ข้ามไปเนื้อหา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรไทย
รูปพยัญชนะ
รูปสระ
–ั –ํ –ิ ' "
–ุ –ู –็
ฤๅ ฦๅ
รูปวรรณยุกต์
–่ –้ –๊ –๋
เครื่องหมายอื่น ๆ
–์ –๎ –ฺ
เครื่องหมายวรรคตอน
ฯลฯ

(ปฏัก) เป็นพยัญชนะตัวที่ 15 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ฎ (ชฎา) และก่อนหน้า ฐ (ฐาน) ออกเสียงอย่าง ต (เต่า) จัดเป็นพวกอักษรกลาง ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า "ฏ ปฏัก" เมื่อเป็นพยัญชนะต้น ใช้เฉพาะในคำที่มาจากบาลีและสันสกฤต

อักษร "ฏ" ตรงกับตัวเทวนาครี "ट" ภาษาฮินดีแทนด้วยเสียงเสียงกักปลายลิ้นม้วนไม่ก้อง [ʈ] แต่ภาษาไทยกลางและภาษาไทยใต้โดยทั่วไปไม่มีเสียงม้วนลิ้น พยัญชนะต้นจึงเปลี่ยนเป็นเสียงเสียงกักปุ่มเหงือกไม่ก้อง [t] และพยัญชนะตัวสะกดให้เสียงเสียงกักปุ่มเหงือกไม่ก้องเสียงสั้น [t̚]

ปัจจุบัน ฏ ไม่มีที่ใช้เป็นพยัญชนะต้นของคำ มีเพียงใช้ประกอบกับคำที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤต (ซึ่งจะปรากฏกลางคำหรือท้ายคำ)

ฏ เป็นพยัญชนะที่มักจะใช้สับสนกับ อยู่เสมอ เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกัน และปรากฏอยู่บนแป้นพิมพ์ในตำแหน่งใกล้เคียงกัน

การใช้ ฏ

[แก้]

อักษร "ฏ" เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /t/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/

มีการใช้ ฏ ในภาษาไทย ทั้งคำศัพท์ทั่วไป และชื่อเฉพาะ แต่ทั้งหมดเป็นคำที่ถอดมาโดยตรงจากภาษาบาลีและสันสกฤต หรือเปลี่ยนแปลงบางส่วน เช่น

  • กุฏิ, โกฏิ, นาฏศิลป์, ปฏิบัติ, ปฏิเสธ, ปฏิกิริยา, ปฏิบัติการ, ปรากฏ, ปรากฏการณ์,
  • ปาฏิหาริย์, รังสฤษฏ์, สุพรรณบัฏ คิชฌกุฏ
  • ซอยรัฏภัณฑ์ ราชภัฏ ฯลฯ