ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาแต้จิ๋ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สำเนียงแต้จิ๋ว)
ภาษาแต้จิ๋ว
เตี่ยจิวอ่วย, เฉาโจวฮว่า
潮州話 / 潮汕話 / 潮語[1]
ประเทศที่มีการพูดจีน
ภูมิภาคมณฑลกวางตุ้งตะวันออก (ภูมิภาคแต้จิ๋ว), ประเทศไทย, ประเทศเวียดนาม(เฉพาะตอนใต้), ประเทศกัมพูชา, ประเทศอินโดนีเซีย (จังหวัดจัมบี และจังหวัดกาลีมันตันตะวันตก), ประเทศสิงคโปร์
ชาติพันธุ์ชาวจีนแต้จิ๋ว
จำนวนผู้พูดประมาณ 14 ล้านคนในมณฑลกวางตุ้ง (2004)[2]
โพ้นทะเลมากกว่า 5 ล้านคน[ต้องการอ้างอิง]  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษาถิ่น
ระบบการเขียนอักษรจีน
เตี่ยจิวแปะอ่วยหยี่
เพ็งอิม
รหัสภาษา
ISO 639-3(มีการเสนอ tws[6])
Linguasphere79-AAA-ji
  ภาษาแต้จิ๋ว (Teo-Swa) ในกลุ่มภาษาหมิ่นใต้
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด
ภาษาแต้จิ๋ว
อักษรจีนตัวเต็ม潮州話
อักษรจีนตัวย่อ潮州话

ภาษาแต้จิ๋ว (潮州話, เตี่ยจิวอ่วย) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน หมิ่น-หนาน จัดเป็นหนึ่งในตระกูลภาษาของฮกเกี้ยน และ เป็นหนึ่งในภาษาที่พูดกันในภูมิภาคของจีน คำว่าแต้จิ๋วในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Teochew (Diojiu, Teochiu, Tiuchiu, Teochew เขียนสะกดได้หลายแบบ) หรือ Chaozhou (เฉาโจว อ่านตามภาษาจีนกลาง)

ภาษาแต้จิ๋วรักษาการออกเสียงและคำศัพท์ภาษาจีนเก่าหลายคำที่สูญหายไปจากวิธภาษาจีนสมัยใหม่บางภาษา ทำให้ภาษานี้ได้รับการอธิบายเป็นหนึ่งในภาษากลุ่มจีนที่ยังคงเดิมมากที่สุด[7]

ชื่อเรียก

[แก้]

ภาษาแต้จิ๋วมีชื่อเรียกในประเทศจีนแตกต่างกันหลายอย่าง ชาวแต้จิ๋วเองเรียกชื่อภาษาตัวเองว่า เตี่ยจิวอ่วย ส่วนในภาษาจีนกลางจะออกเสียงว่า เฉาซ่านฮว่า ต่อมาเมื่อเมืองซัวเถาเจริญรุ่งเรื่องขึ้นเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการเมืองแทนเมืองแต้จิ๋ว คนต่างถิ่นจึงนิยมเรียกภาษานี้ว่า ซ่านโถวฮว่า หรือ ซัวเถาอ่วย ในภาษาแต้จิ๋ว หมายถึงภาษาพูดถิ่นซัวเถา ต่อมานิยมเรียกว่า เฉาซ่านฮว่า (เตี่ยซัวอ่วย) หมายถึง ภาษาพูดถิ่นแต้จิ๋ว-ซัวเถา เพื่อให้ครอบคลุมท้องถิ่นที่พูดภาษานี้ชัดเจนยิ่งขึ้น ในแวดวงวิชาภาษาศาสตร์และภาษาถิ่นจีนนิยมเรียกว่า เฉาซ่านฟางเอี๋ยน (เตี่ยซัวฮวงงั้ง) หมายถึงภาษาถิ่นแต้จิ๋ว อีกชื่อหนึ่งที่นิยมใช้เป็นภาษาหนังสือเรียกภาษาถิ่นนี้คือ เฉาอี่ว์ (เตี่ยงื่อ) หมายถึงภาษาของจีนแต้จิ๋วหรือภาษาแต้จิ๋วนั่นเอง

