ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน
บทความนี้ได้รับแจ้งว่ามีแต่กล่องข้อมูลและมีเนื้อหาน้อยมากหรือไม่มีเนื้อหาเลย โปรดช่วยปรับปรุงบทความ ด้วยการขยายความเพิ่มเติม เพื่อให้บทความน่าอ่านยิ่งขึ้น หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหน้าอภิปราย |
ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน | |
---|---|
華語 หฺวา-ยฺหวี่ | |
ประเทศที่มีการพูด | ไต้หวัน |
ภูมิภาค | เอเชีย |
จำนวนผู้พูด | 4.3 ล้านคน (1999) (ไม่พบวันที่) |
ตระกูลภาษา | จีน-ทิเบต
|
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | สาธารณรัฐจีน |
ผู้วางระเบียบ | กระทรวงศึกษาแห่งไต้หวัน |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | – |
ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน หรือ ภาษาจีนไถวาน เป็นภาษาจีนที่กลายร่างมาจากภาษาจีนมาตรฐานแต่มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเป็นภาษาทางการในเกาะไต้หวัน ภาษานี้เป็นที่รู้จักในคนท้องถิ่นว่า 國語 (กว๋อ-ยฺหวี่) ซึ่งภาษาจีนมาตรฐานก็ได้รับการเปลี่ยนแปลงมาจากภาษาจีนกลางสำเนียงปักกิ่งอีกที
กว๋อยวี่ แทบจะมีระบบการพูดและการเขียนเหมือนกับภาษาจีนมาตรฐานแทบทั้งสิ้น ซึ่งภาษาจีนมาตรฐานเรียกว่า 普通话 (ผู่ทงฮว่า) แต่อย่างไรก็ตามภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวันก็ได้รับคำศัพท์ ไวยากรณ์ และการออกเสียง ที่ผิดเพี้ยนไปจากภาษาจีนมาตรฐานเล็กน้อย ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากภาษาไต้หวัน (臺灣閩南語) และภาษาฮักกา (客家話) ซึ่งเป็นภาษาแม่ของพลเมืองเกาะนี้จำนวน 70% และ 14% ตามลำดับ
ความต่างจากภาษาจีนมาตรฐาน[แก้]
ตัวอักษร[แก้]
ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวันใช้ตัวอักษรจีนเต็มซึ่งตรงข้ามกับภาษาจีนมาตรฐานที่ใช้ตัวย่อ อักษรเบรลล์ของภาษาจีนสำเนียงนี้ก็มีความแตกต่างจากภาษาจีนมาตรฐานมาก โดยเฉพาะการเขียนตัวอักษรละตินก็มีความแตกต่างอย่างมากโดยตัวอักษรละตินเป็นมาตรฐานสำหรับการเขียนพินอินของภาษาจีนมาตรฐานอยู่แล้ว ในขณะที่ตัวอักษรละตินในภาษาจีนสำเนียงนี้จะถูกเขียนตามเวด-ไจลส์
การออกเสียง[แก้]
วิธีการออกเสียงภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวันหลักๆได้รับอิทธิพลมาจากภาษาฮกเกี้ยนและภาษาอังกฤษ แต่พยายามเลียนแบบภาษาจีนกลางมาตรฐานโดยวรรณยุกต์ทั้งสี่มีการใช้แทบจะเหมือนจากภาษาจีนมาตรฐานส่วนคำศัพท์หลายๆคำนำมาจากภาษาไต้หวันแต่รักษาวรรณยุกต์ทั้งสี่ตามภาษาจีนมาตรฐานเอาใว้ แต่พยัญชนะต้นมีข้อจำกัดอยู่มาก
หากจำแนกเสียงพยัญชนะเป็นสัทอักษรสากลภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวันจะมีความแตกต่างกับภาษาจีนกลางมาตรฐานตามถิ่นต่างๆดังนี้
สัทอักษรจีน | ปักกิ่ง (มาตรฐาน) |
ไทเป/ เถา-ยฺเหวียน |
ไถจง | เกาสฺยง/ ผิงตง |
ไต้หวันเชื้อสายแคะ | คำอธิบาย |
---|---|---|---|---|---|---|
b/ㄅ | [p] | [p]~[b] | เสียง ป, เสียง บ ใช้ในคำยืมภาษาฮกเกี้ยนเท่านั้น | |||
p/ㄆ | [pʰ] | เสียง ผ | ||||
m/ㄇ | [m] | เสียง ม | ||||
f/ㄈ | [f] | [hʷ] | [f] | ภาษาฮกเกี้ยนไม่มีเสียง ฟ และคนไต้หวันภาคใต้มีปัญหาในการออกเสียงนี้ | ||
d/ㄉ | [t] | เสียง ต | ||||
t/ㄊ | [tʰ] | เสียง ถ | ||||
n/ㄋ | [n] | เสียง น | ||||
