ข้ามไปเนื้อหา

กำแพงเมืองจีน

พิกัด: 40°41′N 117°14′E / 40.68°N 117.23°E / 40.68; 117.23
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กำแพงเมืองจีน
萬里長城 / 万里长城
กำแพงเมืองจีนสมัยราชวงศ์หมิงที่จินซานหลิง
แผนที่การก่อสร้างกำแพงทั้งหมด
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทป้อมสนาม
ประเทศธงของประเทศจีน จีน
พิกัด40°41′N 117°14′E / 40.68°N 117.23°E / 40.68; 117.23
ข้อมูลทางเทคนิค
พื้นที่21,196.18 กิโลเมตร (13,170.70 ไมล์)[1][2]
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนกำแพงเมืองจีน
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์i, ii, iii, iv, v
ขึ้นเมื่อ2530 (คณะกรรมการสมัยที่ 11)
เลขอ้างอิง438
รัฐภาคีประเทศจีน
ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
กำแพงเมืองจีน
อักษรจีนตัวย่อ长城
อักษรจีนตัวเต็ม長城
ความหมายตามตัวอักษร"กำแพงยาว"
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ
อักษรจีนตัวย่อ万里长城
อักษรจีนตัวเต็ม萬里長城
ความหมายตามตัวอักษร"กำแพง 10,000 ลี้"
กำแพงในสมัยราชวงศ์ฉิน

กำแพงเมืองจีน (จีนตัวย่อ: 长城; จีนตัวเต็ม: 長城; พินอิน: Chángchéng "ฉางเฉิง", อังกฤษ: Great Wall of China) เป็นกำแพงที่มีป้อมคั่นเป็นช่วง ๆ ของจีนสมัยโบราณ กำแพงส่วนใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ฉิน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการบุกรุกจาก ชาวฮัน หรือ ซฺยงหนู คำว่า ซฺยงหนู บางทีก็สะกดว่า ซุงหนู หรือ ซวงหนู ที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับอารยธรรมจีนในยุคต้น ๆ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจว เนื่องจากจะเข้ามารุกรานจีนตามแนวชายแดนทางใต้ ในสมัยราชวงศ์ฉิน ได้สั่งให้สร้างกำแพงหมื่นลี้ตามชายแดน เพื่อป้องกันพวกซฺยงหนูและพวกเติร์ก ที่เข้ามารุกรานจากทางเหนือ หลังจากนั้นยังมีการสร้างกำแพงต่ออีกหลายครั้งด้วยกัน แต่ภายหลังก็มีเผ่าเร่ร่อนจากมองโกเลียและแมนจูเรียสามารถบุกฝ่ากำแพงเมืองจีนได้สำเร็จ

กำแพงเมืองจีนยังคงเรียกว่า "กำแพงหมื่นลี้" (จีนตัวย่อ: 万里长城; จีนตัวเต็ม: 萬里長城; พินอิน: Wànlĭ Chángchéng "ว่านหลี่ฉางเฉิง") สำนักงานมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติจีน ประกาศเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ว่านักโบราณคดีได้ตรวจวัดความยาวของสิ่งก่อสร้างจากน้ำมือมนุษย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกหรือ "กำแพงเมืองจีน" อย่างเป็นทางการนานร่วม 5 ปี ตั้งแต่ 2008-2012 และพบว่ายาวกว่าที่บันทึกไว้เดิมกว่า 2 เท่า หรือ 21,196.18 กิโลเมตร จากเดิม 8,850 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 15 มณฑลทั่วประเทศ[3] และนับเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ยุคกลาง ด้วย มีความเชื่อกันว่า หากมองเมืองจีนจากอวกาศจะสามารถเห็นกำแพงเมืองจีนได้ ซึ่งในความเป็นจริงไม่สามารถมองเห็นจากอวกาศได้[4]

ระยะเวลาในการสร้าง

[แก้]

กำแพงเมืองจีนสร้างขึ้นในระยะเวลา 4 ช่วงหลัก ๆ ดังนี้

ประวัติ

[แก้]

กำแพงเมืองจีนสร้างเมื่อกว่า 2,500 ปีมาแล้ว ตั้งแต่ก่อนรัชสมัยของจิ๋นซีฮ่องเต้ ปฐมจักรพรรดิพระองค์แรกในประวัติศาสตร์จีน จุดประสงค์ก็เพื่อป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าเร่ร่อนทางตอนเหนือ โดยมีการก่อสร้างเพิ่มเติมโดยฮ่องเต้องค์ต่อมาอีกหลายพระองค์ จนสำเร็จในที่สุด กำแพงเมืองจีนถือเป็นงานก่อสร้างที่มหัศจรรย์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเท่าที่เคยมีมาเลย

เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก

[แก้]

กำแพงเมืองจีนได้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2530 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 11 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา[5] ดังนี้

  • (i) - เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด
  • (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวนและภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
  • (iii) - เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
  • (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
  • (v) - มีความคิดและความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

อ้างอิง

[แก้]
  1. "China's Great Wall Found To Measure More Than 20,000 Kilometers". Bloomberg. June 5, 2012. สืบค้นเมื่อ June 6, 2012.
  2. "China's Great Wall is 'longer than previously thought'". BBC News. 6 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 December 2021. สืบค้นเมื่อ 28 December 2021.
  3. บันทึกไว้เดิมกว่า 2 เท่า หรือ 21,196.18 กิโลเมตร จากเดิม 8,850 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 15 มณฑลทั่วประเทศ
  4. Great Walls of Liar.
  5. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกำแพงเมืองจีนจากองค์การยูเนสโก

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]