ฟเตหปุระสีกรี
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
27°05′28″N 77°39′40″E / 27.091°N 77.661°E
ฟเตหปุระสีกรี * | |
---|---|
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
Diwan-i-Khas – ท้องพระโรง (ส่วนพระองค์) | |
พิกัด | 27°5′27.6″N 77°39′39.6″E / 27.091000°N 77.661000°E |
ประเทศ | เมืองอัคระ รัฐอุตตรประเทศ อินเดีย |
ภูมิภาค ** | เอเชียและแปซิฟิก |
ประเภท | มรดกทางวัฒนธรรม |
เกณฑ์พิจารณา | ii, iii, iv |
อ้างอิง | 255 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2529 (คณะกรรมการสมัยที่ 10) |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
ฟเตหปุระสีกรี (อังกฤษ: Fatehpur Sikri; ฮินดี: फ़तेहपुर सीकरी; อูรดู: فتحپور سیکری) เป็นเมืองตั้งอยู่ในเขตอำเภออัคระ รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1569 โดยสมเด็จพระจักรพรรดิอักบัร และยังใช้เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิโมกุลระหว่างปี ค.ศ. 1571–1585[1] ภายหลังจากชัยชนะจากสงครามกับชาวเมืองจิตเตารครห์ (Chitaurgarh) และรณถัมโภระ (Ranthambore) พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยย้ายเมืองหลวงจากอัคระมายังที่แห่งใหม่บริเวณนี้ ซึ่งอยู่ห่างจากที่ตั้งของสะพานสิครีเป็นระยะทาง 23 ไมล์ (37 กิโลเมตร) เพื่อเป็นเกียรติแก่นักบุญลัทธิศูฟี พระนามว่า "ซาลิม คิชติ" (Salim Chishti) โดยได้ใช้เวลาออกแบบผังเมืองและสร้างถึง 15 ปี ซึ่งรวมถึงกำแพงเมืองรอบด้าน พระราชวัง ตำหนัก ฮาเร็ม ศาล มัสยิด และอาคารสาธารณูปโภคต่าง ๆ [2] ทรงตั้งชื่อเมืองว่า "ฟะเตฮาบาด" (Fatehabad) มาจากคำภาษาอาหรับว่า "ฟัตห์" แปลว่า "ชัยชนะ" และต่อมากลายเป็น "ฟเตหปุระสีกรี" (Fatehpur Sikri)[3] ฟเตหปุระสีกรี นั้นถือเป็นหนึ่งในสิ่งปลูกสร้างในสถาปัตยกรรมโมกุลที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุดในประเทศอินเดีย[4]
จากการสันนิษฐานของนักประวัติศาสตร์ จักรพรรดิอักบัรได้มีส่วนร่วมในการออกแบบและก่อสร้างสถานที่แห่งนี้อย่างมาก โดยตั้งใจที่จะชุบชีวิตอันหรูหราของราชสำนักเปอร์เซียโบราณ โดยการวางแผนนั้นรับรูปแบบตามราชสำนักเปอร์เซีย แต่มีการปรับโดยใส่รายละเอียดแบบอินเดีย การก่อสร้างนั้นใช้หินทรายสีแดงที่มีแหล่งอยู่ใกล้เคียงกับฟเตหปุระสีกรี ดังนั้นสิ่งก่อสร้างหลัก ๆ นั้นจะมีสีแดง บริเวณหมู่ราชมนเทียรประกอบด้วยตำหนักหลายหลังเรียงต่อกันอย่างเรียบร้อยและสมมาตรบนฐานเดียวกัน เป็นลักษณะพิเศษที่นำมาจากการก่อสร้างแบบอาหรับ และเอเชียกลาง โดยองค์รวมแล้ว ถือได้ว่าพระองค์นั้นทรงพระปรีชาสามารถยิ่งในการผสมผสานสถาปัตยกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นสถาปัตยกรรมในแบบของพระองค์เอง
