ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาหมิ่นใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาหมิ่นใต้/หมิ่นหนาน
閩南語 / 闽南语 Bân-lâm-gú
ประเทศที่มีการพูดจีน, ไต้หวัน, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, ไทย
ภูมิภาคทางใต้ของมณฑลฝูเจี้ยน; เขตแต้จิ๋วซัวเถา (แต้ซัว) และคาบสมุทรเหลย์โจวในมณฑลกวางตุ้ง; ส่วนใหญ่ในไต้หวันและเกาะไหหลำ (ถ้ารวมภาษาไหหลำ)
จำนวนผู้พูด49 ล้านคน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
จีน-ทิเบต
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการไม่มี (สำเนียงหนึ่งเป็นภาษาประจำถิ่นของไต้หวัน เรียกภาษาฮกเกี้ยนไต้หวัน)[1]
ผู้วางระเบียบไม่มี (จีน), กระทรวงศึกษาธิการและองค์กรเอกชน (ในไต้หวัน)
รหัสภาษา
ISO 639-1zh
ISO 639-2chi (B)
zho (T)
ISO 639-3nan

ภาษาหมิ่นใต้, หมิ่นหนาน (ตามสำเนียงจีนกลาง), บั่นลั้ม (ตามสำเนียงฮกเกี้ยน) หรือ มั่งนั้ม (ตามสำเนียงแต้จิ๋ว) เป็นหนึ่งในกลุ่มภาษาจีนใช้พูดทางใต้ของมณฑลฝูเจี้ยนและบริเวณใกล้เคียง และโดยลูกหลานของผู้อพยพจากบริเวณนี้เข้าไปยังบริเวณอื่น ๆ ทั่วโลก โดยทั่วไปภาษาหมิ่นใต้เป็นชื่อเรียกโดยชาวจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำเนียงหนึ่งในภาษานี้เรียกภาษาฮกเกี้ยน อยู่ในกลุ่มภาษาหมิ่น ของภาษาจีน โดยปกติไม่สามารถเข้าใจกันได้กับภาษาหมิ่นตะวันออก ภาษาจีนกวางตุ้ง และภาษาจีนกลาง

การกระจายตัวของผู้พูดภาษาจีนสำเนียงต่างๆ

ภาษาหมิ่นใต้

[แก้]

ภาษาหมิ่นใต้ใช้พูดทางใต้ของมณฑลฝูเจี้ยนและทางตะวันออกของมณฑลกวางตุ้ง รวมทั้งเกาะไหหลำ สำเนียงฮกโลของภาษานี้ถือเป็นภาษาถิ่นของไต้หวันเรียกภาษาฮกเกี้ยนไต้หวัน ผู้พูดภาษาหมิ่นใต้มีมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งใน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ ไทย ภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนหนึ่งมาจากเขตเฉาซ่าน (แต้ซัว)ในกวางตุ้งและพูดภาษาหมิ่นใต้สำเนียงแต้จิ๋ว นอกจากนี้ภาษาหมิ่นใต้ยังเป็นภาษาแม่ของชาวจีนในฟิลิปปินส์อีกราว 98.5% ซึ่งพูดสำเนียงลันนัง ประเทศไทยพูดกันมากในจังหวัดภูเก็ตและบริเวณโดยรอบ ซึ่งพูดสำเนียง ฮกเกี้ยนปีนัง เป็นสำเนียงที่พูดในปีนัง ซึ่งเดิมเป็นสำเนียงของเมืองเฉวียนโจว และ เป็นต้นภาษาทำให้เกิดภาษาไทยบ้าบ๋าภูเก็ต ซึ่งมีคำยืมในภาษาหมิ่นใต้ (สำเนียงเฉวียนโจว) จำนวนมาก

การกระจายตัวของผู้พูดภาษาหมิ่นใต้

ความแตกต่างของภาษา

[แก้]

ภาษาหมิ่นใต้ไม่มีรูปแบบมาตรฐาน ผู้พูดภาษานี้จะเรียนการอ่านภาษาจีนกลางในโรงเรียน ไม่มีการพัฒนาระบบการเขียนเป็นของตนเอง จนในปัจจุบันจึงมีการพัฒนาระบบการเขียนที่เป็นมาตรฐานคือใช้อักษรจีนและอักษรโรมัน

  • อักษรจีนใช้ตามแบบภาษาจีนกลาง แต่มีการเพิ่มอักษรบางตัวที่ใช้เฉพาะภาษาหมิ่นใต้ ใช้ในจีน ไต้หวัน สิงคโปร์ และบริเวณอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • อักษรโรมัน ใช้กับภาษาฮกเกี้ยนพัฒนาขึ้นโดยมิชชันนารีคณะเพรสไบทีเรียนในประเทศจีน และปรับปรุงต่อมาโดยมิชชันนารีในไต้หวัน เริ่มเป็นที่แพร่หลายเมื่อประมาณ พ.ศ. 2433 การใช้อักษรโรมันผสมกับอักษรจีนมีให้เห็นบ้างแต่ไม่เป็นที่นิยมมากนัก เอกสารที่เขียนด้วยภาษาหมิ่นใต้รุ่นแรก ๆ เขียนเมื่อ พ.ศ. 2109 ในสมัยราชวงศ์หมิง