มีอีกชื่อหนึ่งที่ชาวจีนแคะใช้เรียกภาษานี้จนเป็นที่รู้จักคือภาษาฮกล่อ (ภาษาแคะว่า ฮกล่อฝ่า) เนื่องจากคำว่าฮกล่อเป็นชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ภาษาหมิ่นใต้ที่แพร่หลายอีกชื่อหนึ่ง[8]

ประวัติและท้องถิ่นที่พูด

[แก้]

ภาษาแต้จิ๋วในปัจจุบัน เป็นภาษาที่พัฒนามาจากภาษาจีนโบราณของตระกูลหมิ่นหนาน เมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 9–15 มีกลุ่มชาว หมิ่น (หมิ่น) ได้อพยพลงใต้จากมณฑลฝูเจี้ยน (หรือฮกเกี้ยน) มาที่ทางตะวันออกของมณฑลกวางตุ้ง ในเขตที่เรียกว่า เตี่ยซัว การอพยพดังกล่าวมีสาเหตุมาจากประชากรที่มากขึ้นในมณฑลฝูเจี้ยน เนื่องจากภูมิประเทศใหม่ที่ค่อนข้างตัดขาดจากมณฑลฮกเกี้ยนเดิม ภาษาแต้จิ๋วจึงได้กลายมาเป็นภาษาเอกเทศในภายหลัง ภาษาแต้จิ๋วนั้นจะพูดในเขตที่เรียกรวมกันว่า "เตี่ยซัว" ซึ่งมีเมืองแต้จิ๋ว (หรือเฉาโจวในภาษาจีนกลาง) และซัวเถา (หรือ ซั่นโถว ในภาษาจีนกลาง) เป็นหลัก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ "เตี่ยซัว" ดังกล่าว นอกจากนั้น ยังพูดกันในเมืองกิ๊กเอี๊ย เตี่ยเอี๊ย โผวเล้ง เตี่ยอัง เหยี่ยวเพ้ง หุ่ยไล้ และ เถ่งไฮ่

เขตเตี่ยซัวเคยเป็นเขตหนึ่งที่มีคนจีนอพยพออกนอกประเทศเป็นอันมากไปยังเอเชียอาคเนย์ในคริสต์ศตวรรษที่ 18–20 ซึ่งทำให้ภาษาแต้จิ๋วเป็นภาษาหลักหนึ่งในภาษาที่พูดกันมากในกลุ่ม ชาวจีนอพยพ โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย กัมพูชา สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ ฮ่องกง และยังมีในทวีปยุโรป และ ทวีปอเมริกา ที่มีชาวจีนแต้จิ๋วอพยพไป

อย่างไรก็ตาม ในยุคโลกาภิวัตน์นั้นภาษาแต้จิ๋วได้ลดความนิยมลงไปมากในหมู่ชาวแต้จิ๋ว เช่น ในสิงคโปร์ เยาวชนที่เดิมพูดแต้จิ๋วได้เปลี่ยนไปพูดภาษาอังกฤษมากขึ้น เนื่องจากวัฒนธรรมส่วนใหญ่และอิทธิพลของสื่อสารมวลชน

สัทศาสตร์

[แก้]

อักษรละตินตัวเอนหมายถึงอักษรที่นิยมใช้ทับศัพท์แทนเสียง อักษรไทยในวงเล็บคือเสียงอักษรที่ใกล้เคียง