นครฟเตหปุระสีกรีนั้นถูกทิ้งร้างในปี ค.ศ. 1585 ภายหลังจากการเสร็จสิ้นเพียงไม่กี่ปีเนื่องจากการขาดแคลนแหล่งน้ำ และที่ตั้งของเมืองซึ่งอยู่ใกล้กับอาณาเขตของอาณาจักรราชปุตนะทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งได้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบบ่อยมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นจักรพรรดิอักบัรจึงมีพระราชดำริให้ย้ายเมืองหลวงไปยังลาฮอร์แทน ก่อนจะย้ายกลับไปยังอัคระในปี ค.ศ. 1598 ที่ซึ่งพระองค์เริ่มปกครองสมัยแรก ๆ ที่พระองค์มีความสนใจต่อดินแดนแถบเดกกันขึ้น[5] พระองค์มิได้ย้ายกลับมาประทับที่นครแห่งนี้อีกเลย ยกเว้นเพียงช่วงสั้น ๆ ในปี ค.ศ. 1601 เท่านั้น[6][7]
ในประวัติศาสตร์โมกุลสมัยต่อมาได้มีการชุบชีวิตให้กับฟเตหปุระสีกรีอีกครั้งหนึ่งเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิมูฮัมมัดชาห์ (ครองราชย์ ค.ศ. 1719 - ค.ศ.1748) และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซัยยิด ฮุสเซน อาลี คาน บาร์ฮา ซึ่งเป็นหนึ่งในสองพี่น้องซัยยิดแห่งจักรวรรดิโมกุล ซึ่งถูกลอบสังหารในสถานที่แห่งนี้ในปี ค.ศ. 1720 ในปัจจุบันพระราชวังและบริเวณสถานที่แห่งนี้ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ดีเยี่ยมทำให้มีลักษณะคล้ายเมืองผีสิง (เมืองร้าง) ซึ่งยังคงมีกำแพงเมืองเป็นปราการโดยรอบทั้งสามทิศอย่างสมบูรณ์ตั้งแต่แรกก่อสร้าง โดยรอบนอกของบริเวณเป็นเมืองใหม่ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของฟเตหปุระสีกรี ซึ่งได้ยกระดับเป็นเทศบาลตั้งแต่ปี ค.ศ. 1865-1904 และต่อมากลายเป็นเมืองในที่สุด ในประวัติศาสตร์อันยาวนานของแถบนี้เคยเป็นที่รู้จักด้านงานหิน และแกะสลักหิน และในช่วงของจักรพรรดิอักบัรนั้นยังมีชื่อเสียงด้านการทอผ้าไหมอีกด้วย[1]
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
[แก้]ฟเตหปุระสีกรีนั้นตั้งอยู่บนบริเวณสันเขา ที่มีขนาดความยาว 3 กิโลเมตร (1.9 ไมล์) และกว้าง 1 km (0.62 mi) อาคารภายในนั้นถูกล้อมรอบด้วยกำแพงเมืองยาว 6 km (3.7 mi)[4] ครอบคลุมทั้งสามด้าน อีกด้านหนึ่งเป็นทะเลสาบธรรมชาติ (ในสมัยนั้น) [8]สถาปนิกหลักได้แก่ ตูฮีร์ ดาส (Tuhir Das) โดยออกแบบอย่างอินเดียซึ่งผสมผสานงานศิลปะแบบเบงกอลและคุชราต และยังพบองค์ประกอบสำคัญของสถาปัตยกรรมฮินดูและเชนผนวกเข้ากับองค์ประกอบแบบศิลปะอิสลามอย่างกลมกลืน วัตถุดิบหลักที่ใช้สร้างได้แก่หินทรายสีแดง ที่ขุดได้ในบริเวณใกล้เคียง จึงเรียกกันว่า "หินทรายสีกรี"[9][10] ตัวกำแพงเมืองนั้นประกอบด้วยประตูหลักทั้งหมด 9 แห่ง ได้แก่ ประตูเดลี ประตูลาล ประตูอัคระ ประตูบีร์บาล ประตูชันดันปาล ประตูกวาลิออร์ ประตูเทห์รา ประตูคอร์ และประตูอัชเมียร์[11]
