ้างอิงจดหมายเหตุ ร.3 บัญชีทองคำส่วย จ.ศ.1192)
- พ.ศ. 2424 ย้ายเมือง ครั้งที่ 2 สมัยพระนรินทร์สงคราม(บุญเฮ้า) เจ้าเมืองจัตุรัส เนื่องจากเกิดน้ำท่วมใหญ่ ประกอบกับเกิดพุยุ(อหิวาตกโรค)ระบาดหนัก ท่านจึงได้ย้ายเมืองจัตุรัสจากบ้านหนองบัวใหญ่มาตั้งที่ บ้านกอก ซึ่งห่างจากที่ตั้งเดิมไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร ที่ตั้งศาลากลางเมืองอยู่บริเวณหมู่ที่ 1 ตำบลบ้านกอก อำเภอจัตุรัส
- พ.ศ. 2433 หัวเมืองอีสานก่อนการปฏิรูป พระนรินทร์สงคราม(ทองดี) ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมือง ขึ้นกับเมืองชนบท หัวเมืองลาวฝ่ายกลาง
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2442 ยุบเมืองจัตุรัส โดยจัดให้พระนรินทร์สงคราม(ทองดี) ผู้ว่าราชการเมืองเป็นนายอำเภอ ตั้งที่ว่าการอำเภอ ที่ศาลากลางเมืองจัตุรัส ขึ้นกับเมืองไชยภูมิ์ มณฑลนครราชสีมา อำเภอจัตุรัส มีท้องที่ในเขตการปกครองคือ ตำบลบ้านกอก ตำบลหนองบัวใหญ่ ตำบลกุดน้ำใส ตำบลหนองโดน ตำบลหนองบัวบาน ตำบลละหาน ตำบลบ้านขาม ตำบลบ้านเพชร ตำบลบ้านตาล และตำบลนายางกลัก
- พ.ศ. 2446 ทางราชการได้ยุบอำเภอบำเหน็จณรงค์ เป็นตำบล เรียกว่า ตำบลบ้านชวน อำเภอจัตุรัส
- พ.ศ. 2448 ตั้งกิ่งอำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอจัตุรัส
- วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่อกิ่งอำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอจัตุรัส เป็น กิ่งอำเภอบ้านชวน [1]
- วันที่ 22 มีนาคม 2467 "กิ่งอำเภอบ้านชวน อำเภอจัตุรัส" มีตำบลในเขตการปกครองคือ ตำบลบ้านชวน[2] ตำบลบ้านเพชร ตำบลดอนตาล และโอนพื้นที่ตำบลนายางกลัก[3] อำเภอจัตุรัส มาขึ้นกับกิ่งอำเภอบ้านชวน
- วันที่ 29 สิงหาคม 2481 ตั้งตำบลตาเนิน แยกออกจากตำบลละหาน [4]
- วันที่ 17 เมษายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่อกิ่งอำเภอบ้านชวน อำเภอจัตุรัส เป็น กิ่งอำเภอบำเหน็จณรงค์ [5]
- วันที่ 21 ธันวาคม 2485 ยุบตำบลหนองโดน รวมเข้ากับตำบลบ้านขาม ยุบตำบลหนองบัวใหญ่ รวมเข้ากับตำบลบ้านกอก ยุบตำบลกุดน้ำใส รวมเข้ากับตำบลบ้านกอก และตำบลบ้านขาม และยุบตำบลบ้านตาล รวมเข้ากับตำบลบ้านเพชร และตำบลบ้านชวน กิ่งอำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอจัตุรัส
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลกุดน้ำใส แยกออกจากตำบลบ้านกอกและตำบลบ้านขาม ตั้งตำบลหนองโดน แยกออกจากตำบลบ้านขาม ตั้งตำบลหนองบัวใหญ่ แยกออกจากตำบลบ้านกอก ตั้งตำบลบ้านตาล แยกออกจากตำบลบ้านเพชร และตำบลบ้านชวน[6]
- วันที่ 5 มิถุนายน 2499 ตั้งกิ่งอำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอจัตุรัส เป็น อำเภอบำเหน็จณรงค์ [7]
- วันที่ 10 ธันวาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลจัตุรัส ในพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านกอก
- วันที่ 4 พฤษภาคม 2507 ตั้งตำบลหนองบัวระเหว แยกออกจากตำบลหนองบัวบาน [8]
- วันที่ 5 กรกฎาคม 2508 ตั้งตำบลหนองฉิม แยกออกจากตำบลละหาน ตั้งตำบลหนองบัวโคก แยกออกจากตำบลบ้านขาม และตำบลกุดน้ำใส [9]
- วันที่ 13 กันยายน 2509 ขยายเขตสุขาภิบาลจัตุรัส ให้ครอบคลุมพื้นที่ที่มีความเจริญขึ้น
- วันที่ 13 สิงหาคม 2513 ตั้งตำบลกะฮาด แยกออกจากตำบลตาเนิน [10]
