การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2551

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2551 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย ซึ่งเป็นการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างลง เนื่องจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ได้รับการเลือกตั้งในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2547 ครบวาระ

ที่มานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด[แก้]

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน โดยมีที่มา ดังนี้[1]

  • นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
  • สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ใช้เขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง ในกรณีที่อำเภอใดมีสมาชิกเกิน 1 คน ให้แบ่งเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง เท่ากับจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่จะพึงมีในอำเภอนั้น และมีสมาชิกเขตเลือกตั้งละ 1 คน

องค์ประกอบของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด[แก้]

สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ซึ่งจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่ละจังหวัด ขึ้นอยู่กับจำนวนราษฎรของจังหวัดนั้น โดยกำหนดไว้ดังนี้[1]

จำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่ละจังหวัด
จำนวนราษฎร จำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ไม่เกิน 500,000 คน 24 คน
เกิน 500,000 คน แต่ไม่เกิน 1 ล้านคน 30 คน
เกิน 1 ล้านคน แต่ไม่เกิน 1.5 ล้านคน 36 คน
เกิน 1.5 ล้านคน แต่ไม่เกิน 2 ล้านคน 42 คน
2 ล้านคนขึ้นไป 48 คน

วาระการดำรงตำแหน่ง[แก้]

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด [1]

มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้ ในกรณีดำรงตำแหน่งไม่ครบ 4 ปีก็ให้ถือว่าเป็น 1 วาระ และเมื่อได้ดำรงตำแหน่ง 2 วาระติดต่อกันแล้วจะดำรงตำแหน่งได้อีกเมื่อพ้นระยะเวลา 4 ปีนับแต่วันพ้นตำแหน่ง

สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด

อายุของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีกำหนดคราวละ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง

รายนามนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด[แก้]

ดำรงสมาชิกภาพ
สิ้นสุดสมาชิกภาพ
ได้รับใบเหลือง
ได้รับใบแดง

แยกตามรายภาคตามการแบ่งของราชบัณฑิตยสถาน

ภาคกลาง[แก้]

มีรายนามดังนี้

จังหวัด นาม หมายเหตุ
กำแพงเพชร จุลพันธ์ ทับทิม
ชัยนาท อนุสรณ์ นาคาศัย
นครนายก สัญญา บุญหลง
นครปฐม พเยาว์ เนียะแก้ว ลาออก
พเยาว์ เนียะแก้ว เลือกตั้ง 17 ก.ค. 54
นครสวรรค์ อำนาจ ศิริชัย เสียชีวิต 2553
มานพ ศรีผึ้ง แทน อำนาจ (2553)
นนทบุรี พันตำรวจเอก ธงชัย เย็นประเสริฐ
ปทุมธานี ชาญ พวงเพ็ชร์
พระนครศรีอยุธยา สมทรง พันธุ์เจริญวรกุล
พิจิตร ชาติชาย เจียมศรีพงษ์ อดีตนายก อบจ.2540-2547
พิษณุโลก สุรินทร์ ฐิติปุญญา
เพชรบูรณ์ อัครเดช ทองใจสด
ลพบุรี สุบรรณ จิระพันธุ์วาณิช เสียชีวิต 16 มิ.ย. 54[2]
อรพิน จิระพันธุ์วาณิช เลือกตั้ง 7 ส.ค. 54
สมุทรปราการ ไม่มีเลือกตั้งในปี 2551 เนื่องจาก อำนวย รัศมิทัต ได้รับเลือกตั้งเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550
ชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม เลือกตั้ง 2554
สมุทรสงคราม โยธิน ตันประเสริฐ ลาออก 3 มิ.ย. 54
พิสิฐ เสือสมิง เลือกตั้งแทน 31 ก.ค. 54
สมุทรสาคร อุดร ไกรวัตนุสสรณ์ เสียชีวิต 25 ธ.ค. 54/ เลือกตั้งแทน 2555
สระบุรี เฉลิม วงษ์ไพร
สิงห์บุรี สรกฤช เทียนถาวร
สุโขทัย มนู พุกประเสริฐ ลาออก 23 พ.ค. 54
พรรณสิริ กุลนาถศิริ เลือกตั้งแทน มิ.ย. 54
สุพรรณบุรี บุญชู จันทร์สุวรรณ
อ่างทอง สุรเชษ นิ่มกุล ลาออก
สุรเชษ นิ่มกุล เลือกตั้ง 2554
อุทัยธานี เผด็จ นุ้ยปรี

ภาคเหนือ[แก้]

มีรายนามดังนี้

จังหวัด นาม หมายเหตุ
เชียงราย รัตนา จงสุทธนามณี อดีตนายก อบจ.2547
เชียงใหม่ บุญเลิศ บูรณุปกรณ์ อดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่
น่าน นรินทร์ เหล่าอารยะ
พะเยา ไพรัตน์ ตันบรรจง ลาออก
วรวิทย์ บูรณศิริ เลือกตั้ง 7 พ.ย. 54
แพร่ ไม่มีเลือกตั้งในปี 2551 เนื่องจาก อนุวัธ วงศ์วรรณ ได้รับเลือกตั้งเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2550
อนุวัธ วงศ์วรรณ เลือกตั้ง 2554
แม่ฮ่องสอน ไม่มีเลือกตั้งในปี 2551 เนื่องจาก อัครเดช วันไชยธนวงศ์ ได้รับเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2549
อัครเดช วันไชยธนวงศ์ เลือกตั้ง 2554
ลำปาง สุนี สมมี
ลำพูน ทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ อดีต ส.ส.
อุตรดิตถ์ พีระศักดิ์ พอจิต