พยัญชนะ

[แก้]

มีพยัญชนะ 19 เสียง เป็นตัวสะกดได้ 9 เสียง สระมี 12 เสียง ไม่มีความแตกต่างระหว่างสระเสียงสั้นกับสระเสียงยาว วรรณยุกต์มี 5 เสียง

ไวยากรณ์

[แก้]

เรียงประโยคแบบประธาน-กริยา-กรรม ไม่มีการผันคำกริยาตามกาล

ภาษาถิ่นในภาษาหมิ่นหนาน

[แก้]

ภาษาถิ่นฮกเกี้ยน

[แก้]

เป็นสำเนียงหลักในภาษาหมิ่นใต้มาตรฐาน (泉漳片) ยังแตกออกเป็นอีกหลายสำเนียงย่อยในแต่ละท้องถิ่น เป็นภาษาที่พูดกันในบริเวณทางตอนใต้ของมณฑลฮกเกี้ยน

  • สำเนียงเฉวียนโจว (ภาษาหมิ่นใต้มาตรฐานดั้งเดิม)
    • ฮกเกี้ยนปีนัง
    • ลันนัง
    • ฮกเกี้ยนมลายูตะวันออก
    • ฮกเกี้ยนสิงคโปร์
    • ฮกเกี้ยนถิ่นกัวลาลัมเปอร์
  • สำเนียงเซี่ยเหมิน (ภาษาหมิ่นใต้มาตรฐานสมัยใหม่)
    • ฮกเกี้ยนเซี่ยเหมิน
    • ฮกเกี้ยนไต้หวัน

ภาษาแต้จิ๋ว

[แก้]

ภาษาแต้จิ๋ว, เตี่ยจิว หรือ ภาษาเตี่ยซัว (潮汕片) ซึ่งรวมสำเนียงถิ่นแต้จิ๋วและสำเนียงถิ่นซัวเถา (และบางครั้งอาจสามารถนับรวมสำเนียงถิ่นซัวบ้วย) เป็นภาษาที่พัฒนามาจากภาษาจีนโบราณของตระกูลหมิ่นหนาน - ผู่เทียน (闽南语古莆田话) มีฐานความเข้าใจร่วมกับภาษาหมิ่นใต้มาตรฐาน (泉漳片) ที่จำกัด แต่ยังสามารถที่จะฟังแล้วเข้าใจระหว่างกันได้ เนื่องจากการออกเสียงและคำศัพท์แตกต่างจากภาษาหมิ่นใต้มาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญ ปัจจัยจากภูมิประเทศที่ค่อนข้างตัดขาดจากมณฑลฮกเกี้ยนเดิม และการได้รับอิทธิพลจากภาษากวางตุ้งและแคะ ภาษาแต้จิ๋วจึงได้กลายมาเป็นภาษาเอกเทศในภายหลัง

ภาษาไหหลำ

[แก้]

เป็นสำเนียงที่พูดกันในเกาะไหหลำ ชายฝั่งอ่าวตังเกี๋ย และเวียดนามบางส่วน

ตารางเทียบ

[แก้]
ไทย อักษรจีน ท้องถิ่น เป่อ่วยยี IPA เพ็งอิม
สอง เฉวียนโจว, ไทเป li˧ no6, ri6 (nõ˧˥, zi˧˥)[2]
เซี่ยเหมิน, จางโจว, ไถหนาน, ภูเก็ต, ปีนัง dzi˧
ป่วย (生) เฉวียนโจว, เซี่ยเหมิน, ไทเป pīⁿ pĩ˧ bên7 (pẽ˩)
ไถหนาน, จางโจว, ภูเก็ต, ปีนัง pēⁿ pẽ˧
ไข่ (遠) เฉวียนโจว, เซี่ยเหมิน, ไต้หวัน nn̄g nŋ˧ neng6 (nŋ˧˥)
จางโจว nūi nui˧
ตะเกียบ (豬) เฉวียนโจว tīr tɯ˧ de7 (tɤ˩)
เซี่ยเหมิน tu˧
จางโจว, ไต้หวัน ti˧
รองเท้า (街)
เฉวียนโจว, เซี่ยเหมิน, ไทเป ue˧˥
จางโจว, ไถหนาน ê e˧˥
หนัง (未) เฉวียนโจว phêr pʰə˨˩ puê5 (pʰue˩)
เซี่ยเหมิน, ไทเป phê pʰe˨˩
จางโจว, ไถหนาน phôe pʰue˧
ไก่ (細) เฉวียนโจว, เซียะเหมิน koe kue koy
จางโจว, ไต้หวัน ke ke
ไฟ (過) เฉวียนโจว huéh
เซี่ยเหมิน he
เฉวียนโจว, ไต้หวัน, ภูเก็ต, ปีนัง hoé hue
ความคิด เฉวียนโจว sy siuh
เซี่ยเหมิน, ไทเป su su
จางโจว, ไถหนาน si si

อ้างอิง

[แก้]
  1. An introduction to the Taiwanese language for English speakers
  2. for Teochew Peng'Im on the word 'two', ri6 can also be written as dzi6.
  • ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์. สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์: ฮกเกี้ยน. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท. 2543