- วันที่ 31 กรกฎาคม 2515 ตั้งตำบลวังตะเฆ่ แยกออกจากตำบลหนองบัวระเหว [11]
- วันที่ 30 พฤษภาคม 2516 ตั้งตำบลท่ากูบ แยกออกจากตำบลหนองโดน [12]
- วันที่ 1 พฤศจิกายน 2519 ตั้งกิ่งอำเภอเทพสถิต มีเขตการปกครอง 3 ตำบล ตำบลวะตะแบก ตำบลนายางกลัก และตำบลห้วยยายจิ๋ว จากอำเภอบำเหน็จณรงค์ (เดิมเป็นท้องที่อำเภอจัตุรัส) [13]
- วันที่ 17 เมษายน 2521 ตั้งกิ่งอำเภอหนองบัวระเหว มีเขตการปกครอง 2 ตำบล ตำบลหนองบัวระเหว และตำบลวังตะเฆ่ [14]
- วันที่ 28 สิงหาคม 2522 ตั้งตำบลห้วยแย้ แยกออกจากตำบลวังตะเฆ่ กิ่งอำเภอหนองบัวระเหว อำเภอจัตุรัส [15]
- วันที่ 13 กรกฎาคม 2524 ตั้งตำบลโคกสะอาด แยกออกจากตำบลหนองบัวระเหว กิ่งอำเภอหนองบัวระเหว อำเภอจัตุรัส [16]
- วันที่ 31 มีนาคม 2526 ตั้งกิ่งอำเภอเทพสถิต อำเภอบำเหน็จณรงค์ (เดิมเป็นท้องที่อำเภอจัตุรัส) เป็น อำเภอเทพสถิต [17]
- วันที่ 18 กรกฎาคม 2527 ตั้งตำบลส้มป่อย แยกออกจากตำบลหนองบัวบาน [18]
- วันที่ 5 สิงหาคม 2528 ตั้งตำบลซับใหญ่ แยกออกจากตำบลท่ากูบ [19]
- วันที่ 7 ตุลาคม 2528 ตั้งตำบลรังงาม แยกออกจากตำบลหนองฉิม [20]
- วันที่ 31 ธันวาคม 2530 ตั้งกิ่งอำเภอหนองบัวระเหว อำเภอจัตุรัส เป็น อำเภอหนองบัวระเหว [21]
- วันที่ 19 กรกฎาคม 2534 ตั้งตำบลตะโกทอง แยกออกจากตำบลท่ากูบ และตำบลซับใหญ่ [22]
- วันที่ 1 เมษายน 2535 ตั้งกิ่งอำเภอเนินสง่า มีเขตการปกครอง 4 ตำบล ตำบลตาเนิน ตำบลหนองฉิม ตำบลรังงาม และตำบลกะฮาด [23]
- วันที่ 28 ธันวาคม 2536 จัดตั้งสุขาภิบาลหนองบัวโคก ในพื้นที่บางส่วนของตำบลหนองบัวโคก
- วันที่ 1 กรกฎาคม 2540 ตั้งกิ่งอำเภอซับใหญ่ มีเขตการปกครอง 3 ตำบล ตำบลซับใหญ่ ตำบลท่ากูบ และตำบลตะโกทอง [24]
- วันที่ 26 กันยายน 2540 ตั้งกิ่งอำเภอเนินสง่า อำเภอจัตุรัส เป็น อำเภอเนินสง่า [25]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลจัตุรัส และ สุขาภิบาลหนองบัวโคก เป็น เทศบาลตำบลจัตุรัส และ เทศบาลตำบลหนองบัวโลก ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 1 พฤศจิกายน 2546 จัดตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน ดังนี้
- (1) แยกบ้านหนองบัวบาน หมู่ที่ 7 ตำบลหนองบัวบาน จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 10 บ้านหนองบัวบาน
- (2) แยกบ้านโนนทอง หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านกอก จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 17 บ้านโนนทอง
- (3) แยกบ้านโนนฝาย หมู่ที่ 1 ตำบลหนองโดน จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 11 บ้านโนนฝายเหนือ
- วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549 จัดตั้งและกำหนดเขตหมู่บ้าน ครั้งที่ 2 ดังนี้
- (1) แยกบ้านหนองบัวบาน หมู่ที่ 8 ตำบลหนองบัวบาน จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 10 บ้านหนองบัวบาน
- (2) แยกบ้านส้มป่อย หมู่ที่ 12 ตำบลส้มป่อย จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 14 บ้านส้มป่อย
- (3) แยกบ้านโคกโต่งโต้น หมู่ที่ 4 ตำบลหนองบัวบาน จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 12 บ้านโคกโต่งโต้น
- วันที่ 28 พฤษภาคม 2550 แยกบ้านหนองบัวรอง หมู่ที่ 3 ตำบลหนองบัวใหญ่ จัดตั้งเป็นหมู่ที่ 10 บ้านหนองบัวรอง