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[แก้]

มีรายนามดังนี้

จังหวัด นาม หมายเหตุ
กาฬสินธุ์ ชะม้อย วรามิตร
ขอนแก่น พงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์ อดีตนายก อบจ.2547
ชัยภูมิ สุริยน ภูมิรัตนประพิณ
นครพนม สมชอบ นิติพจน์
นครราชสีมา สำเริง แหยงกระโทก
บุรีรัมย์ กรุณา ชิดชอบ
มหาสารคาม ยิ่งยศ อุดรพิมพ์ ลาออก 54
คมคาย อุดรพิมพ์ เลือกตั้ง 17 ก.ค. 54
มุกดาหาร วิริยะ ทองผา ลาออก
มลัยรัก ทองผา เลือกตั้ง 23 ส.ค. 52
ยโสธร สฤษดิ์ ประดับศรี
ร้อยเอ็ด มังกร ยนต์ตระกูล อดีต ส.ส.
เลย ธนาวุฒิ ทิมสุวรรณ ลาออก 54
ธนาวุฒิ ทิมสุวรรณ เลือกตั้ง 2554
ศรีสะเกษ วิชิต ไตรสรณกุล
สกลนคร ชัยมงคล ไชยรบ
สุรินทร์ ณัฏฐพล จรัสรพีพงษ์
หนองคาย ยุทธนา ศรีตะบุตร
หนองบัวลำภู ศราวุธ สันตินันตรักษ์
อุดรธานี หาญชัย ทีฆธนานนท์
อุบลราชธานี พรชัย โควสุรัตน์
อำนาจเจริญ ชัยพร ทองประเสริฐ อดีต ส.ส.

ภาคใต้[แก้]

มีรายนามดังนี้

จังหวัด นาม หมายเหตุ
กระบี่ สมศักดิ์ กิตติธรกุล
ชุมพร อำนวย บัวเขียว
ตรัง กิจ หลีกภัย
นครศรีธรรมราช วิฑูรย์ เดชเดโช เสียชีวิต 2 ธ.ค. 52
พิชัย บุณยเกียรติ เลือกตั้งแทน 24 ม.ค. 53
นราธิวาส กูเซ็ง ยาวอหะซัน
ปัตตานี นรเศรษฐ์ อัลยุฟรี
พังงา ไม่มีการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2551 เนื่องจาก บำรุง ปิยนามวานิช ได้รับเลือกตั้งแทนเมื่อปี พ.ศ. 2548
ฉกาจ พัฒนกิจวิบูลย์ เลือกตั้ง 52
พัทลุง สานันท์ สุพรรณชนะบุรี
ภูเก็ต ไพบูลย์ อุปัติศฤงค์
ยะลา มุขตาร์ มะทา
ระนอง นภา นทีทอง
สงขลา นวพล บุญญามณี
อุทิศ ชูช่วย เลือกตั้งใหม่ 12 ต.ค. 2552
สตูล ธานินทร์ ใจสมุทร
สัมฤทธิ์ เลียงประสิทธิ์ เลือกตั้งใหม่ 11 ส.ค. 2552
สุราษฎร์ธานี ธานี เทือกสุบรรณ ลาออก
มนตรี เพชรขุ้ม เลือกตั้งแทน 2552

ภาคตะวันออก[แก้]

มีรายนามดังนี้

จังหวัด นาม หมายเหตุ
จันทบุรี ธนภณ กิจกาญจน์
ฉะเชิงเทรา กิตติ เป้าเปี่ยมทรัพย์ ลาออก
กิตติ เป้าเปี่ยมทรัพย์ เลือกตั้งแทน 12 มิ.ย. 54
ชลบุรี วิทยา คุณปลื้ม
ตราด วิเชียร ทรัพย์เจริญ
ปราจีนบุรี บังอร วิลาวัลย์
ระยอง ไม่มีการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2551 เนื่องจาก ปิยะ ปิตุเตชะ ได้รับเลือกตั้งแทนตำแหน่งว่างเมื่อ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ปิยะ ปิตุเตชะ เลือกตั้ง 2554
สระแก้ว ทรงยศ เทียนทอง

ภาคตะวันตก[แก้]

มีรายนามดังนี้

จังหวัด นาม หมายเหตุ
กาญจนบุรี รังสรรค์ รัศมีฤกษ์เศรษฐ์
ตาก ชิงชัย ก่อประภากิจ อดีตนายก อบจ.2547
ประจวบคีรีขันธ์ ทรงเกียรติ ลิ้มอรุณรักษ์
เพชรบุรี ชัยยะ อังกินันทน์
ราชบุรี วันชัย ธีระสัตยกุล พ้นจากตำแหน่ง 30 พ.ค. 54
วันชัย ธีระสัตยกุล เลือกตั้งใหม่ 17 ก.ค. 54

อ้างอิง[แก้]