ภาษาเลปชา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาเลปชา
ประเทศที่มีการพูดรัฐสิกขิม อินเดีย บางส่วนของเนปาลและภูฏาน
จำนวนผู้พูด50,000 คน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรเลปชา
รหัสภาษา
ISO 639-3lep

ภาษาเลปชา(อักษรเลปชา: ; Róng ríng)เป็นภาษาที่พูดโดยชาวเลปชา ในรัฐสิกขิม อินเดีย รวมทั้งบางส่วนของเนปาลและภูฏาน เขียนด้วยอักษรเลปชา ต้นกำเนิดของอักษรนี้ยังคลุมเครือ เริ่มแรกเขียนในแนวตั้งแบบเดียวกับอักษรจีน จัดเป็นภาษาท้องถิ่นในบริเวณที่ใช้พูด มีผู้พูดราว 50,000 คน

ประชากร[แก้]

ภาษาเลปชาใช้พูดโดยชนกลุ่มน้อยในรัฐสิกขิม และรัฐเบงกอลตะวันตกรวมทั้งในเนปาลและภูฏาน ภาษานี้จัดเป็นภาษาดั้งเดิมก่อนการมาถึงของภาษาทิเบตและภาษาเนปาลี ผู้พูดภาษาเลปชามีหลายกลุ่ม โดยกลุ่มที่อยู่ในอินเดียมีมากกว่าเนปาลและภูฏาน[1] โดยประมาณ คาดว่าผู้พูดภาษาเลปชามีประมาณ 53,000 คน โดยมีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราว 30,000 คน

การจัดจำแนก[แก้]

ภาษาเลปชาเป็นภาษาที่จัดจำแนกได้ยาก Van Driem (2001) เสนอว่าเป็นภาษาใกล้เคียงกับกลุ่มภาษามหากิรันตี ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาหิมาลัย[2] ในอีกด้านหนึ่ง SILได้จัดให้ภาษาเลปชาอยู่ในกลุ่มภาษาหิมาลัย ซึ่งจัดเป็นกลุ่มพี่น้องกับภาษาทิเบต-กานุยรี[3]ภาษาเลปชาเป็นภาษาที่หลากหลาย มีรากศัพท์ที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอื่นๆหลายกลุ่ม โดยเฉพาะภาษาเนปาลและภาษาสิกขิม

ลักษณะ[แก้]

ภาษาเลปชาเป็นภาษาในกลุ่มภาษาทิเบต-พม่าที่ไม่มีวรรณยุกต์ แม้จะมีเครื่องหมายกำกับเสียงในอักษรเลปชา รากศัพท์เป็นคำพยางค์เดียว

อักษรและการถอดเป็นอักษรโรมัน[แก้]

อักษรเลปชาเป็นการเขียนแบบพยางค์ ที่มีเครื่องหมายและการเชื่อมต่อ ในช่วงแรก อักษรเลปชาเขียนในแนวตั้ง ซึ่งแสดงอิทธิพลจากภาษาจีน[4] ก่อนที่จะมีอักษรเลปชา เคยเขียนด้วยอักษรทิเบต มีการนำอักษรโรมันมาใช้กับภาษานี้ซึ่งมีหลายระบบ ทั้งระบบที่อิงตามภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส หรือภาษาเยอรมัน ซึ่งใช้โดยนักวิชาการชาวตะวันตก

ไวยากรณ์[แก้]

การเรียงคำเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา ลักษณะของภาษาเป็นแบบรูปคำติดต่อทำให้คำในภาษาเลปชามี 1-2 พยางค์ นอกจากนั้นยังมีลักษณะของการกเกี่ยวพันในการบรรยายเหตุการณ์ ภาษาเลปชามีการกสำหรับนาม 2 การก มีคำนำหน้านามชี้เฉพาะ –re และการกกรรม –m เครื่องหมายอื่นๆแสดงด้วยปรบท

อ้างอิง[แก้]

  • Coulmas, Florian. The Blackwell Encyclopedia of Writing Systems. Blackwell, 1996
  1. Plaisier, Heleen (2007). A grammar of Lepcha. Tibetan studies library: Languages of the greater Himalayan region. Vol. 5. BRILL. ISBN 90-04-15525-2.
  2. van Driem, George (2001). Languages of the Himalayas: An Ethnolinguistic Handbook of the Greater Himalayan Region. Brill. ISBN 90-04-12062-9.
  3. Lewis, M. Paul, บ.ก. (2009). "Lepcha". Ethnologue: Languages of the World (16 ed.). Dallas, Texas: SIL International. สืบค้นเมื่อ 2011-04-16.
  4. Coulmas, Florian (1996). The Blackwell Encyclopedia of Writing Systems. Blackwell. ISBN 0-631-21481-X.