- วันที่ 24 สิงหาคม 2550 ตั้งกิ่งอำเภอซับใหญ่ อำเภอจัตุรัส เป็น อำเภอซับใหญ่ [26]
- วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 ยกฐานะองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวใหญ่ เป็น เทศบาลตำบลหนองบัวใหญ่
การพระราชทานนามสกุล
[แก้]พระนรินทร์สงคราม (ทองดี) สืบเชื้อสายเจ้าเมืองจัตุรัส ได้รับพระราชทานนามสกุลจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6)
- ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๗๙ ณ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2462
ลำดับที่ ๔๗๘๙ พระนรินทร์สงคราม (ทองดี) กรมการพิเศษจังหวัดไชยภูมิ์ บิดาชื่อนายลา พระราชทานนามสกุลว่า "สุวรรณลาช" Suvarnalaja
ภูมิศาสตร์
[แก้]อำเภอจัตุรัส อยู่ห่างจากอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ไปทางทิศใต้ ระยะทางประมาณ 38 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 292 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณพื้นที่ 690 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 431,250 ไร่ อำเภอจัตุรัสตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอหนองบัวระเหว อำเภอบ้านเขว้า และอำเภอเมืองชัยภูมิ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเนินสง่า
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพระทองคำและอำเภอด่านขุนทด (จังหวัดนครราชสีมา)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบำเหน็จณรงค์และอำเภอซับใหญ่
ภูมิประเทศและภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบสูงโคราช สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 200 เมตร มีแม่น้ำชีและลำคันฉูไหลผ่าน มีบึงละหานซึ่งเป็นแหล่งน้ำจืดที่สำคัญ สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย มีบางพื้นที่เป็นดินเค็ม สภาพภูมิอากาศทั่วไปค่อนข้างแห้งแล้ง มีฤดูร้อนยาวนาน (ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม) และมีฤดูหนาวและฝน ช่วงสั้น ๆ
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอจัตุรัสแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 9 ตำบล 119 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | บ้านกอก | (Ban Kok) | 17 หมู่บ้าน | 6. | ละหาน | (Lahan) | 18 หมู่บ้าน | |||||||
2. | หนองบัวบาน | (Nong Bua Ban) | 12 หมู่บ้าน | 7. | หนองบัวใหญ่ | (Nong Bua Yai) | 10 หมู่บ้าน | |||||||
3. | บ้านขาม | (Ban Kham) | 12 หมู่บ้าน | 8. | หนองบัวโคก | (Nong Bua Khok) | 11 หมู่บ้าน | |||||||
4. | กุดน้ำใส | (Kut Nam Sai) | 14 หมู่บ้าน | 9. | ส้มป่อย | (Sompoi) | 14 หมู่บ้าน | |||||||
5. | หนองโดน | (Nong Don) | 11 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอจัตุรัสประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลจัตุรัส ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านกอก
- เทศบาลตำบลหนองบัวโคก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหนองบัวโคก
- เทศบาลตำบลหนองบัวใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวใหญ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านกอก (นอกเขตเทศบาลตำบลจัตุรัส)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวบาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวบานทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านขามทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกุดน้ำใส ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดน้ำใสทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโดน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองโดนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลละหาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลละหานทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวโคก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวโคก (นอกเขตเทศบาลตำบลหนองบัวโคก)
- องค์การบริหารส่วนตำบลส้มป่อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลส้มป่อยทั้งตำบล
เศรษฐกิจและสังคม
[แก้]การศึกษา
- โรงเรียนมัธยมศึกษา 5 แห่ง
- โรงเรียนประถมศึกษา 46 แห่ง
- โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 9 แห่ง
- โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง
- โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 3 แห่ง
- การศึกษานอกโรงเรียน ห้องสมุดประชาชน 2 แห่ง ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 55 แห่ง
- โรงเรียนปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลี 8 แห่ง นักเรียน 478 รูป
- วัด 53 วัด ที่พักสงฆ์ 24 แห่ง มัสยิด 1 แห่ง ประชาชน 99% นับถือศาสนาพุทธ 1% นับถือศาสนาอิสลาม
สถาบันการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30
- โรงเรียนจัตุรัสวิทยาคาร (โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอจัตุรัส)
- โรงเรียนละหานเจริญวิทยา
- โรงเรียนหนองบัวบานวิทยา
สถาบันการศึกษาในสังกัดสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
- โรงเรียนกุดน้ำใสพิทยาคม (โรงเรียนกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ)
- โรงเรียนโนนคร้อวิทยา
สถาบันการศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา 9 แห่ง
- โรงเรียนจัตุรัสวิทยานุกูล (โรงเรียนประถมศึกษาประจำอำเภอจัตุรัส)
- โรงเรียนมะเกลือโนนทอง
- โรงเรียนบ้านโนนจาน
- โรงเรียนบ้านงิ้ว
- โรงเรียนบ้านหนองลุมพุก
- โรงเรียนบ้านหนองบัวโคก
- โรงเรียนบ้านโคกโต่งโต้น
- โรงเรียนบ้านส้มป่อย
- โรงเรียนบ้านโนนเชือก
โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 3 แห่ง
- โรงเรียนศรีเทพบาล (ระดับอนุบาล-ประถมศึกษา)
- โรงเรียนบุญสมประสงค์ (ระดับอนุบาล-ประถมศึกษา)
- โรงเรียนมูลนิธิรุ่งนภาทุ่งเสมียนตราชัยภูมิ (ระดับอนุบาล-ประถมศึกษา)
โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง
- โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลหนองบัวใหญ่ 1 (ระดับก่อนประถมศึกษา)
- โรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลหนองบัวใหญ่ 2 (ระดับก่อนประถมศึกษา)
สาธารณสุข
- โรงพยาบาลจัตุรัส เป็นโรงพยาบาลแม่ข่าย ระดับ M2 ขนาด 120 เตียง และรับการส่งต่อผู้ป่วยจากอำเภอใกล้เคียง (รพช.ลูกข่าย พื้นที่ 4 อำเภอ คือ รพ.บำเหน็จณรงค์ รพ.เทพสถิต รพ.เนินสง่า และรพ.ซับใหญ่) เพื่อมารับบริการที่โรงพยาบาลจัตุรัส
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 11 แห่ง
- สำนักงานสาธารณสุข 1 แห่ง
- คลินิกชุมชนอบอุ่น 1 แห่ง (เทศบาลตำบลจัตุรัส)
- คลินิกแพทย์ 6 แห่ง
- คลินิกทันตแพทย์ 2 แห่ง
- คลินิกสัตวแพทย์ 2 แห่ง
- คลินิกพยาบาลและผดุงครรภ์ 7 แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จ (ขย. 1) 2 แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จ (ขย. 2) 5 แห่ง
สภาพทางเศรษฐกิจ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่ เช่น การปลูกพริก มันสำปะหลัง ข้าวโพด และทำนาปี บางส่วนไปประกอบอาชีพที่ต่างจังหวัด เนื่องจากประชาชนนิยมปลูกมันสำปะหลังจำนวนมาก จึงเกิดโรงงานอุตสาหกรรมแป้งมันขึ้นในพื้นที่บ้านดอนละนาม ตำบลละหาน เพื่อรองรับผลิตผลมันสำปะหลังจากเกษตรกร ทำให้เกิดรายได้และอาชีพรับจ้างในโรงงานเกิดขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังมีโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆที่สำคัญ ได้แก่ โรงงานทอผ้า โรงงานทอกระสอบ และปัจจุบันรัฐบาลได้เปิดศูนย์รับซื้อผลผลิตยางพาราและจำหน่ายปัจจัยการผลิตขึ้นที่อำเภอจัตุรัส (1 ใน 3 แห่งของภาคอีสาน) บริการเกษตรกรในเขตจังหวัดชัยภูมิ เพชรบูรณ์ และนครราชสีมา จึงได้มีการส่งเสริมการปลูกยางพาราในพื้นที่มากขึ้น
การพาณิชย์และการเงิน
- สาขาของธนาคาร 7 แห่ง
- ธนาคารออมสิน สาขาจัตุรัส
- ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาจัตุรัส
- ธนาคารกรุงเทพ สาขาจัตุรัส
- ธนาคารกรุงไทย สาขาจัตุรัส
- ธนาคารกสิกรไทย สาขาจัตุรัส
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) สาขาจัตุรัส
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) สาขาหนองบัวใหญ่
- สหกรณ์ 5 แห่ง
- สหกรณ์ออมทรัพย์ครูชัยภูมิ จำกัด สาขาจัตุรัส
- สหกรณ์การเกษตรจัตุรัส จำกัด
- สหกรณ์ออมทรัพย์เจ้าหน้าที่และลูกจ้างสหกรณ์การเกษตรจัตุรัส
- สหกรณ์การเกษตรไก่เนื้อชัยภูมิ
- สหกรณ์ประมงจัตุรัส
การประมง
- แหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย บึงละหาน มีเนื้อที่ 18,181 ไร่ มีปลาธรรมชาติอุดมสมบูรณ์
- ประมงหมู่บ้าน
- ทำนบปลา 5 แห่ง
- ประมงโรงเรียน 16 แห่ง
- ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาเอกชน 20 แห่ง
- เลี้ยงปลาของเกษตรกร 4,111 ราย พื้นที่ 5,592 ไร่
- สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดชัยภูมิ ตั้งที่บึงละหาน ผลิตพันธุ์ปลาปีละ 15 ล้านตัวและพันธุ์กุ้งปีละ 18 ล้านตัว
อุตสาหกรรม
- โรงงานขนาดกลาง 4 แห่ง
- บริษัทชัยภูมิต๊าช ตำบลละหาน ผลิตแป้งมันสำปะหลัง
- บริษัท เอ.ซี.พี.แอ็พแพเร็ล จำกัด ตำบลละหาน ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป
- บริษัทบางนากระสอบ จำกัด ตำบลละหาน ผลิตกระสอบ
- บริษัท บางกอกไพศาลอุตสาหกรรมการทอ จำกัด ตำบลหนองบัวโคก ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป
- ร้านประกอบรถเพื่อการเกษตร (อีแต๋นและรถไถ) 4 แห่ง
- ลานมันสำปะหลัง 5 แห่ง
- โรงงานอบและบดพริก 5 แห่ง
การคมนาคมและการขนส่ง อำเภอจัตุรัส มีเส้นทางการคมนาคมติดต่อระหว่างตัวจังหวัดและอำเภอหลายเส้นทางทั้งทางรถไฟและรถยนต์
