ฟ่านจิ้งชาน
ฟ่านจิ้งชาน | |
---|---|
ยอดเขาเมฆแดงทอง (红云金) | |
จุดสูงสุด | |
ความสูง เหนือระดับน้ำทะเล | 2,570 เมตร (8,432 ฟุต) |
พิกัด | 27°53′44″N 108°40′48″E / 27.89555556°N 108.68°E |
ชื่อ | |
ความหมาย | เขาสุขาวดีของพระพรหม (ภาษาจีน) |
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ | |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | ฟ่านจิ้งชาน |
ประเภท | ธรรมชาติ |
เกณฑ์ | (x) |
ขึ้นเมื่อ | 2018 (คณะที่ 42) |
เลขอ้างอิง | 1559 |
ภาค | เอเชียตะวันออก |
ฟ่านจิ้งชาน (จีน: 梵净山; พินอิน: Fànjìngshān) หรือ เขาฟ่านจิ้ง เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของเทือกเขาอู่หลิง เมืองถงเหริน มณฑลกุ้ยโจว ประเทศจีน มีความสูง 2,570 m (8,430 ft) จากระดับน้ำทะเล เขานี้มีความสำคัญในศาสนาพุทธแบบจีน โดยเชื่อกันว่าเป็นโพธิมัณฑะของพระศรีอาริย์[1][2] ชื่อ "ฟ่านจิ้ง" เป็นรูปย่อของคำว่า ฟ่านเทียนจิ้งถู่ (梵天净土) ซึ่งแปลว่า "สุขาวดีของพระพรหม"[3]
พื้นที่ของเขาฟ่านจิ้งอยู่ภายใต้ เขตอนุรักษ์ธรรมชาติแห่งชาติฟ่านจิ้งชาน (Fanjingshan National Nature Reserve) ขนาด 567 ตารางเมตร ซึ่งตั้งขึ้นในปี 1978 และได้รับสถานะแหล่งมรดกโลกของยูเนสโกในปี 2018 [2][4] เขานี้มีความหลากหลายทางชีวภาพที่สูง โดยมีสิ่งมีชีวิตหายากที่พบเฉพาะในเขานี้ เช่น ลิงทองกุ้ยโจว (Rhinopithecus brelichi) และต้นสนเฟอร์ฟ่านจิ้งชาน (Abies fanjingshanensis)[2][4] นอกจากนี้ยังมีสัตว์เสี่ยงสูญพันธุ์ เช่น ซาลาแมนเดอร์ยักษ์จีน, กวางมัสก์ป่า และ ไก่ฟ้าเรวี สามารถพบได้ในพื้นที่นี้[4]
ชางพุทธในจีนจัดให้เขานี้เป็นหนึ่งในสี่เขาศักดิ์สิทธิ์ ในฐานะโพธิมัณฑะ (สถานที่ตรัสรู้) ของพระศรีอาริย์[3] ศาสนาพุทธแผ่ขยายมาถึงเขานี้ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังเป็นอย่างน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่ โหว หงเหริน (侯弘仁) สร้างถนนซางเกอ (牂牁道) ในปี 639 ช่วยให้การขนส่งในพื้นที่สะดวกสบายขึ้น ในบันทึกจากยุคนั้นมีการบันทึกการก่อสร้างวัดพุทธเกิดขึ้นในแถบนี้[3] และมีสร้างอีกมากมายในสมัยถัดมา ทั้งสมัยราชวงศ์ซ่ง และ ราชวงศ์หยวน[3]
ในผี 2010 มีการเปิดตัวอุทยานวัฒนธรรมพุทธฟ่านจิ้งชาน (Fanjingshan Buddhist Cultural Park) ซึ่งมีจินติ่งหรือหอทองคำ (Golden Hall) ภายในประดิษฐานพระศรีอาริย์ความสูง 5 เมตร (16 ฟุต) สร้างจากทองคำ 250 kg (550 lb) และอัญมณีอีกพันชิ้น ว่ากันว่าเป็นพระศรีอาริย์องค์ใหญ่ที่สุดในโลก[3][5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "(215021) Fanjingshan". Minor Planet Center. สืบค้นเมื่อ 21 November 2019.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "Fanjingshan Biosphere Reserve, China". UNESCO. August 2019. สืบค้นเมื่อ 30 July 2021.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "铜仁梵净山佛教文化综述" [A summary of the Buddhist culture of Mount Fanjing in Tongren]. trsmzw.gov.cn (ภาษาจีน). Government of Tongren. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2018. สืบค้นเมื่อ 5 July 2018.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "Fanjingshan". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 July 2018.
- ↑ "梵净山佛教文化苑" [Fanjingshan Buddhist Cultural Garden]. gzfjs.gov.cn (ภาษาจีน). Government of Tongren. 28 November 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2018. สืบค้นเมื่อ 7 July 2018.