l/ㄌ | [l] | คล้าย ล; ตรงกับ l ในภาษาอังกฤษ | ||||
g/ㄌ | [k] | [k]~[g] | [g] ตรงกับตัวอักษร g ในภาษาอังกฤษเช่นคำว่า grand, gross ใช้ในคำยืมภาษาฮกเกี้ยนเท่านั้น | |||
k/ㄎ | [kʰ] | เสียง ข | ||||
h/ㄏ | [x] | [h] | [x] = ข (กำเมือง) ภาษาฮกเกี้ยนและภาษาแคะไม่มีเสียง [x] และแทนด้วยเสียง [h] ซึ่งตรงกับ ห ในภาษาไทยกลาง | |||
j/ㄐ | [t͡ɕ] | |||||
q/ㄑ | [t͡ɕʰ] | |||||
x/ㄒ | [ɕ] | ไม่ใกล้เคียงเสียงใดในภาษาไทย | ||||
zh/ㄓ | [ʈ͡ʂ] | [ʤ] | [ʧ] | ไม่มีเสียงภาษาไทยเทียบ ทั้งในภาษาฮกเกี้ยนและภาษาแคะไม่มีเสียงม้วนลิ้นจึงไม่มี [ʈ͡ʂ], [ʈ͡ʂʰ] และ [ʂ] ทั้งสามเสียง สำหรับภาษาแคะมีเสียงพยัญชนะคู่ขนานคือเสียงหลังปุ่มเหงือก [ʧ], [ʧʰ] และ [ʃ] ตามลำดับ คนไต้หวันเชื้อสายฮกเกี้ยนเกิดจากการม้วนลิ้นไม่สุดเพราะภาษาฮกเกี้ยนไม่มีเสียงที่ใกล้เคียงและเสียงจึงออกมาเป็น [ʤ], [ʧ] และ [ʃ] ตามลำดับ เสียง [ʤ] ตรงกับ j ในภาษาอังกฤษ, [ʧ] ตรงกับ ch ในภาษาอังกฤษ, [ʈ͡ʂʰ] คือ [ʈ͡ʂ] พ่นลม ส่วน [ʃ] ตรงกับ sh ในภาษาอังกฤษ | ||
ch/ㄔ | [ʈ͡ʂʰ] | [ʧ] | [ʧʰ] | |||
sh/ㄕ | [ʂ] | [ʃ] | ||||
r/ㄖ | [ʐ] | [ɻ]~[ɹ] | [ɹ]~[j] | [j] | [ɻ]~[ɹ] | [ʐ] คือเสียงเสียดแทรก แต่ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวันทุกถิ่นย่อยเป็นเสียงเปิด คนไต้หวันเชื้อสายแคะใช้เหมือนกับคนเชื้อสายฮกเกี้ยนในไทเป [ɻ] เป็นเสี้ยงม้วนลิ้นสุด, [ɹ] เป็นเพราะม้วนลิ้นไม่สุด และ [j] คือเสียง ย เพราะเกิดจากคนไต้หวันภาคใต้ติดมาจากเสียงภาษาฮกเกี้ยนอยู่ก่อน |
z/ㄗ | [ts] | |||||
c/ㄘ | [tsʰ] | |||||
s/ㄙ | [s] | เสียง ส |
หากจำแนกเสียงกึ่งสระทั้งเป็นสัทอักษรสากลจะถอดเสียงพยัญชนะได้ดังนี้
สัทอักษรจีน | ปักกิ่ง (มาตรฐาน) |
ไทเป/ เถา-ยฺเหวียน |
ไถจง | เกาสฺยง/ ผิงตง |
ไต้หวันเชื้อสายแคะ | คำอธิบาย |
---|---|---|---|---|---|---|
yi/ㄧ (อยู่เดี่ยว) |
[ʔi] | เท่ากับคำว่า อี ในภาษาไทย | ||||
yi/ㄧ (มีสระ) |
[ji+_] | [ʔi+_]~[ji+_] | คนไต้หวันใช้เสียง อี จะใช้ ยี เมื่อเลียนแบบคนจีนแผ่นดินใหญ่ | |||
yi/ㄧ (ควบ) |
[_+ji] | [_i] | คนไต้หวันละเสียง อ และ ย ให้เหลือแค่เสียงพยัญชนะตัวหน้าตัวเดียวและทำหน้าที่เป็นแค่สระอี | |||
wu/ㄨ (อยู่เดี่ยว) |
[ʔu] | เท่ากับคำว่า อู ในภาษาไทย | ||||
wu/ㄨ (มีสระ) |
[wu+_] | [ʋ+_] | [wu+_] | [ʋ+_] | [w] = ว ต้องมีสระอูพ่วง [ʋ] ใกล้เคียงกับ [w] แต่ไม่มีสระอูพ่วง | |
wu/ㄨ (ติด) |
[_u] | เหลือแค่สระอูเหมือนกัน | ||||
yu/ㄩ | [ɰɯ] | [ʔʷy]~[jʷy] | จีนมาตรฐานไม่มีเสียงใกล้เคียงกับภาษาไทย แต่สำเนียงถิ่นไต้หวันเป็น อ หรือและ ย ควบ ว สระอีทั้งสองเสียง |
ตัวอย่างคำศัพท์ที่ออกเสียงต่างกัน[แก้]
คำส่วนใหญ่จะมีการออกเสียงวรรณยุกต์ที่ต่างกัน
จีนมาตรฐาน | จีนกลางสำเนียงไต้หวัน | เพิ่มเติม | |
---|---|---|---|
垃圾 (or 拉圾) ("garbage") |
lājī | lèsè | การออกเสียง lèsè มาจากภาษาง่อ คำนี้ก็เรียกในแผ่นดินใหญ่จนกระทั่งปี 1949. |
液體 (液体) ("liquid") |
yètǐ | yìtǐ, yètǐ | |
和 ("and") |
hé | hàn, hé | |
星期 ("week") |
xīngqī | xīngqí | |
企業 (企业) ("enterprise") |
qǐyè | qìyè | |
危險 (危险) ("danger") |
wēixiǎn | wéixiǎn | |
包括 (包括) ("including") |
bāokuò | bāoguā, bāokuò | |
法國 (法国) ("France") |
Fǎguó | Fàguó | |
微波爐 (微波炉) ("microwave") |
wēibōlú | wéibōlú |