1.การคมนาคมโดยรถไฟ จะมีเส้นทางรถไฟ สายกรุงเทพฯ – หนองคายผ่านโดยมีสถานีจัตุรัส สถานีชั้นหนึ่ง เป็นจุดหลักสำหรับรับส่งผู้โดยสาร ซึ่งมีทั้งขบวนรถท้องถิ่น ระหว่าง ชุมทางบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา - ชุมทางแก่งคอย จังหวัดสระบุรี และขบวนรถด่วน ที่วิ่งระหว่างกรุงเทพ - หนองคาย วิ่งเป็นประจำทุกวัน 2.การคมนาคมระหว่างตัวจังหวัดโดยรถยนต์จะผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 (สีคิ้ว - เชียงคาน) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 205 (ถนนสุรนารายณ์) มีรถโดยสารผ่านหลายสาย
เช่น ระหว่างกรุงเทพ
กรุงเทพ - ชัยภูมิ ( บริษัท ชัยภูมิ ขนส่ง , แอร์ชัยภูมิ, มอหินขาวทัวร์ ,ซันบัส, เทียนไชยแอร์) กรุงเทพ - เมืองเลย ( บริษัท แอร์เมืองเลย ภูกระดึงทัวร์ ชุมแพทัวร์) กรุงเทพ - เมืองเลย - เชียงคาน ( บริษัท แอร์เมืองเลย ภูกระดึงทัวร์ ซันบัส) กรุงเทพ - หนองบัวลำภู - ศรีเชียงใหม่ (บริษัท แอร์เมืองเลย)
ระหว่างจังหวัด
นครราชสีมา - ชัยภูมิ เที่ยวแรก 3.30 น. เที่ยวที่สอง 6.30 เที่ยวถัดไปทุกครึ่งชั่วโมง (นับของ สายเลย เชียงคานด้วย) นครชัยขนส่ง นครราชสีมา - เลย - เชียงคาน เที่ยวแรก 1.30 น. นครชัยขนส่ง เลย - พัทยา - ระยอง นครชัยขนส่ง ภูเก็ต - ขอนแก่น สมบัติทัวร์ นอกจากนี้ยังมีทางหลวงแผ่นดินเชื่อมระหว่างตัวจังหวัด อำเภอ ทำให้มีความสะดวกมาก ส่วนการคมนาคมภายในอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน มีทั้งทางลาดยางและลูกรังที่สามารถใช้งานสะดวกตลอดปีเช่นกัน
การสาธารณูปโภค อำเภอจัตุรัส ส่วนใหญ่ประชาชนมีน้ำสำหรับใช้ในการอุปโภคและบริโภค จากแหล่งน้ำหลายแห่ง เช่น แหล่งน้ำตามธรรมชาติ น้ำฝน และมีระบบประปา (ประปาส่วนภูมิภาค และประปาขนาดเล็ก) นอกจากนี้มีระบบไฟฟ้าใช้ทุกหมู่บ้าน และมีระบบโทรศัพท์ ทั้งส่วนตัวและโทรศัพท์บ้านหลายหมู่บ้าน และมีโทรศัพท์ตำบล โทรศัพท์สาธารณะที่อำนวยความสะดวกในการสื่อสารเพียงพอ และยังมีทีทำการไปรษณีย์ 2 แห่งเพื่อการสื่อสารระดับต่าง ๆ ด้วย
สถานที่สำคัญ
- ศาลเจ้าพ่อพระยานรินทร์สงคราม (เจ้าเมืองสี่มุมองค์ที่ 2 เทศบาลตำบลหนองบัวใหญ่)
- ศาลเจ้าพ่อหลวงบรรเทา (ศาลหลักเมืองจัตุรัส เทศบาลตำบลจัตุรัส)
- ศาลเจ้าพ่อสุริวงศ์เกรียงไกร (เทศบาลตำบลหนองบัวใหญ่ บ้านหนองบัวรอง)
- ศาลเจ้าพ่อขุนด่าน (เทศบาลตำบลหนองบัวใหญ่)
- ศาลเจ้าพ่อขุนศรี (เทศบาลตำบลหนองบัวโคก)
- ศาลเจ้าพ่อหานคำ (อบต.ละหาน)
- ศาลข้าหลวงใหญ่พญาบรมอนุวงศ์ชัยชนะ (อบต.ส้มป่อย)
- รอยพระพุทธบาทจำลอง (วัดปทุมชาติ วัดแห่งแรกสร้างขึ้นพร้อมกับเมืองสี่มุม เทศบาลตำบลหนองบัวใหญ่)
- พระธาตุเจย์ดีศิริมหามงคล หรือ พระธาตุจัตุรัส (วัดศิริพงษาวาส เทศบาลตำบลจัตุรัส)
- ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอจัตุรัส
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ เทศบาลตำบลจัตุรัส (สนามกีฬากลางอำเภอจัตุรัส)
- อาคารศูนย์กีฬาเยาวชนเฉลิมพระเกียรติ
สวนสาธารณะ
- สวนเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา (เทศบาลตำบลจัตุรัส)
- สวนสาธารณะบึงหนองบัวใหญ่ (เทศบาลตำบลหนองบัวใหญ่)
- สวนสาธารณะตำบลกุดน้ำใส (องค์การบริหารส่วนตำบลกุดน้ำใส)
ทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งน้ำในอำเภอจัตุรัสที่สำคัญคือ มีลำน้ำตามธรรมชาติที่ไหลผ่าน 2 สาย คือ แม่น้ำชี ไหลผ่านมาทางอำเภอหนองบัวระเหว ผ่านตำบลส้มป่อย ตำบลหนองบัวบาน และตำบลละหาน ไหลผ่านไปทางอำเภอเมือง ลำคันฉู ไหลผ่านจากอำเภอบำเหน็จณรงค์ ผ่านตำบลบ้านขาม ตำบลหนองโดน ตำบลกุดน้ำใส และตำบลบ้านกอก ซึ่งลำน้ำทั้งสองสายจะมีน้ำไหลเฉพาะฤดูฝนเท่านั้น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ตามธรรมชาติ ได้แก่
