โธฬาวีรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โธฬาวีรา
บางส่วนของแหล่งขุดค้นโธฬาวีรา
โธฬาวีราตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
โธฬาวีรา
แสดงที่ตั้งภายในประเทศอินเดีย
โธฬาวีราตั้งอยู่ในรัฐคุชราต
โธฬาวีรา
โธฬาวีรา (รัฐคุชราต)
ที่ตั้งขทีรเพต, อำเภอกูตจ์, รัฐคุชราต, ประเทศอินเดีย
พิกัด23°53′18.98″N 70°12′49.09″E / 23.8886056°N 70.2136361°E / 23.8886056; 70.2136361พิกัดภูมิศาสตร์: 23°53′18.98″N 70°12′49.09″E / 23.8886056°N 70.2136361°E / 23.8886056; 70.2136361
ประเภทซากนิคม
พื้นที่47 ha (120 เอเคอร์)
ความเป็นมา
สมัยฮารัปปา 1 ถึง ฮารัปปา 5
วัฒนธรรมอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
สภาพซาก
การเปิดให้เข้าชมใช่
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนโธฬาวีรา: นครอารยธรรมฮารัปปา
เกณฑ์วัฒนธรรม: (iii), (iv)
ขึ้นเมื่อ2021 (คณะกรรมการสมัยที่ 44)
เลขอ้างอิง1645

โธฬาวีรา (คุชราต: ધોળાવીરા; Dholavira) เป็นแหล่งโบราณคดีในหมู่บ้านขาทีรเพต ในตลุกะภจาว อำเภอกูตจ์ รัฐคุชราต เป็นซากของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ/ฮารัปปา[1] โธฬาวีราเป็นหนึ่งในห้าแหล่งโบราณคดีขนาดใหญ่[2] ที่สำคัญที่สุดแหล่งหนึ่ง[3] และถือกันว่าเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุด[4] ในเวลานั้น เมืองรูปสี่เหลี่ยมขนาด 47 ha (120 เอเคอร์) นี้ ตั้งอยู่ขนาบระหว่างลำธารมันสาร์ (Mansar) ในทางเหนือ และมันหาร์ (Manhar) ในทางใต้[5] เข้าใจว่ามีประชากรอยู่อาศัยในระหว่างราว 2,650 ปีก่อน ค.ศ. ก่อนจะค่อย ๆ ลดจำนวนลงในราว 2,100 ปีก่อน ค.ศ. และถูกทิ้งร้างเป็นช่วงสั้น ๆ ก่อนจะมีผู้กลับเข้ามาอยู่อาศัยในราว 1450 ปีก่อน ค.ศ.[6]

แหล่งนี้ขุดพบในปี 1967–1968 โดย เจ.พี.โชษี จากกรมสำรวจโบราณคดีอินเดีย (เอเอสไอ) แหล่งนี้มีขนาดใหญ่สุดอันดับห้าในบรรดาแหล่งอารยธรรมฮารัปปาแปดแห่งที่พบ เอเอสไอดำเนินการขุดค้นตั้งแต่ปี 1990 พร้อมทั้งระบุว่า "โธฬาวีราเป็นแหล่งที่ช่วยในการเข้าใจอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ"[7] แหล่งสำคัญของฮารัปปาอื่น ๆ ที่ขุดค้นพบแล้วได้แก่ฮารัปปา, โมเฮนโจ-ดาโร, คเนรีวลา, รขีครหี, กาลีบังคัน, รูปนคร และโลถาล

อ้างอิง[แก้]

  1. "Ruins on the Tropic of Cancer".
  2. Subramanian, T. "The rise and fall of a Harappan city". The Archaeology News Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-30. สืบค้นเมื่อ 3 June 2016.
  3. "Where does history begin?".
  4. Kenoyer & Heuston, Jonathan Mark & Kimberley (2005). The Ancient South Asian World. New York: Oxford University Press. p. 55. ISBN 9780195222432.
  5. Centre, UNESCO World Heritage. "Dholavira: A Harappan City - UNESCO World Heritage Centre". whc.unesco.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 3 June 2016.
  6. Possehl, Gregory L. (2002). The Indus Civilization: A Contemporary Perspective (ภาษาอังกฤษ). Rowman Altamira. p. 17. ISBN 9780759101722. สืบค้นเมื่อ 3 June 2016.
  7. "Excavations-Dholavira". Archaeological Survey of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2011. สืบค้นเมื่อ 30 June 2012.