จัณฑีครห์แคปิตอลคอมเพล็กซ์
หน้าตา
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
---|---|
พาเลซออฟอัสเซมบลี (Palace of Assembly) ในหมู่อาคาร | |
ชื่อทางการ | Complexe du Capitole |
ที่ตั้ง | จัณฑีครห์, จัณฑีครห์แคปิตอลรีเจียน, ประเทศอินเดีย |
บางส่วน | งานสถาปัตยกรรมของเลอกอร์บูซีเย คุณูปการอันโดดเด่นต่อขบวนการสมัยใหม่ |
รวมถึง | พาเลซออฟอัสเซมบลี, อาคารสำนักเลขาธิการ, ศาลสูงปัญจาบและหรยาณา, อนุสาวรีย์โอเพินแฮนด์ |
เกณฑ์พิจารณา | วัฒนธรรม: (i), (ii), (vi) |
อ้างอิง | 1321rev-014 |
ขึ้นทะเบียน | 2016 (สมัยที่ 40th) |
พื้นที่ | 66 ha (0.25 sq mi) |
พื้นที่กันชน | 195 ha (0.75 sq mi) |
พิกัด | 30°45′26″N 76°48′24″E / 30.7573°N 76.8066°E |
จัณฑีครห์แคปิตอลคอมเพล็กซ์ (อังกฤษ: Chandigarh Capitol Complex) ตั้งอยู่ที่เซ็กเตอร์ 1 (sector-1) ของเมืองจัณฑีครห์ ประเทศอินเดีย เป็นกลุ่มอาคารที่ทำการของรัฐบาลออกแบบโดยสถาปนิก เลอกอร์บูซีเย[1] และเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก[2] หมู่อาคารกินพื้นที่ทั้งหมด 100 เอเคอร์ และถือเป็นตัวแทนเอก (prime manifestation) ของสถาปัตยกรรมในจัณฑีครห์ ในหมู่อาคารประกอบด้วยสามอาคาร คือ พาเลซออฟอัสเซมบลี, อาคารสำนักเลขาธิการ และศาลสูงปัญจาบและหรยาณา รวมถึงอนุสาวรีย์ (โอเพนแฮนด์, จีโอเมตริกฮิลล์, ทาวเวอร์ออฟชาโดวส์ และอนุสาวรีย์วีรชนผู้สละชีพ) และทะเลสาบหนึ่งแห่ง[3][4][5][6][7]
จัณฑีครห์แคปิตอลคอมเพล็กซ์กับอาคารอีกสิบหกแห่งที่ออกแบบโดยเลอกอร์บูซีเยได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ภายใต้ชื่อ "งานสถาปัตยกรรมของเลอกอร์บูซีเย" เมื่อเดือนกรกฎาคม 2016[8]
ระเบียงภาพ
[แก้]-
พาเลซออฟอัสเซมบลี
-
ทางเข้าพาเลซออฟอัสเซมบลี
-
เดอะทาวเวอร์ออฟชาโดวส์
-
เดอะจีโอเมตริกฮิลล์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Le Corbusier's Capitol Complex a mess, in dire need of facelift". indianexpress.com.
- ↑ "Chandigarh's Capitol Complex is now a UNESCO heritage site". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-19. สืบค้นเมื่อ 18 July 2016.
- ↑ "Chandigarh's Capitol Complex is now a UNESCO heritage site: All you need to know". hindustantimes.com. 18 July 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-19. สืบค้นเมื่อ 2020-10-05.
- ↑ "Capitol Complex, as Le Corbusier wanted it, remains incomplete - Indian Express". indianexpress.com.
- ↑ https://indianexpress.com/article/cities/chandigarh/the-most-planned-city/
- ↑ "UNESCO approves all 3 Indian nominations for heritage tag". intoday.in.
- ↑ "Four sites inscribed on UNESCO's World Heritage List". whc.unesco.org (ภาษาอังกฤษ). UNESCO World Heritage Centre. 15 July 2016. สืบค้นเมื่อ 15 July 2016.
- ↑ "The Architectural Work of Le Corbusier, an Outstanding Contribution to the Modern Movement". UNESCO World Heritage Centre. สืบค้นเมื่อ 7 November 2020.