- บึงหนองบัวใหญ่ ตั้งอยู่ที่ในพื้นที่ตำบลหนองบัวใหญ่ มีพื้นที่ติดต่อกับบ้านหนองบัวใหญ่ บ้านหนองบัวรอง และบ้านจานทุ่ง ตำบลหนองบัวใหญ่ บึงหนองบัวใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 800 ไร่ ปัจจุบันเทศบาลตำบลหนองบัวใหญ่ ได้มีการพัฒนาให้เป็นสวนสาธารณะ และเป็นแหล่งท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ
- บึงละหาน ตั้งอยู่ที่ในพื้นที่ตำบลละหาน มีพื้นที่ติดต่อกับตำบลหนองบัวใหญ่ ตำบลหนองบัวบาน ตำบลลุ่มลำชี บึงละหานมีเนื้อที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย มีเนื้อที่ประมาณ 18,181 ไร่ เป็นแหล่งน้ำจืดที่สำคัญในการอุปโภคบริโภค และเป็นแหล่งประมงน้ำจืดขนาดใหญ่ของอำเภอจัตุรัส ปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ
สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้]- บึงละหาน เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่หล่อเลี้ยงสรรพชีวิตมากมาย เป็นแหล่งน้ำแห่งวัฒนธรรมความเชื่อ ตำนานเล่าขาน บึงละหานมีเนื้อที่ ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศไทยมีเนื้อที่ 18,181 ไร่ บึงละหานเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์และยังมีระบบนิเวศที่ดีควรค่าแก่การศึกษาและอนุรักษ์ ปัจจุบันบึงละหานได้รับการประกาศเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำระดับชาติ ตามมติของคณะรัฐมนตรี พุทธศักราช 2543 ครอลคลุมพื่นที่ 4 ตำบลในอำเภอ จัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ได้แก่ ตำบลละหาน ตำบลหนองบัวใหญ่ ตำบลหนองบัวบาน ตำบลลุ่มลำชี
- พระธาตุเจดีย์ศิริมหามงคล (พระธาตุจัตุรัส) ตั้งอยู่ที่ วัดศิริพงษาวาส ตำบลบ้านกอก อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ มีอุโบสถเป็นรูปเจดีย์ ยอดพระธาตุเจดีย์บรรจุพระธาตุ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
ตัวอำเภอ
[แก้]บริเวณตัวเมืองจัตุรัส จะครอบคลุมพื้นที่ 2 ชุมชนขนาดใหญ่ ซึ่งอดีตคือตัวเมืองสี่มุม ปัจจุบันแบ่งเขตพื้นที่การบริหารออกเป็น เทศบาลตำบล 2 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลจัตุรัส ชุมชนบ้านกอก (เมืองจัตุรัส) ย่านเศรษฐกิจหลัก เป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการอำเภอจัตุรัส ได้แก่ ที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจภูธร สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ชัยภูมิ สำนักงานสาธารณุขอำเภอ สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานประมงอำเภอ สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ห้องสมุดประชาชน"เฉลิมราชกุมารี" ศาลเจ้าพ่อหลวงบรรเทา (ศาลหลักเมืองจัตุรัส) พระธาตุเจย์ดีศิริมหามงคล (พระธาตุจัตุรัส วัดศิริพงษาวาส) สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ สถานีรถไฟจัตุรัส ห้างสรรพสินค้าโลตัส ตลาดสดเทศบาลตำบลจัตุรัส เป็นต้น
