สังฆาทิเสส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สังฆาทิเสสคือประเภทของโทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทประเภท ครุกาบัติที่เรียกว่า อาบัติสังฆาทิเสส จัดเป็นอาบัติโทษรุนแรงรองจากปาราชิก มีทั้งหมด 13 ประการดังนี้

  1. ทำน้ำอสุจิเคลื่อน ยกเว้นฝันเปียก
  2. แตะต้องสัมผัสกายสตรีด้วยความกำหนัด
  3. พูดเกี้ยวพาราสีสตรีด้วยวาจาอันชั่วหยาบ
  4. พูดจาให้สตรีบำเรอกามให้
  5. ทำตัวเป็นพ่อสื่อ
  6. สร้างกุฏิด้วยการขอ
  7. มีเจ้าภาพสร้างกุฏิให้แต่ไม่ให้สงฆ์แสดงที่ก่อน
  8. ใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
  9. แกล้งสมมติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
  10. ทำสงฆ์แตกแยก(สังฆเภท)
  11. เข้าข้างภิกษุที่ทำสงฆ์แตกแยก
  12. ภิกษุทำตนเป็นคนหัวดื้อ
  13. ประทุษร้ายตระกูล(ประจบคฤหัสถ์)

คำว่าสังฆาทิเสสแปลว่าอาบัติที่ต้องอาศัยสงฆ์ในกรรมเบื้องต้นและกรรมที่เหลือ กล่าวคือเมื่อภิกษุต้องอาบัติดังกล่าวแล้ว ต้องแจ้งแก่สงฆ์ 4 รูปเพื่อขอประพฤติวัตรที่ชื่อมานัต เมื่อสงฆ์อนุญาตแล้วจึงประพฤติวัตรดังกล่าวเป็นเวลา 6 คืน เมื่อพ้นแล้วจึงขอให้สงฆ์ 20 รูปทำสังฆกรรมสวดอัพภานให้ เมื่อพระสงฆ์สวดอัพภานเสร็จสิ้น ถือว่าภิกษุรูปนั้นพ้นจากอาบัติข้อนี้

ในกรณีที่ภิกษุต้องอาบัติข้อนี้แล้วปกปิดไว้ เมื่อมาแจ้งแก่หมู่สงฆ์แล้ว ต้องอยู่ปริวาสกรรมเท่ากับจำนวนวันที่ปกปิดไว้ก่อน เช่น ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วปกปิดไว้หนึ่งเดือน เมื่อแจ้งแก่สงฆ์แล้วต้องอยู่ปริวาสหนึ่งเดือน แล้วจึงขอประพฤติวัตรมานัตต่อไป

อ้างอิง[แก้]