เสียงพยัญชนะ

[แก้]
เสียงพยัญชนะของภาษาแต้จิ๋ว
  ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก เพดานอ่อน เส้นเสียง
นาสิก /m/ m (ม) /n/ n (น) /ŋ/ ng (ง)  
กัก ไม่ก้อง ธนิต /pʰ/ p (พ) /tʰ/ t (ท) /kʰ/ k (ค)  
ไม่ก้อง สิถิล /p/ b (ป) /t/ d (ต) /k/ g (ก) /ʔ/ - (อ)
ก้อง /b/ bh (บ)   /ɡ/ gh (ก̃)  
กัก
เสียดแทรก
ไม่ก้อง ธนิต   /tsʰ/ c (ช)    
ไม่ก้อง สิถิล   /ts/ z (จ)    
ก้อง   /dz/ j/r (จ̃)    
เสียดแทรก   /s/ s (ซ)   /h/ h (ฮ)
เปิด   /l/ l (ล)    

เสียงสระและพยัญชนะสะกด

[แก้]

เสียงสระอาจเป็นเสียงสั้นหรือเสียงยาวก็ได้ แต่สำหรับเสียงสระ+สะกดกักแสดงด้วยเสียงสั้นเท่านั้น คล้ายวิธีอ่านสระเสียงสั้นในภาษาไทย สระขึ้นจมูกมิได้หมายความว่าสะกดด้วย น แต่เวลาออกเสียงสระให้ปล่อยลมทางจมูกด้วย

เสียงสระของภาษาแต้จิ๋ว [9]
กลุ่มสระ อ้าปาก แย้มฟัน ห่อปาก
สระพื้นฐาน [i] i (อี) [u] u (อู)
[a] a (อา) [ia] ia (เอีย) [ua] ua (อัว)
[o] o (โอ) [io] io (อี-โอ)
[e] ê (เอ) [ie] (อี-เอ) [ue] (อู-เอ)
[ɯ] e (อือ)
[ai] ai (อาย) [uai] uai (อวย)
[oi] oi (โอย) [ui] ui (อูย)
[ao] ao (อาว)
[ou] ou (โอว) [iou] iou (เอียว)
[iu] iu (อีว)
สระขึ้นจมูก [ĩ] in (อีน̃)
[ã] an (อาน̃) [ĩã] ian (เอียน̃) [ũã] uan (อวน̃)
[ĩõ] ion (อี-โอน̃)
[ẽ] ên (เอน̃) [ĩẽ] iên (อี-เอน̃) [ũẽ] uên (อู-เอน̃)
[ɯ̃] en (อืน̃)
[ãĩ] ain (อายน̃) [ũãĩ] uain (อวยน̃)
[õĩ] oin (โอยน̃) [ũĩ] uin (อูยน̃)
[ãõ] aon (อาวน̃)
[õũ] oun (โอวน̃)
[ĩũ] iun (อีวน̃)
สระ+สะกดนาสิก [im] im (อีม)
[am] am (อาม) [iam] iam (เอียม) [uam] uam (อวม)
[iŋ] ing (อีง) [uŋ] ung (อูง)
[aŋ] ang (อาง) [iaŋ] iang (เอียง) [uaŋ] uang (อวง)
[oŋ] ong (โอง) [ioŋ] iong (อี-โอง)
[eŋ] êng (เอง) [ieŋ] iêng (อี-เอง) [ueŋ] uêng (อู-เอง)
[ɯŋ] eng (อืง)
สระ+สะกดกัก [iʔ] ih (อิ)
[aʔ] ah (อะ) [iaʔ] iah (เอียะ) [uaʔ] uah (อัวะ)
[oʔ] oh (โอะ) [ioʔ] ioh (อิ-โอะ)
[eʔ] êh (เอะ) [ueʔ] uêh (อุ-เอะ)
[oiʔ] oih (โอะ-อิ)
[aoʔ] aoh (อะ-โอะ)
[ip̚] ib (อิบ)
[ap̚] ab (อับ) [iap̚] iab (เอียบ) [uap̚] uab (อ็วบ)
[ik̚] ig (อิก) [uk̚] ug (อุก)
[ak̚] ag (อัก) [iak̚] iag (เอียก) [uak̚] uag (อ็วก)
[ok̚] og (อก) [iok̚] iog (อิ-อก)
[ek̚] êg (เอ็ก) [iek̚] iêg (อิ-เอ็ก) [uek̚] uêg (อุ-เอ็ก)
[ɯek̚] eg (อึก)
สระเสริม [m] m (มฺ) [ŋ] ng (งฺ) [ŋʔ] ngh (งฺอ์)

