ข้ามไปเนื้อหา

พัก กึน-ฮเย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พัก กึน-ฮเย
박근혜
ภาพถ่ายอย่างเป็นทางการ พ.ศ. 2556
ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ คนที่ 11
ดำรงตำแหน่ง
25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2560
ก่อนหน้าอี มย็อง-บัก
ถัดไปฮวัง กโย-อัน
(รักษาการ)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 (72 ปี)
แทกู เกาหลีใต้
ศาสนาอเทวนิยม[1]
พรรคการเมืองพรรคแซนูรี
ลายมือชื่อ

พัก กึน-ฮเย (อักษรโรมัน: Park Geun-hye; เกาหลี박근혜; ฮันจา朴槿惠; อาร์อาร์Bak Geunhye; เอ็มอาร์Pak Kŭnhye; เกิด 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495) เป็นนักโทษ[2] และอดีตประธานาธิบดีคนที่ 11 ของสาธารณรัฐเกาหลี พักเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ถูกถอดถอนจากการปฏิบัติหน้าที่โดยรัฐสภาและการรับรองโดยศาลรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้ ส่งผลให้นาย ฮวัง กโย-อัน นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐเกาหลีเป็นรักษาการประธานาธิบดีเกาหลีใต้

พักเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ และเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของประเทศในภูมิภาคเอชียตะวันออกเฉียงเหนือ[3] และเป็นประมุขหญิงของรัฐในภูมิภาคประเทศเอเชียตะวันออกลำดับที่สามต่อจากมาดามชุคบาตาร์ แห่งมองโกเลียและซ่ง ชิ่งหลิง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

ก่อนดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี พักดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคการเมืองแห่งชาติ (จีเอ็นพี) ซึ่งเป็นพรรคการเมืองอนุรักษ์นิยมของเกาหลีใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึงปี พ.ศ. 2549 และปี พ.ศ. 2554 ถึง พ.ศ. 2555 (พรรคจีเอ็นพีเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคแซนูรีในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555) พักยังเป็นสมาชิกรัฐสภา โดยพักได้รับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกรัฐสภาสี่สมัยติดต่อกันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ถึงปี พ.ศ. 2555 โดยในสมัยที่ห้า ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 พักได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภาแบบระบบสัดส่วน โดยพักเป็นบุตรสาวของอดีตประธานาธิบดี พัก ช็อง-ฮี ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 ถึงปี พ.ศ. 2522

ในปี พ.ศ. 2556 ถึงปี พ.ศ. 2557 พักอยู่ในลำดับที่ 11 จากการจัดลำดับสตรีผู้ทรงอิทธิพลที่สุดของโลก ของนิตยสารฟอบส์ และเป็นสตรีที่ทรงอิทธิพลที่สุดในเอเชียตะวันออก[4] ในปี พ.ศ. 2557 พักอยู่ในลำดับที่ 46 จากการจัดลำดับบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลกของฟอบส์ ซึ่งเป็นลำดับที่สูงสุดลำดับที่สามต่อจากอี คุน-ฮี และอี แจ-ยง

ในวันที่ 10 มีนาคม 2560 ศาลรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้มีคำพิพากษารับรองมติรัฐสภาเกาหลีใต้ให้ถอดถอน พัก กึน-ฮเย พ้นตำแหน่งประธานาธิบดี อย่างเป็นทางการ หลังจากรัฐสภามีมติถอดถอน ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2559 ทำให้ถูกสั่งระงับการปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่นั้น โดยมีนายกรัฐมนตรี ฮวัง กโย-อัน เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งประธานาธิบดีจนกว่าจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ต่อไป

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา

[แก้]

พัก กึน-ฮเย เกิดเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 แขวงซัมด็อก เขตจุง,แทกู เป็นบุตรคนแรกของอดีตประธานาธิบดี พัก ช็อง-ฮี ประธานาธิบดีคนที่สามของสาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างปี พ.ศ. 2506 - พ.ศ. 2522 กับ ยุก ย็อง-ซู เธอมีน้องอีกสองคนคือ พัก จี-มัน น้องชาย และ พัก กึน-รย็อง น้องสาว[5] เธอไม่เคยผ่านการสมรส ทางสำนักวิจัยพิว ได้ให้คำจำกัดความว่าเธอเป็นคนถือลัทธิอเทวนิยมโดยเชื่อมโยงกับพุทธและโรมันคาทอลิก[6]

ในปี พ.ศ. 2496 ครอบครัวของพักได้ย้ายมาอยู่โซล เธอได้สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนจังชุงโซลและซุงซิม, ระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสตรีในปี พ.ศ. 2513 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จากมหาวิทยาลัยซอกัง ในปี พ.ศ. 2517 และศึกษาที่มหาวิทยาลัยเกรโนเบิล แอลป์ ในช่วงสั้นๆ ก่อนที่จะได้ออกจากฝรั่งเศส เนื่องจากมารดาเธอถูกลอบสังหาร

ภายหลังจากการลอบสังหารมารดาของพักที่โรงภาพยนตร์แห่งชาติเกาหลี, โซล โดย มุน เซ-กวัง ชาวญี่ปุ่นเชื้อสายเกาหลี ผู้ฝักใฝ่เกาหลีเหนือ และเป็นสมาชิกของกลุ่มชงรย็อน ในวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2517[7] ทำให้พักได้เป็นสตรีหมายเลขหนึ่งของสาธารณรัฐเกาหลี จนกระทั่งพัก ช็อง-ฮี บิดาของเธอถูกลอบสังหารในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2522 โดย คิม แจ-คยู หัวหน้าสำนักงานหน่วยข่าวกรอง[8][9] ในช่วงระหว่างที่บิดาของเธอครองอำนาจ นักเคลื่อนไหวทางการเมืองฝั่งตรงข้ามกับบิดาของเธอกล่าวอ้างว่าถูกกักขังโดยอำเภอใจ โดยประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนอยู่ภายใต้เรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจ[10]ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 พักได้กล่าวแสดงความเสียใจต่อการปฏิบัติกับนักเคลื่อนไหวในช่วงเวลาดังกล่าว[11]

พักได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเหวินฮวา, ไต้หวัน ในปี พ.ศ. 2530, มหาวิทยาลัยพูคย็อง และ สถาบันชั้นสูงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกาหลี ในปี พ.ศ. 2551 และ มหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งเดรสเดิน ในปี พ.ศ. 2557[12]

อาชีพ

[แก้]

สมาชิกรัฐสภา

[แก้]

พักได้รับเลือกเป็นสมาชิกรัฐสภาในนามของพรรคแกรนเนชันแนล (จีเอ็นพี) จากเขตเลือกตั้งอำเภอดัลซ็อง, แดกู ในปี พ.ศ. 2541 และได้รับเลือกตั้งจากเขตเดียวกันอีกสามครั้งในปี พ.ศ. 2543, พ.ศ. 2547 และปี พ.ศ. 2551 เธอดำรงตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาติดต่อกันจนกระทั่งในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555 เธอได้ประกาศว่าจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาทั่วไปของเกาหลีใต้ครั้งที่ 19 ไม่ว่าจะเป็นในเขตดัลซ็อง หรือไม่ว่าในเขตใดก็ตาม แต่จะลงเลือกตั้งในระบบสัดส่วนในนามพรรคแซนูรีแทน เพื่อที่จะหาเสียงในการดำรงตำแหน่งผู้นำพรรค[13] เธอได้รับเลือกตั้งในระบบสัดส่วนในเดือนเมษายน พ.ศ. 2555

สมาชิกรัฐสภาจากพรรคจีเอ็นพี และ "ราชินีแห่งการเลือกตั้ง"

[แก้]

เนื่องจากความล้มเหลวในการยื่นถอดถอนประธานาธิบดีโน มู-ฮย็อน และกรณีการรับสินบนอื้อฉาวของผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีปี พ.ศ. 2545 อี เฮว-ชัง (เรื่องราวเปิดเผยปี พ.ศ. 2547) พรรคจีเอ็นพีเผชิญกับการพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ในการเลือกตั้งทั้งไปปี พ.ศ. 2547 พักได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าพรรค และเป็นผู้นำในการเลือกตั้ง โดยจีเอ็นพีสูญเสียที่นั่งสำคัญแต่ก็ยังได้รับเลือกตั้ง 121 ที่นั่ง ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมากภายใต้สถานการณ์ที่พรรคไม่ได้รับการตอบรับที่ดีจากสาธารณชน[14][15] ในฐานะหัวหน้าพรรคจีเอ็นพี พักมีส่วนช่วยให้ตัวแทนพรรคจีเอ็นพีชนะการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในเขตสำคัญเมื่อปี พ.ศ. 2549

ระหว่างการหาเสียง เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 จี ชุง-โฮ ชายวัย 50 ปี ผู้มีคดีอาญาติดตัว 8 คดี ได้กรีดหน้าพักโดยใช้มีดอเนกประสงค์ ทำให้เกิดแผลยาว 11 เซนติเตร และต้องเย็บถึง 60 เข็ม รวมถึงต้องผ่าตัดเป็นเวลาหลายชั่วโมง[16][17] โดยเรื่องดังกล่าวกลายเป็นเรื่องเล่าอันโด่งดังในระหว่างที่พักรักษาตัวอยู่ คำพูดแรกที่เธอพูดกับเลขานุการของเธอภายหลังจากการพักฟื้นจากบาดแผลแล้วว่า "แทจ็อนเป็นอย่างไรบ้าง?" ภายหลังจากเหตุการณ์นี้ทำให้พรรคแกรนด์เนชันแนลชนะการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเมืองแทจ็อน ในระหว่างที่เธอเป็นหัวหน้าพรรคจีเอ็นพี ระหว่างปี พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2549 พรรคชนะการเลือกตั้งซ่อมและการเลือกตั้งทั่วไปทั้งหมด 40 ครั้ง ซึ่งเป็นผลมาจากความพยายามและอิทธิพลของเธอ ทำให้เธอได้รับฉายาว่า "ราชินีแห่งการเลือกตั้ง"[18][19][20]

ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 พักได้เยือนมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ที่ เคมบริดจ์ (รัฐแมสซาชูเซตส์), สหรัฐอเมริกา อย่างเอิกเกริก จุดสุดท้ายเธอได้กล่าวสุนทรพจน์ให้กับผู้ฟังที่ วิทยาลัยรัฐศาสตร์ของฮาร์วาร์ด (John F. Kennedy School of Government) โดยเธอได้กล่าวว่าจะรักษาเกาหลี และจะสนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีใต้กับสหรัฐอเมริกาให้แนบแน่นขึ้น[21][22]

การเสนอตัวชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ปี พ.ศ. 2550

[แก้]

พักมีความหวังว่าจะเจริญรอยตามความสำเร็จของบิดาเธอโดยการป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธาธนาธิบดีในนามพรรคแกรนด์แนชัลแนล[23] แต่เธอก็ได้พ่ายแพ้ต่อ อี มย็อง-บัก เพียงไม่กี่คะแนน โดยอีโดดเด่นตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นฤดูกาลเลือกตั้งขั้นต้น แต่พักสามารถไล่ตามมาได้จากข้อกล่าวหาเรื่องการฉ้อราษฎร์บังหลวงของอี โดยพักสามารถชนะการเลือกตั้งในการเป็นตัวแทนในระดับสมาชิกของพรรค แต่พ่ายแพ้แก่อีในการเลือกตั้งตัวแทนพรรคระดับชาติ ซึ่งมีสัดส่วนจำนวนคะแนนสูงในการเลือกตั้งตัวแทนทั้งหมด

การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2551

[แก้]

ภายหลังจากการเลือกตั้งประธานาธิบดี พ.ศ. 2550 ประธานาธิบดี อี มย็อง-บัก ก่อตั้งทีมรัฐบาลจากบุคคลใกล้ชิด[24] ด้านผู้สนับสนุนพักโต้แย้งว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการโต้ตอบโดยการแก้แค้นทางการเมืองและพวกเขาควรถอนตัวออกจากพรรคแกรนด์แนชั่นแนล[25] โดยพวกเขาได้ก่อตั้งพรรคพันธมิตรความหวังแห่งอนาคต และพรรครวมผู้สนับสนุนพักอิสระ (친박 무소속 연대; ชิน พัก มูโซซก ย็อนแด) พักได้กล่าวด้วยตนเอกว่าจะไม่เข้าร่วมพรรคดังกล่าว แต่ได้ให้การสนับสนุนทางอ้อมต่อพวกเขาโดยประกาศว่า "ฉันหวังว่าพวกเขาเหล่านี้จะกลับมาอย่างมีชีวิตชีวา" ภายหลังจากการถอนตัวออกจากพรรครั้งใหญ่ดังกล่าว พวกเขาได้ประกาศว่าอยากกลับเข้าพรรคจีเอ็นพีภายหลังการเลือกตั้งทั่วไป แต่ทางจีเอ็นพีได้ห้ามบุคคลดังกล่าว ในการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2551 กลุ่มผู้ต่อต้านชนะไป 26 ที่นั่ง โดย 14 ที่นั่งเป็นของพรรคพันธมิตรความหวังแห่งอนาคต และ 12 ที่นั่งเป็นของพรรคอิสระ ทั้งสองพรรคได้แสดงบทบาทที่สำคัญในการชิงชัยที่นั่งสำคัญของพรรคจีเอ็นพี พักยืนกรานว่าจีเอ็นพีควรอนุญาตให้ผู้ที่สนับสนุนเธอกลับเข้าพรรค ในปี พ.ศ. 2554 กลุ่มผู้ต่อต้านเกือบทั้งหมดได้กลับข้าพรรคจีเอ็นพี ทำให้มีผู้สนับสนุนพรรค 60 ถึง 70 ที่นั่ง จากทั้งหมด 171 ที่นั่งของจีเอ็นพี

หัวหน้าพรรคแซนูรี

[แก้]

เพื่อตอบสนองต่อความนิยมที่ลดลงของพรรคแกรนด์แนชั่นแนล พรรคได้ตั้งคณะกรรมการฉุกเฉินและเปลี่ยนชื่อพรรคจากแกรนด์แนชั่นแนล เป็นพรรคแซนูรี ซึ่งมีความหมายว่า "ขอบแดนใหม่"[13] ในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554 พรรคได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการฉุกเฉินของพรรคจีเอ็นพี และเป็นหัวหน้าพรรคทางพฤตินัย

การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2555

[แก้]

พรรคแซนูรีสามารถสร้างความประหลาดใจได้ด้วยการเอาชนะพรรครวมประชาธิปไตย ฝ่ายค้านได้ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2555 โดยได้ไป 152 ที่นั่ง และยังรักษาที่นั่งสำคัญเอาไว้ได้ เพราะว่าเหตุกาณณ์อื้อฉาวเรื่องการฉ้อราษฎร์บังหลวงของรัฐบาลอี มย็อง-บัก ได้รับการเปิดเผยก่อนการเลือกตั้ง ทำให้พรรคแซนูรีได้รับการคาดการณ์ในวงกว้างว่าจะได้ไม่เกิน 100 ที่นั่ง.[26] ระหว่างช่วงการหาเสียง 13 วัน พักเดินทางมากกว่า 7,200 กิโลเมตร ทั่วทั้งเกาหลีใต้มากกว่า 100 เขตเลือกตั้ง [27] จากความเห็นพ้องต้องกันของสื่อเกาหลีใต้และผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองชี้ให้เห็นว่าสิ่งสำคัญที่เป็นองค์ประกอบสำคัญทำให้พรรคแซนูรีได้รับชัยชนะคือความเป็นผู้นำของพัก สำหรับเหตุผลนี้ การเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ. 2555 จึงได้รับการขนานนามว่า "การกลับมาของราชินีเลือกตั้ง"[26][28] พรรคแซนูรีเอาชนะการเลือกตั้งได้ในเฉพาะเขตที่มีประชากรหนาแน่นของโซล แต่อย่างไรก็ตามผลในครั้งนี้ก็ได้แสดงขอบเขตจำกัดถึงอิทธิพลทางการเมืองของพัก[26]

ช่วงรณรงค์หาเสียงลือกตั้งประธานาธิบดี พ.ศ. 2555

[แก้]

พักเป็นผู้นำสำหรับการเป็นตัวแทนพรรคลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดี พ.ศ. 2555 ในทุกๆ เขตเลือกตั้งระดับชาติของเกาหลีใต้ระหว่างปี พ.ศ. 2551 เมื่อรัฐบาลของอี มย็อง-บัก เริ่มบริหารงาน และเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 โดยได้รับคะแนนนิยม 25 ถึง 40 เปอร์เซนต์ มากกว่าคู่แข่งอันดับสองถึงเท่าตัว ระดับความนิยมของพักเพิ่มขึ้นมากขึ้นสูงสุดภายหลังจากการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2551 ซึ่งการเลือกตั้งในครั้งนั้นได้แสดงอิทธิพลทางการเมืองของเธออย่างเด่นชัด ส่วนคะแนนนิยมในช่วงที่ตกต่ำที่สุดของเธอเกิดขึ้นช่วงต้นปี พ.ศ. 2553 จากท่าทีของเธอที่ต่อต้านรัฐบาลของอีจากกรณีเมืองเซจง[29] ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 อัน ช็อล-ซู อดีตนักธุรกิจด้านอิเล็กทรอนิกส์และคณะบดีโรงเรียนวิทยาศาสตร์บรรจบและเทคโนโลยีที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล ได้แสดงตนที่จะเป็นผู้สมัครอิสระสำหรับการเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดี ในผลการสำรวจระดับชาติในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 อันและพัก กึน-ฮเย มีคะแนนนิยมใกล้เคียงกันในการเป็นผู้นำ และยังส่งผลให้พักสูญเสียคะแนนิยมอันดับหนึ่งในผลการสำรวจของบางสำนักเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551[30]

ภายหลังการชนะของเธอในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2555 คะแนนนิยมของเธอเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากผลการสำรวจระดับชาติของสถาบันวิจัยโมโนเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม[31] ทำให้พักมีคะแนนิยมสูงสุดที่ 45.5% เมื่อเทียบกับคู่แข่งคนอื่นๆทั้งหมดแล้ว และจากผลการสำรวจความนิยมระดับชาติครั้งหลัง พักก็มีคะแนนิยมสูงกว่าอันแล้ว โดยพักได้คะแนนนิยม (50.6%) และอันได้ (43.9%)[32] ในวันที่ 10 กรกฎาคม พักได้ประกาศอย่างเป็นทางการที่จะเสนอตัวชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่จะมีขั้นในปี พ.ศ. 2555 ที่ไทม์ แสคว์ เขตย็องดึงโพ กรุงโซล ในการประกาศครั้งนี้เธอได้เน้นย้ำในการไล่หาความสุข, เศรษฐกิจประชาธิปไตย และแก้ไขเรื่องสวัสดิการสังคมของประชาชนชาวเกาหลีใต้[33]

ส่วนคู่แข่งของเธอจากพรรคประชาธิปไตย มุน แจ-อิน ได้ประกาศตัวชิงตำแหน่งประธายาธิบดีในวันที่ 17 กันยายน และอัน ช็อล-ซู ได้ประกาศเสนอตัวในวันที่ 19 กันยายน ในการแข่งคะแนนนิยมแบบตัวต่อตัวนั้น พักได้รับคะแนนิยมน้อยกว่าทั้งอัน และมุนจากผลสำรวจความนิยมระดับชาติ เมื่อวันที่ 22 กันยายน.[34] แต่เมื่อผลการเลือกตั้งออกมาเธอได้รับการเลือกให้เป็นประธานาธิบดีของเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ด้วยคะแนน 51.6%

จุดยืน

[แก้]
ประธานาธิบดี พัก กึน-ฮเย (ตรงกลาง) ยิ้มและแสดงรูปภาพที่วาดโดยเด็กสาวที่ช็องวาแด, โซล, ใน งานวันเด็กแห่งชาติ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

จากผลการสำรวจของสถาบันวิจัยเกาหลีได้ประเมินทัศนคติของผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ในปี พ.ศ. 2555 ทั้ง 12 คน นั้น พัก เป็นผู้สมัครที่มีความเป็นอนุรักษ์นิยมมากที่สุด[13][35]

ความอนุรักษ์นิยมของเธอได้แสดงให้เห็นในการเสนอตัวเป็นตัวแทนพรรคในการชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อปี พ.ศ. 2551 ที่เธอมุ่งเน้นทำการตลาดโดยให้คำมั่นสัญญาว่าจะลดภาษี, ลดมาตรการควบคุม และเพิ่มการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ[36] อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 พักเริ่มมุ่งนโยบายไปยังประเด็นสวัสดิการสังคม, สนับสนุนการแก้ไขบริการสวัสดิการสังคมแก่ประชาชนชาวเกาหลีใต้[36]

พักเป็นที่รู้กันว่าเธอมีความเคร่งครัด, ไม่มีการประนีประนอมต่อสัญญาทางการเมือง เช่น ในปี พ.ศ. 2553 เธอประสบความสำเร็จในการยุติแผนของรัฐบาลอี มย็อง-บักในการสร้างเมืองเซจง ศูนย์กลางการปกครองของรัฐบาลแห่งใหม่ โดยโต้เถียงว่าแผนดังกล่าวเป็นการสร้างสัญญาทางการเมืองกับประชาชน ความขัดแย้งระหว่างพักกับรัฐบาลของอีทำให้ความนิยมของเธอในพรรคตกต่ำลงในช่วงเวลาดังกล่าว[37] แต่พักให้เคยให้คำมั่นสัญญาว่าจะสร้างสนามบินแห่งใหม่ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ในการหาเสียงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี พ.ศ. 2551 จากผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ แต่ได้ยกเลิกคำมั่นสัญญาดังกล่าวไปในปี พ.ศ. 2554 โดยให้เหตุผลว่าไม่สามารถดำเนินแผนการดังกล่าวได้เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจ[38]

วิสัยทัศน์การบริหารงานของรัฐบาลพัก กึน-ฮเย เมื่อเข้ารับตำแหน่งใหม่คือ "ยุคสมัยใหม่แห่งความหวังและความสุข" 5 เป้าประสงค์หลักของการบริหารงานคือ "งาน-ศูนย์กลางเศรษฐกิจสร้างสรรค์", "การจ้างงานที่เหมาะสม และสวัสดิการสังคม", "การศึกษาเชิงสร้างสรรค์และการเสริมสร้างวัฒนธรรม", "ความปลอดภัยและสหสังคม" และ "มาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มแข็งเพื่อสันติภาพที่ยั่งยืนบนคาบสมุทรเกาหลี" รัฐบาลของพักมีแผนที่จะสร้างความเชื่อใจ, ความขาวสะอาด และเป็นรัฐบาลที่มีความสามารถบรรลุเป้าหมายต่างๆได้ โดยสัมพันธ์กับกลยุทธ์และงานต่างๆ[39]

พักตัดสินใจไม่ลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ค.ศ. 2017[40]

ประธานาธิบดี (2556–2560)

[แก้]

การเข้ารับตำแหน่ง

[แก้]

พักเข้ารับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีลำดับที่ 18 แห่งสาธารณรัฐเกาหลี เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ในตอนเที่ยงคืนพักเข้ารับช่วงต่ออำนาจของประธานาธิบดีทุกอย่าง รวมทั้งสิทธิสูงสุดในการควบคุมกองทัพของสาธารณรัฐเกาลี จาก อี มย็อง-ปัก ประธานาธิดีคนก่อน ในสุนทรพจน์เข้ารับตำแหน่งของเธอที่อาคารรัฐสภา พักพูดถึงแผนของเธอที่จะเปิดยุคใหม่แห่งความหวังผ่าน "ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ, ความสุขของประชาชน, และการเสริมคุณค่าทางวัฒนธรรม" เธอแสดงออกถึงความหวังในการเน้นย้ำเกี่ยวกับเกาหลีเหนือที่จะยุติโครงการอาวุธนิวเคลียร์และเดินทางไปสู่สันติภาพและการพัฒนาร่วมกัน และประกาศว่าจะก่อตั้งยุคสมัยแห่งความสุขในการรวมชาติที่ประชาชนชาวเกาหลีทั้งหมดจะเพลิดเพลินไปกับความเจริญรุ่งเรืองและเสรีภาพ ตระหนักว่าความฝันของพวกเขาสามารถสร้างได้ผ่านกระบวนการความเชื่อมั่นของคาบสมุทรเกาหลี ในสุนทรพจน์เข้ารับตำแหน่งของเธอ เธอได้เสนอหลักการแนวทางสี่ประการในการบริหารงานของเธอคือ ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ, ความสุขของประชาชน, และการเสริมคุณค่าทางวัฒนธรรม และสถาปนาการรวมชาติอย่างสันติ[41] พิธีเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีพัก ถือว่าเป็นหนึ่งในงานใหญ่ของประวัติศาสตร์เกาหลีใต้ที่มีผู้เข้าร่วมกว่า 70,000 คน ผู้แทนทางการทูตในเกาหลีใต้ เช่นเดียวกับผู้แทนระดับสูงจาก 24 ประเทศทั่วโลก เช่น ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย, โทมัส โดนิลอน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา, วัง จินพุง ประธานรัฐสภาไต้หวัน และยาสุโอะ ฟุคุดะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ได้เข้าร่วมพิธีและแสดงความยินดีกับประธานาธิบดีพัก[42][43]

ปีแรก (กุมภาพันธ์ 2556– กุมภาพันธ์ 2557)

[แก้]

ปรัชญาการบริหารงาน

[แก้]

เป้าหมายที่ปล่อยออกมาใหม่ในการบริหารงานของประธานาธิบดีพัก กึน-ฮเย ในการบริหารกิจการภายในที่จะเปิด "ยุคสมัยใหม่แห่งความหวังและความสุขสำหรับประชาชนทุกคน" พักยอมรับว่าเกาหลีใต้จะแตกออกจากต้นแบบแห่งการแสวงหาการพัฒนาจากที่ศูนย์กลางคือชาติ และย้ายจุดศูนย์กลางการบริหารงานของรัฐบาลจากรัฐสู่ปัจเจกบุคคล ผ่านประบวนการโครงสร้างความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน ซึ่งประชาชนจะมีความสุขจากผลการพัฒนาชาติ วิสัยทัศน์การบริหารงานของพักและหลักการพื้นฐานสำหรับการบริหารประเทศ โดยเฉพาะเค้าโครงแผนการนโยบายของเธอสำหรับเศรษฐกิจ, สังคม, สวัสดิการสังคม, การทูต และการรวมชาติ คำสำคัญในการบริหารงานในการจัดการกิจการภายในประกอบไปด้วย ประชาชน, ความสุข, ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน และหลักการ[44]

การเปลี่ยนโครงสร้างของรัฐบาล

[แก้]

ภายหลังจากเข้ารับตำแหน่ง พักปรับเปลี่ยนโครงสร้างในทำเนียบสีนำเงินและองค์กรของรัฐบาลเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ของรัฐบาลได้ สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติที่นำเนียบสีน้ำเงิน, กระทรวงวิทยาศาสตร์, ไอซีทีและการวางแผนแห่งอนาคตและกระทรวงมหาสมุทรและประมง ได้ถูกตั้งขึ้นมาใหม่ และมีการแก้ไขตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานความมั่นคงจะเป็นตำแหน่งที่แสดงถึง "หอคอยการควบคุม" สำหรับการทูต, ความมั่นคงและการป้องกันประเทศ และตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจสำหรับด้านศรษฐกิจ, สังคมและสวัสดิการ[45]

นโยบายด้านการต่างประเทศ

[แก้]
สหรัฐอเมริกา
[แก้]
พัก กึน-ฮเย พบประกับ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา บารัก โอบามา ในการพบปะทวิภาค วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ภายหลังจากเข้ารับตำแหน่งพักเข้าพบกับจอห์น เคอรี่ และประธานาธิบดีบารัก โอบามา การเดินทางเยือนสหรัฐอเมริกาของพัก ถือเป็นการเดินทางเยือนต่างประเทศครั้งแรกของเธอภายหลังจากเข้ารับตำแหน่ง

เหมือนกับประธานาธิบดีก่อนหน้าเธอ พักพยายามรักษาความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีกำลังทหาร 20,000 นาย ประจำการอยู่ภายในเกาหลีใต้ ระหว่างการเยือนสหรัฐ พักได้กล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมร่วมกันของสภาคองเกรส ซึ่งเธอเรียกร้องให้สหรัฐสนับสนุนการต่อต้านการยั่วยุจากเกาหลีเหนือ และพักยังเรียกร้องให้มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างเกาหลีใต้และสหรัฐอเมริกา[46]

พักประเมินสถานการณ์ความมั่นคงภายในคาบสมุทรเกาหลีและเน้นย้ำถึงความสามารถในการยับยั้งคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในประเด็นของความมั่นคง ดังนั้น พักจึงมีความเห็นว่าพันธมิตรเกาหลีใต้-อเมริกา จะเป็นพันธมิตรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด และเธอหวังว่าความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีใต้และสหรัฐอเมริกาจะพัฒนาเป็นไประดับถึงหุ้นส่วนระดับโลก[47]

พักเยือนสหรัฐอเมริกา ถือเป็นการเยือนต่างประเทศครั้งแรกในฐานะประธานาธิบดีของเธอ พักได้ไปเยือนวอชิงตัน ดี.ซี,นิวยอร์กซิตี้, และลอสแอนเจลิส ระหว่างวันที่ 5 ถึง 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556[48]

ระหว่างการพูดคุยระดับสูงสุดในเดือนพฤษภาคมที่ทำเทียบขาว ประธานาธิบดีพักและประธานาธิบดีโอบามาได้ยอมรับประกาศร่วมสำหรับพันธมิตรระหว่างสหรัฐกับเกาหลีใต้และถกเถียงกันถึงวิถีทางพัฒนาความสัมพันธ์ในระดับทวิภาคีระหว่างสหรัฐและเกาหลีใต้เพิ่มเติมในอนาคต และสองผู้นำยังได้พูดคุยถึงการยกระดับในการสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือและเพิ่มความเข้มแข็งของหุ้นส่วนระหว่างโซลและวอชิงตัน[49]

สองผู้นำจากทั้งเกาหลีใต้และสหรัฐอเมริกาตกลงที่จะยอมรับแถลงการณ์ร่วมความเข้าใจในความร่วมมือด้านพลังงานในการก่อตั้งกองทุนสำหรับการเติบโตในอนาคตและก่อตั้งคณะกรรมการความร่วมมือทางด้านนโยบายข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีโทรคมนาคม นอกจากนี้ประธานาธิบดีพักยังกระตุ้นให้ทางสหรัฐเพิ่มจำนวนโควต้าสำหรับวีซ่าสหรัฐสำหรับผู้เชี่ยวชาญของเกาหลีใต้เพื่อที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาร่วมกันทางด้านเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ[49]

ในโอกาสพิเศษนี้ "แถลงการร่วมสำหรับอนุสรณ์ครบรองหกสิปีสำหรับพันธมิตรระหว่างสาธารณรัฐเกาหลีและสหรัฐอเมริกา" ได้รับการรับรองโดยจากทั้งทางเกาหลีใต้และทางสหรัฐอเมริกา ได้กลายเป็นเอกสารที่มีความหมายอย่างยิ่งถึงการเป็นพันธมิตรมากว่าหกทศวรรษและอธิบายอย่างละเอียดชัดแจ้งถึงทิศทางใหม่ในการพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีที่จะมีในทศวรรษต่อไป[50]

เกาหลีเหนือ
[แก้]

เกาหลีเหนือมุ่งสนใจในการยั่วยุ เช่น ฝ่าฝืนมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและการยิงขีปนาวุธระยะไกล ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ในวันที่ 19 ธันวาคม ภายหลังจากพักได้รับเลือกตั้ง เกาหลีใต้ได้มีการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ครั้งที่สามในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 การประกาศความเป็นโมฆะของข้อตกลงที่จะไม่รุกรานกันระหว่างเกาหลีเหนือและกาหลีใต้ในวันที่ 8 มีนาคม และถอนแรงงานออกจากนิคมอุตสาหกรรมแคซ็องในวันที่ 8 เมษายน[51] พักพยายามคงไว้ซึ่งจุดยืนของเกาหลีใต้ที่จะไม่ยอมแพ้ต่อการยั่วยุและคุกคามของเกาหลีหนือ และพยายามที่จะดำเนินนโยบายเพื่อประสานความร่วมมือกันเกาหลีเหนือโดยดึงมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา, จีนและสหประชาชาติ[52]เสียงสะท้องของเธอเกี่ยวกับเกาหลีเหนือได้รับการสนับสนุนอย่างมากมายจากประชาชนชาวเกาหลีใต้, สหรัฐอเมริกา, จีนและรัสเซีย และดำเนินบทบาทสำคัญในการได้รับมติเป็นเอกฉันท์ในข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติที่ 2094 เกี่ยวกับเกาหลีเหนือ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556[53] เนื่องจากการตอบสนองของพักกับการดำเนินการของสังคมนานาชาติ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน เกาหลีเหนือได้ยุติการยั่วยุและคุกคามเกาหลีใต้และกลับเข้าสู่การเจรจาการเปิดนิคมอุตสาหกรรมแคซ็องอีกครั้ง[54] พักกล่าวว่าสันติภาพและการรวมชาติในคาบสมุทรเกาหลีเป็นความหวังของชาวเกาหลีทั้งเจ็ดสิบล้านคน และในฐานะประธานาธิบดีเธอจะดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อให้บรรลุเป้ามายดังกล่าว เช่นเดียวกับ "วัตถุประสงค์ขั้นสูงสุดของความพยายามในการรวมชาติคือการเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งสองเกาหลี ขยายเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน และสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้เกิดขึ้นทั้งคาบสมุทรเกาหลี[55] เธอได้กล่าวต่อว่า "ในการเปิดเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ของความสงบและความหวังแห่งคาบสมุทรเกาหลี เกาหลีเหนือจะต้องยอมรับความเชื่อมั่นในการบริหารงานของเธอในการสร้างนโยบายการคิดริเริ่มก้าวแรก[56][57]

วิสัยทัศน์และความริเริ่มในนโยบายของพักในปัญหาเกี่ยวกับเกาหลีเหนือและการรวมชาติสะท้อนจากกระบวนการสร้างความเชื่อมั่นในคาบสมุทรเกาหลีของเธอ กระทรวงรวมชาติได้ออกแถลงการณ์ซึ่งแสดงถึงวิสัยทัศน์ใหม่ว่า "ตระหนักถึงการรวมเกาหลีใหม่ซึ่งรับประกันความสุขของประชาชนทุกคน" การบริหารงานในกระบวนการทั่วไปประกอบด้วยกระบวนการสร้างความเชื่อใจในความสัมพันธ์ระหว่างสองเกาหลี ริเริ่มดำเนินการในโครงการรวมชาติระดับจุลภาค เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการรวมกันระหว่างสองเกาหลี และใช้มาตรการทางปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการเตรียมตัวสู่การรวมชาติ[58] จากนโยบายของพัก พารรวมชาติโดนสันติจะประสบความสำเร็จในสามขั้นตอน เริ่มจากเสริมสร้างความปลอยภัย, ผ่านการบูรณาการทางเศรษฐกิจ, และสุดท้ายผ่านการบูรณาการทางการเมืองของทั้งสองเกาหลี เพื่อให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืนโดยการริเริ่ม การบริหารงานใหม่จะเสนอความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ประชาชนชาวเกาหลีเหนือ แลกเปลี่ยนและร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจ, สังคมและวัฒนธรรมของทั้งสองเกาหลี และจะใช้ "โครงการวิสัยทัศน์เกาหลี" สำหรับการสถาปนาระบบเศรษกิจเดียวในคาบสมุทรเกาหลี ความเชื่อมั่นและความไว้วางใจซึ่งกันและกันและความคืบหน้าในการยกเลิกการใช้อาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ[59]

จีน
[แก้]

ในวันที่ 27-30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 พักได้เยือนจีนพร้อมกับผู้แทนจากเกาหลีใต้ เธอได้พบกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ระหว่างการพบปะ พักได้กล่าวถึงท่าทีของรัฐบาลเกาหลีใต้ที่มีต่อเกาหลีเหนือ และได้ขอให้สีสนับสนุนเธอในท่าทีเกี่ยวกับเกาหลีเหนือ[60]

รัสเซีย
[แก้]

ในวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 พักได้จัดประชุมผู้นำสูงสุดกับวลาดีมีร์ ปูติน ซึ่งปูตินได้มาถึงเกาหลีใต้คนแรกในบรรดาสี่ผู้นำมหาอำนาจประกอบไปด้วย จีน, สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ระหว่างการประชุมพักและปูตินได้พูดคุยครอบคลุมเรื่องผลประโยชน์โดยมุ่งเน้นไปที่ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจเช่น โครงการร่วมมือกันทางโลจิสติกส์ (ผ่านรัสเซียและเกาหลีเหนือ) ขยายการแลกเปลี่ยนทางด้านบุคลากร และเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการเมืองระหว่างเกาหลีใต้และรัสเซีย พักได้เน้นย้ำถึงการสร้างผลิตผลในผลประโยชน์ร่วมกันจากนโยบายของเกาหลีใต้ที่มีต่อประเทศแถบยูเรซียและนโยบายของรัสเซียที่มีต่อเอเชียแปซิฟิก ภายหลังจากการประชุมสุดยอดประธานาธิบดีทั้งสองได้แถลงการณ์ร่วมและแถลงข่าวร่วมกัน[61][62] ในช่วงต้นพักเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำ จี-20 ที่เมืองเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก ช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 ซึ่งเธอได้พบปะกับปูตินและสนทนาเกี่ยวกับเศรษฐกิจและให้รัสเซียสนันสนุนประเด็นเกี่ยวกับเกาหลีเหนือ ซึ่งเป็นการพบปะระหว่างผู้นำสูงสุดเกาหลีใต้-รัสเซีย ครั้งแรกนั้บตั้งแต่พักเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี[63] เมื่อพักได้พบปะกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาตะวันออกไกลของรัสเซีย วิกเตอร์ อิสเชฟ ซึ่งเป็นหัวหน้าผู้แทนรัสเซียซึ่งเข้าร่วมพิธีสาบานตนเพื่อดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของพัก เธอได้กล่าวว่ารัสเซียเป็นหนึ่งในพันธมิตรทางธุรกิจที่สำคัญ และผลจากความสำเร็จในการปล่อยกระสวยอวกาศนาโร กลายเป็นผลลัพธ์ที่ดีร่วมกันของทั้งสองฝ่ายในการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดียิ่งขึ้นในอนาคต และจากการที่รัสเซียดำเนินการเชิงรุกในการเข้าร่วมเจรขาหกฝ่ายในประเด็นเกาหลีเหนือจะช่วยบรรเทาความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลีได้[64]

นโยบายทางเศรษฐกิจ

[แก้]

พักประกาศว่าจะดำเนินนโยบาย "เศรษฐกิจสร้างสรรค์" ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ซึ่งเป็นการแสดงวิสัยทัศน์ของเธอในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการสร้างงาน[65]

ในเดือนเมษายน พักได้กล่าวว่า "จังหวะเวลาเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับนโยบายทางเศรษฐกิจของพวกเรา, งานและรายได้ เป็นเรื่องพื้นฐานของบุคคล ซึ่งควรจะบริหารงบประมาณเพิ่มเติมในส่วนนี้เพื่อที่จะดำเนินการให้ทันตามเวลา"[66]

ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2557 พักลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างเกาหลีใต้และออสเตรเลีย โดยทางฝั่งออสเตรเลียมีนายกรัฐมนตรีโทนี แอบบ็อตต์ ลงนาม[67]

นโยบายทางด้านสังคม

[แก้]

พักได้เสนอหัวข้อระดับชาติหัวข้อหนึ่งที่จะดำเนินการกำจัดอย่างสิ้นซากในเรื่อง "สี่ความชั่วร้ายหลักของสังคม" (4대 사회악: "ซาแด ซาเฮวอัก") ได้แก่ ความรุนแรงทางเพศ, ความรุนแรงภายในครอบครัว, ความรุนแรงภายในโรงเรียน และความไม่ปลอดภัยทางอาหาร จากสถิติแสดงให้เห็นว่าความรุนแรงทางเพศและความรุนแรงภายในครอบครัวมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างมากในปีหลังๆ แม้ปัญหาอีกสองอย่างจะไม่ถูกอ้างถึงในสถิติ แต่ปัญหาความรุนแรงภายในโรงเรียนและปัญหาความปลอดภัยทางด้านอาหารก็เป็นปัญหาที่สาธารณชนให้ความสนใจ[68][69] และเธอยังดำเนินการเปิดคณะกรรมการปรองดองแห่งชาติ ในวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาประธานาธิบดีในกระบวนการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งหลายอย่างในสังคมเกาหลีใต้ และยังมีหน้าที่ก่อตั้งตั้งวัฒนธรรมของการอยู่ร่วมกันและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน ฮัน ควัง-อก อดีตที่ปรึกษาพรรครวมประชาธิปไตยมีรายชื่อเป็นหัวหน้าคณะกรรมการชุดนี้[70]

ระดับชาติ

[แก้]

ในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ประธานาธิบดีพัก กึน-ฮเย ได้เข้าร่วมรำลึกการสังหารหมู่ที่ควังจู ครบรอบ 33 ปี และได้แสดงความเสียใจต่อญาติของเหยื่อที่ถูกสังหารหมู่[71]

ปีที่สอง (กุมภาพันธ์ 2557– กุมภาพันธ์ 2558)

[แก้]
พัก กึน-ฮเย และ บารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ 25 เมษายน 2557

นโยบายต่างประเทศ

[แก้]
เกาหลีเหนือ
[แก้]

พักเสนอเรื่องบันไดสามขั้นในเรื่องเกาหลีเหนือเพื่อที่จะช่วยเดินไปข้างหน้าในเรื่องการรวมชาติ ในวันที่ 28 มีนาคม 2557 ที่เดรสเดน ระหว่างการเยือนเยอรมนี[72] ประธานาธิปดีพักกล่าวว่าความเจ็บปวดรวดร้าวจากการแยกกันระหว่างสองเกาหลีผ่านจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง เธอเองยังได้เน้นย้ำถึงความเร่งด่วนในการช่วยเหลือทั้งสองเกาหลีในการรวมชาติโดยการ "เริ่มต้นในการจัดการแม่น้ำและป่าไม้ร่วมกันในพื้นที่ของสองเกาหลี เราจะต้องขยายขอบเขตการร่วมมือกันในโครงการต่างๆ จากมุมมองดังกล่าว ฉันหวังว่าเกาหลีเหนือจะเข้าร่วมการประชุมของสหประชาชาติ อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งจะจัดขึ้นที่พย็องชัง ประเทศเกาหลีใต้ ในเดือนตุลาคนที่จะถึงนี้""[73] ประธานาธิปดีพักได้เตือนเกาหลีเหนือว่าการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ครั้งใหม่ จะนำไปสู่ ผลกระทบแบบโดมิโน ซึ่งจะทำให้ประเทศเพื่อนบ้านของเกาหลีเหนือจะต้องมีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ป้องกันตัวเอง เธอกล่าวในระหว่างให้สัมภาษณ์กับ เจอรัล เบอร์เกอร์ บรรณาธิการของเดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล ที่โซล เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม[74]

การปรับโครงสร้างของรัฐบาล

[แก้]

ในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พักประกาศว่าเกาหลีใต้จะยุติหน่วยยามฝั่ง หลังจากความล้มเหลวในกรณีเหตุเอ็มวี เซว็อลจม[75] โดยข้อมูลจากพัก "บทบาททางด้านการสืบสวนและข้อมูลจะถูกโอนไปให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเกาหลีใต้ ส่วนด้านภารกิจด้านการช่วยเหลือและการกอบกู้ซากเรือ และความมั่นของทางด้านชายฝั่งทะเล จะถูกโอนไปให้แผนกด้านความปลอดภัยระดับชาติ ซึ่งเพื่อไม่ให้สับสนกับกระทรวงความปลอดภัย และการบริการสาธารณะ จึงจะได้มีการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมา[76] ในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 หน่วยยามฝั่งเกาหลีและสำนักจัดการภาวะฉุกเฉินระดับชาติ ต้องไปขึ้นตรงต่อการควบคุมของกระทรวงความปลอดภัยสาธารณะและความมั่นคง ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นในวันนั้น[77]

ปีที่สาม (กุมภาพันธ์ 2558 – กุมภาพันธ์ 2559)

[แก้]

นโยบายต่างประเทศ

[แก้]
พัก กึน-ฮเย กับประธานาธิบดี จิลมา รูเซฟ แห่งบราซิล
จีน
[แก้]

ในวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 พักได้เสนอให้ผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ร่วมมือกับเกาหลีใต้และธนาคารที่มาจากดำริของรัฐบาลจีนคือ ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย[78] ภายหลังจากเกาหลีใต้ได้สมัครอย่างเป็นทางการในการเข้าร่วมธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย ในปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558[79]

ปีที่สี่และปีที่ห้า (กุมภาพันธ์ 2559 – มีนาคม 2560)

[แก้]

นโยบายต่างประเทศ

[แก้]
อิหร่าน
[แก้]
พัก กึน-ฮเย ได้รับการต้อนรับจาก นายโมฮัมหมัด เรซา เนมัทซาเด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมที่ สนามบินเมห์ราบัด

ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 พักเป็นประธานาธิบดีคนแรกของเกาหลีใต้ที่เยือนอิหร่าน[80][81]เธอเป็นหัวหน้าของคณะผู้แทนจำนวน 236 คน ที่ประกอบไปด้วยนักธุรกิจและนักลงทุน ในช่วงระหว่างการเยือนเตหะราน 3 วัน เพื่อหารือเกี่ยวกับการค้าทวิภาคี และประเด็นอื่นที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน[82] ต่อจากนั้นเธอได้เข้าพบประธานาธิบดีฮัสซัน รูฮานี และได้พูดคุยกับผู้นำสูงสุดอะลี คอเมเนอี[83] ทั้งสองประเทศได้ลงนามในข้อตกลงพื้นฐานทั้ง 19 ฉบับ และได้ขยายความร่วมมือกันในหลายๆส่วน[84] ก่อนหน้านี้ประธานาธิบดีรูฮานี ได้เน้นย้ำว่าอิหร่านและเกาหลีใต้จะต้องส่งเสริมและผลักดันมูลค่าทางการค้าที่มีอยู่ในปัจจุบัน 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็น18 ล้านเหรียญสหรัฐ

การเลือกตั้งทั่วไปปี 2559

[แก้]

พักเสียหายอย่างมากจากการพ่ายแพ้การเลือกตั้งทั่วไปในปี 2559 ที่เลือกตั้งเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2559 ซึ่งพรรคแซนูรีสูญเสียที่นั่งสำคัญ และสูญเสียความเป็นพรรคที่มีเสียงข้างมากในรัฐสภา[85] พักถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเธอมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งในครั้งนี้และในกระบวนการคัดเลือกตัวแทนของพรรค[86][87] และสมาชิกพรรคแซนูรีคนอื่นกล่าวหาว่ากลึ่มผู้สนับสนุนพักมีส่วนทำให้พรรคพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งครั้งนี้[88][89][90] โดยสมาชิกที่จงรักพักดีกับพักมีสภาพย่ำแย่จากการเลือกตั้งในครั้งนี้[91] ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ถูกมองเป็นอุปสรรคในการผ่านร่างข้อเสนอการปฏิรูปทางเศรษฐกิจของพัก,[92] ผลจากการนี้ทำให้หนังสือพิมพ์หัวอนุรักษ์นิยมโชซ็อนอิลโบ ตีพิมพ์บทความถึงพักว่า "ช่วงสภาวะเป็ดง่อยของรัฐบาลพักเริ่มต้นเร็วกว่ารัฐบาลอื่นๆในอดีต"[93]

ความนิยม

[แก้]
คะแนนความนิยมของประธานาธิบดี พัก กึน-ฮเย
คะแนนความนิยมของประธานาธิบดี พัก กึน-ฮเย แบ่งตามช่วงอายุ

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 ประชาชนสนับสนุนประธานาธิบดีพัก เกี่ยวกับวิธีการดำเนินการต่างๆ โดยมีคะแนนความนิยมในช่วงดังกล่าวสูงถึง 63 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมากกว่าคะแนนเสียง 53 เปอร์เซ้นต์ที่เธอได้รับมาตอนเลือกตั้งประธานาธิบดี[94] โดยจากการวิเคราะห์ของสื่อว่าที่เธอได้รับคะแนนนิยมมากขนาดนี้เนื่องมาจากนโยบายเกี่ยวกับเกาหลีเหนือ และผลลัพธ์อันเป็นรูปธรรมจากการเยือนสหรัฐอเมริกาและจีน และการวางตัวเป็นกลางถอยห่างจากความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ[95]

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 คะแนนความนิยมของพักเหลือเพียง 30 เปอร์เซ็นต์ โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจากกรณีเหตุเอ็มวี เซว็อลจม และความขัดแย้งกับเกาหลีเหนือ[96] ต่อมาในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 คะแนนความนิยมของพักเพิ่มขึ้นไป 54 เปอร์เซ็นต์จากวิธีการทางการทูตทำให้ลดความขัดแย้งทางการทหารกับเกาหลีเหนือ[97] แต่ผลจากการพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2559 คะแนนความนิยมของเธอก็ลดมาอยู่ที่ 31.5 เปอร์เซ็นต์ ลดลงถึง 8.1 เปอร์เซ็นต์จากหนึ่งสัปดาห์ก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง[98]

ในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 คะแนนนิยมของพักเหลือเพียง 4-5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น จากกรณีถูกสอบสวนและเปิดเผยความอื้อฉาวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเธอกับ ชเว ซุน-ซิล ซึ่งนำไปสู่เหตุอื้อฉาวทางการเมืองเกาหลีใต้ ปี 2559[99][100][101]

การจับกุมและถูกคุมขัง

[แก้]

พักถูกจับกุมเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 และถูกไต่สวนเพื่อคุมขังเบื้องต้นที่ศูนย์กักกันโซล ที่อึยวัง จังหวัดคย็องกี[102][103] ต่อมาวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2560 พักถูกแจ้งข้อกล่าวหาว่าใช้อำนาจไปในทางมิชอบ, รับสินบน, ขู่เข็ญผู้อื่นและเปิดเผยความลับของทางรัฐ[104] พักให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาในระหว่างการสอบปากคำห้ารอบ[104][105][106]

การพิจารณาคดี

[แก้]

พนักงานอัยการได้ร้องขอต่อศาลให้มีการจำคุกพักเป็นเวลา 30 ปี และต้องชำระค่าปรับเป็นจำนวน 118,500,000,000 ว็อน (110,579,397 ดอลลาห์สหรัฐ)

ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2561 องค์คณะผู้พิพากษาสามคนของศาลแขวงกลางกรุงโซล พิพากษาจำคุกพัก 24 ปี และปรับเป็นเงิน 18,000,000,000 ว็อน (16,798,683 ดอลลาห์สหรัฐ) โดยพิพากษาลงโทษ 16 จาก 18 ข้อหาที่พนักงานอัยการฟ้อง[107][108][109][110]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 อดีตผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองกลางเกาหลีจำนวน 3 คน (อี บย็อง-คี, อี บย็อง-โฮ และ นัม แจ-จุน) ซึ่งดำรงตำแหน่งในสมัยรัฐบาลของพัก ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานรับสินบน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับความอื้อฉาวของประธานาธิบดีพัก โดยพวกเขาเคลื่อนย้ายเงินอย่างผิดกฎหมายจากเงินงบประมาณของหน่วยข่าวกรองกลางไปสู่สำนักประธานาธิบดี โดยเงินจำนวนดังกล่าวถูกพักและคนใกล้ชิดของเธอใช้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย โดยเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวและเพื่อจ่ายสินบน[111]

ข้อขัดแย้ง

[แก้]

บุตรสาวอดีตประธานาธิบดีพัก ช็อง-ฮี

[แก้]

พักถูกเป็นเป้าวิพากวิจารณ์อยู่บ่อยครั้งในฐานะที่มีลักษณะเป็น "บุตรสาวของเผด็จการ (พัก ช็อง-ฮี)"[112][113]โดยผู้สนับสนุนของประธานาธิบดี อี มย็อง-ปัก เนื่องจากเธอไม่ดำเนินกิจกรรมอันเป็นการสนับสนุนรัฐบาลของอี ซึ่งผลการสำรวจระดับชาติที่สำรวจในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 จัดโดยหนังสือพิมพ์หัวอนุรักษ์นิยมรายงานว่า ผู้ถูกสอบถามจำนวน 59 เปอร์เซ็นต์ตอบว่า ตนไม่เชื่อว่าพักจะมีลักษณะเป็น "บุตรสาวแห่งเผด็จการ" แต่อีก 36 เปอร์เซ็นต์เชื่อว่าพักมีลักษณะเป็นเช่นนั้น[114] สถานะความเป็นเผด็จการของพัก ช็อง-ฮี ถูกเป็นหัวข้อถกเถียงมากขึ้นหลังเกิดวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 กลุ่มชนชั้นสูงของพรรคการเมืองแห่งชาติ (จีเอ็นพี) มองเห็นว่าเป็นโอกาสที่จะเปลี่ยนภาพลักษณ์ของอดีตประธานาธิบดีพัก ช็อง-ฮี เสียใหม่ โดยเน้นเรื่องความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ในช่วงเวลาดังกล่าว ทำให้มุมมองของสาธารณชนเกี่ยวกับเขาค่อยๆเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น[115]

ระหว่างการให้สัมภาษณ์ผ่านสถานีโทรทัศน์ช็องจู พักให้ความเห็นเกี่ยวกับท่าทีของเธอที่มีต่อกรณีรัฐประหาร 16 พฤษภาคม ของบิดาเธอว่า "เป็นการปฏิวัติเพื่อรักษาชาติ" เธอกล่าวต่อไปว่า "ฉันไม่คิดว่านักการเมืองจะต้องมาถกเถียงหรือต่อสู้กันเกี่ยวกับการรัฐประหาร 16 พฤษภาคมว่า มันคือการปฏิวัติ หรือ รัฐประหาร"[116] ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 ผลสำรวจของผู้ถูกสำรวจ 50 เปอร์เซ็นต์ ว่าพวกเขาไม่เห็นด้วยกับพัก ที่ประเมินว่าการรัฐประหาร 16 พฤษภาคม ของบิดาเธอ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การรัฐประหารเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด และเป็นการตัดสินใจที่สมควรจะกระทำที่สุด ส่วนที่เหลืออีก 37 เปอร์เซ็นต์ เห็นด้วยกับการประเมินของพัก[117] ส่วนผลสำรวจของสำนักอื่นที่สำรวจขึ้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 ระบุว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 42 เปอร์เซ็นต์เห็นด้วยกับเธอว่าการรัฐประหาร 16 พฤษภาคม ของบิดาเธอ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ในขณะที่อีก 46 เปอร์เซ็นต์ ไม่เห็นด้วยกับเธอ[118]

เพราะว่าพักรับมรดกภูมิภาคนิยมและแรงสนับสนุนอย่างแข็งแกร่งจากบุคคลในยุคเดียวกับบิดาเธอ รวมทั้งมรดกในเรื่องความสำเร็จทางเศรษฐกิจที่บิดาของเธอดำเนินนโยบายไว้ ทำให้ฝ่ายตรงข้ามของพักใช้ส่วนนี้ในการวิพากษ์วิจารณ์เธอ[119]

ข้อกล่าวหาเกี่ยวกับกองทุนบูอิล

[แก้]

พักเผชิญกับการถูกวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับกองทุนการศึกษาจ็องซู ซึ่งเป็นกองทุนเพื่อการศึกษา ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อเดิมว่า บูอิล (ชื่อมาจากหนังสือพิมพ์ ปูซานอิลบู) ซึ่งบิดาของเธอเคยเป็นประธานกองทุน และต่อมาเธอก็ได้รับตำแหน่งประธานกองทุน ซึ่งเจ้าของเดิมได้กล่าวอ้างในศาลว่ามีการบีบบังคับให้เขามอบกองทุนดังกล่าวให้บิดาของเธอ[120]


อ้างอิง

[แก้]
  1. Hyun-kyung, Kang (2012-09-03). "Atheist Park may have advantages". The Korea Times. สืบค้นเมื่อ 5 March 2013.
  2. ""ปัก กึน เฮ":นักโทษหมายเลข 503". bangkokbiznews. 2017-04-04.
  3. Glaister, Cosima (19 December 2012). "Profile: South Korea's first female president Park Geun-Hye". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 18 April 2016. Park Geun-Hye has made history as the first female president in Northeast Asia
  4. "The 25 Most Powerful Women in the World". Forbes. สืบค้นเมื่อ 16 June 2014.
  5. "Candidacy of ruling party leader's sister gets cold shoulder". The Korea Herald. 18 March 2012.
  6. http://www.pewresearch.org/fact-tank/2014/08/12/6-facts-about-christianity-in-south-korea/
  7. 8·15대통령저격사건 (八一五大統領狙擊事件) [15 August President assassination-attempt incident] (ภาษาเกาหลี). Doopedia (두산백과). สืบค้นเมื่อ 13 May 2012.[ลิงก์เสีย]
  8. "Weiner, Tim: Legacy of Ashes. The History of CIA. New York, June 2007" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-10-20. สืบค้นเมื่อ 2017-03-11.
  9. Weiner, Tim: Legacy of Ashes. The History of CIA. New York, June 2007.
  10. C. I. Eugene Kim (April 1978). "Emergency, Development, and Human Rights: South Korea". Asian Survey. University of California Press. 18 (4): 363–78. doi:10.1525/as.1978.18.4.01p0404m.
  11. "Park Calls 1961 Coup 'Revolution' to Save Nation". KBS news. 19 July 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-25. สืบค้นเมื่อ 13 May 2012. She apologized for the sufferings and sacrifices of pro-democracy activists under the constitutional system, which was effective between 1972 and 1979.
  12. "TU Dresden awards President of the Republic of Korea, Park Geun-hye, honorary doctorate". 31 March 2014. สืบค้นเมื่อ 15 June 2016.
  13. 13.0 13.1 13.2 Guray, Geoffrey Lou (19 December 2012). "South Korea Elects First Female President – Who Is She?". PBS NewsHour. สืบค้นเมื่อ 17 October 2015.
  14. "총선 D-1 승패기준..영남승부 관심". สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
  15. "[증시閑담] 총선 결과에 촉각 세우는 주식시장". สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
  16. "Joint Probe into Attack on GNP Chairwoman". Arirang News. 22 May 2006. สืบค้นเมื่อ 16 May 2012.
  17. Gim Yi-sak(김이삭); Chung Min-seung(정민승) (21 May 2006). 박근혜대표 유세장서 피습 중상 [GNP leader Park Geun-hye attacked during campaign]. Hankook Ilbo (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 16 May 2012.
  18. "대전 "박근혜 생각하면 결심이 흔들려요"". n.news.naver.com (ภาษาเกาหลี). 2006-05-25.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  19. Kim Nam-kwon (김남권) (4 October 2011). 박근혜, 野시절 `40대 0 신화'.이번엔? [Park Geun-hye scored 40 to 0 as the opposition. How about this time?]. Yonhap News (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 16 May 2012.
  20. Kim Min-ja(김민자) (29 March 2012). '선거의 여왕' 박근혜, 총선에서 뒷심 발휘할까? ['Queen of elections' Park Geun-hye, Could she wield her magic again in April?]. NewsIs (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 16 May 2012.
  21. "Politician Wants To 'Save' Korea: South Korean National Assembly member advocates alliance with United States". The Harvard Crimson. 13 February 2007. สืบค้นเมื่อ 16 May 2012.
  22. "The Republic of Korea and the United States:Our Future Together". Institute for Corean-American Studies, Inc. 21 February 2007. สืบค้นเมื่อ 16 May 2012. An Address Delivered at the ARCO (John F. Kennedy Jr.) Forum, John F. Kennedy School of Government Harvard University
  23. Fackler, Martin (20 April 2012). "In a Rowdy Democracy, a Dictator's Daughter With an Unsoiled Aura". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 13 November 2012.
  24. "Lee Myung-bak". The New York Times. 25 July 2012. สืบค้นเมื่อ 13 November 2012.
  25. "South Korea: Park Likely to be First Female President". Spearhead Research. 28 August 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-16. สืบค้นเมื่อ 13 November 2012.
  26. 26.0 26.1 26.2 Sung Yeon-chul(성연철) (12 April 2012). ‘선거의 여왕’ 화려한 귀환...수도권·젊은층에선 한계 [Return of Queen of election. Park also showed her limit among capital area voters and the youth]. The Hankyoreh (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 16 May 2012.
  27. Kim Jeong-ha(김정하); Hur Jin(허진); Sohn Guk-hee(손국희) (14 April 2012). '청바지 유세' 고개 흔들던 박근혜, 30분 뒤 [Park Geun-hye shook head for wearing jeans, but after 30 minutes changed her mind]. JoongAng Ilbo (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 16 May 2012.
  28. Kim Sung-gon(김성곤) (15 December 2011). '여왕의 화려한 귀환' 박근혜가 돌아왔다 [Return of Queen of election, Park Geun-hye returned as GNP leader]. Edaily News (ภาษาเกาหลี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-30. สืบค้นเมื่อ 16 May 2012.
  29. Kim Hwa-young(김화영) (8 September 2011). 박근혜 대세론 `휘청'..스타일 변화 모색 [Park Geun-hye's top candidate position is challenged. needs to change her style]. Yonhap News (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 16 May 2012. Faced with rising Ahn Cheol-soo's approval rate, Park Geun-hye's leadership is in question. Sending messages wouldn't be enough, and she must increase her appearance in public. Park will try to tackle the center. [安風에 대세론 제동 걸려..정치적 시험대 올라. `메시지 정치'서 `현장정치'로..중도층 공략 본격화 예상]
  30. Kim Nam-kwon(김남권) (10 September 2011). 박근혜-안철수, 여론조사 `엎치락뒤치락' [Poll: Park Geun-hye and An Cheol-soo are in fierce competition]. Yonhap News (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 16 May 2012. All eyes on public opinion after Chuseok holiday. [추석 연휴 직후 `민심 향배'에 이목 집중]
  31. 박근혜 컨벤션 효과...안철수 지지율도 동반상승 in 2012, (เกาหลี)
  32. "home survey 2012 survey by Realmeter". joongang.joinsmsn.com.
  33. "박근혜 대선 출마선언…대선레이스 본격 점화". news.donga.com.
  34. "home survey 2012 survey by Realmeter". joongang.joinsmsn.com.
  35. "한국아이닷컴!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-08. สืบค้นเมื่อ 2017-03-18.
  36. 36.0 36.1 "2007년, 줄푸세·시장주의 → 2012년, 맞춤형 복지·경제민주화".
  37. "[나눔뉴스] "세종시 피로감에 박근혜 지지율 하락세"". nanumnews.com.
  38. "2012 Maeil Sinmoon article". imaeil.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-01. สืบค้นเมื่อ 2017-03-18.
  39. (KOCIS), Korean Culture and Information Service. "Korea.net : The official website of the Republic of Korea". korea.net.
  40. Ock, Hyun-ju (May 9, 2017). "Did jailed ex-president Park Geun-hye use her vote?". The Korea Herald. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 May 2017. สืบค้นเมื่อ May 13, 2017. According to local news reports, she gave up her right to vote as she did not ask for an absentee ballot, which is provided to inmates in detention facilities.
  41. News1 Korea: President's Inaugural Address (เกาหลี)
  42. "Park's swearing-in draws record 70,000 participants". The Korea Herald. สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
  43. "Legislative Speaker Wang attends S. Korea president's inauguration". China Post. สืบค้นเมื่อ 29 October 2016.
  44. "THE REPUBLIC OF KOREA CHEONG WA DAE". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2013. สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
  45. "THE SCIENCE : [박근혜정부 조직개편안]미래部, 성장동력 창출… 부총리는 정책 총괄". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-19. สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
  46. "SBS 뉴스 :: 리다이렉트 페이지". สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
  47. Korean Culture and Information Service (KOCIS). "Korea.net : The official website of the Republic of Korea". สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
  48. "THE REPUBLIC OF KOREA CHEONG WA DAE". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2013. สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
  49. 49.0 49.1 Korean Culture and Information Service (KOCIS). "Korea.net : The official website of the Republic of Korea". สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
  50. "THE REPUBLIC OF KOREA CHEONG WA DAE". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2013. สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
  51. "North Korea profile". BBC News. 26 March 2014.
  52. "South Korean President Park Geun-hye's North Korean Strategy". The Heritage Foundation. สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
  53. "UN Security Council Passes New Resolution 2094 on North Korea". สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
  54. "北, 남북 당국간 회담 전격 제의…정부 '수용'". สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
  55. "North and South Korea to hold talks next week". BBC. สืบค้นเมื่อ 16 December 2015.
  56. "(LEAD) S. Korean president calls on Pyongyang to accept 'trust building' process". สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
  57. "South Korean President Park Geun-hye answers questions". The Washington Post. 7 May 2013.
  58. asadal. "unikorea". eng.unikorea.go.kr.
  59. "Trust - The Underlying Philosophy of the Park Geun-Hye Administration". สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
  60. "SBS 뉴스 :: 리다이렉트 페이지". สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
  61. "(3rd LD) S. Korea to participate in Russian-led rail, port development project in N. Korea". สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
  62. "대한민국 청와대". president.go.kr. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2014.
  63. "Park seeks Russia's support in resolving North Korean nuclear standoff". สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
  64. "Виктор Ишаев пригласил корейцев к совместному освоению космоса". Российская газета. สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
  65. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 August 2013. สืบค้นเมื่อ 21 August 2013.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  66. "박근혜 대통령, "일자리·서민 위주로 조속히 추경 편성"". 3 April 2013. สืบค้นเมื่อ 3 April 2013.
  67. Australia signs free trade agreement with South Korea in Seoul; ABC; 8 April 2014
  68. "The zeitgeist: Rooting out social vices". JoongAng Ilbo. 24 May 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 June 2013.
  69. 4대 사회악 근절 위한 추진본부 발족시킬 것 [Four Major Social Evils promotion headquarter will be established] (ภาษาเกาหลี). The Hankyoreh. 14 March 2013.
  70. "국민대통합위 오늘 출범…초대 위원장에 한광옥". สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
  71. Kang Jin-kyu (20 May 2013). "Park attends memorial of Gwangju massacre". Joongang Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 June 2013. สืบค้นเมื่อ 20 May 2013.
  72. "Park Says Once-Divided Germany Is Model for Korea Reunification". Bloomberg.com. 26 March 2014. สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
  73. arirang, Arirang International Broadcasting Foundation. "News View - The World On Arirang". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-01. สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
  74. S. Korean Leader Warns of 'Nuclear Domino' if North Conducts Test (May 30, 2014), NTI
  75. "BBC News — South Korea to break up coastguard after ferry disaster". BBC. 1 January 1970. สืบค้นเมื่อ 21 May 2014.
  76. K.J. Kwon, Paula Hancocks and Jethro Mullen, CNN (19 May 2014). "South Korean president dismantles coast guard after ferry disaster". CNN. สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  77. "South Korea launches new safety agency". San Diego Union-Tribune. Associated Press. 18 November 2014. สืบค้นเมื่อ 8 April 2018.
  78. "Park calls for cooperation with China-led AIIB". Yonhap News Agency. 26 May 2015. สืบค้นเมื่อ 12 June 2015.
  79. Jun, Kwanwoo; Gale, Alastair (26 March 2015). "South Korea Says It Will Join China-Led Investment Bank". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 12 June 2015.
  80. "Park leaves for Iran for talks with Rouhani". สืบค้นเมื่อ 29 October 2016.
  81. "Korean pres. makes historic visit to Tehran". 1 May 2016. สืบค้นเมื่อ 29 October 2016.
  82. "Park on landmark visit to Tehran, economy high on agenda". 1 May 2016. สืบค้นเมื่อ 29 October 2016.
  83. "PressTV-Korean pres., biggest trade team woo Iran". สืบค้นเมื่อ 29 October 2016.
  84. "PressTV-Iran, South Korea sign 19 agreements". สืบค้นเมื่อ 29 October 2016.
  85. "South Korean election setback deals severe blow to President Park Geun-hye's economic reform agenda". South China Morning Post. 14 April 2016. สืบค้นเมื่อ 14 April 2016.
  86. "Park's election meddling may backfire". The Korea Times. 21 March 2016. สืบค้นเมื่อ 14 April 2016.
  87. "Park may stay in power after 2018". The Korea Times. 25 March 2016. สืบค้นเมื่อ 14 April 2016.
  88. "Saenuri's defeat brewing political upheaval". The Korea Times. 14 April 2016. สืบค้นเมื่อ 14 April 2016.
  89. "Park's election meddling may backfire". The Korea Times. 21 March 2016. สืบค้นเมื่อ 14 April 2016.
  90. "Park may stay in power after 2018". The Korea Times. 25 March 2016. สืบค้นเมื่อ 14 April 2016.
  91. "Park loyalists tumble". The Korea Times. 13 April 2016. สืบค้นเมื่อ 14 April 2016.
  92. "Conservative rout leaves South Korea's Park Geun-hye a lame duck". The Australian. 14 April 2016. สืบค้นเมื่อ 14 April 2016.
  93. "Vote defeat for South Korea's Park raises 'lame duck' prospect". Reuters. 14 April 2016. สืบค้นเมื่อ 14 April 2016.
  94. "한국갤럽조사연구소". สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
  95. MoneyToday. "朴대통령, 지지율 63% 급반등···취임후 최고". สืบค้นเมื่อ 16 October 2015.
  96. "Park's popularity hits new low". 23 January 2015. สืบค้นเมื่อ 29 October 2016.
  97. "South Korea President Park's Approval Highest in Year-and-a-Half". bloomberg.com. 3 September 2015. สืบค้นเมื่อ 29 December 2015.
  98. "Park and Saenuri's approval ratings dip to new lows". The Korea Times. 18 เมษายน 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 May 2016. สืบค้นเมื่อ 19 April 2016.
  99. "데일리 오피니언 제234호(2016년 11월 1주)" [Daily Opinion No. 234 (1 November 2016)]. Gallup Korea.
  100. "South Korea's presidency 'on the brink of collapse' as scandal grows". Washington Post. 29 October 2016.
  101. "한국갤럽 여론조사, 박근혜 대통령 지지율 4%". 2 December 2016.
  102. Park, Si-soo (31 March 2017). "PARK GEUN-HYE ARRESTED". The Korea Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2017. สืบค้นเมื่อ 1 April 2017. Park, who was awaiting the ruling at a room of the Seoul Central Prosecutors' Office, was taken to the Seoul Detention Center in Uiwang, Gyeonggi Province, soon after the decision was announced. Park -- in prison garb -- is expected to travel back and forth to the prosecutors' office for additional questioning before being formally indicted.
  103. Kim, Tong-Hyung (31 March 2017). "Ousted South Korean leader goes from presidential palace to solitary cell". The Associated Press via The Toronto Star. สืบค้นเมื่อ 1 April 2017. Park Geun-hye entered the Seoul Detention Center in a black sedan before dawn Friday after a court approved her arrest on corruption allegations.
  104. 104.0 104.1 "Former President Park, Lotte chairman indicted on corruption charges". Korea Times. 17 April 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2017. สืบค้นเมื่อ 17 April 2017.
  105. Kim, Hyung-jin (17 April 2017). "Ex-South Korean leader Park indicted, faces trial". Associated Press (via ABC News). สืบค้นเมื่อ 17 April 2017.
  106. "All the Queen's men and women". The Straits Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 12 May 2017.
  107. Shin, Hyonhee; Yang, Heekyong; Kim, Christine (February 27, 2018). Macfie, Nick (บ.ก.). "South Korean prosecutors seek 30 years' jail for ousted Park as supporters demand her release". Reuters.
  108. Se-jeong, Kim (April 6, 2018). "Court orders 24 years in jail for former President Park". Korea Times.
  109. Choe Sang-hun (6 April 2018). "Park Geun-hye, South Korea's Ousted President, Gets 24 Years in Prison". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 6 April 2018.
  110. CNN, Paula Hancocks, Yoonjung Seo and James Griffiths,. "Former South Korean President Park Geun-hye sentenced to 24 years in prison".{{cite web}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  111. https://www.japantimes.co.jp/news/2018/06/15/asia-pacific/south-korea-jails-ex-spy-chiefs-bribing-former-president-park-geun-hye/ เก็บถาวร 2018-11-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน . Retrieved 22 June 2018
  112. Chang Jin-bok(장진복) (24 March 2011). 이해찬 "野 총선승리 시 박근혜 별명은 '독재자의 딸'" [Lee Hae-chan, "If the oppositions win the legislative election, Park Geun-hye's nickname will change (from Queen of election) to daughter of a dictator"]. NewsIs (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 16 May 2012.
  113. Ko Dong-seok(고동석) (10 January 2011). 손학규 "누가 뭐래도 박근혜는 박정희의 딸" [Sohn Hak-kyu, "No one can deny Park Geun-hye is the daughter of dictator Park Jeonghui"]. News Hankook (ภาษาเกาหลี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-02. สืบค้นเมื่อ 16 May 2012.
  114. 2012 Donga Ilbo article (เกาหลี)
  115. Lee, Young-Im (2016-07-21). "From first daughter to first lady to first woman president: Park Geun-Hye's path to the South Korean presidency". Feminist Media Studies (ภาษาอังกฤษ). 17 (3): 377–391. doi:10.1080/14680777.2016.1213307. ISSN 1468-0777.
  116. "Was it a 'coup' or a 'revolution'?". The Hankyoreh. 9 August 2012. สืบค้นเมื่อ 9 August 2012.
  117. "An leading Park in latest polls". The Hankyoreh. 30 July 2012. สืบค้นเมื่อ 9 August 2012.
  118. "한국갤럽조사연구소". สืบค้นเมื่อ 29 October 2016.
  119. Lee, Young-Im (2016-07-21). "From first daughter to first lady to first woman president: Park Geun-Hye's path to the South Korean presidency". Feminist Media Studies (ภาษาอังกฤษ). 17 (3): 377–391. doi:10.1080/14680777.2016.1213307. ISSN 1468-0777.
  120. "Park Geun-hye denies involvement in scandal-ridden foundation". The Hankyoreh. 22 October 2012. สืบค้นเมื่อ 13 November 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]