รามัปปเทวาลัย

พิกัด: 18°15′33″N 79°56′36″E / 18.25917°N 79.94333°E / 18.25917; 79.94333
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รามัปปเทวาลยัม
รุเทรศวรมนเทียร
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เขตมุลุคู
เทพรามลึงเคศวรสวามี (พระศิวะ) [1]
เทศกาลมหาศิวราตรี
ที่ตั้ง
ที่ตั้งหมู่บ้านปะลัมเปต
รัฐรัฐเตลังคานา
ประเทศประเทศอินเดีย
รามัปปเทวาลัยตั้งอยู่ในรัฐเตลังคานา
รามัปปเทวาลัย
ที่ตั้งในรัฐเตลังคานา
พิกัดภูมิศาสตร์18°15′33″N 79°56′36″E / 18.25917°N 79.94333°E / 18.25917; 79.94333
สถาปัตยกรรม
สถาปนิกรามัปปา
ผู้สร้างเรจรละ รุทร
เสร็จสมบูรณ์ศตวรรษที่ 13
ทิศทางด้านหน้าตะวันออก
ชื่อทางการ: เทวาลัยกากตียรุเทรศวร (รามัปปา), รัฐเตลังคานา
เกณฑ์พิจารณาวัฒนธรรม: (i)(iii)
แต่งตั้ง2021 (44th session)
หมายเลขอ้างอิง1570

รามัปปาเทวาลยัม (เตลูกู: రామప్ప దేవాలయం; Ramappa Temple) หรือ รามัปปามนเทียร (เทวนาครี: रामप्पा मंदिर) รุเทรศวรมนเทียร เป็นเทวาลัยและแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโกในรัฐเตลังคานาตอนใต้ของประเทศอินเดีย[2] ตั้งอยู่ 66 km (41 mi) จากเมืองวรังคัล และ 209 km (130 mi) จากนครไฮเดอราบาด หมู่เทวาลัยตั้งอยู่ในหุบเขาในหมู่บ้านปลัมเปต (Palampet) ในมณฑลเวนกตปุระ (Venkatapur mandal) อำเภอมูลุคู[3] จารึกในเทวาลัยสามารถตีความได้ว่าเทวาลัยสร้างขึ้นในราวปี ค.ศ. 1213 สร้างขึ้นโดยนายพลแห่งจักรวรรดิกากตียะ นามว่า เรจรละ รุทร (Recharla Rudra)[4] ในรัชสมัยของจักรพรรดิคณปตีเทวะ[1]

เทวาลัยนี้จัดเป็นประเภทศิวาลัย (หรือ ศิวาลยัม; Sivalayam) หมายถึงเทวาลัยที่บูชาพระศิวะ โดยที่เทวาลัยนี้มีรามลึงเคศวรเป็นองค์ประธาน มาร์โกโปโลขณะเดินทางมายังจักรวรรดิกากตียะ เคยเรียกขานเทวาลัยนี้ว่าเป็น "ดวงดาราที่เฉิดฉายสว่างไสวที่สุดในบรรดาจักรวาลของเทวาลัยทั้งปวง" (the brightest star in the galaxy of temples)[5] ตัวอาคารของรามัปปเทวาลัยตั้งอยู่บนฐานรูปดาวสูง 6-ฟุต (1.8-เมตร) ชื่อ รามปัปปะ/รามัปปา ตั้งตามชื่อช่างแกะสลักหรือก่อสร้างเทวาลัย อย่างไรก็ตาม ลักษณะการตั้งชื่อเทวาลัยตามชื่อช่างผู้ก่อสร้างนั้นไม่ค่อยปรากฏมากโดยทั่วไปในอินเดีย เป็นไปได้ว่าเทวาลัยนี้อาจเป็นเทวาลัยแห่งเดียวในอินเดียที่ตั้งชื่อตามช่างผู้ออกแบบ[6]

เทวาลัยได้รับการขึ้นทะเบียนในรายชื่อเบื้องต้นของแหล่งมรดกโลกของยูเนสโกภายใต้ชื่อ "โตรณัมและเทวาลยัมอันอลังการแห่งกากตียะ" ("The Glorious Kakatiya Temples and Gateways") ในปี 2019 หลังจากยื่นแก่คณะกรรมการยูเนสโกไปเมื่อ 10 กันยายน 2015[6] และในวันที่ 25 กรกฎาคม 2021 เทวาลัยได้รับการขึ้นบัญชีเป็นแหล่งมรดกโลกโดยสมบูรณ์ภายใต้ชื่อ "เทวาลัยกากตียรุเทรศวร (รามัปปา), รัฐเตลังคานา"[2][7]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Gollapudi Srinivasa Rao. "Ramappa temple never fails to surprise visitors". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 2015-01-01.
  2. 2.0 2.1 Nanisetti, Serish (2021-07-25). "Telangana's Ramappa Temple inscribed as a World Heritage Site". The Hindu (ภาษาIndian English). ISSN 0971-751X. สืบค้นเมื่อ 2021-07-25.
  3. "The Shiva temples at Palampet". สืบค้นเมื่อ 2006-09-11.
  4. P. V. P. Sastry 1978, p. 143.
  5. Dobbie, Aline (2006). India: The Elephant's Blessing (ภาษาอังกฤษ). Melrose Press. p. 36. ISBN 978-1-905226-85-6.
  6. 6.0 6.1 UNESCO "The Glorious Kakatiya Temples and Gateways", Tentative List
  7. UNESCO (2021-07-25). "Cultural sites in China, India, Iran and Spain inscribed on UNESCO's World Heritage List". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 2021-07-25.

บรรณานุกรม[แก้]