ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Manop (คุย | ส่วนร่วม)
→‎แหล่งข้อมูลอื่น: เว็บไซต์ปิดตัวลง
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26: บรรทัด 26:


[[หมวดหมู่:ระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทย|โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง]]
[[หมวดหมู่:ระบบขนส่งมวลชนในประเทศไทย|โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง]]

{{โครงคมนาคม}}

[[en:Mass Rapid Transit Master Plan in Bangkok Metropolitan Region]]
[[en:Mass Rapid Transit Master Plan in Bangkok Metropolitan Region]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:57, 13 สิงหาคม 2553

ไฟล์:BMRT Map2.png
แผนที่แสดงที่ตั้งโครงการฯ เมื่อครบทุกสายแบบแยกเป็นสถานี

โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง เป็นส่วนหนึ่งของ "โครงการแผนแม่บท การขนส่งมวลชนระบบรางในเขตกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ต่อเนื่อง" ซึ่ง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีในปี 2541 ให้เร่งดำเนินงาน โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอันได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) และ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง (สบน.) ปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครเดิม ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ จากความล้มเหลวของโครงการโฮปเวลล์และวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540

รูปแบบโครงการ

จากการคาดการณ์การเจริญเติบโตของเมืองในระยะนั้นๆ และแผนงบประมาณ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร จึงแบ่งการดำเนินโครงการ ออกเป็น 3 ระยะ คือ

  • ระยะที่ 1 (ปี 2545-2554) เป็นระยะของการปรับตัวพัฒนา เพื่อการขนส่งภายในเมืองทั้งระบบ
  • ระยะที่ 2 (ปี 2555-2564) เป็นระยะพัฒนาใหม่ที่ยั่งยืน เพื่อเปิดให้บริการเป็นเส้นรอบวง กระจายผู้โดยสารในเมืองอย่างทั่วถึง
  • ระยะที่ 3 (หลังปี 2564) เป็นการพัฒนาระยะยาว เปิดเส้นทางสู่ย่านชานเมือง และรองรับผู้โดยสารจากชานเมืองเข้าสู่ในเมือง
  • โดยเริ่มแรกโครงการมี 9 สายต่อมาได้ขยายออกไปเป็น 12 สาย มีแผนที่จำลองทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

โดยโครงข่ายทั้งหมด จำแนกได้ดังนี้

  • โครงข่ายปัจจุบันที่เปิดให้บริการแล้ว (45.7 กม.)
  • โครงข่ายที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง (39.1 กม.)
  • โครงข่ายตามแผนเร่งรัดตามมติ ครม. พ.ศ. 2549 (145 กม.)
  • โครงข่ายเพิ่มเติมภายในปี พ.ศ. 2562 (141.2 กม.)
  • โครงข่ายเพิ่มเติมภายในปี พ.ศ. 2572 (117.9 กม.)

แผนที่

แผนที่แสดงที่ตั้งโครงการฯ เมื่อครบทุกสาย

อ้างอิง

  • ระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร, เอกสารเผยแพร่, 2553.