แอลี ฆอเมเนอี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อะลี คอเมเนอี)
เซย์เยด แอลี โฮเซย์นี ฆอเมเนอี
سید علی حسینی خامنه‌ای
ผู้นำสูงสุดอิหร่าน คนที่ 2
เริ่มดำรงตำแหน่ง
4 มิถุนายน ค.ศ. 1989
(34 ปี 299 วัน)
ประธานาธิบดี
ก่อนหน้ารูฮุลลอฮ์ โคมัยนี
ประธานาธิบดีอิหร่าน คนที่ 3
ดำรงตำแหน่ง
13 ตุลาคม ค.ศ. 1981 – 3 สิงหาคม ค.ศ. 1989
(7 ปี 294 วัน)
นายกรัฐมนตรีMir-Hossein Mousavi
ผู้นำสูงสุดรูฮุลลอฮ์ โคมัยนี
ก่อนหน้าโมแฮมแมดแอลี แรจออี
ถัดไปแอกแบร์ ฮอเชมี แรฟแซนจอนี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
Sayyed Ali Hosseini Khameneh

(1939-04-19) 19 เมษายน ค.ศ. 1939 (84 ปี)
แมชแฮด โฆรอซอนแรแซวี, อิหร่าน
ศาสนาอิสลามนิกายชีอะฮ์ (อิมาม)
พรรคการเมืองอิสระ
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
คู่สมรสKhojaste Bagherzadeh (m. 1964)
บุตร6 คน
ความสัมพันธ์Hadi Khamenei (brother)
ลายมือชื่อ
เว็บไซต์english.khamenei.ir
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองพิทักษ์ปฏิวัติอิสลาม
ประจำการค.ศ. 1979–1980
บังคับบัญชาประมุขกองพิทักษ์ปฏิวัติอิสลาม[2]

เซย์เยด แอลี โฮเซย์นี ฆอเมเนอี (Sayyid Ali Hosseini Khamenei, เปอร์เซีย: سید علی حسینی خامنه‌ای ; เกิด 19 เมษายน 1939)[3] เป็นมัรเญียะอ์ชีอะฮ์สิบสองอิมาม และเป็นผู้นำสูงสุดอิหร่านคนที่สองและคนปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 1989 เขาเคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอิหร่านระหว่างปี 1981 ถึง 1989 ฆอเมเนอีถือเป็นประมุขแห่งรัฐที่อยู่ในตำแหน่งนานเป็นอันดับสองในตะวันออกกลาง

เว็บไซต์ชีวประวัติทางการระบุว่า ฆอเมเนอีเคยถูกจับกุมหกครั้งก่อนที่จะถูกเนรเทศออกนอกประเทศเป็นเวลาสามปีในรัชสมัยพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี[4] เขาเคยตกเป็นเป้าหมายการลอบสังหารในปีค.ศ. 1981 ซึ่งทำให้แขนขวาเขาเป็นอัมพาต[5] ฆอเมเนอีมีวิถีชีวิตที่น่านับถือ ใช้ชีวิตอย่างสมถะและไม่โปรดความหรูหรา[6] สำนักข่าว The Telegraph ระบุว่าเขา "มีกิตติศัพท์เรื่องวิถีชีวิตเยี่ยงนักรบ"[7] ตำแหน่งผู้นำสูงสุดนี้เป็นตำแหน่งที่ไม่มีเงินเดือนประจำ ผู้ใกล้ชิดระบุว่าฆอเมเนอีมีเงินเก็บอยู่บ้างแต่ก็ไม่ถึงกับว่าร่ำรวย[8] ถึงแม้ชีวิตส่วนตัวเขาจะไม่ร่ำรวย แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าด้วยตำแหน่งของฆอเมเนอี เขามีอำนาจควบคุมเหนือบริษัทยักษ์ใหญ่ของอิหร่านที่มีมูลค่ารวมกันกว่าแสนล้านดอลลาร์สหรัฐ[9]

ฆอเมเนอีเป็นบุคคลสำคัญผู้ใกล้ชิดของอายะตุลลอหฺรูฮุลลอฮ์ โคมัยนี ผู้นำในการปฏิวัติอิสลาม ฆอเมเนอีเป็นผู้นำแถวหน้าของอิหร่านในช่วงสงครามอิรัก–อิหร่านในคริสต์ทศวรรษที่ 1980 เขาสร้างสัมพันธ์แนบแน่นกับกองพิทักษ์ปฏิวัติอิสลาม ซึ่งเป็นเหล่าทัพที่ทรงอำนาจในปัจจุบัน และเขามีอำนาจเลือกและปลดผู้บัญชาการกองพิทักษ์ปฏิวัติฯได้โดยตรง องค์กรนี้คอยเป็นหูเป็นตาและปราบปรามผู้ต่อต้านอำนาจรัฐ[10][11] ฆอเมเนอีได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนที่สามในปี 1981 และกลายเป็นมือขวาของผู้นำสูงสุดอายะตุลลอหฺโคมัยนี ต่อมาเมื่อผู้นำสูงสุดโคมัยนีถึงแก่อสัญกรรม สมัชชาบัณฑิตได้ลงมติเลือกฆอเมเนอีเป็นผู้นำสูงสุดคนใหม่ในวันที่ 4 มิถุนายน 1989 ขณะที่เขามีอายุ 49 ปี[12]

