ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประธานรัฐสภาไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Wedjet (คุย | ส่วนร่วม)
แจ้งต้องการอ้างอิงด้วยสจห.
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{กล่องข้อมูล ตำแหน่งทางการเมือง
{{กล่องข้อมูล ตำแหน่งทางการเมือง
| post = ประธานรัฐสภา <br> ราชอาณาจักรไทย
| post = ประธานรัฐสภา <br> ราชอาณาจักรไทย

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:14, 31 พฤษภาคม 2562

ประธานรัฐสภา
ราชอาณาจักรไทย
ตรารัฐสภา
ธงประธานรัฐสภา
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
ชวน หลีกภัย

ตั้งแต่ 28 พฤษภาคม 2562 [1]
การเรียกขานท่านประธานที่เคารพ
ผู้เสนอชื่อสภาผู้แทนราษฎร
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์ไทย
วาระ4 ปี
ผู้ประเดิมตำแหน่งเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
สถาปนา28 มิถุนายน พ.ศ. 2475
เว็บไซต์ประธาน สส.

ประธานรัฐสภาไทย เป็นตำแหน่งประมุขของอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ ของไทย ซึ่งในแต่ละช่วงเวลา จะประกอบด้วยสภาเดียวหรือสองสภา แล้วแต่บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในขณะนั้น ซึ่งในสมัยก่อน ประธานรัฐสภาอาจมาจากประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภา

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 รัฐสภาไทยประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา โดยมีโดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภาโดยตำแหน่ง นอกจากนี้ประธานรัฐสภายังดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ก.ร.) ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา

อำนาจหน้าที่ของประธานรัฐสภาไทย

ตามข้อบังคับการประชุมของรัฐสภา พ.ศ. 2553 ข้อที่ 5 ได้กำหนดให้ประธานรัฐสภามีอำนาจหน้าที่ดังนี้

  1. เป็นประธานของที่ประชุมรัฐสภา
  2. กำหนดการประชุมรัฐสภา
  3. ควบคุมและดำเนินกิจการของรัฐสภา
  4. รักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุมรัฐสภาตลอดถึงบริเวณของรัฐสถา
  5. เป็นผู้แทนรัฐสภาในกิจการภายนอก
  6. แต่งตั้งกรรมการเพื่อดำเนินกิจการใด ๆ ตามข้อบังคับข้อที่ 5 (7)
  7. อำนาจและหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. พระบรมราชโองการ แต่งตั้ง ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร