ทรงชัย วงศ์สวัสดิ์
ทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ | |
---|---|
![]() | |
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน | |
ดำรงตำแหน่ง 29 มิถุนายน พ.ศ. 2551 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555 | |
ก่อนหน้า | สมาน ชมภูเทพ |
ถัดไป | นิรันดร์ ด่านไพบูลย์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 31 สิงหาคม พ.ศ. 2497 (66 ปี) จังหวัดลำปาง ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พลังประชารัฐ |
ศาสนา | พุทธ |
นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน เคยได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน เพียงคนเดียวของภาคเหนือที่ไม่ได้สังกัดพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ. 2544
ประวัติ[แก้]
ทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ หรือ โกใหญ่[1] เกิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2497 เป็นบุตรของนายทงซี - นางพลอย วงศ์สวัสดิ์ เกิดที่อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง[2] เป็นพี่ชายของนายจินดา วงศ์สวัสดิ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง สังกัดพรรคไทยรักไทย และนายจรัญ วงศ์สวัสดิ์ นายกเทศมนตรีตำบลห้างฉัตร
การศึกษา[แก้]
นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อปี พ.ศ. 2520 และรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2538
การเมือง[แก้]
นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ เคยได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดลำพูน (สจ.) และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลำพูน สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 นายทรงชัย เป็น 1 ใน 4 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้รับการเลือกตั้งในเขตภาคเหนือ สามารถเอาชนะกระแสพรรคไทยรักไทยได้ แต่ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 กลับไม่ได้รับเลือกตั้งโดยแพ้ให้กับนายสถาพร มณีรัตน์ จากพรรคไทยรักไทย
ในการเลือกตั้งวุฒิสภา พ.ศ. 2549 นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดลำพูน ได้รับคะแนนสูงที่สุด คือ 63,595 คะแนน แต่ภายหลังการเลือกตั้งครั้งดังกล่าวถูกยกเลิกเนื่องจากเกิดการรัฐประหาร วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549[3]
นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ซึ่งได้รับคะแนนสูงสุด และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูนเป็นสมัยแรก โดยได้รับแรงสนับสนุนจากนายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ อดีตกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน ซึ่งมีความสนิทสนมกันเป็นการส่วนตัว ต่อมาได้สมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง แต่แพ้ให้กับ ดร.นิรันดร์ ด่านไพบูลย์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคเพื่อไทย[4]
ต่อมา นายทรงชัย ได้เข้าเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ และลงสมัครรับเลือกตั้งในจังหวัดลำพูน เขต 2 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งในครั้งนั้น โดยได้คะแนนมาเป็นลำดับที่ 2 รองจาก รังสรรค์ มณีรัตน์ จากพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)
อ้างอิง[แก้]
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2497
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- สกุลวงศ์สวัสดิ์
- บุคคลจากจังหวัดลำพูน
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดลำพูน
- สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
- นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย
- พรรคประชาธิปัตย์
- พรรคพลังประชารัฐ
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์