ในฐานะผู้นำสูงสุดอิหร่าน ฆอเมเนอีมีสถานะทั้งประมุขแห่งรัฐและผู้บัญชาการสูงสุดกองทัพ มีอำนาจปลดประธานาธิบดีหรือรัฐมนตรีได้โดยไม่ต้องผ่านสภา ทำให้เขาเป็นผู้มีอำนาจที่สุดในประเทศโดยปริยาย นอกจากนี้เขายังเป็นผู้ตัดสินใจเรื่องสำคัญของรัฐบาลอิหร่าน ทั้งการแต่งตั้งรัฐมนตรีคนสำคัญ หรือการเห็นชอบนโยบายสำคัญ ตลอดเป็นผู้วางยุทธศาสตร์ชาติ[13][14] เขามีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมเหนือฝ่ายบริหาร, ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ รวมถึงกองทัพและสื่อมวลชน[15] ในปี 2014 ฟอบส์ จัดให้เขาเป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโลก อันดับที่ 19[16]

ที่ผ่านมามีการชุมนุมประท้วงระบอบการปกครองของฆอเมเนอีหลายครั้ง ได้แก่ในปี 1994, 1999, 2009, 2011–2012, 2017–2018 และ 2018–2019 อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งล้วนจบลงด้วยการปราบปราม บรรณาธิการข่าว, นักเขียน และบุคคลจำนวนมากถูกจับกุมโทษฐานหมิ่นผู้นำสูงสุด มีอีกจำนวนไม่น้อยที่ตั้งข้อหาว่าดูหมิ่นศาสนา บุคคลเหล่านี้ได้รับโทษด้วยการเฆี่ยนหรือจำคุก มีหลายรายที่เสียชีวิตขณะถูกคุมขัง[17][18]

อ้างอิง[แก้]

  1. "جامعه روحانيت مبارز جوان مي‌شود" [Combatant Clergy Association gets younger] (ภาษาเปอร์เซีย). Fararu. 8 July 2012. 118101. สืบค้นเมื่อ 25 June 2016.
  2. Detailed biography of Ayatollah Khamenei, Leader of Islamic Revolution, Khamenei.ir, สืบค้นเมื่อ 17 March 2016
  3. "The Office of the Leader, Sayyid Ali Khamenei". Leader. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 June 2009. สืบค้นเมื่อ 19 June 2009.
  4. "Khamenei.ir". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2013.
  5. Maziar Bahari (6 April 2007). "How Khamenei Keeps Control". Newsweek. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2010. สืบค้นเมื่อ 29 September 2010.
  6. "The Frugality Of Iran's Supreme Leader". Payvand.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2014.
  7. Robert Tait (12 พฤศจิกายน 2013). "Ayatollah Ali Khamenei controls £60 billion financial empire, report says". The Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 กันยายน 2017.
  8. Golnaz Esfandiari (November 20, 2012). "The Frugality Of Iran's Supreme Leader". สืบค้นเมื่อ January 7, 2020.
  9. Steve Stecklow, Babak Dehghanpisheh and Yeganeh Torbati (November 11, 2013). "Khamenei controls massive financial empire built on property seizures". สืบค้นเมื่อ January 7, 2020.
  10. "Khamenei Will Be Iran's Last Supreme Leader". Newsweek. 17 พฤศจิกายน 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 กันยายน 2017. referring to the enormous power Khamenei has given Iran's Islamic Revolutionary Guards Corps, which, under Khamenei's direct control, has brutally repressed demonstrators, human rights activists, and opposition journalists.
  11. Jamsheed K. Choksy. "Tehran Politics: Are the Mullahs Losing Their Grip?". World Affairs Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 กรกฎาคม 2017. Khamenei has strengthened alliances with militant commanders, especially within the Islamic Revolutionary Guard Corps (IRGC), in the hope that all opposition to his authority will continue to be suppressed—as it was during the protests of 2009.
  12. "انتصاب آیت‌الله خامنه‌ای به عنوان رئیس خدمه‌ی آستان قدس رضوی". farsi.khamenei.ir. khamenei.ir. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2017.
  13. "Iran's Khamenei hits out at Rafsanjani in rare public rebuke". Middle East Eye. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 เมษายน 2016.
  14. "Khamenei says Iran must go green – Al-Monitor: the Pulse of the Middle East". Al-Monitor. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 ธันวาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2016.
  15. "The Supreme Leader – The Iran Primer". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 มิถุนายน 2016. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2016.
  16. "The 72 Who Rule The World". Forbes.
  17. "IRAN 2015 HUMAN RIGHTS REPORT" (PDF). US State Department. During the year the government arrested students, journalists, lawyers, political activists, women's activists, artists, and members of religious minorities; charged many with crimes such as "propaganda against the system" and "insulting the supreme leader;" and treated such cases as national security trials (see sections 1.a. through 1.e.; section 6, Women; and section 7.a.).
  18. "IRAN 2016 HUMAN RIGHTS REPORT" (PDF). US State Department.