เสียงวรรณยุกต์

[แก้]

เสียงวรรณยุกต์มีสองกลุ่มคือ อิม (陰 หรือหยิน) กับ เอี๊ยง (陽 หรือหยาง) กลุ่มละสี่เสียง รวมแปดเสียง เสียงสระ+สะกดกักจะมีเสียงวรรณยุกต์ 4 หรือ 8 เท่านั้น

เสียงวรรณยุกต์ของภาษาแต้จิ๋ว
วรรณยุกต์ 1 2 3 4 5 6 7 8
ชื่อ อิมเพ้ง (陰平) อิมเจี่ยน (陰上) อิมขื่อ (陰去) อิมยิบ (陰入) เอี๊ยงเพ้ง (陽平) เอี๊ยงเจี่ยน (陽上) เอี๊ยงขื่อ (陽去) เอี๊ยงยิบ (陽入)
ระดับเสียง ˧˧ 33 ˥˨ 52 ˨˩˧ 213 ˨ʔ 2 ˥˥ 55 ˧˥ 35 ˩˩ 11 ˦ʔ 4
ลักษณะ กลางราบ สูงตก ต่ำยก ต่ำหยุด สูงราบ สูงยก ต่ำราบ สูงหยุด
ตัวอย่าง
คำอ่าน hung1 (ฮูง) hung2 (หู้ง/ฮู่ง) hung3 (หู่ง-ปลายยก) hug4 (หุก) hung5 (ฮู้ง) hung6 (หูง) hung7 (หู่ง/หูง) hug8 (ฮุก)

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. เชื่อกันว่าภาษาหมิ่นแยกจากภาษาจีนเก่ามากกว่าภาษาจีนสมัยกลางอย่างวิธภาษาจีนอื่น ๆ[3][4][5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "學潮語,埋下愛的種子". Sin Chew. 2021-01-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-19. สืบค้นเมื่อ 2024-04-18.
  2. Language atlas of China (2nd edition), City University of Hong Kong, 2012, ISBN 978-7-10-007054-6.
  3. Mei, Tsu-lin (1970), "Tones and prosody in Middle Chinese and the origin of the rising tone", Harvard Journal of Asiatic Studies, 30: 86–110, doi:10.2307/2718766, JSTOR 2718766
  4. Pulleyblank, Edwin G. (1984), Middle Chinese: A study in Historical Phonology, Vancouver: University of British Columbia Press, p. 3, ISBN 978-0-7748-0192-8
  5. Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin; Bank, Sebastian (2023-07-10). "Glottolog 4.8 - Min". Glottolog. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology. doi:10.5281/zenodo.7398962. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-13. สืบค้นเมื่อ 2023-10-13.
  6. "Change Request Documentation: 2021-045". 31 August 2021. สืบค้นเมื่อ 30 May 2022.
  7. Yap, Foong Ha; Grunow-Hårsta, Karen; Wrona, Janick, บ.ก. (2011). Nominalization in Asian Languages: Diachronic and typological perspectives. John Benjamins Publishing Company. p. 11. ISBN 978-9027206770.
  8. ถาวร สิกขโกศล. ภาษาแต้จิ๋ว (๑). ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 30 ฉบับที่ 12 ตุลาคม 2552 กรุงเทพ:สำนักพิมพ์มติชน,2552. หน้า 141
  9. Dylan W.H. Sung (28 มกราคม พ.ศ. 2546). "Min - Chaozhou Dialect" (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-11. สืบค้นเมื่อ 2010-05-29. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |accessmonthday= ถูกละเว้น (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |accessyear= ถูกละเว้น แนะนำ (|access-date=) (help)