รานี กี วาว
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
---|---|
![]() รานี กี วาว | |
ที่ตั้ง | ปาฏัณ, อำเภอปาฏัณ, รัฐคุชราต, ประเทศอินเดีย, |
เกณฑ์พิจารณา | วัฒนธรรม: (i), (iv) |
อ้างอิง | 922 |
ขึ้นทะเบียน | 2014 (สมัยที่ 38th) |
พื้นที่ | 4.68 ha (11.6 เอเคอร์) |
พื้นที่กันชน | 125.44 ha (310.0 เอเคอร์) |
พิกัด | 23°51′32″N 72°6′6″E / 23.85889°N 72.10167°E |
รานี กี วาว (คุชราต: રાણી કી વાવ, เทวนาครี: रानी की वाव, Rani ki Vav) หรือ รานกีวาว (คุชราต: રાણકી વાવ, Ranki vav) หรือเรียกตามความหมายว่า บ่อน้ำขั้นบันไดของพระราชินี (อังกฤษ: Queen’s stepwell) เป็นบ่อน้ำขั้นบันไดในเมืองปาฏัณ รัฐคุชราต ประเทศอินเดีย สร้างขึ้นในสมัยจักรวรรดิจลุกยะ และตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำสรัสวตี[1] ใน ประพันธ-จินตมณี วรรณกรรมโดยภิกษุไชนะ เมรุตุงคะในปี 1304 ระบุว่า "อุทยมตี (Udayamati) ธิดาแห่งนรวรหะ เขนคาร (Khengara) สร้างบ่อน้ำขั้นบันไดใหม่ขึ้นมาที่ศรีปาฏฏณา (ปาฏัณ) ยิ่งใหญ่อลังการยิ่งกว่าเขื่อนสหัสตรลึงค์" ในวรรณกรรมนี้ระบุว่าบ่อน้ำขั้นบันไดสร้างขึ้นในปี 1063 และก่อสร้างเสร็จใช้เวลา 20 ปี เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงราชาภีมะที่หนึ่ง (ค. ป. 1022 – 1064) โดยพระราชินีอุทยมตี ในขณะที่คณะผู้เชี่ยวชาญระบุปีก่อสร้างของบ่อน้ำขั้นบันไดอยู่ที่ปี 1032 โดยเปรียบเทียบความคล้ายคลึงทางสถาปัตยกรรมกับวิมลวสาหีมนเทียร[2][3][4]
ในปี 1986 กรมสำรวจโบราณคดีอินเดีย (ASI) เริ่มการขุดค้นและสำรวจรานีกีวาวครั้งใหญ่ ที่ซึ่งมีการขุดพบรูปของพระนางอุทยมตี และมีการทำนุบำรุงซ่อมแซมใหญ่ระหว่างปี 1981 ถึงปี 1987[2] รานีกีวาวได้รับสถานะแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2014[5][6]
รานีกีวาวได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในบ่อน้ำขั้นบันไดที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งและเป็นตัวอย่างชิ้นเอกของสถาปัตยกรรมบ่อย้ำขั้นบันไดในคุชราต โดยสร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมแบบมรู-คุรชร คล้ายคลึงกับวิมลสาหีมนเทียรแห่งเขาอาบู และ สุรยมนเทียรแห่งโมเธรา[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Rani-ki-Vav (the Queen's Stepwell) at Patan, Gujarat – UNESCO World Heritage Centre". whc.unesco.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2015-12-05.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Mehta Bhatt, Purnima (2014). "7. Queen's Stepwell (Rani ni Vav) - Patan, Gujarat". Her Space, Her Story : Exploring the Stepwells of Gujarat. del Solar, Daniel. New Delhi: Zubaan. pp. 72–90. ISBN 9789383074495. OCLC 898408173.
- ↑ Shastri, Hariprasadji (1976). Gujaratlo Rajkiya Ane Sanskritik Itihas Granth Part-iii Itihasni Gujaratlo Rajkiya Ane Sanskritik Itihas Granth Part-iv Solanki. pp. 135–137.
- ↑ Vinod Chandra Srivastava (2008). History of Agriculture in India, Up to C. 1200 A.D. Concept. p. 857. ISBN 978-81-8069-521-6.
- ↑ "Four new cultural sites inscribed on World Heritage List". UNESCO World Heritage Centre. 2014-06-22. สืบค้นเมื่อ 2014-10-11.
- ↑ "Gujarat's Rani ki Vav added to UNESCO World Heritage site List". IANS. news.biharprabha.com. สืบค้นเมื่อ 22 June 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Mankodi, Kirit (1991). The Queen's stepwell at Patan (ภาษาอังกฤษ). Bombay: Project for Indian Cultural Studies. ISBN 978-81-900184-0-1. OCLC 28801053.
- 3D Model