บุลันด์ ดรวาซา
[แก้]บุลันด์ ดรวาซา ประตูชัยตั้งอยู่บริเวณกำแพงฝั่งทิศใต้ของมัสยิดจามาภายในบริเวณของฟเตหปุระสีกรี โดยมีขนาดใหญ่โตถึง 54 เมตรจากบริเวณด้านนอกและค่อย ๆ ลดหลั่นลงมาจนเหลือขนาดเพียงเท่ามนุษย์ปกติบริเวณด้านใน บริเวณประตูแห่งนี้ถูกต่อเติมขึ้นภายหลังถัดจากมัสยิดประมาณ 5 ปี ประมาณช่วงปี ค.ศ. 1576-1577 [12] เพื่อใช้เป็น "ประตูชัย" สำหรับชัยชนะของสมเด็จพระจักรพรรดิอักบัรต่ออาณาจักรคุชราต บริเวณส่วนคานโค้งด้านในจะพบจารึกว่า "อีซา (พระเยซู) บุตรแห่งมารีกล่าวไว้ว่า: โลกนี้เหมือนดั่งสะพานซึ่งไว้ใช้ผ่านทางเท่านั้น แต่ไม่สามารถสร้างบ้านบนนี้ได้ เขาซึ่งหวังเพียงแค่ชั่วโมงหนึ่งอาจจะหมายถึงความหวังชั่วนิจนิรันดร ถ้าโลกนี้สามารถทนได้แค่เพียงหนึ่งชั่วโมง ให้ใช้เวลานี่เพื่อสวดมนต์วิงวอนสำหรับอนาคตที่ยังมองไม่เห็น"
บริเวณซุ้มประตูทางเข้าประกอบด้วยช่องโค้งจำนวนสามแห่ง โดยช่องกลางนั้นมีขนาดใหญ่ที่สุด นิยมเรียกกันว่า "ประตูเกือกม้า" เนื่องจากเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่มักจะตอกเกือกม้าติดลงบนบานประตูขนาดใหญ่เพื่อเป็นการนำโชค[13]
มัสยิดจามา
[แก้]มัสยิดจามา คือมัสยิดซึ่งสันนิษฐานจากหลักฐานว่าเป็นสิ่งก่อสร้างแรก ๆ ที่สร้างขึ้นในฟเตหปุระสีกรี เนื่องจากหลักจารึกได้ระบุว่าสร้างเสร็จราวปี ค.ศ. 1571-1572 ส่วนบริเวณประตูที่นำไปสู่สวนด้านหน้านั้น ได้แก่บูลันด์ ดาร์วาซาสร้างเสร็จราว ๆ 5 ปีต่อมา[12] การก่อสร้างนั้นอิงตามหลักของมัสยิดแบบอินเดีย ซึ่งมีโถงอิวันตั้งอยู่ตรงกลางลาน พร้อมทั้งฉัตรี (บุษบกแบบอินเดีย) ที่เรียงรายกันเป็นแถวเหนือบริเวณกำแพงอาคาร ในมัสยิดประกอบด้วยมิหร็อบ (สถาปัตยกรรมที่เป็นเครื่องหมายระบุทิศทางสู่ศูนย์รวมศรัทธาของมุสลิม)จำนวนสามแห่งโดยห่างกันจำนวน 7 ช่วงโค้ง มิหร็อบหลักตรงกลางนั้นมีโดมครอบอยู่ โดยตกแต่งด้วยงานอินเลย์หินอ่อนขาวประดับอย่างวิจิตรในรูปทรงเรขาคณิต[9]
สุสานนักบุญซาลิม คิชติ
[แก้]สุสานนักบุญซาลิม คิชติ เป็นอาคารสร้างด้วยหินอ่อนสีขาวครอบบริเวณสุสานของนักบุญซาลิม คิชติ (ค.ศ. 1478-1572) ตั้งอยู่ภายในลานกลางของมัสยิดชามา ตัวสุสานมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสชั้นเดียว บริเวณทางเข้ามีบันไดหินอ่อนเตี้ย ๆ นำเข้าไปยังภายในของอาคาร บริเวณตรงกลางอาคารซึ่งเป็นที่ตั้งของหลุมฝังศพนักบุญ ตกแต่งครอบด้วยด้วยบุษบกทำเป็นงานไม้แกะสลักประดับโมเสกมุก โดยรอบของอาคารนั้นไม่ได้เป็นผนังทึบ แต่ใช้ "จาลี" หรือฉากหินแกะสลักอย่างวิจิตรพิศดารด้วยทรวดทรงเรขาคณิตอย่างกลมกลืนโดยรอบอาคารแทน
