วิทวัส รชตะนันทน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทวัส รชตะนันทน์
ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน
ดำรงตำแหน่ง
18 พฤศจิกายน 2561 – 24 พฤษภาคม 2564
ก่อนหน้าศรีราชา วงศารยางกูร
ถัดไปสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต
รักษาการ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน
ดำรงตำแหน่ง
18 กันยายน พ.ศ. 2559 – 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
ผู้ตรวจการแผ่นดินของประเทศไทย
ดำรงตำแหน่ง
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
ก่อนหน้าศรีราชา เจริญพานิช
รักษาการปลัดกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
27 สิงหาคม พ.ศ. 2555 – 30 กันยายน พ.ศ. 2555
ก่อนหน้าพลเอก เสถียร เพิ่มทองอินทร์
ถัดไปพลเอก ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 เมษายน พ.ศ. 2495 (71 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสกนกทิพย์ รชตะนันทน์
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
กระทรวงกลาโหม
ประจำการ2518 - 2555
ยศ พลเอก
บังคับบัญชารองปลัดกระทรวงกลาโหม

พลเอก วิทวัส รชตะนันทน์ (27 เมษายน พ.ศ. 2495 -) อดีตประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน[1] [2] [3] ผู้ตรวจการแผ่นดินของประเทศไทย อดีตรักษาการปลัดกระทรวงกลาโหม อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหม อดีตราชองครักษ์พิเศษ[4] อดีตตุลาการศาลทหารสูงสุด และอดีตเลขาธิการสภากลาโหม

ประวัติ[แก้]

พลเอก วิทวัส รชตะนันทน์ เกิดเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2495 เป็นชาวอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี สมรสกับ นางกนกทิพย์ รชตะนันทน์ มีบุตร 1 คน[5]

การศึกษา[แก้]

โรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 11 รุ่นเดียวกับ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่น 22 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรหลักประจำ ชุดที่ 61

ปริญญาโทรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และและสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 2548 (วปอ. 2548) หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ 1

รับราชการ[แก้]

เริ่มรับราชการในยศร้อยตรี ในตำแหน่ง ผบ.หมวดปืนเล็ก กองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 1 เมื่อปี 2518 ปี 2520 ย้ายมาเป็นผบ.หมวดเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 60 ม.ม. กองร้อยอาวุธเบา และนายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำเสนาธิการทหารบก ในปี 2532 เป็นนายทหารคนสนิท ปลัดกระทรวงกลาโหม ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งผอ.ศูนย์พัฒนากิจการอวกาศกลาโหม เจ้ากรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม ผอ.สำนักนโยบายและแผนกลาโหม และรองปลัดกลาโหม เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555 ได้ดำรงตำแหน่งรักษาการปลัดกระทรวงกลาโหมแทน พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ที่ถูกย้ายไปช่วยราชการสำนักงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[6]

ผู้ตรวจการแผ่นดิน[แก้]

พลเอก วิทวัส รชตะนันทน์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของประเทศไทย[7][8] แทนนายพรเพชร วิชิตชลชัย ที่ขอลาออกจากตำแหน่ง

วันที่ 26 กันยายน คณะกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินที่มีนายดิเรก อิงคนินันท์ ประธานศาลฎีกา เป็นประธานการประชุมเป็นครั้งที่ 2 เพื่อลงมติเลือกผู้สมควรเป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน จากผู้ที่เสนอชื่อเข้ารับการสรรหาทั้งหมด 21 คน

ทั้งนี้ ที่ประชุมลงมติเลือก พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน ด้วยคะแนนเสียง 4 คะแนน ซึ่งเป็นคะแนนไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการเท่าที่มีอยู่ จากกรรมการเท่าที่มีอยู่จำนวน 6 คน[9] และได้รับโปรดเกล้าเป็นประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/114/T_0001.PDF
  2. พระราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานผู้ตรวจการแผ่นดินและผู้ตรวจการแผ่นดิน [๑. พลเอก วิทวัส รชตะนันทน์ ๒. นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต]
  3. ประกาศสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เรื่อง การปฏิบัติหน้าที่แทนประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอน ๒๒๐ ง พิเศษ หน้า ๘ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๙
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/092/T_0001.PDF
  5. รู้จัก "วิทวัส รชตะนันทน์ "รักษาการ"ปลัดกลาโหม"
  6. "เด้ง!'พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์'พ้นปลัดกห". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-17. สืบค้นเมื่อ 2015-01-16.
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งผู้ตรวจการแผ่นดิน (พลเอก วิทวัส รชตะนันทน์)
  8. โปรดเกล้าฯ 'วิทวัส รชตะนันทน์' นั่งผู้ตรวจการแผ่นดิน
  9. 'วิทวัส รชตะนันทน์' นั่งผู้ตรวจการแผ่นดินคนใหม่
  10. โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง "พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์" เป็นประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๕๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๒ กันยายน ๒๕๒๒
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๔๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๒๐ มีนาคม ๒๕๒๓
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2017-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๘, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๓๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๐๓, ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๖