- เทศบาลตำบลหนองบัวใหญ่ ชุมชนหนองบัวใหญ่ (เมืองสี่มุม) ย่านเศรษฐกิจรอง เป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการบางส่วนของอำเภอจัตุรัส ได้แก่ โรงพยาบาลจัตุรัส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ สำนักงานการประปาส่วนภูมิภาค ศาลเจ้าพ่อพระยานรินทร์สงคราม (เจ้าเมืองสี่มุม) วัดปทุมชาติ (วัดแห่งแรกสร้างขึ้นพร้อมกับเมืองสี่มุม) ตลาดชุมชนตำบลหนองบัวใหญ่ เป็นต้น
ชาวอำเภอจัตุรัสที่มีชื่อเสียง
[แก้]- พิมพา พรศิริ นักร้อง หมอลำ
- พจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภรรยาของทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23
- อติรุจ สิงหอำพล ดารา นักแสดง
- สายัณห์ นิรันดร นักร้อง ลูกทุ่ง
- ดร.สุรัฐ ศิลปอนันต์ อดีต ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
- สุชน ชาลีเครือ อดีตประธานวุฒิสภา
- สุเมธ กลมเกลี้ยง อดีตผู้อำนวยการสำนักโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน
อ้างอิง
[แก้]- https://district.cdd.go.th/chatturat/about-us/ประวัติความเป็นมา/ เก็บถาวร 2020-02-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER31/DRAWER011/GENERAL/DATA0000/00000004.PDF เก็บถาวร 2023-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนตำบลละหาน เก็บถาวร 2011-09-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2022-05-13.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2465/A/89.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2467/A/348.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2481/D/1938.PDF
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2022-05-13.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-05-13.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-11. สืบค้นเมื่อ 2022-05-13.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2507/D/046/1486.PDF
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:1
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2513/D/083/2430.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2515/D/121/1999.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2516/D/070/1902.PDF
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2022-05-13.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2022-05-13.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2522/D/171/3362.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2524/D/125/2613.PDF
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2022-05-13.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2527/D/121/3095.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2528/D/175/10.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2529/D/175/10.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2530/A/278/33.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2534/D/151/8343.PDF
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-09. สืบค้นเมื่อ 2022-05-13.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-01-26. สืบค้นเมื่อ 2022-05-13.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2022-05-13.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2022-05-13.