สุสานแห่งนี้ออกแบบโดยอิทธิพลจากมอโซเลียมในยุคต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 (สมัยสุลต่านแห่งคุชราต) นอกจากนี้ยังมีคันทวยทำด้วยหินอ่อนสลักเป็นทรวดทรงอ่อนช้อยคล้ายงู ซึ่งรองรับส่วนของชายคาโดยรอบ[14]
บริเวณซ้ายมือของสุสาน ทางทิศตะวันออกเป็นที่ตั้งของสุสานอีกแห่งหนึ่งสร้างจากหินทรายสีแดง โดยเป็นสุสานหลักของอิสลาม คาน ที่ 1 บุตรของชีคบัดรุดดิน คิชติ และหลานของชีคซาลิม คิชติ ซึ่งเคยเป็นนายพลประจำกองทัพโมกุลในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิชะฮันกีร์ ด้านบนของสุสานนั้นประดับยอดด้วยโดม และฉัตรีจำนวน 36 หลัง นอกจากนี้ยังเป็นที่ฝังศพของอีกหลายบุคคล บางสุสานนั้นไม่สามารถระบุได้ ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นผู้สืบตระกูลของชีคซาลิม คิชติ[15]
ดิวัน-อิ-อัม
[แก้]ดิวัน-อิ-อัม ท้องพระโรงกลางซึ่งพบได้ในเมืองสำคัญของอาณาจักรโดยทั่ว เพื่อใช้สำหรับประมุขของแคว้นประทับว่าราชการ ซึ่งสำหรับที่นี่ มีลักษณะเป็นหมู่อาคารโดยมีอาคารหลักทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งเปิดสู่สนามหญ้ากว้างใหญ่บริเวณด้านหน้า ใกล้กันทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่ตั้งของที่ประทับของสุลต่านเตอร์กิก ซึ่งด้านในมีอ่างน้ำแบบเตอร์กิกอยู่
ดิวัน-อิ-กัส
[แก้]ดิวัน-อิ-กัส ท้องพระโรงส่วนพระองค์ มีลักษณะเป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมประกอบด้วยยอดแบบฉัตรีทั้งสี่มุมด้านบนของอาคาร ท้องพระโรงแห่งนี้มีชื่อที่บริเวณเสากลางซึ่งมีฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตัวเสานั้นเป็นทรงแปดเหลี่ยม ซึ่งตกแต่งด้วยงานแกะอย่างวิจิตรเป็นลายเรขาคณิตและบุปผชาติ หัวเสาเป็นกลีบคานจำนวน 36 กลีบซึ่งรองรับบริเวณที่ประทับของสมเด็จพระจักรพรรดิอักบัร และยังเชื่อมกับคานทั้งสี่มุมของอาคารบริเวณชั้นบน ซึ่งบนคานนั้นเป็นทางเดินไปยังที่ประทับ บริเวณที่แห่งนี้ใช้เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิอักบัรเสด็จออกพบแขกต่างศาสนาที่มักจะแลกเปลี่ยนความเชื่อซึ่งกันและกัน และยังเป็นสถานที่ออกพบแขกสำคัญเป็นการส่วนพระองค์อีกด้วย
ปัญจมหัล
[แก้]ปัญจมหัล เป็นตำหนักสูงห้าชั้นซึ่งสร้างลดหลั่นหลังคาขึ้นไปทีละชั้น โดยมีลักษณะเล็กลงเรื่อยจนกระทั่งชั้นบนสุด ซึ่งเป็นเพียงบุษบกแบบฉัตรี เมื่อตอนแรกสร้างภายในตกแต่งและกั้นห้องด้วยฉากหินฉลุ นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าตำหนักแห่งนี้เป็นที่ประทับของพระสนมและนางใน[16] บริเวณพื้นของแต่ละชั้นรองรับด้วยเสาหินแกะสลักโดยรอบรวมทั้งสิ้นจำนวน 176 ต้น[17]
