วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อย่อ | วิทยาลัยสื่อ / CAMT(แค้มท์) |
---|---|
คติพจน์ | วิทยาลัยนวัตกรรมความรู้ “College for Knowledge Workers’ Innovation” |
สถาปนา | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2546 |
คณบดี | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิชญ์ จันทร์ฉาย |
ที่ตั้ง | |
เว็บไซต์ | www.camt.cmu.ac.th |
วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อังกฤษ: College of Arts, Media and Technology) มีฐานะเป็นองค์กรในกำกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในระดับเทียบเท่ากับคณะ[1]
ประวัติ
[แก้]วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี ก่อตั้งขึ้นเพื่อบูรณาการสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องให้มีความสอดคล้อง เพื่อสนับสนุนด้านวิชาการแก่กลุ่มอุตสาหกรรมในท้องถิ่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงได้นำเสนอโครงการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันเน้นการพัฒนากลุ่มแข่งขัน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หัตถอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในภาคเหนือ และได้นำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยได้รับอนุมัติโครงการในวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 เป็นกรอบงบประมาณทั้งสิ้น 464.3 ล้านบาท และมี "โครงการจัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร สื่อและศิลปะ" ขึ้น สภามหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2546 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2546 อนุมัติให้จัดตั้งวิทยาลัย โดยให้แก้ไขชื่อเป็น “วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่" (College of Arts, Media and Technology) มีฐานะเป็นองค์กรในกำกับมหาวิทยาลัย ในระดับเทียบเท่ากับคณะ ที่ไม่เป็นส่วนราชการตามมาตรา 8 และ 9 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2530 มีการบริหารงานเป็นอิสระจากระบบราชการมีการบริหารและการจัดการเทียบเท่ากับวิทยาลัยนานาชาติของมหาวิทยาลัยอื่น[2]
หลักสูตรที่เปิดสอน
[แก้]ปริญญาตรี
[แก้]- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (หลักสูตรนานาชาติ)[3]
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสมัยใหม่และเทคโนโลยีสารสนเทศ[4]
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาแอนิเมชัน[5]
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาดิจิทัลเกม[6]
- หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบูรณาการอุตสาหกรรมดิจิทัล[7]
ปริญญาโท
[แก้]- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์[8]
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการความรู้และนวัตกรรม[9]
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล[10]
ปริญญาเอก
[แก้]- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการความรู้และนวัตกรรม[11]
ทำเนียบคณบดี
[แก้]- ทำเนียบคณบดีวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณบดีวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | ||
รายนามคณบดี | ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง
| |
---|---|---|
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์ |
กรกฎาคม พ.ศ. 2546 - กรกฎาคม พ.ศ. 2550 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 - กรกฎาคม พ.ศ. 2554 | |
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิติพงษ์ ยอดมงคล |
กรกฎาคม พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "แนะนำวิทยาลัย". go-camt.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-08. สืบค้นเมื่อ 2021-05-08.
- ↑ "แนะนำวิทยาลัย". go-camt.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-08. สืบค้นเมื่อ 2021-05-08.
- ↑ "วิศวกรรมซอฟต์แวร์". go-camt.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-08. สืบค้นเมื่อ 2021-05-08.
- ↑ "การจัดการสมัยใหม่และเทคโนโลยีสารสนเทศ". go-camt.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-08. สืบค้นเมื่อ 2021-05-08.
- ↑ "แอนนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์". go-camt.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-08. สืบค้นเมื่อ 2021-05-08.
- ↑ "ดิจิทัลเกม". go-camt.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-08. สืบค้นเมื่อ 2021-05-08.
- ↑ "บูรณาการอุตสาหกรรมดิจิตัล". go-camt.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-08. สืบค้นเมื่อ 2021-05-08.
- ↑ "บูรณาการอุตสาหกรรมดิจิตัล". go-camt.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-08. สืบค้นเมื่อ 2021-05-08.
- ↑ "บูรณาการอุตสาหกรรมดิจิตัล". go-camt.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-08. สืบค้นเมื่อ 2021-05-08.
- ↑ "การจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล ป.โท". www.go-camt.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-08. สืบค้นเมื่อ 2021-05-08.
- ↑ "การจัดการความรู้และนวัตกรรม ป.เอก". www.go-camt.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-08. สืบค้นเมื่อ 2021-05-08.