สัตวโลก
หน้าตา
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
ในศาสนาพุทธ สัตวโลก หมายถึง หมู่สัตว์[1][2] (บาลี: สตฺต) คือสิ่งมีชีวิต มีพิชาน มีขันธ์[3] แต่ยังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์ จึงยังไม่พ้นทุกข์ ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ[4]
ศัพทมูล
[แก้]คำว่า สตฺต มาจากรากศัพท์ในภาษาบาลี สชฺ (ติด, ข้อง) ลง ต ปัจจัย กลายเป็น สตฺต แปลว่า ผู้ติด ผู้ข้องอยู่[5]
การส่อความ
[แก้]ในพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค สัตตสูตร พระโคตมพุทธเจ้าตรัสกับพระราธะ อธิบายความหมายของ "สัตว์" ว่าหมายถึง บุคคลผู้ข้องติดอยู่ในความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในขันธ์ เหมือนเด็กที่ยังสนุกกับการเล่นปั้นดินเป็นบ้าน จึงอาลัย อยากเล่น หวงแหน ยึดถือบ้านดินนั้น ไม่ยอมให้ใครมาแตะต้อง ต่อเมื่อเบื่อแล้วจึงรื้อทำลายบ้านนั้นด้วยมือและเท้าของตนเอง แล้วทรงสอนให้พระราธะพิจารณารื้อทำลายขันธ์ 5 จนไม่มีความยินดี สิ้นตัณหา นั่นคือนิพพาน[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
- ↑ พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) (30 ตุลาคม พ.ศ. 2547). "สัตวโลก". พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ Getz, Daniel A. (2004). "Sentient beings"; cited in Buswell, Robert E. (2004). Encyclopedia of Buddhism. Volume 2. New York, USA: Macmillan Reference USA. ISBN 0-02-865720-9 (Volume 2): pp.760
- ↑ Kimura, Kiyotaka (1991). The Self in Medieval Japanese Buddhism: Focusing on Dogen; cited in Philosophy East and West; Volume 41, Number 3, July 1991. University of Hawaii Press: pp.327–340. Accessed 22 October 2008.
- ↑ พระมหาธิติพงศ์ อุตฺตมปญฺโ (2556). "ไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น" (PDF). มหาบาลีวิชชาลัย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-01-10. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สัตตสูตร". พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)