ลักษณะประชากร
[แก้]ฟเตหปุระสีกรี มีประชากรทั้งสิ้น 28,754 คน ประกอบด้วยประชากรชายร้อยละ 53 และหญิงร้อยละ 47 มีอัตราการรู้หนังสือร้อยละ 46 (แบ่งเป็นชายร้อยละ 57 และหญิงร้อยละ 34) ซึ่งต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยรวมของชาติที่ร้อยละ 59.50
ร้อยละ 19 ของประชากรทั้งหมดมีอายุต่ำกว่า 19 ปี
การคมนาคม
[แก้]ฟเตหปุระสีกรี ตั้งอยู่ 39 กิโลเมตรจากเมืองอัคระ สนามบินที่ใกล้ที่สุดคือสนามบินกองทัพอากาศอัคระ (รหัส AGA) ตั้งอยู่ห่างไป 40 กิโลเมตร สถานีรถไฟที่ใกล้ที่สุดคือสถานีรถไฟฟเตหปุระสีกรี ตั้งอยู่ห่างจากใจกลางเมืองประมาณ 1 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังสามารถใช้ถนนหลวงเพื่อเดินทางไปยังเมืองอัคระ และเมืองอื่น ๆ ได้ ผ่านทางรถประจำทางขนส่งอุตตรประเทศ (Uttar Pradesh State Road Transport Corporation) และยังมีแท็กซี่เอกชนต่าง ๆ ให้บริการด้วย[18]
ระเบียงภาพ
[แก้]-
ซุ้มประตูทางเข้า (Buland Darwaza)
-
หลุมฝังศพ (Nawab Islam Khan's Tomb)
-
ประตูราชา (King's Gate)
-
ประตูราชา (King's Gate)
-
ทางเข้าพระตำหนักพระมเหสี
-
ท้องพระโรง (Diwan-i-Khas)
-
Mariam-uz-Zamani House
-
สระน้ำ (Anup talao) แท่นกลางน้ำ
ใช้สำหรับประกวดร้องเพลง -
ฝ่ายรักษาความปลอดภัย
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Fatehpur Sikri". Imperial Gazetteer of India. Digital South Asia Library. Vol. 12. Oxford. pp. 84–85. สืบค้นเมื่อ 2012-11-04.
- ↑ Asher 1992, p. 51.
- ↑ "Alphabetical list of Towns and their population, Uttar Pradesh–202: Fatehpur Sikri" (pdf). Census of India. Government of India. สืบค้นเมื่อ 2012-11-08.
- ↑ 4.0 4.1 "Fatehpur Sikri". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 2012-11-08.
- ↑ "General view of Fatehpur Sikri, from the top of the Buland Darwaza". British Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-20. สืบค้นเมื่อ 2012-11-08.
- ↑ Allen, Margaret Prosser (1991). Ornament in Indian architecture. University of Delaware Press. pp. 414–417. ISBN 0-87413-399-8. สืบค้นเมื่อ 2012-11-08.
- ↑ Richards, John F. (1996). The Mughal Empire. Cambridge University Press. p. 52. ISBN 0-521-56603-7. สืบค้นเมื่อ 2012-11-08.
- ↑ Asher 1992, p. 52.
- ↑ 9.0 9.1 "The principal mihrab in the north aisle of the Jami Masjid, Fatehpur Sikri". British Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-20. สืบค้นเมื่อ 2012-11-08.
- ↑ Aitken, Bill (2001). Speaking stones: world cultural heritage sites in India. Eicher Goodearth Limited. p. 68. ISBN 81-87780-00-2. สืบค้นเมื่อ 2012-11-08.
- ↑ "Agra Gate, Fatehpur Sikri". British Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-20. สืบค้นเมื่อ 2012-11-08.
- ↑ 12.0 12.1 "Monuments - Fatehpur Sikri". Government of India. 2010-01-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-08.
- ↑ "Buland Darwaza, Fatehpur Sikri 1801". British Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-20. สืบค้นเมื่อ 2012-11-08.
- ↑ "Mausoleum of Salim Chishti, Fatehpur Sikri 1802". British Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-20. สืบค้นเมื่อ 2012-11-08.
- ↑ "General view of the tombs of Shaikh Salim Chishti and Islam Khan, Fatehpur Sikri". British Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-20. สืบค้นเมื่อ 2012-11-08.
- ↑ "View looking south from the Diwan-i-Khas, Fatehpur Sikri". British Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-20. สืบค้นเมื่อ 2012-11-08.
- ↑ "Close view of grouped columns and balustrade at the north-east angle of the Panch Mahal, Fatehpur Sikri". British Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-20. สืบค้นเมื่อ 2013-06-09.
- ↑ "Fatehpur Sikri". Uttar Pradesh Tourism. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-25.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Latif, Muḥammad (1896). Agra, Historical & Descriptive. Calcutta Central Press.
- Fazl, Abul (1897–1939). The Akbarnama (Vol. I-III). แปลโดย H. Beveridge. Calcutta: Asiatic Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2010. สืบค้นเมื่อ 6 November 2010.
- Keene, Henry George (1899). "Fatehpur Sikri". A Handbook for Visitors to Agra and Its Neighbourhood (Sixth ed.). Thacker, Spink & Co. p. 53.
- Malleson, G. B., Colonel (1899). Akbar and the rise of the Mughal Empire. Rulers of India series. Oxford at the Clarendon Press.
- Havell, E. B. (1904). A handbook to Agra and the Taj, Sikandra, Fatehpur-Sikri and the neighbourhood (1904). London: Longmans, Greens & Co.
- Garbe, Dr.Richard von (1909). Akbar – Emperor of India. A picture of life and customs from the sixteenth century. Chicago: The Opencourt Publishing Company.
- Smith, Vincent Arthur (1917). Akbar the Great Mogul, 1542-1605. Oxford at The Clarendon Press.
- Hussain, Muhammad Ashraf (1947). A Guide To Fatehpur Sikri. The Manager, Government of India Press.
- Rezavi, S. Ali Nadeem (1998). Exploring Mughal Gardens at Fathpur Sikri. Indian History Congress.
- Petruccioli, Attilio (1992). Fatehpur Sikri. Ernst & Sohn.
- Rizvi, Athar Abbas (2002). Fatehpur Sikri (World heritage series). Archaeological Survey of India. ISBN 81-87780-09-6.
- Rezavi, Syed Ali Nadeem (2002). "Iranian Influence on Medieval Indian Architecture", The Growth of Civilizations in India and Iran. Tulika.
- Jain, Kulbhushan (2003). Fatehpur Sikri: where spaces touch perfection. VDG. ISBN 3-89739-363-8.
- Rezavi, Dr. Syed Ali Nadeem (2008). Religious Disputation and Imperial Ideology: The Purpose and Location of Akbar's Ibadatkhana. SAGE Publications.
- Havell, E. B. (1904). A handbook to Agra and the Taj, Sikandra, Fatehpur-Sikri and the neighbourhood (1904). Longmans, Greens & Co., London.
- Smith, Vincent Arthur (1917). Akbar the Great Mogul, 1542-1605. Oxford at The Clarendon Press.
- Asher, Catherine Ella Blanshard (1992). "Age of Akbar". Architecture of Mughal India, (Part 1). Cambridge University Press. ISBN 0-521-26728-5.
- Fatehpur Sikri, Detailed study Arch Net Digital Library